พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7410/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีที่มีคำขอหลากหลายประเภท ศาลพิจารณาตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ และใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 735,000 บาทนับแต่เดือน สิงหาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จะชำระเงินกินเปล่าให้แก่จำเลยทั้งสองตามสัญญา 4,900,000 บาท หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 245,600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและคืนเงินมัดจำ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามคำฟ้องนี้คิดค่าขึ้นศาลแบ่งตามคำขอของโจทก์ได้ว่า การขอให้บังคับจำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท การขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 735,000 บาท นับแต่เดือนสิงหาคม 2536ซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์คาดว่าจะก่อสร้างสถานประกอบการค้าเสร็จแล้วได้กำไรเป็นคำขอที่ให้จ่ายมีกำหนดระยะเวลาในอนาคต เสียค่าขึ้นศาล 100 บาท เมื่อจำเลยทั้งสองยอมจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้วโจทก์จะให้เงินกินเปล่าตามสัญญาแก่จำเลยทั้งสองเป็นเงิน 4,900,000 บาท เป็นจำนวนเงินที่โจทก์เสนอให้แก่จำเลยทั้งสอง มิใช่ขอให้บังคับจากจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องนำเงินกินเปล่ามาคำนวณเป็นทุนทรัพย์เสียค่าขึ้นศาล ส่วนคำขอที่ว่าหากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ ก็ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหาย245,600,000 บาท และคืนเงินมัดจำ 100,000 บาท ตั้งแต่วันทำสัญญา เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 2.50 บาท ต่อทุก 100 บาทแต่ไม่เกิน 200,000 บาท แต่ถ้าคดีนั้นเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย ให้คิดค่าขึ้นศาล 2.50 บาททุก 100 บาท แต่ไม่น้อยกว่า 200 บาท และไม่เกิน200,000 บาท หมายถึงว่าให้เสียค่าขึ้นศาลอัตราแบบคดีมีทุนทรัพย์แต่ไม่น้อยกว่า 200 บาท โดยยกเว้นไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลแบบคดีไม่มีทุนทรัพย์ คดีนี้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งบังคับให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินโดยรับเงิน4,900,000 บาท จากโจทก์และให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 50,000 บาท นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์หากไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินก็ให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายเดือนละ 50,000 บาท และคืนมัดจำ 100,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย ค่าขึ้นศาลให้ใช้ตามจำนวนทุนทรัพย์เท่าที่โจทก์ชนะคดี ผลตามคำพิพากษาที่จำเลยทั้งสองจะต้องปฏิบัติตามก็คือ ไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ การใช้ค่าขึ้นศาลแทนเกี่ยวกับการจดทะเบียนนั้น เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย โจทก์เสียค่าขึ้นศาลแบบคดีมีทุนทรัพย์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลแบบคดีไม่มีทุนทรัพย์ จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องชดใช้ค่าขึ้นศาลในคำขอนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด คำขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ50,000 บาท นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์นั้น คำขอส่วนนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาจากที่โจทก์เรียกค่าเสียหายเดือนละ735,000 บาท ลดเหลือเดือนละ 50,000 บาท นับจากเวลาที่โจทก์คาดว่าจะก่อสร้างสถานประกอบการค้าเสร็จจะได้กำไรโจทก์เสียค่าขึ้นศาลอนาคตไว้ 100 บาท โจทก์ชนะคำขออนาคตนี้จำเลยทั้งสองจึงต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้โจทก์ 100 บาท ส่วนคำขอที่ว่า หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้โจทก์ ก็ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย245,600,000 บาท และคืนมัดจำ 100,000 บาท ให้แก่โจทก์นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ได้คืนมัดจำ 100,000 บาทเพียงอย่างเดียว มีผลเท่ากับโจทก์แพ้คดีในการเรียกค่าเสียหาย245,600,000 บาท จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้การคืนค่ามัดจำก็ต่อเมื่อไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้เท่านั้น เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้จดทะเบียนการเช่าที่ดินตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว กรณีไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินไม่เกิดขึ้น จำเลยทั้งสองไม่ต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้โจทก์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใช้ค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์เท่าที่โจทก์ชนะคดีจำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่รับผิดชอบใช้ค่าขึ้นศาลรวม 100 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7339/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผลคดีอาญาเป็นข้อแพ้ชนะในคดีแพ่ง: ศาลแรงงานถือผลคำพิพากษาคดีอาญา
คดีนี้คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาเป็นข้อแพ้ชนะ โดยตกลงกันว่า หากคดีดังกล่าวศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 คดีนี้ไม่มีความผิดและยกฟ้อง ให้ถือว่าจำเลยทั้งสองในคดีนี้พ้นจากความรับผิด แต่หากศาลพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ในคดีนี้มีความผิดตามข้อกล่าวหา จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินเต็มตามฟ้องแก่โจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่คู่ความตกลงกันในประเด็นแห่งคดีมาเป็นข้อแพ้ชนะในคดีนี้ด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 วรรคหนึ่งประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 หาใช่เป็นกรณีที่การวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ.อาญา มาตรา 46 ไม่
คดีอาญาที่คู่ความท้ากัน ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังไม่มั่นคงเพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้แสดงว่าตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว ศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยไม่มีความผิดดังนี้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าคดีนี้ต้องถือเอาคำพิพากษาคดีอาญาของศาลในคดีดังกล่าวเป็นข้อแพ้ชนะ และฟังว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดในเงินที่สูญหายไปตามฟ้องตามคำท้านั้นชอบแล้ว
คดีอาญาที่คู่ความท้ากัน ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังไม่มั่นคงเพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้แสดงว่าตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว ศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยไม่มีความผิดดังนี้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าคดีนี้ต้องถือเอาคำพิพากษาคดีอาญาของศาลในคดีดังกล่าวเป็นข้อแพ้ชนะ และฟังว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดในเงินที่สูญหายไปตามฟ้องตามคำท้านั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7339/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงให้ผลคดีอาญาเป็นข้อแพ้ชนะในคดีแพ่ง ศาลต้องถือตามข้อตกลงหากคำพิพากษาคดีอาญาตรงกับข้อตกลง
คดีนี้คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาเป็นข้อแพ้ชนะโดยตกลงกันว่า หากคดีดังกล่าวศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 คดีนี้ไม่มีความผิดและยกฟ้อง ให้ถือว่าจำเลยทั้งสองในคดีนี้พ้นจากความรับผิด แต่หากศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ในคดีนี้มีความผิดตามข้อกล่าวหา จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินเต็มตามฟ้องแก่โจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่คู่ความตกลงกันในประเด็นแห่งคดีมาเป็นข้อแพ้ชนะในคดีนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 หาใช่เป็นกรณีที่การวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ไม่
คดีอาญาที่คู่ความท้ากัน ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังไม่มั่นคงเพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้แสดงว่าตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว ศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยไม่มีความผิด ดังนี้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าคดีนี้ต้องถือเอาคำพิพากษาคดีอาญาของศาลในคดีดังกล่าวเป็นข้อแพ้ชนะ และฟังว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดในเงินที่สูญหายไปตามฟ้องตามคำท้านั้นชอบแล้ว
คดีอาญาที่คู่ความท้ากัน ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังไม่มั่นคงเพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้แสดงว่าตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว ศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยไม่มีความผิด ดังนี้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าคดีนี้ต้องถือเอาคำพิพากษาคดีอาญาของศาลในคดีดังกล่าวเป็นข้อแพ้ชนะ และฟังว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดในเงินที่สูญหายไปตามฟ้องตามคำท้านั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7339/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงให้ผลคดีอาญาเป็นข้อแพ้ชนะในคดีแพ่ง: ศาลต้องถือตามข้อตกลง ไม่ใช่แค่ข้อเท็จจริงในคำพิพากษา
คดีนี้คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาเป็นข้อแพ้ชนะโดยตกลงกันว่า หากคดีดังกล่าวศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 คดีนี้ไม่มีความผิดและยกฟ้อง ให้ถือว่าจำเลยทั้งสองในคดีนี้พ้นจากความรับผิด แต่หากศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ในคดีนี้มีความผิดตามข้อกล่าวหา จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินเต็มตามฟ้องแก่โจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่คู่ความตกลงกันในประเด็นแห่งคดีมาเป็นข้อแพ้ชนะในคดีนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 หาใช่เป็นกรณีที่การวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ไม่
คดีอาญาที่คู่ความท้ากัน ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังไม่มั่นคงเพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้แสดงว่าตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว ศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยไม่มีความผิด ดังนี้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าคดีนี้ต้องถือเอาคำพิพากษาคดีอาญาของศาลในคดีดังกล่าวเป็นข้อแพ้ชนะ และฟังว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดในเงินที่สูญหายไปตามฟ้องตามคำท้านั้นชอบแล้ว
คดีอาญาที่คู่ความท้ากัน ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังไม่มั่นคงเพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้แสดงว่าตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว ศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยไม่มีความผิด ดังนี้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าคดีนี้ต้องถือเอาคำพิพากษาคดีอาญาของศาลในคดีดังกล่าวเป็นข้อแพ้ชนะ และฟังว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดในเงินที่สูญหายไปตามฟ้องตามคำท้านั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7079/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, ผลผูกพันจากการขายฝาก, และค่าขึ้นศาลในคดีแพ่ง
วัตถุประสงค์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ที่ให้โจทก์หรือจำเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้าง หรือข้อเถียง อันกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรกได้นั้น ก็เพื่อให้โอกาสแก่โจทก์หรือจำเลยแก้ไขข้อบกพร่องผิดพลาดที่มีอยู่ในคำฟ้องหรือคำให้การเพื่อให้มีความสมบูรณ์ คำฟ้องของโจทก์คดีนี้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว เป็นคำฟ้องที่บริบูรณ์ คำฟ้องของโจทก์เมื่ออ่านแล้วก็สามารถเข้าใจในคำฟ้องได้ดีอยู่แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องที่เป็นเพียงรายละเอียดได้หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ข้อเท็จจริงหรือในที่สุดผลของคดีจะเปลี่ยนแปลงไปการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและให้ยกคำร้องเสียนั้นชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ครึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ และโจทก์อยู่ในฐานะเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ การที่จำเลยที่ 1 ทำที่ดินไปขายฝากแก่สามีจำเลยที่ 2 ก็ต้องถือว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ทำการออกหน้าเป็นตัวการในการขายฝากโจทก์จึงหาอาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของสามีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันเขามีต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทน และสามีจำเลยที่ 2 ขวนขวายได้มาแต่ก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 806 การขายฝากที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่สามีจำเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาท เป็นการฟ้องร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นของโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาไปโดยข้อกฎหมาย เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาโดยขอให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 227 ซึ่งตาราง 1 ข้อ 2 ข.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์ และแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ และจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง ก็เห็นได้ว่าเป็นคำขอให้จำเลยที่ 2 ชนะคดีในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ดังข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอันเป็นข้อกฎหมายนั่นเอง จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์
จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ครึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ และโจทก์อยู่ในฐานะเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ การที่จำเลยที่ 1 ทำที่ดินไปขายฝากแก่สามีจำเลยที่ 2 ก็ต้องถือว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ทำการออกหน้าเป็นตัวการในการขายฝากโจทก์จึงหาอาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของสามีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันเขามีต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทน และสามีจำเลยที่ 2 ขวนขวายได้มาแต่ก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 806 การขายฝากที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่สามีจำเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาท เป็นการฟ้องร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นของโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาไปโดยข้อกฎหมาย เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาโดยขอให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 227 ซึ่งตาราง 1 ข้อ 2 ข.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์ และแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ และจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง ก็เห็นได้ว่าเป็นคำขอให้จำเลยที่ 2 ชนะคดีในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ดังข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอันเป็นข้อกฎหมายนั่นเอง จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้ข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง: ประเด็นสำคัญ vs. ประเด็นปลีกย่อย
ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 ที่บัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญานั้นหมายถึง ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงซึ่งเป็นประเด็นสำคัญและศาลต้องฟังยุติมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ไม่ใช่ประเด็นปลีกย่อย สำหรับคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ได้บุกรุกเข้าไปปลูกสร้างเรือนในที่ดินพิพาท สำหรับคดีแพ่งคดีนี้ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามได้เพียงว่าจำเลยที่ 2 ได้บุกรุกที่ดินพิพาทจริง ส่วนปัญหาที่ว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 2บุกรุกเนื้อที่เท่าไร เป็นไปตามคำพิพากษาคดีอาญาหรือตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องคดีนี้ เป็นเพียงข้อปลีกย่อยในรายละเอียดที่จะต้องนำสืบกันอีกในชั้นพิจารณา ซึ่งโจทก์ โจทก์ร่วม และจำเลยที่ 2 จะต้องสืบพยานในประเด็นนี้กันต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้ข้อเท็จจริงจากคดีอาญาในคดีแพ่ง: การบุกรุกที่ดิน และการพิสูจน์เนื้อที่ที่บุกรุก
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46ที่บัญญัติว่าในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญานั้นหมายถึงข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงซึ่งเป็นประเด็นสำคัญและศาลต้องฟังยุติมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วไม่ใช่ประเด็นปลีกย่อยเมื่อคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่2ได้บุกรุกเข้าไปปลูกสร้างเรือนในที่พิพาทคดีแพ่งคดีนี้ศาลขึงต้องถือข้อเท็จจริงตามได้เพียงว่าจำเลยที่2ได้บุกรุกที่ดินพิพาทจริงส่วนที่พิพาทที่จำเลยที่2บุกรุกเนื้อที่เท่าไรเป็นไปตามคำพิพากษาคดีอาญาหรือตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องคดีนี้เป็นข้อปลีกย่อยรายละเอียดที่จะต้องนำสืบกันอีกในชั้นพิจารณาซึ่งโจทก์โจทก์ร่วมและจำเลยที่2จะต้องสืบพยานในประเด็นนี้กันต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการถือข้อเท็จจริงจากคดีอาญาในคดีแพ่ง: การบุกรุกที่ดิน - เนื้อที่พิพาทต้องสืบพยานเพิ่มเติม
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46ที่บัญญัติว่าในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาส่วนอาญานั้นหมายถึงข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงซึ่งเป็นประเด็นสำคัญและศาลต้องฟังยุติมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วไม่ใช่ประเด็นปลีกย่อยสำหรับคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่2ได้บุกรุกเข้าไปปลูกสร้างเรือนในที่ดินพิพาทสำหรับคดีแพ่งคดีนี้ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามได้เพียงว่าจำเลยที่2ได้บุกรุกที่ดินพิพาทจริงส่วนปัญหาที่ว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยที่2บุกรุกเนื้อที่เท่าไรเป็นไปตามคำพิพากษาคดีอาญาหรือตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องคดีนี้เป็นเพียงข้อปลีกย่อยในรายละเอียดที่จะต้องนำสืบกันอีกในชั้นพิจารณาซึ่งโจทก์โจทก์ร่วมและจำเลยที่2จะต้องสืบพยานในประเด็นนี้กันต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2540 เวอร์ชัน 6 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสันนิษฐานความเป็นบริวารในคดีแพ่งและการไม่ผูกพันคู่ความที่ไม่เข้าร่วม
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 296 จัตวา (3) นั้นหากผู้ที่อ้างว่ามิใช่บริวารไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น หาได้มีผลเด็ดขาดเป็นการตัดสิทธิห้ามฟ้องร้องภายหลังไม่ และเมื่อโจทก์มิได้ร้องเข้ามาในคดี โจทก์ย่อมมิได้อยู่ในฐานะคู่ความในคดีดังกล่าว จึงไม่ผูกพันในผลแห่งคดีต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องไม่ว่าจะด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อนแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6367/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: จำนวนจักรเย็บผ้าที่รับซื้อ
ในคดีอาญา ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบในคดีดังกล่าวเกี่ยวกับจำนวนทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 รับซื้อไว้ว่าจำเลยที่ 1 ซื้อจักรเย็บผ้ายี่ห้อจูกิจำนวน 8 หลัง และจักรโพ้งยี่ห้อชีรูบ้า จำนวน4 หลัง รวมเป็นจักร 12 หลัง แล้วจึงวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาในการกระทำความผิดทางอาญา คดีถึงที่สุด ถือได้ว่าข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 รับซื้อจักรเย็บผ้าของโจทก์ไว้จำนวน 12 หลัง จริงหรือไม่ เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวฟ้องจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งว่า ร่วมกันรับซื้อจักรเย็บผ้าในจำนวนเดียวกับที่เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันในคดีอาญาเป็นคดีนี้อีกและมีประเด็นโต้เถียงอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันรับซื้อจักรเย็บผ้าของโจทก์ไว้จำนวนกี่หลังศาลจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วในคดีอาญาดังกล่าว