พบผลลัพธ์ทั้งหมด 886 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้จ่ายเงินบำเหน็จผู้นำจับต้องอาศัยระเบียบของรัฐมนตรี โจทก์ต้องแนบระเบียบดังกล่าวต่อศาล
ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490มาตรา 71 การที่ศาลจะสั่งให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จจำต้อง พิจารณาจากระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดขึ้นระเบียบดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริง รัฐมนตรีได้ออกระเบียบไว้หรือไม่มีเงื่อนไขการจ่ายเงินบำเหน็จไว้อย่างไร จึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องบรรยายฟ้องมาให้ศาลทราบหรือแนบระเบียบดังกล่าวมาด้วย เพื่อที่ศาลจะได้พิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จโดยถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้แนบระเบียบดังกล่าวมาให้ศาลทราบศาลจึงไม่อาจที่จะพิพากษาให้จำเลยจ่ายบำเหน็จได้ ทั้งนี้เนื่องจากการที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายบำเหน็จเป็นเรื่องสำคัญมีผลเท่ากับลงโทษทางอาญาแก่จำเลย เพราะหากจำเลยไม่จ่ายเงินบำเหน็จแล้ว บทบัญญัติมาตรานี้ให้บังคับชำระเช่นเดียวกับการบังคับชำระค่าปรับในคดีอาญาโจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องหรือแนบระเบียบดังกล่าวมาให้ศาลทราบ ระเบียบดังกล่าวคือข้อเท็จจริงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี ตามมาตรา 19 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499ปัญหาเรื่องข้อบกพร่องของคำฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลย่อมยกขึ้นมาพิพากษาให้เป็นประโยชน์แก่จำเลยได้ ดังนี้ การที่ศาลยกเรื่องการจ่ายเงินบำเหน็จขึ้นมาพิพากษา จึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการไม่แจ้งนัดพิจารณาคดี ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นสั่งไม่รับฟ้อง
พนักงานอัยการโจทก์มอบคำฟ้องให้เจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการมายื่นต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นประกาศเรียกโจทก์และให้เจ้าหน้าที่โทรศัพท์แจ้งให้โจทก์มาศาลเพื่อสอบถามแล้ว แต่โจทก์ไม่มา เมื่อไม่ปรากฏว่าที่ศาลชั้นต้นนัดให้โจทก์มาศาลเพื่อสอบถามเป็นเรื่องอะไร จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะเหตุนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 166 และ 181 ไม่ได้
โจทก์มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์มายื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นโดยไม่มีใบมอบฉันทะตาม ป.วิ.พ.มาตรา 64 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15การยื่นคำฟ้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นจะสั่งประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 และศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นสั่งไม่รับฟ้อง
โจทก์มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์มายื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นโดยไม่มีใบมอบฉันทะตาม ป.วิ.พ.มาตรา 64 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15การยื่นคำฟ้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นจะสั่งประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 และศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นสั่งไม่รับฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่ปฏิเสธค่ารักษาพยาบาล ศาลพิพากษาให้ชดใช้ได้ แม้ไม่ได้ระบุจำนวนในคำฟ้อง
ฟ้องโจทก์อ้างเหตุแห่งความเสียหายไว้ 2 ประการคือ ค่ารักษาพยาบาลประการหนึ่ง กับค่าเสียหายอันเกิดจากการบาดเจ็บจนไม่สามารถประกอบการงานตามปกติได้อีกประการหนึ่ง แต่โจทก์รวมยอดค่าเสียหายทั้งสองจำนวนเข้าด้วยกันเป็นเงิน 100,000 บาทและจำเลยให้การปฏิเสธเฉพาะค่าเสียหายในส่วนที่โจทก์ไม่สามารถประกอบการงานตามปกติได้เท่านั้น ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสียไปเนื่องจากการรักษาพยาบาลจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธ กรณีเช่นนี้ถือว่าจำเลยยอมรับ ว่าโจทก์ต้องสิ้นเงินในการรักษาพยาบาลจริงศาลชั้นต้นจึงกำหนดจำนวนเงินที่โจทก์ ต้องเสียไปเนื่องจากการรักษาพยาบาลได้ มิใช่พิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่ปฏิเสธค่ารักษาพยาบาลถือเป็นการยอมรับ ศาลพิพากษาได้แม้ไม่ระบุจำนวนในคำฟ้อง
ฟ้องโจทก์อ้างเหตุแห่งความเสียหายไว้ 2 ประการคือ ค่ารักษาพยาบาลประการหนึ่ง กับค่าเสียหายอันเกิดจากการบาดเจ็บจนไม่สามารถประกอบการงานตามปกติได้อีกประการหนึ่ง แต่โจทก์รวมยอดค่าเสียหายทั้งสองจำนวนเข้าด้วยกันเป็นเงิน 100,000 บาท จำเลยให้การปฏิเสธเฉพาะค่าเสียหายในส่วนที่ โจทก์ไม่สามารถประกอบการงานตามปกติได้เท่านั้น ส่วนค่าเสียหาย ที่โจทก์ต้องเสียไปเนื่องจากการรักษาพยาบาลนั้น จำเลยมิได้ ให้การปฏิเสธ กรณีเช่นนี้ถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ต้องสิ้นเงินในการรักษาพยาบาลจริง ศาลชั้นต้นจึงกำหนดจำนวนเงินที่โจทก์ต้องเสียไปเนื่องจากการรักษาพยาบาลได้ มิใช่พิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิในการต่อสู้คดีและการยอมรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง
ก่อนวันสืบพยานในคดีที่จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การทนายโจทก์และทนายจำเลยที่ 2 ที่ 3 มาศาล ทั้งสองฝ่ายร่วมกันแถลงว่าคดีตกลงกันไปเกือบเสร็จสิ้นแล้วยังติดขัดรายละเอียดอีกเล็กน้อย ขอเลื่อนคดีเพื่อทำยอมนัดหน้า และฝ่ายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยินดีสละข้อสู้ตามคำให้การทั้งหมด คงเหลือไว้ประเด็นเดียวคือค่าเสียหาย หากนัดหน้าทำยอมกันไม่ได้ก็ติดใจสู้ประเด็นนี้เพียงประการเดียว ศาลชั้นต้นได้จดรายงานกระบวนพิจารณาไว้และได้อ่านให้คู่ความฟังแล้วโดยทนายจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงชื่อไว้ รายงาน-กระบวนพิจารณาของศาลดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานเบื้องต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 49 และคำแถลงของทนายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นข้อตกลงในการสละสิทธิในข้อต่อสู้ตามคำให้การของตนทั้งหมดในประเด็นอื่นรวมทั้งประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยและกรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ยอมรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จริง โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้อีกต่อไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตภาระจำยอมต้องสอดคล้องกับคำฟ้องและข้อเท็จจริงที่ได้มีการอ้างถึง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่ในภาระจำยอมจำเลยไม่อุทธรณ์ ปัญหาว่าที่ดินจำเลยตกอยู่ในภาระจำยอมหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเฉพาะด้านหลังตึกแถวเท่านั้นว่าทางภาระจำยอมเป็นทางเดินด้วย ส่วนทางด้านข้างของตึกแถวทางทิศตะวันตกนั้น โจทก์มิได้กล่าวอ้างว่ามีทางภาระจำยอมที่เป็นทางเดิน คงอ้างแต่เพียงว่ากันสาดของของด้านข้างตึกแถวทางทิศตะวันตกยื่นล้ำเข้ามาในที่ดินจำเลยที่ 1เพื่อใช้บังแดดบังฝนโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเพื่อเป็นกันสาดบังแดดบังฝนติดต่อกันมาเกิน 10 ปี โจทก์จึงได้สิทธิแนวเขตกันสาดเป็นภาระ-จำยอมโดยกฎหมาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับภาระจำยอมทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกจึงควรมีความกว้างเท่ากับแนวกันสาดทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกเท่านั้น และเมื่อกันสาดด้านนี้กว้างเพียง 59 เซ็นติเมตร การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดว่าที่ดินจำเลยที่ 1 ทางด้านข้างตึกทิศตะวันตกตกเป็นภาระจำยอม โดยมีความกว้าง 1 เมตร จึงเกินไปจากความกว้างของกันสาดตามคำฟ้อง ศาลฎีกาจึงสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง คือ 59 เซ็นติเมตร
คำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเฉพาะด้านหลังตึกแถวเท่านั้นว่าทางภาระจำยอมเป็นทางเดินด้วย ส่วนทางด้านข้างของตึกแถวทางทิศตะวันตกนั้น โจทก์มิได้กล่าวอ้างว่ามีทางภาระจำยอมที่เป็นทางเดิน คงอ้างแต่เพียงว่ากันสาดของของด้านข้างตึกแถวทางทิศตะวันตกยื่นล้ำเข้ามาในที่ดินจำเลยที่ 1เพื่อใช้บังแดดบังฝนโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเพื่อเป็นกันสาดบังแดดบังฝนติดต่อกันมาเกิน 10 ปี โจทก์จึงได้สิทธิแนวเขตกันสาดเป็นภาระ-จำยอมโดยกฎหมาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับภาระจำยอมทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกจึงควรมีความกว้างเท่ากับแนวกันสาดทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกเท่านั้น และเมื่อกันสาดด้านนี้กว้างเพียง 59 เซ็นติเมตร การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดว่าที่ดินจำเลยที่ 1 ทางด้านข้างตึกทิศตะวันตกตกเป็นภาระจำยอม โดยมีความกว้าง 1 เมตร จึงเกินไปจากความกว้างของกันสาดตามคำฟ้อง ศาลฎีกาจึงสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง คือ 59 เซ็นติเมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยคำฟ้องไม่ได้ระบุถึงเหตุสุดวิสัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า หลังจากที่จำเลยได้รับรถไปตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเพียง 12 งวดและผิดนัดไม่ชำระตั้งแต่งวดที่ 13 เป็นต้นมาจนถึงวันฟ้องโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว การผิดนัดของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และโจทก์บรรยายฟ้องต่อไปถึงเรื่องรายละเอียดของค่าเสียหาย ส่วนคำขอท้ายฟ้องเป็นการขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์คืนหรือชดใช้ราคาทรัพย์ ลักษณะคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องเช่นนี้ เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยอ้างเหตุว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อทั่วไปเท่านั้น คดีจึงไม่มีกรณีที่จำเลยต้องชำระค่าเสียหายแม้จะเกิดจากเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6937/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องตาม พ.ร.บ.เช็ค: การอ้างมาตราในคำฟ้องมีผลตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มีบทบัญญัติรวมสิบเอ็ดมาตราเท่านั้น และมาตราที่บัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้มีอยู่เฉพาะมาตรา 4 เพียงมาตราเดียว ในคำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายการกระทำผิดของจำเลยไว้ชัดแจ้งครบถ้วนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 แล้ว จำเลยย่อมจะเข้าใจดีและไม่หลงต่อสู้เมื่อโจทก์ได้อ้าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง อีกทั้งระบุอ้างมาตรา 4 และชื่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวไว้ที่หน้าคำฟ้องในช่องข้อหาหรือฐานความผิดแล้วเช่นนี้ ย่อมมีผลเท่ากับการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (6) แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6937/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาเช็คคืน การระบุมาตราในคำฟ้อง และความสมบูรณ์ของคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มีบทบัญญัติรวมสิบเอ็ดมาตราเท่านั้น และมาตราที่ บัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้มีอยู่เฉพาะมาตรา 4 เพียงมาตราเดียว ในคำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายการกระทำผิดของจำเลยไว้ชัดแจ้งครบถ้วนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4แล้ว จำเลยย่อมจะเข้าใจดีและไม่หลงต่อสู้เมื่อโจทก์ได้อ้าง พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง อีกทั้งระบุอ้างมาตรา 4 และชื่อพระราชบัญญัติ ดังกล่าวไว้ที่หน้าคำฟ้องในช่องข้อหาหรือฐานความผิดแล้วเช่นนี้ ย่อมมีผลเท่ากับการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำ เช่นนั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5882/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขัดทรัพย์มีผลเป็นคำฟ้อง การสั่งให้เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมก่อนพิจารณาเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่อุทธรณ์ได้
ป.วิ.พ. มาตรา 1(3), 18, 173 วรรคสอง, 226, 230, 232, 243, 288
คำร้องขัดทรัพย์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 ถือเป็นคำฟ้องตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 1 (3) เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ดังกล่าวก็เท่ากับได้ยื่นคำฟ้องต่อศาล อันมีผลทำให้คดีร้องขัดทรัพย์เป็นคดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาตามมาตรา173 วรรคสอง โดยไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอเสียก่อน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แล้วจึงจะพิจารณาสั่งคำร้องขอของผู้ร้องนั้น จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 ซึ่งต้องห้ามมิให้ผู้ร้องอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณา
เมื่อผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์และโต้แย้งไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกา แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อที่เกี่ยวกับค่าขึ้นศาลนี้ ศาลก็มีอำนาจสั่งให้คู่ความเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มในส่วนที่ยังขาดหรือสั่งคืนในส่วนที่เสียเกินได้โดยไม่ต้องให้คู่ความขอ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งในระหว่างพิจารณาของผู้ร้อง และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ให้นั้น จึงไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องยกเลิกเพิกถอนแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้ศาลชั้นต้นกำหนดเวลาให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์เสียใหม่ แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
คำร้องขัดทรัพย์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 ถือเป็นคำฟ้องตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 1 (3) เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ดังกล่าวก็เท่ากับได้ยื่นคำฟ้องต่อศาล อันมีผลทำให้คดีร้องขัดทรัพย์เป็นคดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาตามมาตรา173 วรรคสอง โดยไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอเสียก่อน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แล้วจึงจะพิจารณาสั่งคำร้องขอของผู้ร้องนั้น จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 ซึ่งต้องห้ามมิให้ผู้ร้องอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณา
เมื่อผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์และโต้แย้งไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกา แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อที่เกี่ยวกับค่าขึ้นศาลนี้ ศาลก็มีอำนาจสั่งให้คู่ความเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มในส่วนที่ยังขาดหรือสั่งคืนในส่วนที่เสียเกินได้โดยไม่ต้องให้คู่ความขอ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งในระหว่างพิจารณาของผู้ร้อง และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ให้นั้น จึงไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องยกเลิกเพิกถอนแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้ศาลชั้นต้นกำหนดเวลาให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์เสียใหม่ แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป