คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฉ้อโกง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายกับฟ้องซ้อน: ศาลวินิจฉัยฟ้องซื้อขายไม่ซ้ำซ้อนกับคดีอาญาฉ้อโกง แม้คำขอท้ายฟ้องเหมือนกัน
โจทก์ประกอบธุรกิจรับผลิตกระเป๋าหนังเมื่อมีลูกค้าสั่งทำสั่งซื้อโจทก์ก็จะผลิตตามที่ลูกค้ากำหนดแล้วส่งมอบให้แก่ลูกค้าการที่จำเลยที่1ในฐานะลูกค้าสั่งให้โจทก์ผลิตกระเป๋าส่งให้ความสัมพันธ์จึงมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายมิใช่สัญญาจ้างทำของเมื่อโจทก์ผลิตกระเป๋าส่งมอบให้แก่จำเลยที่1รับไปครบถ้วนแล้วแต่จำเลยที่1ยังค้างชำระค่ากระเป๋าอยู่อีกโจทก์จึงชอบจะฟ้องให้จำเลยที่1ชำระราคาทรัพย์สินได้แม้จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยเจตนาฉ้อโกงโจทก์จึงขอเรียกทรัพย์คืนหรือให้ใช้ราคาก็เป็นความเข้าใจของโจทก์เองว่าถูกจำเลยหลอกลวงตามข้อตกลงการปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าเข้าลักษณะสัญญาหรือละเมิดเป็นหน้าที่ของศาลศาลมีอำนาจวินิจฉัยไปตามฟ้องได้ฉะนั้นการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่1ใช้ราคาจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องและเกินคำขอ แม้โจทก์จะเคยเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในคดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงและขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ฉ้อโกงไปก็ตามแต่การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ในคดีดังกล่าวเป็นกรณีที่ความเสียหายเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้นส่วนคดีนี้แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะมีการขอคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นอย่างเดียวกันแต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกันโดยข้ออ้างที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งเป็นการกระทำผิดอาญาอันเกิดจากข้อกล่าวหาว่าฉ้อโกงซึ่งเป็นมูลหนี้ละเมิดแต่คดีนี้มีที่มาจากมูลหนี้แห่งสัญญาซื้อขายจึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)และไม่เป็นฟ้องซ้ำด้วยเพราะขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้คดีอาญาดังกล่าวยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซื้อขายไม่อาจถือเป็นฟ้องซ้อนคดีอาญาฉ้อโกง แม้คำขอท้ายฟ้องคล้ายกัน หากมูลเหตุต่างกัน
โจทก์ได้ผลิตกระเป๋าส่งมอบให้แก่จำเลยรับไปครบถ้วนตามสัญญาซื้อขายแล้วแต่จำเลยยังค้างชำระค่ากระเป๋าอยู่อีกร้อยละ75โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยชำระราคาทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งจำเลยซื้อไปและยังไม่ได้ชำระราคาได้แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยเจตนาฉ้อโกงก็เป็นการบรรยายฟ้องในลักษณะเล่าเรื่องตามความเข้าใจของโจทก์เองว่าถูกจำเลยหลอกลวงให้ทำกระเป๋าโดยจ่ายเงินเพียงร้อยละ25ของราคาทั้งหมดการจะปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าเข้าลักษณะสัญญาหรือละเมิดเป็นข้อหารือบทเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับกฎหมายเองแม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่าเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืนหรือใช้ราคาก็หาเป็นเรื่องละเมิดเสมอไปไม่ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายศาลมีอำนาจวินิจฉัยไปตามฟ้องได้ว่าเป็นเรื่องซื้อขายไม่เป็นการนอกฟ้อง ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานร่วมกันฉ้อโกงและขอให้คืนหรือใช้ราคาเงินค่ากระเป๋าที่ฉ้อโกงซึ่งเป็นผู้เสียหายไปศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้องแต่การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมาแม้จะถือว่าเป็นการขอแทนโจทก์ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา43ก็ตามแต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้นส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายที่เป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องในมูลแห่งสัญญาซื้อขายที่มีต่อกันอยู่ในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ถึงแม้คำขอบังคับจะมีการขอคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นอย่างเดียวกันก็ตามแต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาก็มิได้เป็นอย่างเดียวกันซึ่งในคดีอาญาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งมาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดอันเกิดจากข้อกล่าวหาว่าฉ้อโกงแต่คดีนี้มีที่มาจากมูลหนี้แห่งสัญญาซื้อขายโดยโจทก์เรียกร้องเอามูลค่าทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยยังค้างชำระอยู่มิใช่ฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: การละเลยฟ้องร้องเกิน 3 เดือน ทำให้สิทธิในการฟ้องระงับ
โจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดที่ถูกฉ้อโกง และรู้ตัวผู้กระทำ ความผิดว่าจำเลยเป็นคนฉ้อโกงตั้งแต่ก่อนวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๓๓ แล้วเพิ่งมาร้องทุกข์เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๓๓ ซึ่งเกิน ๓ เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์ และโจทก์ร่วมเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๖ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา ๓๙(๖) โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: การละเลยการร้องทุกข์เกิน 3 เดือน ทำให้สิทธิในการฟ้องระงับ
โจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดที่ถูกฉ้อโกงและรู้ตัวผู้กระทำความผิดว่าจำเลยเป็นคนฉ้อโกงตั้งแต่ก่อนวันที่1มิถุนายน2533แล้วเพิ่งมาร้องทุกข์เมื่อวันที่7ธันวาคม2533ซึ่งเกิน3เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา96สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(6)โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงโดยหลอกลวงว่าจะส่งไปทำงานต่างประเทศ
จำเลยกับพวกได้ไปที่บ้านผู้เสียหายทั้งสองแล้วได้ใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสองว่า จำเลยกับพวกสามารถส่งบุตรของผู้เสียหายทั้งสองไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นได้โดยต้องเสียเงินแก่จำเลยกับพวก ผู้เสียหายทั้งสองหลงเชื่อจึงได้มอบเงินจำนวน 210,000 บาท แก่จำเลยกับพวกไป โดยความจริงจำเลยกับพวกไม่สามารถส่งคนไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นได้ และการที่ผู้เสียหายทั้งสองติดตามไปที่บ้านของจำเลย แต่จำเลยกลับปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่เห็น แสดงว่าขณะที่จำเลยกับพวกไปชักชวนผู้เสียหายทั้งสองก็ดี และขณะที่จำเลยกับพวกไปรับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองก็ดี จำเลยมีเจตนาที่จะไม่ส่งบุตรของผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกับพวกฉ้อโกงผู้เสียหายทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงส่งไปทำงานต่างประเทศ: เจตนาหลอกลวง, การกระทำร่วม, รอการลงโทษสำหรับผู้กระทำผิดหญิงมีภาระ
จำเลยกับพวกได้ไปที่บ้านผู้เสียหายทั้งสองแล้วได้ใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสองว่า จำเลยกับพวกสามารถส่งบุตรของผู้เสียหายทั้งสองไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นได้โดยต้องเสียเงินแก่จำเลยกับพวกผู้เสียหายทั้งสองหลงเชื่อจึงได้มอบเงินจำนวน210,000 บาท แก่จำเลยกับพวกไป โดยความจริงจำเลยกับพวกไม่สามารถส่งคนไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นได้ และการที่ผู้เสียหายทั้งสองติดตามไปที่บ้านของจำเลย แต่จำเลยกลับปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่เห็น แสดงว่าขณะที่จำเลยกับพวกไปชักชวนผู้เสียหายทั้งสองก็ดี และขณะที่จำเลยกับพวกไปรับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองก็ดี จำเลยมีเจตนาที่จะไม่ส่งบุตรของผู้เสียหาย ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นจำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกับพวกฉ้อโกงผู้เสียหายทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5665/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิพากษาคดีฉ้อโกง แม้ฟ้องฐานลักทรัพย์ และขอบเขตอำนาจเหนือจำเลยที่ไม่ฎีกา
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยฐานร่วมกันฉ้อโกงได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192วรรคสามและวรรคห้า และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยซึ่งมิได้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5665/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เปลี่ยนแปลงข้อหาจากลักทรัพย์เป็นฉ้อโกง: ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาคดีถึงจำเลยที่ไม่ฎีกา
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยฐานร่วมกันฉ้อโกงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสามและวรรคห้าและเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยซึ่งมิได้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา213ประกอบด้วยมาตรา225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5629/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกงและการจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: เจตนาเป็นสำคัญ
ความผิดฐานฉ้อโกง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะบทมาตราโดยศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 341 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 343 วรรคแรก แต่ยังคงลงโทษจำเลยเท่ากับศาลชั้นต้น ดังนี้ เป็นการแก้บทโดยไม่ได้แก้โทษ ถือได้ว่าเป็นการแก้ไขเพียงเล็กน้อย และศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรกจำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานฉ้อโกง เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลที่รับฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฉ้อโกงถือได้ว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีความสามารถที่จะจัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ สำนักงานของจำเลยเป็นบ้านสองชั้น จำเลยอยู่ชั้นล่างเป็นห้องเล็ก ๆ มีประตูเลื่อน ที่หน้าสำนักงานไม่ได้เขียนหนังสือไว้ว่ารับจัดหางาน ซึ่งจำเลยเพียงแต่อาศัยห้องเล็ก ๆ ดังกล่าวเป็นสำนักงานที่หลอกลวงคนหางานเพื่อให้ได้เงินโดยจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานอย่างจริงจัง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 4ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น บัญญัติคำว่า "จัดหางาน" หมายความว่า ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง โดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ดังนี้ จำเลยจะต้องมีเจตนาจัดหางาน มิใช่เพียงแต่อ้างการจัดหางานเพื่อเป็นเหตุหลอกลวงเอาเงินจากคนหางาน เมื่อจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานแล้ว จำเลยก็ย่อมไม่มีความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการหลอกขายของปลอมเป็นของโบราณ
การที่จำเลยนำของกลางมาขายให้ผู้เสียหายและบอกผู้เสียหายว่าของกลางเป็นวัตถุโบราณสมัยทวาราวดีหรือลพบุรี ซึ่งเป็นความเท็จ โดยจำเลยทราบดีว่าของกลางไม่ใช่ของจริง แต่หลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อเพื่อจะได้เงินจากผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกง และกรณีมิใช่ผิดสัญญาทางแพ่งเพราะมิใช่มีเจตนาซื้อขายกันแล้วจำเลยผิดสัญญาแต่เป็นเจตนาหลอกลวงเอาเงินผู้เสียหาย
of 94