พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,024 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจฎีกาของพนักงานอัยการในคดีละเมิดอำนาจศาล: การรอการลงโทษไม่ใช่การปล่อยตัว
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุกผู้กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นว่าให้รอการลงโทษผู้กระทำผิด ผู้กระทำผิดยังคงถูกพิพากษาลงโทษจำคุก แต่รอการลงโทษไว้ มิใช่ให้ปล่อยผู้กระทำผิด กรณีไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (7) พนักงานอัยการฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฎีกาของพนักงานอัยการ: กรณีศาลอุทธรณ์ให้รอการลงโทษ มิใช่ปล่อยตัว
พระราชบัญญัติพนักงานอัยการฯ มาตรา 11(7) บัญญัติว่า ในคดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษบุคคลใดโดยลำพัง ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ปล่อยผู้นั้น เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะฎีกาก็ได้ คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกผู้ถูกกล่าวหาว่าประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล เป็นการละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) และมาตรา 33 ให้ลงโทษจำคุกและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้รอการลงโทษ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีหนังสือขอให้พนักงานอัยการยื่นฎีกาขอให้ลงโทษผู้ถูกกล่าวหาตามคำสั่งศาลชั้นต้นนั้นพนักงานอัยการจะฎีกาได้เฉพาะในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาให้ปล่อยผู้ถูกกล่าวหาเท่านั้นแต่คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้รอการลงโทษไว้ มิใช่เป็นการปล่อยผู้ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด กรณีไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติพนักงานอัยการฯ มาตรา 11(7) พนักงานอัยการจึงฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาของพนักงานอัยการในคดีละเมิดอำนาจศาล ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นรอการลงโทษ พนักงานอัยการฎีกาไม่ได้
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกผู้ถูกกล่าวหาฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) และมาตรา 33 ให้จำคุก 2 เดือนการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้รอการลงโทษผู้ถูกกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหายังคงถูกพิพากษาลงโทษจำคุก 2 เดือนแต่รอการลงโทษไว้ มิใช่เป็นการปล่อยผู้ถูกกล่าวหากรณีไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(7) พนักงานอัยการจึงฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญา: ปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนหรือแก้ไขเล็กน้อย
คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภรรยาของตนโดยเด็กหญิงไม่ยินยอมจำคุก 6 ปี ฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายจำคุก 6 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกกระทงละ 4 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวแล้วแต่ละกระทงลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ทราบอายุของผู้เสียหายซึ่งเป็นสาระสำคัญขององค์ประกอบความผิดถือว่าเป็นความสำคัญผิดในข้อเท็จจริงนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งคัดค้านการรับฟังพยานหลักฐานซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง และที่จำเลยฎีกาอีกว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายกับขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษจำคุกนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดโทษ ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เช่นกัน
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ทราบอายุของผู้เสียหายซึ่งเป็นสาระสำคัญขององค์ประกอบความผิดถือว่าเป็นความสำคัญผิดในข้อเท็จจริงนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งคัดค้านการรับฟังพยานหลักฐานซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง และที่จำเลยฎีกาอีกว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายกับขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษจำคุกนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดโทษ ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีเยาวชนที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์โดยไม่ชอบ และการไม่รับฎีกาเนื่องจากขาดอำนาจ
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จำคุก คนละ 4 ปี อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104(2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรี มีกำหนดขั้นต่ำคนละ 3 ปี ขั้นสูงคนละ 4 ปี กรณีเป็นเรื่องกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนซึ่งตามมาตรา 121 ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ เว้นแต่เป็นกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปกักหรืออบรมตามมาตรา 105 มีกำหนดระยะเวลาขั้นสูงเกิน3 ปี จึงจะอุทธรณ์ได้ แต่กรณีดังกล่าวมิใช่การส่งไปกักและอบรมจึงอุทธรณ์ไม่ได้
ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มิได้ระบุข้อเท็จจริงไม่ให้เหตุผลในการตัดสินและมิได้ระบุมาตราที่ยกขึ้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไว้โดยไม่ชอบคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจึงไม่ชอบด้วยเช่นกัน ดังนั้น ฎีกาดังกล่าวแม้เป็นข้อกฎหมายแต่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มิได้ระบุข้อเท็จจริงไม่ให้เหตุผลในการตัดสินและมิได้ระบุมาตราที่ยกขึ้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไว้โดยไม่ชอบคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจึงไม่ชอบด้วยเช่นกัน ดังนั้น ฎีกาดังกล่าวแม้เป็นข้อกฎหมายแต่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีเยาวชนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ไว้โดยไม่ชอบ และผลกระทบต่อการฎีกา
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ภายหลังลดโทษแล้วคงจำคุกคนละ 4 ปี อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 104(2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรี มีกำหนดขั้นต่ำคนละ 3 ปี ขั้นสูงคนละ 4 ปี กรณีเป็นเรื่องกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 121 ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ เว้นแต่ถ้าเป็นกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปกักหรืออบรมตามมาตรา 105 มีกำหนดระยะเวลาขั้นสูงเกิน 3 ปี จึงจะอุทธรณ์ได้กรณีนี้จึงมิใช่การส่งไปกักและอบรมตามข้อยกเว้นดังกล่าว เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2ถึงที่ 4 เป็นเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 ดังนั้น คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มิได้ระบุข้อเท็จจริงไม่ให้เหตุผลในการตัดสินและมิได้ระบุมาตราที่ยกขึ้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ไว้โดยไม่ชอบ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจึงไม่ชอบด้วยเช่นกัน ดังนั้น ฎีกาดังกล่าวแม้เป็นข้อกฎหมายแต่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มิได้ระบุข้อเท็จจริงไม่ให้เหตุผลในการตัดสินและมิได้ระบุมาตราที่ยกขึ้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ไว้โดยไม่ชอบ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจึงไม่ชอบด้วยเช่นกัน ดังนั้น ฎีกาดังกล่าวแม้เป็นข้อกฎหมายแต่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงเดิมที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อจำกัดด้านทุนทรัพย์
เมื่อข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกาเป็นข้อเท็จจริงเดียวกันกับที่จำเลยได้กล่าวอ้างไว้ในอุทธรณ์ซึ่งไม่ผ่านการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ ภาค 1 เพราะศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 ข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกาจึงไม่เป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ฎีกาของจำเลยจะมีผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: ผลกระทบต่อคดีที่ถึงที่สุดแล้ว และข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นอันยุติหรือถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไปแล้ว ตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต่างใช้สิทธิฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์แต่ละคนได้รับ แม้ฟ้องรวมกันมาแต่หนี้ของโจทก์แต่ละคนสามารถแยกออกจากกันได้ หนี้ของโจทก์แต่ละคนจึงไม่ใช่หนี้ร่วมที่ไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 อุทธรณ์เพียงผู้เดียวคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่มีผลไปถึงคดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเสียเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาเรื่องภาระจำยอมต้องยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น หากฎีกาในประเด็นใหม่ถือว่าเป็นการขัดต่อข้อจำกัดการฎีกา
จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินที่ใช้วางท่อระบายน้ำทิ้งเป็นที่ดินของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการ ต่อสู้กรรมสิทธิ์ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า ใช้ที่ดินตรงที่วางท่อระบายน้ำทิ้งโดยเจตนาจะให้ได้ภาระจำยอม ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10518/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่ได้รับวินิจฉัย เนื่องจากประเด็นข้อโต้แย้งมิได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยโดยลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพ คงจำคุกตลอดชีวิต โจทก์มิได้อุทธรณ์ว่าไม่ควรลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แสดงว่าโจทก์พอใจที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งแล้ว เมื่อจำเลยอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำคุกจำเลยตลอดชีวิต แต่ก็ยังคงลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ที่โจทก์กลับมายื่นฎีกาคัดค้านว่าไม่สมควรลดโทษให้จำเลยนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้