พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6109/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระเงินตามคำพิพากษา ทำให้ถือว่าทิ้งคำร้องอุทธรณ์
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยว่าให้จำเลยนำค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาวางศาลภายในกำหนด 7 วัน ย่อมหมายถึงให้นำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อ ศาลตามที่บังคับไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ในวันครบกำหนดจำเลยคงนำแต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่ใช้แทนโจทก์มาวางศาลเท่านั้น มิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือประกันให้ไว้ต่อศาล ถือได้ว่าจำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5838/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการสิ้นสุดความเป็นลูกจ้าง: การสั่งพักงานและคำสั่งเลิกจ้างมีผลเมื่อใด
โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จนถูกจำเลยตั้งกรรมการสอบสวน และจำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์ตามข้อบังคับตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2530 เพื่อรอฟังผลการสอบสวน ต่อมาวันที่ 20 มกราคม 2531 จำเลยออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลตั้งแต่วันแรกที่พักงาน ความเป็นลูกจ้างและนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจึงสิ้นสุดลงตั้งแต่วันนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในช่วงนับแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2530 ถึงวันที่ 20 มกราคม 2531
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางสัญญาและละเมิดของลูกจ้าง การปฏิบัติตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการคำนวณค่าเสียหาย
โจทก์ตั้งฟ้องมาว่า จำเลยและผู้จัดการที่ทำการประปากระทำละเมิดผิดสัญญาจ้าง เรียกค่าเสียหาย แม้จะฟังว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความในมูลละเมิดแต่ในเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงาน อายุความ10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง
จำเลยมีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่พัสดุของโจทก์ ร่วมกับผู้จัดการที่ทำการประปากระทำการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับของโจทก์โดยทุจริตยักยอกและเบียดบังเอาทรัพย์ของโจทก์ เช่นนี้จำเลยจะอ้างว่าปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเพื่อปัดความผิดของตนหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าจำเลยจะต้องรับผิดในหนี้6 รายการ ตามเอกสารหมาย จ.5 ข้อ 8.1.1 ถึง 8.1.6 รวมเป็นเงิน390,149.20 บาทเช่นนี้ แม้ศาลจะได้กล่าวสรุปในตอนต่อมาของคำพิพากษาว่า '...ความรับผิดของจำเลยที่ 1 จริง ๆ ควรเป็นจำนวน390,149.20 บาท ตามเอกสารหมาย จ.5 ข้อ 8.1.6 เท่านั้น ...' อันเป็นการคลาดเคลื่อนไป จำเลยที่ 1 จะถือโอกาสเอาข้อคลาดเคลื่อนผิดหลงเพียงเล็กน้อยเท่านี้มาลดความรับผิดจริงให้เหลือเพียง8,346 บาท ตามที่ระบุในเอกสารหมาย จ.5 ข้อ 8.1.6 เท่านั้นหาชอบไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยมีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่พัสดุของโจทก์ ร่วมกับผู้จัดการที่ทำการประปากระทำการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับของโจทก์โดยทุจริตยักยอกและเบียดบังเอาทรัพย์ของโจทก์ เช่นนี้จำเลยจะอ้างว่าปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเพื่อปัดความผิดของตนหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าจำเลยจะต้องรับผิดในหนี้6 รายการ ตามเอกสารหมาย จ.5 ข้อ 8.1.1 ถึง 8.1.6 รวมเป็นเงิน390,149.20 บาทเช่นนี้ แม้ศาลจะได้กล่าวสรุปในตอนต่อมาของคำพิพากษาว่า '...ความรับผิดของจำเลยที่ 1 จริง ๆ ควรเป็นจำนวน390,149.20 บาท ตามเอกสารหมาย จ.5 ข้อ 8.1.6 เท่านั้น ...' อันเป็นการคลาดเคลื่อนไป จำเลยที่ 1 จะถือโอกาสเอาข้อคลาดเคลื่อนผิดหลงเพียงเล็กน้อยเท่านี้มาลดความรับผิดจริงให้เหลือเพียง8,346 บาท ตามที่ระบุในเอกสารหมาย จ.5 ข้อ 8.1.6 เท่านั้นหาชอบไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การทะเลาะวิวาทส่วนตัวไม่ถึงขั้นร้ายแรง
ลูกจ้างมีเรื่องด่าและทำร้ายภริยาของลูกจ้างในสถานที่ทำการของนายจ้าง การที่ลูกจ้างไม่ยอมเชื่อฟังและแสดงกิริยาไม่เคารพผู้บังคับบัญชาก็เนื่องจากการทะเลาะกับภริยาอันเป็นเรื่องส่วนตัวที่เกิดจากความหึงหวงเพราะภริยาไม่กลับบ้านและลูกจ้างไม่พอใจที่มีผู้อื่นมาห้ามปราม การกระทำดังนี้ยังไม่ถึงกับเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และไม่เป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรงที่นายจ้างจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ส่วนการที่ผู้บังคับบัญชาห้ามปรามลูกจ้างนั้นก็ไม่ใช่เป็นคำสั่งที่มีกิจจะลักษณะแต่อย่างใด คงมีความประสงค์เพียงให้ลูกจ้างกับภริยาเลิกทะเลาะวิวาทกันเท่านั้นการที่ลูกจ้างไม่เชื่อฟังจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันจะเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2706/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการมีอำนาจสั่งเลิกจ้าง: การสั่งให้ทำงานเป็นเหตุเลิกจ้างหรือไม่ และผู้มีอำนาจสั่งเลิกจ้างคือใคร
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ได้สั่งให้โจทก์ทำความสะอาดทางระบายน้ำเสีย โจทก์ไม่ยอมทำอ้างว่าสกปรกเกินไป ป.ภรรยาพ. ผู้จัดการห้างจำเลยจึงบอกแก่โจทก์ว่า "ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องออกจากงาน" มิได้กล่าวให้เป็นกิจจะลักษณะว่าจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์และ ป. มิได้เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าได้รับมอบหมายจาก พ. ป. จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ ไม่มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้ การที่โจทก์ออกจากงานไปยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2706/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องเป็นอำนาจของผู้มีหน้าที่ ผู้สั่งการไม่มีอำนาจเลิกจ้างไม่ได้
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ได้สั่งให้โจทก์ทำความสะอาดทางระบายน้ำเสีย โจทก์ไม่ยอมทำอ้างว่าสกปรกเกินไป ป.ภรรยาพ.ผู้จัดการห้างจำเลยจึงบอกแก่โจทก์ว่า 'ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องออกจากงาน' มิได้กล่าวให้เป็นกิจจะลักษณะว่าจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ และ ป.มิได้เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าได้รับมอบหมายจาก พ. ป. จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ ไม่มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้การที่โจทก์ออกจากงานไปยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่นำพยานหลักฐานตามคำสั่งเจ้าพนักงานประเมิน ทำให้หมดสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาล
โจทก์ผู้อุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่นำพยานซึ่งมีความหมายถึงพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินตามคำสั่ง ดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา 32 แห่งประมวลรัษฎากรโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลตามมาตรา 30 (2), 33 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์เกินกำหนด: แม้ระบุเป็นอุทธรณ์คำสั่ง แต่เนื้อหาเป็นการขอให้แก้คำพิพากษา จึงต้องยื่นภายในกำหนดอุทธรณ์
ในชั้นบังคับคดีจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งแก้ไขคำพิพากษาตามยอมโดยอ้างว่าจำเลยที่ 3 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์เพราะถูกโจทก์ฉ้อฉล ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ แม้จำเลยที่ 3 จะระบุไว้ในแบบพิมพ์อุทธรณ์ว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น แต่เนื้อหาในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 มิได้เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งดังกล่าว แต่เป็นการอ้างว่าจำเลยที่ 3 ถูกโจทก์ฉ้อฉลและขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น หาใช่เป็นการอุทธรณ์คำสั่ง เมื่อจำเลยที่ 3 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 แม้จำเลยที่ 3อ้างว่าเพิ่งทราบความจริงว่าโจทก์ฉ้อฉล ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นเกินกำหนดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเป็นคู่ความแทนโจทก์หลังเสียชีวิต: ศาลฎีกายกคำสั่งเดิมแต่อนุญาตให้เป็นคู่ความแทนได้
ล. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษา ต่อมาจำเลยอุทธรณ์และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์นั้นแล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การที่ศาลแรงงานกลางสั่งอนุญาตให้ ล.เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์หลังจากนั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาต้องยกคำสั่งดังกล่าว แต่เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ล. เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และโจทก์ถึงแก่กรรมจริง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ ล. เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้ถึงแก่กรรมหลังมีคำพิพากษา ศาลฎีกายกคำสั่งเดิมแต่อนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความได้
ล. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษา ต่อมาจำเลยอุทธรณ์และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์นั้นแล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การที่ศาลแรงงานกลางสั่งอนุญาตให้ ล.เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์หลังจากนั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาต้องยกคำสั่งดังกล่าว แต่เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ล.เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และโจทก์ถึงแก่กรรมจริง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ ล. เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์