พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9280/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดวันนัดพิจารณาคดีที่ศูนย์นัดความชอบด้วยกฎหมาย ความประมาทเลินเล่อของโจทก์เป็นเหตุไม่อาจยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้
โจทก์ขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ไม่ใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ ไม่อยู่ในบังคับ ป.วิ.อ. มาตรา 220
ศาลสั่งให้คู่ความกำหนดวันนัดพิจารณาสืบพยานโจทก์และนัดสืบพยานจำเลยที่ศูนย์นัดความและคู่ความได้ตกลงกำหนดวันนัดที่ศูนย์นัดความ ถือได้ว่าการกระทำของคู่ความที่ตกลงกำหนดวันนัดที่ศูนย์นัดความเป็นการกระทำตามคำสั่งศาลและเป็นการกำหนดวันนัดต่อศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย
ศาลสั่งให้คู่ความกำหนดวันนัดพิจารณาสืบพยานโจทก์และนัดสืบพยานจำเลยที่ศูนย์นัดความและคู่ความได้ตกลงกำหนดวันนัดที่ศูนย์นัดความ ถือได้ว่าการกระทำของคู่ความที่ตกลงกำหนดวันนัดที่ศูนย์นัดความเป็นการกระทำตามคำสั่งศาลและเป็นการกำหนดวันนัดต่อศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องฐานกระทำอนาจาร และสิทธิของผู้เยาว์ในการร้องทุกข์
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเข้าไปในห้องนอนของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาของผู้เสียหายที่ 1 ขณะผู้เสียหายที่ 2 กำลังนอนหลับอยู่ จำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 อายุ 15 ปีเศษ ซึ่งมิใช่ภริยาจำเลยโดยใช้กำลังประทุษร้ายกอดปล้ำ ลูบคลำร่างกายของผู้เสียหายที่ 2 และพยายามถอดเสื้อผ้าของผู้เสียหายที่ 2 ที่สวมใส่อยู่ออก และใช้อาวุธปืนบังคับขู่เข็ญเพื่อจะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีโดยใช้กำลังประทุษร้าย ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนที่จำเลยจะกระทำอนาจารอย่างไรและบริเวณใดของร่างกายกับจำเลยลูบคลำร่างกายผู้เสียหายที่ 2 อย่างไร เป็นเพียงรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) และมาตรา 123 มิได้บัญญัติว่า การร้องทุกข์ของผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือบุคคลดังกล่าวต้องลงลายมือชื่อในการร้องทุกข์ของผู้เยาว์ด้วย ดังนั้น ผู้เยาว์จึงมีอำนาจร้องทุกข์ด้วยตนเองได้
ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) และมาตรา 123 มิได้บัญญัติว่า การร้องทุกข์ของผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือบุคคลดังกล่าวต้องลงลายมือชื่อในการร้องทุกข์ของผู้เยาว์ด้วย ดังนั้น ผู้เยาว์จึงมีอำนาจร้องทุกข์ด้วยตนเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา ม.158(5) กรณีเบิกความเท็จต่อศาล
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า ความจริงจำเลยเห็น ส. เป็นคนร้าย แต่จำเลยมาเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีอาญาว่า ส. มิใช่คนร้าย อันเป็นการบรรยายถึงว่าความเท็จและความจริงเป็นอย่างไรแล้ว แม้โจทก์มิได้บรรยายรายละเอียดว่าข้อความอันเป็นเท็จที่จำเลยเบิกความเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร แต่โจทก์ได้บรรยายถึงข้อที่ว่า ส. ต้องหาว่าร่วมกันฆ่าผู้ตาย กับ ส. เป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายและจำเลยอันเป็นข้อสำคัญในคดี เมื่อความจริงจำเลยเห็น ส. เป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายและจำเลย แล้วจำเลยเบิกความว่าจำเลยไม่ทราบว่าคนร้ายเป็นใคร และ ส. มิใช่คนร้ายคำเบิกความของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องย่อมเป็นข้อสำคัญในคดีที่เข้าใจได้ในตัวเองฟ้องโจทก์ดังกล่าวมีรายละเอียดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8892/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์ค่ารายปี, ความชอบด้วยกฎหมาย, และข้อจำกัดการอุทธรณ์
ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วที่ใช้เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 หมายความถึงค่ารายปีของปีก่อนถัดจากปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำลังประเมิน ดังนั้น การประเมินค่ารายปีสำหรับโรงเรือนพิพาทที่โจทก์ใช้ในปี 2546 เพื่อคำนวณภาษีซึ่งต้องชำระประจำปีภาษี 2547 จึงต้องนำค่ารายปีของปี 2545 ที่มีการชำระค่าภาษีประจำปีภาษี 2546 มาเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษี
ปัญหาว่าใบแจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 หรือไม่ เมื่อศาลภาษีอากรกลางมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทนี้ไว้ในชั้นชี้สองสถานและโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าโจทก์สละประเด็นดังกล่าวแล้ว อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง และมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
ปัญหาว่าใบแจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 หรือไม่ เมื่อศาลภาษีอากรกลางมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทนี้ไว้ในชั้นชี้สองสถานและโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าโจทก์สละประเด็นดังกล่าวแล้ว อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง และมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6663/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา: ตำแหน่งพนักงานอัยการและลายมือชื่อโจทก์
ฟ้องโจทก์หน้าแรกได้ระบุตำแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ไว้ชัดเจนว่า ข้าพเจ้า พนักงานอัยการจังหวัดสระบุรี โจทก์ และโจทก์ได้ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะโจทก์ท้ายฟ้องแล้ว จึงถือว่าฟ้องโจทก์มีตำแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์และลายมือชื่อโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (3) (7) โดยไม่จำต้องระบุว่าลายมือชื่อดังกล่าวเป็นของบุคคลใดและระบุตำแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ในช่องที่โจทก์จะต้องลงลายมือชื่ออีก ฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5884/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าร่วมดำเนินคดีแทนผู้ตาย, อายุความ และความชอบด้วยกฎหมายในการอนุญาตให้ดำเนินคดี
โจทก์ร่วมที่ 2 เป็นบิดาเด็กหญิง ร. มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ก็โดยฐานะเป็นผู้จัดการแทนเด็กหญิง ร. ผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) ต่อมาระหว่างพิจารณาของศาล โจทก์ร่วมที่ 2 ถึงแก่ความตาย ส. ภริยาโจทก์ร่วมที่ 2 หามีสิทธิเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมที่ 2 ตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 29 ไม่ เพราะโจทก์ร่วมที่ 2 เป็นเพียงผู้จัดการแทนเด็กหญิง ร. ผู้ตายเท่านั้น โจทก์ร่วมที่ 2 ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยตรง ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ส. เข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนอง: การบอกกล่าวที่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิเรียกร้องเบี้ยประกันภัย
ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติไว้เพียงว่า เมื่อจะบังคับจำนอง ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรเท่านั้น โจทก์จึงไม่ต้องระบุทรัพย์สินซึ่งจำนองไปในคำบอกกล่าวด้วย เมื่อจำเลยเป็นทั้งลูกหนี้และผู้จำนองย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าทรัพย์สินซึ่งจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ไว้แก่โจทก์คือ ห้องชุดเลขที่ 54/225 หาใช่ห้องชุดเลขที่ 0225 การที่หนังสือบอกกล่าวระบุทรัพย์สินซึ่งจำนองเป็นห้องชุดเลขที่ 0225 เห็นได้ชัดว่าเป็นเรื่องการพิมพ์ตัวเลขห้องชุดผิดพลาดอันเป็นเรื่องเล็กน้อย เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทำการไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าผู้รับจำนองมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองข้อ 5. ระบุไว้ว่า ...ถ้าผู้จำนองไม่จัดการเอาประกันอัคคีภัยและผู้รับจำนองได้จัดการเอาประกันอัคคีภัยเอง ผู้จำนองยินยอมนำเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้รับจำนองได้จ่ายไปมาชำระจนครบถ้วนภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้รับจำนองได้แจ้งให้ทราบ... ตามข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเบี้ยประกันภัยได้ก็ต่อเมื่อได้ทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยไปก่อนแล้วเท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยในอนาคตที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองข้อ 5. ระบุไว้ว่า ...ถ้าผู้จำนองไม่จัดการเอาประกันอัคคีภัยและผู้รับจำนองได้จัดการเอาประกันอัคคีภัยเอง ผู้จำนองยินยอมนำเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้รับจำนองได้จ่ายไปมาชำระจนครบถ้วนภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้รับจำนองได้แจ้งให้ทราบ... ตามข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเบี้ยประกันภัยได้ก็ต่อเมื่อได้ทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยไปก่อนแล้วเท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยในอนาคตที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4444/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญาในคดีชุลมุนต่อสู้ การบรรยายรายละเอียดผู้ร่วมเหตุการณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งมีอาวุธมีดปลายแหลมติดตัวไปกับ ฉ. ผู้ตายฝ่ายหนึ่งกับ ส. อีกฝ่ายหนึ่ง สมัครใจเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป โดยในการชุลมุนต่อสู้ดังกล่าว ฉ. ถูกอาวุธมีดที่จำเลยนำติดตัวไปแทงถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและบุคคลที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่ให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนในการชุลมุนต่อสู้กันจะมีผู้ร่วมชุลมุนกันอีกหลายคน และผู้ร่วมชุลมุนกลุ่มใดเป็นฝ่ายก่อเหตุก่อน เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำพยานมาสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2834/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของการสอบสวนคดีอนาจารเด็ก และการชี้ตัวผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ตรี
การที่จำเลยฎีกาว่า การสอบสวนไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 133 ตรี เพราะพนักงานสอบสวนไม่ได้จัดให้เด็กหญิง ณ. ผู้เสียหายชี้ตัวนั้น แม้ปัญหาข้อนี้จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่างอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้และเห็นว่า มาตรา 133 ตรี หาใช่บทบัญญัติที่บังคับให้พนักงานสอบสวนต้องจัดให้มีการชี้ตัวทุกคดีไม่ กรณีเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะจัดให้มีการชี้ตัวหรือไม่ก็ได้ เพียงแต่ว่าหากจัดให้มีการชี้ตัวต้องดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติ เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนไม่ได้จัดให้มีการชี้ตัวจึงไม่มีกรณีที่จะต้องดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยในคดีอนาจารและการพรากเด็ก: ศาลฎีกาพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของการเพิ่มโทษซ้ำซ้อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 278 วรรคแรก, 310 วรรคแรก, 317 วรรคสาม ประกอบมาตรา 92 ฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำคุก 1 ปี 4 เดือน ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร จำคุก 8 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 4 ปี 8 เดือน การที่ศาลชั้นต้นอ้างบทเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 92 ในคำพิพากษาจึงเป็นกรณีศาลชั้นต้นได้เพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามแล้ว เพียงแต่ศาลชั้นต้นไม่ได้ระบุข้อความว่าให้เพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามซึ่งเป็นเพียงการไม่สมบูรณ์ชัดเจนเท่านั้น หาทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยเหตุที่ยังมิได้เพิ่มโทษจำเลยดังที่โจทก์ขอมาแต่อย่างใดไม่ ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษจำเลยอีกจึงเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ดีที่ถูกศาลชั้นต้นต้องกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยในแต่ละฐานความผิดเสียก่อน แล้วจึงเพิ่มโทษจำเลยแต่ละฐานความผิดหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 54
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยให้เพิ่มเติมโทษจำเลยอีกหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยให้เพิ่มเติมโทษจำเลยอีกหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง