พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี: การคัดค้านราคาต้องมีหลักฐานสนับสนุน
การที่จะอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยไม่ชอบนั้นจะต้อง ปรากฏว่าการขายทอดตลาดนั้นขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎกระทรวงที่ว่าด้วยเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สิน เมื่อผู้แทนโจทก์ค้านเฉพาะ ราคาทรัพย์สินพิพาทว่าผู้เข้าประมูลสู้ราคาประมูลราคาต่ำ ไป และโจทก์นำสืบแต่ เพียงว่าราคาประมูลต่ำกว่าราคาที่สำนักงานวางทรัพย์กลางประเมินไว้โดย ไม่มีหลักฐานอื่นประกอบให้เห็นว่าราคาทรัพย์สินพิพาทที่แท้จริงควรจะเป็นจำนวนเท่าใด และในการขายทอดตลาดดังกล่าวไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าการประมูลซึ่งทรัพย์สินพิพาทที่ขายทอดตลาดเป็นการสมรู้กันกดราคาซื้อ หรือไม่สุจริต การขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทจึงชอบด้วย กฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการคัดค้านผลเลือกตั้ง ส.ส. และขอบเขตอำนาจการขอให้มีการประกาศผลใหม่
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยอ้างว่า ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นอันดับที่ 3 ได้รับเลือกตั้งโดยมิชอบ อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 51แห่ง พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ดังนี้ผู้ร้องคงมีสิทธิเพียงยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว มาตรา 78 เท่านั้นผู้ร้องซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งเป็นอันดับที่ 4 ไม่มีสิทธิร้องขอให้ผู้ร้องเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนผู้ได้รับคะแนนเลือกตั้งเป็นอันดับที่ 3 เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นเช่นนั้นได้ และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 89,102 และพ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 77แสดงว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมมีได้แต่โดยการเลือกตั้งเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกภาพ ส.ส. ได้มาจากการเลือกตั้ง สิทธิผู้ร้องคัดค้านการเลือกตั้ง
ตาม บทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521มาตรา 89102 และพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. 2522 มาตรา 77 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522(ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2529 มาตรา 6 แสดงว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมมีได้ แต่ โดย การเลือกตั้ง ดังนี้ แม้ตามคำร้อง ของ ผู้ร้องจะอ้างว่าผู้ได้รับเลือกตั้งได้รับ เลือกตั้งโดยมิชอบอันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ผู้ร้องคงมีสิทธิเพียงยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อให้เลือกตั้งใหม่เท่านั้น ไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนบุคคลอื่น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหนังสือแจ้งประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย และผลของการได้รับแจ้งความเพื่อยื่นคำร้องคัดค้าน
โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบเรื่องการย้ายภูมิลำเนาของโจทก์เพื่อให้จำเลยจัดส่งหนังสือแจ้งความแก่โจทก์ตามภูมิลำเนาใหม่ตรงกันข้ามในการยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษี โจทก์ระบุภูมิลำเนาเดิม แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ใช้ภูมิลำเนาเดิมเป็นภูมิลำเนาของโจทก์อีกแห่งหนึ่งโดยเฉพาะในการติดต่อกับจำเลยดังนี้การที่จำเลยส่งหนังสือแจ้งการประเมินแก่โจทก์ ณภูมิลำเนาเดิมจึงเป็นการส่งโดยชอบแล้ว
การส่งหนังสือแจ้งความและหมายเรียกตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 36 วรรคแรก หมายความว่าหากมีการส่งโดยทางจดหมายไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ถือว่าเป็นการส่งที่ชอบแล้ว ส่วนผู้รับหนังสือไว้แทนกฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องมีอายุเกินยี่สิบปี ซึ่งเป็นกรณีบังคับใช้เฉพาะในกรณีให้คนนำไปส่งเท่านั้น ดังนี้เมื่อได้ความว่าบุรุษไปรษณีย์นำส่งหนังสือแจ้งรายการประเมินให้แก่เด็กหญิงส.อายุ 14 ปีเศษซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์ การส่งหนังสือดังกล่าวจึงชอบแล้ว
การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาประเมินใหม่ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินมาตรา 26 นั้น จะต้องยื่นภายในเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความ หมายความถึงวันที่โจทก์หรือตัวแทนของโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งรายการประเมินนั่นเอง มิใช่ให้นับแต่วันที่โจทก์ทราบ.
การส่งหนังสือแจ้งความและหมายเรียกตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 36 วรรคแรก หมายความว่าหากมีการส่งโดยทางจดหมายไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ถือว่าเป็นการส่งที่ชอบแล้ว ส่วนผู้รับหนังสือไว้แทนกฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องมีอายุเกินยี่สิบปี ซึ่งเป็นกรณีบังคับใช้เฉพาะในกรณีให้คนนำไปส่งเท่านั้น ดังนี้เมื่อได้ความว่าบุรุษไปรษณีย์นำส่งหนังสือแจ้งรายการประเมินให้แก่เด็กหญิงส.อายุ 14 ปีเศษซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์ การส่งหนังสือดังกล่าวจึงชอบแล้ว
การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาประเมินใหม่ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินมาตรา 26 นั้น จะต้องยื่นภายในเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความ หมายความถึงวันที่โจทก์หรือตัวแทนของโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งรายการประเมินนั่นเอง มิใช่ให้นับแต่วันที่โจทก์ทราบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6047/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้แทนเฉพาะคดี: การแจ้งและการคัดค้าน การพิจารณาคำร้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย
การร้องขอให้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดี ผู้ร้องอาจยื่นคำร้องได้แต่ฝ่ายเดียว การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โฆษณาประกาศวันนัดไต่สวนทางหนังสือพิมพ์ก็เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบโดยทั่วไปหากผู้ที่เกี่ยวข้องจะคัดค้านประการใดให้ยื่นคำคัดค้านได้ตามวันเวลาที่กำหนดนัด ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของการไต่สวนคำร้องว่ามีความจำเป็นต้องตั้งผู้แทนเฉพาะคดีหรือไม่ จึงไม่จำต้องส่งสำเนาคำร้องและกำหนดวันนัดไต่สวนให้ผู้ใดทราบเป็นการเฉพาะตัว และการที่ศาลจะตั้งผู้หนึ่งผู้ใดเป็นผู้แทนเฉพาะคดีก็โดยคำนึงถึงประโยชน์เฉพาะตัวของผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนเฉพาะคดีแล้ว ผู้หนึ่งผู้ใดจะร้องขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3275/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีมรดกหลังมีคำคัดค้าน: ศาลต้องเปิดโอกาสให้เสนอพยานหลักฐานเพิ่มเติม และพิจารณาประเด็นสำคัญอย่างครบถ้วน
ในคดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านแล้วประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) บังคับให้ต้องดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาท เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านในวันที่ 22 มิถุนายน 2527 ศาลจะต้องกำหนดวันสืบพยานขึ้นใหม่เพื่อเปิดโอกาสให้คู่ความได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามกฎหมายเสียก่อนจะถือเอาวันนัดไต่สวนเดิมคือวันที่ 25 มิถุนายน2527 เป็นวันสืบพยานหาได้ไม่ ดังนี้ในวันที่ 25 มิถุนายน 2527 อันเป็นวันนัดไต่สวนไว้เดิมผู้คัดค้านจึงยังมีสิทธิที่จะเสนอคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3275/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีมรดกที่มีการคัดค้าน การกำหนดวันสืบพยานใหม่ และการสืบพยานประเด็นสำคัญ
ในคดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านแล้วประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4)บังคับให้ต้องดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาท เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านในวันที่ 22 มิถุนายน 2527 ศาลจะต้องกำหนดวันสืบพยานขึ้นใหม่เพื่อเปิดโอกาสให้คู่ความได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามกฎหมายเสียก่อน จะถือเอาวันนัดไต่สวนเดิมคือวันที่ 25 มิถุนายน 2527 เป็นวันสืบพยานหาได้ไม่ ดังนี้ในวันที่ 25 มิถุนายน 2527 อันเป็นวันนัดไต่สวนไว้เดิมผู้คัดค้านจึงยังมีสิทธิที่จะเสนอคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านต่อศาลได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาที่ไม่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และการยกฎีกาที่ไม่แสดงเหตุผลโต้แย้ง
ฎีกาของโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ถูกต้องอย่างไร คงคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาไว้ในฎีกาเท่านั้น จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพียงแต่คัดลอกเนื้อหาจากอุทธรณ์
ฎีกาของโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ถูกต้องอย่างไร คงคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาไว้ในฎีกาเท่านั้น จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์ร่วม การครอบครองปรปักษ์ และผลของการคัดค้านการแบ่งแยกโฉนด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีชื่อในโฉนดร่วมกับจำเลยและผู้มีชื่อตามที่ระบุไว้ในคำฟ้องโดยโจทก์ได้รับการยกให้จากมารดา และโจทก์ได้เข้าครอบครองที่พิพาทปรากฏเขตตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องเป็นส่วนสัดมากกว่า 10 ปี จำเลยไม่ยอมแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่โจทก์ครอบครองให้โจทก์ดังนี้ เป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
แม้ฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า โฉนดที่พิพาทมีชื่อโจทก์จำเลยล. และ ท. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน แต่ในทางพิจารณาได้ความว่ามีชื่อ ร. ในโฉนดที่พิพาทด้วย ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณาแตกต่างไปจากฟ้องเพราะ ร. ซึ่งมีชื่อในโฉนดที่พิพาทด้วยเป็นที่จำเลยได้รับมรดกที่พิพาทจากบิดามารดาเช่นเดียวกับจำเลยแต่บวชเป็นพระภิกษุ ไม่เคยครอบครองที่พิพาทและได้ยกกรรมสิทธิ์ส่วนของตนให้จำเลยก่อนโจทก์ฟ้องแล้ว ดังนั้นจึงหาเกี่ยวกับที่พิพาทในส่วนที่โจทก์ได้รับการยกให้และครอบครองมากกว่า 10 ปีไม่จึงไม่ทำให้ฟ้องเสียไปแต่อย่างใด เมื่อจำเลยคัดค้านการแบ่งแยกโฉนดพิพาท ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้ฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า โฉนดที่พิพาทมีชื่อโจทก์จำเลยล. และ ท. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน แต่ในทางพิจารณาได้ความว่ามีชื่อ ร. ในโฉนดที่พิพาทด้วย ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณาแตกต่างไปจากฟ้องเพราะ ร. ซึ่งมีชื่อในโฉนดที่พิพาทด้วยเป็นที่จำเลยได้รับมรดกที่พิพาทจากบิดามารดาเช่นเดียวกับจำเลยแต่บวชเป็นพระภิกษุ ไม่เคยครอบครองที่พิพาทและได้ยกกรรมสิทธิ์ส่วนของตนให้จำเลยก่อนโจทก์ฟ้องแล้ว ดังนั้นจึงหาเกี่ยวกับที่พิพาทในส่วนที่โจทก์ได้รับการยกให้และครอบครองมากกว่า 10 ปีไม่จึงไม่ทำให้ฟ้องเสียไปแต่อย่างใด เมื่อจำเลยคัดค้านการแบ่งแยกโฉนดพิพาท ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง