พบผลลัพธ์ทั้งหมด 297 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่สืบต่อแม้มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของกรรมสิทธิ์ และการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
ที่พิพาทเป็นของเจ้าของรวม 2 คน จำเลยเช่าจากเจ้าของรวมคนหนึ่งแม้ที่พิพาทจะเปลี่ยนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งแต่ผู้เดียวภายหลังก็ตามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 สัญญาเช่าก็หาได้ระงับไปไม่ โจทก์ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่เจ้าของรวมคนนั้นมีอยู่ต่อจำเลยตามสัญญา ทั้งเมื่อโจทก์ไม่ได้ตั้งประเด็นนำสืบให้ปรากฏว่า โจทก์ไม่ต้องผูกพันตามสัญญาเช่านั้นอย่างใด เช่นนี้แล้ว เมื่อสัญญาเช่ายังไม่ระงับและเป็นการเช่าที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าโจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 837/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเปเต้นท์ต่างประเทศ: ไม่อาจคุ้มครองในไทยหากไม่มีกฎหมายรองรับ
"สิทธิในวิธีการประดิษฐ์" หรือ "สิทธิเปเต้นท์" ในขณะนี้ยังไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายไทยก่อตั้งคุ้มครองจึงไม่ได้ชื่อว่าเป็น"สิทธิตามกฎหมาย"จึงไม่อาจก่อให้เกิดเป็นมูลละเมิดที่จะเรียกร้องให้บังคับบัญชาทางศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้เช่าซื้อโดยสุจริต: คุ้มครองจากการคืนทรัพย์สินหากชำระราคาครบถ้วน
ผู้เช่าซื้อทรัพย์สินจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นโดยสุจริต และได้ชำระเงินครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว ทรัพย์สินนั้นย่อมตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าในทำนองเดียวกันกับผู้ให้เช่าได้ขายทรัพย์นั้นให้แก่ผู้เช่า จึงถือได้ว่าผู้เช่าซื้อเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น และไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริงเว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความคิดเห็นติชมเจ้าหน้าที่รัฐโดยสุจริตและเป็นธรรม ถือเป็นการกระทำที่กฎหมายคุ้มครอง
จำเลยได้กล่าวว่า "ไม่ยุติธรรม" และนำความไปบอกเล่าบุคคลที่ 3 ว่า "พวกผมได้รับผ้าเก่า ๆ ขาด ๆ ทั้งนั้น ส่วนผ้าดี ๆ ใหม่ ๆ ปลัดกับกำนันเอาไปหมด ฯลฯ" นั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเจ้าหน้าที่แจกผ้าให้แก่ราษฎรผู้ประสบวาตภัยไม่รัดกุมขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นพฤติการณ์ทีมีช่องทางให้ราษฎรทั่ว ๆไปคิดเห็นไปได้โดยสุจริตใจว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่ในการแจกเสื้อผ้านั้นไม่ได้ทำไปโดยเที่ยงธรรม การกระทำของจำเลยเป็นการแสดงความคิดเห็นของตนโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งบุคคลอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 324(3) จำเลยไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ทำนาโดยอาศัยสิทธิผู้เช่าเดิม ไม่ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เช่านา
ผู้ที่ทำนาโดยอาศัยสิทธิของผู้เช่านานั้น ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญํติการเช่านา พ.ศ. 2493
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าเพื่อค้าขายย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายควบคุมค่าเช่า แม้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย
สัญญาเช่าห้องแถวระบุว่า ให้เช่าเป็นที่อยู่และค้าขาย แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้เช่าเช่าด้วยเจตนาประกอบธุรกิจการค้าเป็นส่วนสำคัญ แม้จะใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ. 2489
เมื่อคดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มีพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินออกใช้บังคับ ผู้เช่าก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายใหม่ เพราะคดีนี้พิพาทกันก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวออกใช้ ทั้งคดีก็ฟังได้ว่าผู้เช่าได้ใช้ห้องพิพาทโดยเจตนาเพื่อประกอบธุรกิจการค้าด้วย
เมื่อคดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มีพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินออกใช้บังคับ ผู้เช่าก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายใหม่ เพราะคดีนี้พิพาทกันก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวออกใช้ ทั้งคดีก็ฟังได้ว่าผู้เช่าได้ใช้ห้องพิพาทโดยเจตนาเพื่อประกอบธุรกิจการค้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดก อำนาจฟ้อง และการคุ้มครองค่าเช่าตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
สถานที่เช่าเป็นเคหะสถานอันได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าหรือไม่นั้น จำเลยต้องนำสืบก่อน
ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 นั้น เป็นเรื่องที่คู่ความโต้เถียงกันว่า ฝ่ายใดมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เป็นประการสำคัญ การที่อ้างว่าผู้ใดไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาท ไม่ใช่ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์
จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงศาลชั้นต้นสั่งว่า "รับเป็นอุทธรณ์ของจำเลยให้นำส่งสำเนาให้โจทก์ภายใน 15 วัน" ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ตามธรรมดา ไม่ได้สั่งในรูปรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 2+ วรรคสองเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าประเด็นใดเป็นประเด็นข้อเท็จจริงต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ ก็ไม่หยิบยกประเด็นนั้น ๆ ขึ้นวินิจฉัย เป็นการถูกต้องแล้ว
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599 ทายาทย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดก ตั้งแต่เจ้ามรดกตาย แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนสิทธินั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12+ก็ตาม
ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 นั้น เป็นเรื่องที่คู่ความโต้เถียงกันว่า ฝ่ายใดมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เป็นประการสำคัญ การที่อ้างว่าผู้ใดไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาท ไม่ใช่ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์
จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงศาลชั้นต้นสั่งว่า "รับเป็นอุทธรณ์ของจำเลยให้นำส่งสำเนาให้โจทก์ภายใน 15 วัน" ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ตามธรรมดา ไม่ได้สั่งในรูปรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 2+ วรรคสองเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าประเด็นใดเป็นประเด็นข้อเท็จจริงต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ ก็ไม่หยิบยกประเด็นนั้น ๆ ขึ้นวินิจฉัย เป็นการถูกต้องแล้ว
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599 ทายาทย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดก ตั้งแต่เจ้ามรดกตาย แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนสิทธินั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12+ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่สุจริตและการคุ้มครองผู้รับโอนที่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การร้องทุกข์หรือการฟ้องคดีกล่าวหาว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้จำเลยนั้น ไม่ถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138
หากฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริต ทั้งได้มีการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1329 และ มาตรา 1300 แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เดิมจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนนั้นไม่ได้ (ทั้งนี้ มิพักต้องคำนึงถึงว่าผู้โอนทรัพย์สินให้จะได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะและนิติกรรมนั้นถูกบอกล้างในภายหลังหรือหาไม่)
หากฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริต ทั้งได้มีการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1329 และ มาตรา 1300 แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เดิมจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนนั้นไม่ได้ (ทั้งนี้ มิพักต้องคำนึงถึงว่าผู้โอนทรัพย์สินให้จะได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะและนิติกรรมนั้นถูกบอกล้างในภายหลังหรือหาไม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าและการคุ้มครองสิทธิ: สิทธิเกิดจากการจดทะเบียน
การที่บุคคลใดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าขึ้นเพื่อสำแดงว่า สินค้านั้นๆเป็นของตน แม้จะยังไม่ได้สำแดงกับสินค้าของตน ก็ย่อมถือเป็นเครื่องหมายการค้าตามนัยแห่ง มาตรา 3พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474
ตราบใดที่เครื่องหมายการค้าของบุคคลใดยังไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย บุคคลนั้นย่อมไม่มีสิทธิที่จะนำคดีสู่ศาล เพื่อป้องกันเครื่องหมายการค้าของตนที่ยังไม่ได้จดทะเบียนว่าถูกละเมิดสิทธิ โดยถูกลอกหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้านั้น ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29
ตราบใดที่เครื่องหมายการค้าของบุคคลใดยังไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย บุคคลนั้นย่อมไม่มีสิทธิที่จะนำคดีสู่ศาล เพื่อป้องกันเครื่องหมายการค้าของตนที่ยังไม่ได้จดทะเบียนว่าถูกละเมิดสิทธิ โดยถูกลอกหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้านั้น ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ไม่รวมถึงการค้าอาวุธปืน การมีไว้เพื่อค้าต้องได้รับอนุญาตแยกต่างหาก
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ที่ให้โอกาสนำปืนไปจดทะเบียนภายใน 90 วันนั้น ไม่คุ้มครองถึงการค้าหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2505)