คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าชดเชย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,092 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากธุรกิจคู่แข่ง โดยไม่แจ้งล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยวินัยและการลงโทษทางวินัยระบุไว้ว่า "แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานหรือเวลาปฏิบัติงานของบริษัท" ถือว่าเป็นการกระทำผิดร้ายแรง ดังนี้ การที่โจทก์เข้าไปมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหนังสือพิมพ์ ส. โดยได้รับผลตอบแทนอันเป็นธุรกิจหนังสือพิมพ์เช่นเดียวกับที่จำเลยประกอบอยู่ และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของจำเลยในขณะที่โจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ ซึ่งตามหนังสือสัญญาจ้างที่หนังสือพิมพ์ ส. ทำไว้กับโจทก์นั้น โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างจากการที่โจทก์ให้คำปรึกษากับหนังสือพิมพ์ดังกล่าวซึ่งเป็นคู่แข่งกับหนังสือพิมพ์ของจำเลย กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานที่โจทก์ทำกับจำเลย โดยทำงานให้แก่ธุรกิจที่แข่งขันกับนายจ้างทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: รายงานเท็จไม่ร้ายแรงพอที่จะเลิกจ้างโดยต้องจ่ายค่าชดเชย
การทำรายงานเท็จของโจทก์เกี่ยวกับการไปติดต่อประสานงานและเร่งรัดเก็บเงินค่าเช่าซื้อรถยนต์จากลูกค้าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเพียงทำให้จำเลยไม่ได้รับข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวลูกค้าที่ถูกต้องแท้จริง รวมทั้งยังไม่ได้รับเงินค่างวดค่าเช่าซื้อรถยนต์จากลูกค้าทันที และจำเลยอาจได้รับชำระล่าช้าออกไปบ้างเท่านั้น แต่การกระทำของโจทก์ก็มิได้ทำให้หนี้ค่างวดดังกล่าวต้องระงับไปเพราะเหตุดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเสียหายอื่นใดจากการทำรายงานเท็จดังกล่าวอีก ทั้งการกระทำความผิดครั้งก่อน ๆ ของโจทก์ซึ่งไม่ใช่กรณีที่จำเลยนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ จำเลยก็ได้ลงโทษโจทก์ไปแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำมาประกอบการพิจารณาว่าการกระทำของโจทก์ครั้งนี้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ แต่พฤติการณ์ของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากรายงานเท็จที่ไม่ร้ายแรงเพียงพอต่อการไม่จ่ายค่าชดเชย
การทำรายงานเท็จของโจทก์เกี่ยวกับการไปติดต่อประสานงานและเร่งรัดเก็บเงินค่าเช่าซื้อรถยนต์จากลูกค้าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเพียงทำให้จำเลยไม่ได้รับข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวลูกค้าที่ถูกต้องแท้จริง รวมทั้ง ยังไม่ได้รับเงินค่างวดค่าเช่าซื้อรถยนต์จากลูกค้าทันที และจำเลยอาจได้รับชำระล่าช้าออกไปบ้างเท่านั้น แต่การกระทำ ของโจทก์ก็มิได้ทำให้หนี้ค่างวดดังกล่าวต้องระงับไปเพราะเหตุ ดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเสียหายอื่นใดจาก การทำรายงานเท็จดังกล่าวอีก ทั้งการกระทำความผิดครั้งก่อน ๆ ของโจทก์ซึ่งไม่ใช่กรณีที่จำเลยนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ จำเลยก็ได้ลงโทษโจทก์ไปแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำมาประกอบการ พิจารณาว่าการกระทำของโจทก์ครั้งนี้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรงที่จำเลย จะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ แต่พฤติการณ์ของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึง เลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จำต้อง จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง: ข้อตกลงสภาพการจ้างเดิมยังใช้ได้ แม้มีการเปลี่ยนแปลงนายจ้าง และการยอมรับเงื่อนไข
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและสภาพการจ้างที่โจทก์ทำกับบริษัทน.ผู้เป็นนายจ้างเดิมของโจทก์ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยสูงสุดของค่าจ้างอัตราสุดท้ายถึง 18 เดือน เมื่อจำเลยซื้อกิจการจากบริษัทน. จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยต่อแสดงว่าจำเลยยอมรับตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับบริษัทเดิมในเรื่อง ค่าชดเชยด้วย ทั้งตามสัญญาจ้างมิได้ระบุยกเว้นห้ามโจทก์ มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับบริษัทเดิมไว้ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยยอมรับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่โจทก์ทำไว้กับบริษัทเดิมในเรื่องการจ่ายค่าชดเชยกรณีมีการเลิกจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยสูงสุด 18 เดือนของค่าจ้างอัตราสุดท้าย พยานเอกสารหมาย จ.1 เป็นสำเนาเอกสารมีการส่งข้อความ ทางโทรสารมาจากบริษัทน.จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งต้นฉบับเอกสารย่อมอยู่ที่บริษัทดังกล่าวในต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารหมาย จ.1 มาได้โดยประการอื่น ศาลแรงงานกลางย่อมอนุญาตให้โจทก์ นำสำเนาเอกสารหมาย จ.1 มานำสืบและฟังเป็นพยานหลักฐาน ของโจทก์ได้ ไม่ขัดกับบทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) การที่ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและสภาพการจ้าง ของบริษัทจำเลยข้อ 4.1 ระบุว่า "แม้ว่าจะมีอะไรในนโยบายนี้ บริษัทมีสิทธิจะเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากสาเหตุอันสมควรนี้ เมื่อใดก็ได้ ในกรณีที่มีการเลิกจ้างเนื่องจากสาเหตุอันควรนี้ พนักงานจะไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง และไม่มีสิทธิ ได้รับผลประโยชน์ต่าง ๆ" นั้นเป็นการระบุกว้าง ๆ ไว้ โดยไม่ได้ระบุว่ามีสาเหตุอันสมควรประการใดบ้างที่นายจ้าง จะเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย กรณียังไม่ถือว่า ขัดกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ในเรื่องค่าชดเชยแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2359/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากดื่มเบียร์ขณะปฏิบัติหน้าที่ เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับร้ายแรง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นพนักงานขับรถ มีหน้าที่นำพนักงานของจำเลยที่ได้รับบาดเจ็บระหว่างทำงานส่งโรงพยาบาล ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของบุคคล การดื่มเบียร์ซึ่งเป็นสิ่งมึนเมาย่อมทำให้การปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและอาจก่อให้เกิดอันตรายและความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้อื่นได้ ทั้งจำเลยก็ได้กำหนดไว้ในมาตรการทางวินัย อันเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าเป็นกรณีร้ายแรงด้วย ดังนี้ การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยได้ร่วมดื่มเบียร์กับพนักงานอื่น ๆในบริเวณโรงงานขณะปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินค่าชดเชยแรงงานและการขยายเวลา ศาลต้องพิจารณาคำร้องขยายเวลาก่อนสั่งรับฟ้อง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสาม มิใช่บทบัญญัติที่ห้ามมิให้นายจ้างยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงาน ขยายระยะเวลาวางเงินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์ยื่นฟ้องพร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินบางส่วนต่อศาล ศาลแรงงานจะต้องมีคำสั่งคำร้องขอดังกล่าวก่อนว่าจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินหรือไม่ เพียงใดการที่ศาลแรงงานพิจารณาสั่งคำฟ้องโดยไม่พิจารณาสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินก่อน จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณา มาตรา 243(2) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกา ย้อนสำนวน ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลา วางเงินต่อศาลก่อนแล้วจึงพิจารณาสั่งคำฟ้องและดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาลาออกมีผลผูกพัน นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างได้ด้วยการลาออกจากงาน และหลังจากลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกจากงานแก่นายจ้างแล้ว ลูกจ้างหามีสิทธิถอนเจตนานั้นได้ไม่ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 386 วรรคสอง
จำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากงานต่อโจทก์เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์2540 โดยระบุให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 เช่นนี้ถือว่าการแสดงเจตนาลาออกจากงานของจำเลยมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือขอลาออกแม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นหนังสืออีกฉบับหนึ่งต่อโจทก์ ขอยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานไม่ หนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยยังคงมีผลต่อไป
โจทก์มีระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้างอันเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า พนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดประสงค์จะลาออกจากงาน ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงของตนเพื่อเสนอตามลำดับจนถึงคณะกรรมการดำเนินการ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาอนุญาตแล้ว จึงให้ถือว่าออกจากงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างที่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยได้ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์พิจารณาอนุมัติหนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยในการประชุมก่อนที่หนังสือขอลาออกมีผล การลาออกจากงานของจำเลยจึงมีผลนับตั้งแต่วันที่จำเลยประสงค์ การที่จำเลยต้องออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพราะถูกโจทก์เลิกจ้าง โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แก่จำเลย
การที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลย เมื่อเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 407

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาลาออกมีผลทันที แม้ถอนทีหลัง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างได้ด้วยการลาออกจากงานและหลังจากลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกจากงานแก่นายจ้างแล้วลูกจ้างหามีสิทธิถอนเจตนานั้นได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 วรรคสอง เมื่อจำเลย ยื่นหนังสือขอลาออกจากงานต่อโจทก์ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540โดยระบุให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 ถือว่าการแสดงเจตนาลาออกจากงานของจำเลยมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือขอลาออกแม้ต่อมาวันที่21 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยได้ยื่นหนังสืออีกฉบับหนึ่งต่อโจทก์ขอยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานไม่หนังสือขอลาออกจากงาน ของจำเลยยังคงมีผลต่อไป ทั้งโจทก์มีระเบียบว่าด้วยพนักงาน และลูกจ้างที่กำหนดว่า พนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดประสงค์ จะลาออกจากงาน ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา โดยตรงของตนเพื่อเสนอตามลำดับจนถึงคณะกรรมการดำเนินการ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาอนุญาตแล้วจึงให้ถือว่า ออกจากงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างที่มีผลใช้บังคับ แก่โจทก์และจำเลยได้ ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการดำเนินการ ของสหกรณ์โจทก์พิจารณาอนุมัติหนังสือขอลาออกจากงานของจำเลย ในการประชุมวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ หนังสือขอลาออกมีผล การลาออกจากงานของจำเลยจึงมีผล ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 เป็นต้นไป การที่จำเลยต้องออก จากงานหาใช่เพราะถูกโจทก์เลิกจ้างไม่ โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลย แต่การที่โจทก์จ่าย ค่าชดเชยให้แก่จำเลยเนื่องจากจำเลยออกจากงานอันถือเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ โจทก์จึงหามีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลยไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกของลูกจ้างมีผลเมื่อได้รับอนุมัติจากนายจ้าง แม้จะถอนเจตนาภายหลังก็ไม่เป็นผล นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างได้ด้วยการลาออกจากงานและหลังจากลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกจากงานแก่นายจ้างแล้วลูกจ้างหามีสิทธิถอนเจตนานั้นได้ไม่ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 วรรคสอง จำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากงานต่อโจทก์เมื่อวันที่ 20กุมภาพันธ์ 2540 โดยระบุให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1มีนาคม 2540 เช่นนี้ถือว่าการแสดงเจตนาลาออกจากงานของจำเลยมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือขอลาออกแม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นหนังสืออีกฉบับหนึ่งต่อโจทก์ ขอยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานไม่ หนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยยังคงมีผลต่อไป โจทก์มีระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้างอันเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า พนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดประสงค์จะลาออกจากงาน ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงของตนเพื่อเสนอตามลำดับจนถึงคณะกรรมการดำเนินการเมื่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาอนุญาตแล้ว จึงให้ถือว่าออกจากงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างที่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยได้ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์พิจารณาอนุมัติหนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยในการประชุมก่อนที่หนังสือขอลาออกมีผล การลาออกจากงานของจำเลยจึงมีผลนับตั้งแต่วันที่จำเลยประสงค์ การที่จำเลยต้องออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพราะถูกโจทก์เลิกจ้างโจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แก่จำเลย การที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลย เมื่อเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและการโต้แย้งดุลพินิจศาลแรงงานในการรับฟังพยานหลักฐาน
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ใบสำคัญการรับเงินค่าชดเชยเอกสารหมาย ล.2 โจทก์เป็นผู้ทำและกรอกข้อความเองทั้งหมดพอตีความในเนื้อความดังกล่าวได้ว่า โจทก์มีเจตนายอมรับในการที่จำเลยเลิกจ้างและค่าชดเชยที่จำเลยเสนอให้แม้เอกสารหมาย ล.2 ไม่มีข้อความว่าโจทก์ยอมสละสิทธิเรียกเงินไว้ก็ตาม แต่ที่โจทก์ยอมทำเอกสารหมาย ล.2ตามข้อเสนอของจำเลยย่อมตีเจตนาของโจทก์ได้ว่าโจทก์ยอมรับค่าชดเชยที่จำเลยเสนอและโจทก์ยอมสละสิทธิเรียกร้องเงินอื่นอีก และการแถลงรับข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงาน ซึ่งโจทก์รับว่าได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์ไม่โต้เถียงเกี่ยวกับการสละสิทธิเรียกร้องเงินอื่นใดจากจำเลยอีกตามที่จำเลยอ้าง แสดงว่าข้อกล่าวอ้างของ จำเลยดังกล่าวนั้นมีจริงเมื่อโจทก์ไม่ปฏิเสธโดยชัดแจ้งต้องถือว่าโจทก์ยอมรับนั้น ศาลแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่าเอกสารหมาย ล.2 ไม่ปรากฏข้อความว่าโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นใดจากจำเลยทั้งสิ้นดังที่จำเลยให้การ แม้โจทก์จะแถลงรับว่าโจทก์ได้รับเงินค่าชดเชยตามที่จำเลยจ่าย3 เดือน โดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างเดือนละ 10,224 บาทก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ส่วนที่ขาดและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า อุทธรณ์จำเลยดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการ รับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไป ตามนั้น ซึ่งบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวอนุโลม ใช้กับคดีแรงงานด้วยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ดังนี้การที่ศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความประกอบเอกสาร ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ แล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับเพียงพอที่จะฟังเป็นยุติ และพอวินิจฉัยได้แล้วจึงสั่งงดสืบพยานแล้ววินิจฉัย คดีตามที่คู่ความรับกัน ถือได้ว่าศาลแรงงานได้ใช้ดุลพินิจ วิเคราะห์พยานหลักฐานในการรับฟังข้อเท็จจริง ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแล้ว
of 110