พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล่อยกระบือดุร้ายทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต: ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและการตาย
การทำฝ่าฝืนกฎหมายตามมาตรา 43 วรรค 3 (3) นั้น เป็นแต่เพียงสันนิษฐานไว้ก่อนว่าประมาทปล่อยกระบือดุร้ายไปแล้วกระบือนั้นไปขวิดผู้อื่นตาย แต่ความตายไกลต่อการกระทำมากนัก ผู้ปลอ่ยไม่มีผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท ฎีกาอุทธรณ์ ข้อกฎหมาย ทำฝ่าฝืนกฎหมายเป็นเหตุให้คนตายจะต้องมีผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาทหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาทจากการกล่าวอ้างความสัมพันธ์ชู้สาว ส่งผลเสียชื่อเสียง
พูดว่าเขาเป็นชู้สาวกับผู้ชาย มีผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับจำเลยมีน้ำหนักน้อยในการพิจารณาคดี
ลักษณพะยาน คำพรรคพวกของจำเลยด้วยกันมีน้ำหนักน้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10842/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงตนเปิดเผยความสัมพันธ์ชู้สาวหลังทราบสถานะสามีภรรยา มีผลให้ต้องรับผิดทางแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง
ทั้งก่อนและหลังจากจำเลยทราบว่า ท. มีโจทก์เป็นภริยาแล้ว จำเลยยังติดต่อคบหาสมาคมกับ ท. และติดตาม ท. มาถึงสถานที่ทำงาน อยู่ในห้องทำงานของ ท. และมีเพศสัมพันธ์กันซึ่งมิใช่ที่รโหฐาน ปกปิดมิดชิดไม่มีผู้ใดล่วงรู้ เมื่อคนงานและเพื่อนร่วมงาน ท. ทราบว่า ท. มีภริยาแล้วและพบเห็นจำเลยกับ ท. มาที่บริษัท โดยจำเลยแสดงตนโดยเปิดเผยว่าจำเลยกับ ท. มีความสัมพันธ์กันเป็นพิเศษ หลังจากจำเลยทราบว่า ท. มีภริยาแล้ว ย่อมทำให้วิญญูชนทั่วไปมีเหตุอันควรเชื่อและเข้าใจว่าจำเลยมีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับ ท. มากกว่าที่จะรู้จักกันในฐานะลูกค้าหรือบุคคลธรรมดาที่รู้จักกันทั่วไป ข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผยว่าจำเลยมีความสัมพันธ์กับ ท. สามีโจทก์ในทำนองชู้สาวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง แล้ว พฤติการณ์แห่งคดีที่ฟังยุติมาข้างต้นมิอาจแปลความว่า การกระทำของจำเลยมีลักษณะลักลอบมีเพศสัมพันธ์กับ ท. และพยายามปกปิดการกระทำให้ทราบกันตามลำพังระหว่างจำเลยกับ ท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9481/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัย: ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดหากไม่ทราบความสัมพันธ์ของผู้ขับขี่กับผู้เอาประกันภัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 31-0857 กรุงเทพมหานคร และหมายเลขทะเบียน 31-4326 กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ขับรถโดยสารไม่ประจำทางหมายเลขทะเบียน 30-0174 กรุงเทพมหานคร ในทางการที่จ้างหรือตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ขณะเกิดเหตุห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. เอาประกันภัยรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 30-0174 กรุงเทพมหานคร ไว้กับจำเลยที่ 4 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2549 เวลา 16.40 นาฬิกา จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารคันดังกล่าวออกจากหน้าบริษัท ท. แล้วเลี้ยวซ้ายเพื่อตรงออกปากซอยนิคมอุตสาหกรรมบางพลีซอย 7 ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนด้วยความเร็วสูงและไม่สามารถหยุดห้ามล้อได้ทัน เป็นเหตุให้รถโดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับพุ่งเข้าชนรถโดยสารทั้งสองคันของโจทก์ที่จอดดับเครื่องยนต์อยู่ริมถนนหน้าบริษัท ด. เพื่อรอรับคนงานจนรถโดยสารทั้งสองคันของโจทก์ได้รับความเสียหาย โดยจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างหรือเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 เป็นผู้รับประกันภัยรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 30-0174 กรุงเทพมหานคร จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ที่จำเลยที่ 1 ขับ ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ และขอให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัย อันมีลักษณะเป็นการเรียกร้องให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถโดยสารคันดังกล่าว ซึ่งการรับประกันภัยค้ำจุนนั้น ผู้รับประกันภัยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่งและซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง แต่คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขับรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 30-0174 กรุงเทพมหานคร ที่จำเลยที่ 4 รับประกันภัยไว้ขับรถในฐานะใดหรือมีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ผู้เอาประกันภัย อันจะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 4 ย่อมไม่มีโอกาสทราบว่าผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยเหตุใด อันจะทำให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัย ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นมูลที่จะให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 682/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางเพศเพื่อยืนยันความเป็นบิดร: พยานหลักฐานทางอีเมลและคำเบิกความ
ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องขอให้มีการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อพิสูจน์ว่า เด็กชาย ธ. เป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพียงให้ส่งสำเนาให้จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำคัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพียงว่า "รับเป็นคำคัดค้านของจำเลยทั้งสอง สำเนาให้โจทก์" การที่เมื่อถึงวันตรวจ จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมไปตรวจโดยไม่มีเหตุอันสมควร แล้วศาลล่างทั้งสองนำบทข้อสันนิษฐานที่เป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสองมาบังคับใช้นั้นไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 160 วรรคสาม เนื่องจากการจะสันนิษฐานไว้ก่อนว่าข้อเท็จจริงที่ต้องการตรวจเป็นผลร้ายแก่คู่ความฝ่ายนั้นได้ ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งให้ไปตรวจเสียก่อน เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพียงรับคำร้อง รับคำคัดค้านและสำเนาให้อีกฝ่าย ยังมิได้มีคำสั่งเลยว่าให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง คือโจทก์ จำเลยที่ 1 และเด็กชาย ธ. ไปดำเนินการตรวจสารพันธุกรรม กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 160 วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจนำบทข้อสันนิษฐานเป็นผลร้ายตามมาตรา 160 วรรคสาม มาใช้บังคับในคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5085/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์ผู้รับประโยชน์กับผู้เอาประกันภัย, ข้อยกเว้นกรมธรรม์, การตีความสัญญาประกันภัย, การฆาตกรรม
แม้ตามกรมธรรม์จะมีข้อยกเว้นระบุว่า "การประกันภัยตามกรมธรรม์ฉบับนี้ไม่คุ้มครอง... 2. ความสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจากความบาดเจ็บทางร่างกายที่เกิดขึ้นในเวลาต่อไปนี้... ง. ขณะที่ผู้เอาประกันภัยเข้าร่วมทะเลาะวิวาทหรือมีส่วนยั่วยุให้เกิดการทะเลาะวิวาท" มิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งถึงกรณีเสียชีวิตหรือถูกฆาตกรรม ดังนั้นข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องรับผิดดังกล่าวต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าย่อมหมายถึงเฉพาะความสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจากการบาดเจ็บทางร่างกายที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เสียชีวิต การที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะถูกฆาตกรรมจึงไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยตามตารางกรมธรรม์ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9532/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีประกันภัยค้ำจุนต้องระบุความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขับขี่ ผู้เอาประกันภัย และความรับผิดตามกฎหมาย
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายพร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาต แต่การที่จำเลยที่ 2 ได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ แล้ว
ประกันภัยค้ำจุนคือ สัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยและผู้ทำละเมิดเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยอย่างไร อันจะเป็นเหตุให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องร่วมรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการบรรยายฟ้องเพื่อให้เห็นถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องให้ได้ความว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้ไปทำละเมิดต่อโจทก์ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอย่างไรกับผู้เอาประกันภัยอันเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น และการบรรยายฟ้องถึงข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานี้ถือเป็นหลักเกณฑ์สำคัญ หาใช่เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 มีความสัมพันธ์กับผู้เอาประกันภัยอย่างไร คำฟ้องโจทก์จึงมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีใหม่ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
การระบุชื่อผู้ขับขี่ในกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ เป็นรูปแบบของกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งแต่ละแบบจะมีผลแตกต่างกันในเรื่องความเสี่ยงภัยของผู้รับประกันภัยและการได้รับความคุ้มครองในความเสียหายส่วนแรก อันเป็นผลถึงจำนวนเบี้ยประกันภัย ซึ่งเป็นทางเลือกของผู้เอาประกันภัยด้วย และแม้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยจะเป็นชนิดไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ ผู้รับประกันภัยก็จะต้องร่วมรับผิดเฉพาะกรณีผู้ขับขี่นั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องหรือได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยในทางใดทางหนึ่งเท่านั้น มิใช่ผู้ใดเป็นผู้ขับขี่ ผู้รับประกันภัยก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายทุกกรณีดังที่โจทก์อ้าง
ประกันภัยค้ำจุนคือ สัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยและผู้ทำละเมิดเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยอย่างไร อันจะเป็นเหตุให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องร่วมรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการบรรยายฟ้องเพื่อให้เห็นถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องให้ได้ความว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้ไปทำละเมิดต่อโจทก์ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอย่างไรกับผู้เอาประกันภัยอันเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น และการบรรยายฟ้องถึงข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานี้ถือเป็นหลักเกณฑ์สำคัญ หาใช่เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 มีความสัมพันธ์กับผู้เอาประกันภัยอย่างไร คำฟ้องโจทก์จึงมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีใหม่ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
การระบุชื่อผู้ขับขี่ในกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ เป็นรูปแบบของกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งแต่ละแบบจะมีผลแตกต่างกันในเรื่องความเสี่ยงภัยของผู้รับประกันภัยและการได้รับความคุ้มครองในความเสียหายส่วนแรก อันเป็นผลถึงจำนวนเบี้ยประกันภัย ซึ่งเป็นทางเลือกของผู้เอาประกันภัยด้วย และแม้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยจะเป็นชนิดไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ ผู้รับประกันภัยก็จะต้องร่วมรับผิดเฉพาะกรณีผู้ขับขี่นั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องหรือได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยในทางใดทางหนึ่งเท่านั้น มิใช่ผู้ใดเป็นผู้ขับขี่ ผู้รับประกันภัยก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายทุกกรณีดังที่โจทก์อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5568/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความปิดบังข้อสำคัญแห่งคดีอาญา มาตรา 177 วรรคแรก เกี่ยวกับความสัมพันธ์พิเศษของผู้ซื้อที่ดิน
ประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นของจำเลยที่ให้โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน การที่จำเลยเบิกความเกี่ยวกับโจทก์เพียงว่าจำเลยรู้จักกับโจทก์เมื่อปี 2524 และเห็นว่าโจทก์เป็นคนดีน่าเชื่อถือ กับได้รับคำแนะนำจากนายจ้างของโจทก์ว่าโจทก์เป็นผู้ที่ไว้วางใจได้น่าเชื่อถือ อันแสดงว่าจำเลยได้พิจารณาเพียงคุณสมบัติของตัวโจทก์ดังกล่าวก่อนที่จะให้โจทก์เป็นผู้ซื้อและถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนจำเลย โดยไม่เบิกความถึงความสัมพันธ์ที่จำเลยอยู่กินกับโจทก์เป็นภริยาของจำเลยอีกคนหนึ่งด้วย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโจทก์อันเป็นกรณีพิเศษไปจากบุคคลอื่นๆ และย่อมเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่ศาลในคดีก่อนจะได้นำไปพิจารณาประกอบกับพยานหลักฐานอื่น ๆ เพื่อวินิจฉัยให้มีผลคดีที่ถูกต้องและเป็นธรรม จึงเป็นการเบิกความโดยปิดบังข้อสำคัญแห่งคดี เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15164/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: ลักษณะการทำงานที่ปราศจากอำนาจบังคับบัญชา ไม่เป็นลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
โจทก์ทำงานเป็นพนักงานนวดสปา จำเลยไม่มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าด้วยการมาทำงาน การลาหยุดและวันหยุด โจทก์จะมาทำงานหรือไม่ก็ได้ เมื่อมาทำงานแล้วโจทก์จะกลับไปก็เพียงแจ้งให้ผู้จัดการของจำเลยทราบ วันใดที่โจทก์ไม่มาทำงานก็จะไม่มีค่าแรงแบ่งให้ โจทก์ขาดงานโดยไม่แจ้งผู้จัดการของจำเลยทราบก็ไม่มีบทลงโทษโจทก์ จำเลยไม่มีอำนาจบังคับบัญชาโจทก์ การที่จำเลยจัดคิวทำงานก่อนหลังให้แก่พนักงานซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วยเป็นการจัดลำดับการทำงานก่อนหลังของพนักงานเพื่อความเป็นระเบียบทั้งป้องกันการทะเลาะวิวาทกัน ไม่ใช่การใช้อำนาจบังคับบัญชา เมื่อจำเลยไม่มีอำนาจบังคับบัญชาโจทก์อย่างลูกจ้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยจึงมิใช่นายจ้างลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541