คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าฤชาธรรมเนียม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 337 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5303/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การต่ออายุสัญญา, ดอกเบี้ยทบต้น, ค่าฤชาธรรมเนียม, ล้มละลาย
เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้วลูกหนี้ยังคงนำเงินเข้าบัญชีและเบิกเงินไปจากบัญชี ถือว่าได้มีการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไปโดยไม่มีกำหนด เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันเลิกสัญญา เจ้าหนี้ได้ทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองภายใน 30 วัน ลูกหนี้ได้รับหนังสือบอกกล่าวในวันที่ 29 มิถุนายน 2528 จึงถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2528 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2528 เมื่อเจ้าหนี้เป็นโจทก์ฟ้องลูกหนี้ เจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 149 ซึ่งเป็นความรับผิดที่โจทก์ผู้ยื่นคำฟ้องจะต้องชำระต่อศาล ยังไม่เกิดมูลหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลย เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาและให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์แล้วจำเลยจึงจะมีความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมตามมาตรา 161มูลหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมจึงเกิดขึ้นตามคำพิพากษา หาใช่เกิดขึ้นเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีไม่ เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธินำค่าฤชาธรรมเนียมมาขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5169/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น & ค่าฤชาธรรมเนียมกรณีผู้ฟ้องได้รับอนุญาตฟ้องคดีอย่างคนอนาถา
การที่จำเลยครอบครองทรัพย์สินที่เป็นมรดกของเจ้ามรดกในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดก ถือได้ว่า เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย จำเลยยกอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754มาใช้บังคับมิได้ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินพิพาทจากจำเลยได้ ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดี ย่อมตก อยู่แก่ฝ่ายที่แพ้คดี เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์แต่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถา การที่ศาลชั้นต้นให้ฝ่ายจำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ได้รับยกเว้นให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถากับให้ชำระต่อศาลในนามโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 จึงชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4883/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมการอายัดทรัพย์ก่อนพิพากษา: ผู้ร้องขออายัดมีหน้าที่ชำระเมื่อศาลยกเลิกอายัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หมวด 3 ค่าฤชาธรรมเนียมมาตรา 149 วรรคแรกนั้น บัญญัติว่า ค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นตามที่ระบุไว้ในตารางท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่งนั้น ให้คู่ความผู้ดำเนินกระบวนพิจารณานั้น ๆ เป็นผู้ชำระ เมื่อโจทก์เป็นผู้ดำเนินการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินที่กรมทรัพยากรธรณีต้องชำระให้แก่จำเลยไว้ชั่วคราว ก่อนพิพากษา ถือได้ว่าโจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นตามมาตรานี้แล้ว เมื่อต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกอายัดชั่วคราวตามคำร้องขอของจำเลย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อยึดหรืออายัดเงินแล้วไม่มีการขายหรือ จำหน่ายตามตาราง 5 ข้อ 4 ท้ายประมวลกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4883/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมจากการอายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษา ผู้ร้องขออายัดมีหน้าที่ชำระเมื่อศาลยกเลิกอายัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หมวด 3 ค่าฤชาธรรมเนียมมาตรา 149 วรรคแรกนั้น บัญญัติว่า ค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นตามที่ระบุไว้ในตารางท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น ให้คู่ความผู้ดำเนินกระบวนพิจารณานั้น ๆ เป็นผู้ชำระ เมื่อโจทก์เป็นผู้ดำเนินการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินที่กรมทรัพยากรธรณีต้องชำระให้แก่จำเลยไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ถือได้ว่าโจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นตามมาตรานี้แล้ว เมื่อต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกอายัดชั่วคราวตามคำร้องขอของจำเลย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อยึดหรืออายัดเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง 5 ข้อ 4 ท้ายประมวลกฎหมายดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3296/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยทางรถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อค่าเสียหาย และค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่อจำเลยรับว่าเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถคันเกิดเหตุจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถที่รับประกันภัยไว้ไปก่อให้เกิดขึ้น ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย การที่จำเลยรับประกันภัยรถคันดังกล่าวจากผู้ใด เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทราบอยู่แล้ว แม้ฟ้องของโจทก์จะไม่ได้บรรยายว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัย ก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม
เมื่อจำเลยแพ้คดี จำเลยต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลจะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจกำหนดโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ทั้งไม่เกี่ยวกับข้อจำกัดความรับผิดเรื่องค่าเสียหายตามวงเงินที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3296/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อค่าเสียหายจากรถที่รับประกัน และการบังคับใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่อจำเลยรับว่าเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถคันเกิดเหตุจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถที่รับประกันภัยไว้ไปก่อให้เกิดขึ้น ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย การที่จำเลยรับประกันภัยรถคันดังกล่าวจากผู้ใด เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทราบอยู่แล้ว แม้ฟ้องของโจทก์จะไม่ได้บรรยายว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัย ก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม เมื่อจำเลยแพ้คดี จำเลยต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลจะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจกำหนดโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ทั้งไม่เกี่ยวกับข้อจำกัดความรับผิดเรื่องค่าเสียหายตามวงเงินที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางค่าฤชาธรรมเนียม: เหตุสุดวิสัยต้องเกิดขึ้นก่อนครบกำหนด และอาการป่วยเล็กน้อยไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
จำเลยไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้ แทนโจทก์มาวางศาลภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยต่อ มาจำเลยยื่นคำร้องขอนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวาง คำร้องดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ซึ่งจำเลยจะต้องมีคำร้องขอเสียก่อนครบกำหนด มิฉะนั้นจะขอขยายระยะเวลาอีกไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย การที่จำเลยป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ก็ดีและหาเงินได้ไม่ทันก็ดี ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย จำเลยจึงไม่มีสิทธินำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางตามคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียม: เหตุป่วยไข้หวัดใหญ่ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
จำเลยอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้อง ใช้ แทนโจทก์เมื่อครบกำหนดระยะเวลาวางเงินไปแล้ว โดย อ้าง ว่าจำเลยป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่และหาเงินได้ไม่ทัน ถือ ไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยจำเลยจึงไม่มีสิทธินำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางตาม คำร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอขยายระยะเวลาวางค่าฤชาธรรมเนียมเกินกำหนด และเหตุสุดวิสัยที่ไม่ครอบคลุมอาการป่วยไข้หวัดใหญ่
จำเลยไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้ แทนโจทก์มาวางศาลภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยต่อ มาจำเลยยื่นคำร้องขอนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวาง คำร้องดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ซึ่ง จำเลยจะต้องมีคำร้องขอเสียก่อนครบกำหนด มิฉะนั้นจะขอขยายระยะเวลาอีกไม่ได้เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย การที่จำเลยป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ก็ดีและหาเงินได้ไม่ทันก็ดีถือ ไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย จำเลยจึงไม่มีสิทธินำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางตาม คำร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องปราศจากสิทธิของเจ้าของที่ดิน แม้ครอบครองเกิน 10 ปีก็ไม่เกิดกรรมสิทธิ์ และการได้รับอนุญาตคนอนาถายังต้องรับผิดค่าฤชาธรรมเนียม
ผู้ร้องเข้าอยู่ในที่ดินพิพาทโดย อาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินแม้ครอบครองเป็นเวลาเกิน 10 ปี ก็หาได้ กรรมสิทธิ์โดย การครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ไม่ การได้ รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาโดย ไม่ ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินคดีในศาลนั้น เป็นคนละเรื่องกับความรับผิดของคู่ความฝ่ายแพ้คดีที่จะต้อง ชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทน คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง แม้ผู้ร้องจะได้ รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา แต่ เมื่อผู้ร้องเป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลก็ชอบที่จะพิพากษา ให้ผู้ร้องใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมแทนผู้คัดค้านได้.
of 34