พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเปิดบัญชีกระแสรายวัน: ข้อจำกัดดอกเบี้ยทบต้น และอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาเปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคารเจ้าหนี้โดยมีข้อตกลงว่า ถ้าหากธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้เกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของจำเลยที่ 3 ไป จำเลยที่ 3ยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีให้ธนาคารพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย แต่ไม่มีข้อตกลงให้มีการตัดทอนบัญชีหนี้สินระหว่างกันอันมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด และถือไม่ได้ว่าเป็นการค้าขายอย่างอื่นในทำนองเช่นว่านั้นอันจะคิดดอกเบี้ยทบต้นกันได้ ธนาคารเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันระบุว่า ผู้ฝากยอมให้ดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย มิได้กำหนดอัตราที่แน่นอนไว้โดยนิติกรรม และไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงว่าให้คิดดอกเบี้ยได้ในอัตราเท่าใด กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 7ที่ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันระบุว่า ผู้ฝากยอมให้ดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย มิได้กำหนดอัตราที่แน่นอนไว้โดยนิติกรรม และไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงว่าให้คิดดอกเบี้ยได้ในอัตราเท่าใด กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 7ที่ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3419/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญาที่ศาลล่างพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แม้ไม่กำหนดโทษ
ข้อหาพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองและทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ, 72 ทวิ นั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แม้จะมิได้กำหนดโทษไว้แต่ความผิดฐานดังกล่าวมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ดังนี้ จำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3299/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดสิทธิอุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหายักยอก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้ ก็เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบและถือว่าข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับข้อหานี้อีก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาคดีเด็ก: ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรม ไม่ถือเป็นการลงโทษ จึงห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยซึ่งเป็นเยาวชนมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก, 279 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 277 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนัก ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก ประกอบกับมาตรา 80 ลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี 4 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง กรณีเป็นการแก้บทลงโทษและกำหนดโทษแม้จะเป็นการแก้ไขมากแต่การที่ศาลทั้งสองเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง มิใช่การลงโทษ ถือมิได้ว่าศาลทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 1 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219ประกอบกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 29.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติ: การใช้ประโยชน์และการจำกัดสิทธิของผู้อื่น
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาทขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)โจทก์เป็นผู้ครอบครองจึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยส่วนที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องนั้นไม่อาจห้ามจำเลยเกี่ยวข้องเสียทั้งหมดได้เพราะจะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้จะห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิได้เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายรายเดือนกับดอกเบี้ย: ห้ามซ้ำซ้อน
ฟ้องโจทก์ที่เรียกค่าเสียหายเป็นรายเดือนนับจากเดือนที่ฟ้องเป็นต้นไปพร้อมดอกเบี้ยในแต่ละเดือนด้วยนั้น เมื่อกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นรายเดือน อันเป็นค่าเสียหายในอนาคตแล้ว โจทก์ก็ไม่อาจที่จะขอให้ชำระดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวมาในคราวเดียวกันอีก เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องโจทก์ร่วมในคดีอาญา: จำกัดเฉพาะตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30, 31 เท่านั้น
การร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งกฎหมายบัญญัติให้มีได้เฉพาะในกรณีตามป.วิ.อ.มาตรา30,31เท่านั้นการที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาผู้เสียหายอื่นจะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมมิได้เพราะไม่ต้องด้วยมาตรา30,31ดังกล่าวทั้งจะอาศัยป.วิ.พ.มาตรา57(2)ซึ่งบัญญัติให้สิทธิบุคคลภายนอกร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยมาบังคับใช้โดยอนุโลมตามป.วิ.อ.มาตรา15ก็ไม่ได้ ปัญหาใดควรจะนำเข้าสู่การวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาหรือไม่ย่อมอยู่ในอำนาจหน้าที่ของประธานศาลฎีกาโดยตรงคู่ความจะร้องขอขึ้นมาหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3867/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้น-อุทธรณ์พิพากษายกฟ้องฐานฉ้อโกงประชาชน แต่ยังคงรับฎีกาในประเด็นความผิดอื่น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 343, 83 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 341, 83, 91 ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง ดังนี้เมื่อความผิดตาม มาตรา 343 ฐานฉ้อโกงประชาชน ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3867/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้น-อุทธรณ์พิพากษายกฟ้องฐานฉ้อโกงประชาชน แต่ยังคงพิจารณาความผิดอื่น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341,343,83ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา341,83,91ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องดังนี้เมื่อความผิดตามมาตรา343ฐานฉ้อโกงประชาชนศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงโจทก์ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา220.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3797-3798/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริง และผลของการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาวินิจฉัย
คดีสำนวนแรกโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้อาศัยออกจากที่พิพาท แม้ไม่ปรากฏตามคำฟ้องว่าที่พิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละเท่าใด แต่ก็ได้ความจากคดีในสำนวนหลังซึ่งมีผู้ฟ้องโจทก์คดีนี้กับพวกให้ร่วมกันใช้ค่าขาดประโยชน์จากที่พิพาทเป็นเงินปีละ 2,400 บาท ถือได้ว่าที่พิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาทเมื่อจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ หรือยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาอาศัย คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาได้ ข้อเท็จจริงคงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้บังคับคดีสำนวนแรกตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คงรับวินิจฉัยเฉพาะฎีกาของจำเลยที่ 1 ในสำนวนหลัง (โจทก์ในสำนวนแรก) ซึ่งคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงแต่เมื่อศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์ให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ได้ฎีกาด้วย เพราะเป็นกรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245, 247
คดีสำนวนแรกศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 (ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนหลัง) แต่ในคดีสำนวนหลังศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า ที่พิพาทเป็นของ พ.จำเลยที่ 1 (ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนแรก) ดังนี้ในคดีสำนวนหลังศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้สิทธิแก่ พ.จำเลยที่ 1 ในการที่จะฟ้องบังคับตามสิทธิที่เกิดขึ้นจากผลของคำพิพากษาฎีกานี้ต่อไป
คดีสำนวนแรกศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 (ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนหลัง) แต่ในคดีสำนวนหลังศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า ที่พิพาทเป็นของ พ.จำเลยที่ 1 (ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนแรก) ดังนี้ในคดีสำนวนหลังศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้สิทธิแก่ พ.จำเลยที่ 1 ในการที่จะฟ้องบังคับตามสิทธิที่เกิดขึ้นจากผลของคำพิพากษาฎีกานี้ต่อไป