คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดอกเบี้ย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,659 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยค้ำประกัน: ดอกเบี้ยตามสัญญาประธานใช้ได้ แม้สัญญาค้ำประกันไม่ได้ระบุ
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า ผู้ค้ำประกันยินยอมเข้าค้ำประกันหนี้สินทุกชนิดของห้างหุ้นส่วน ส. ภายในวงเงิน ที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกันและอุปกรณ์แห่งหนี้อันมีดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ ดังนั้น แม้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวอันเป็นสัญญาหรือหนี้อุปกรณ์จะมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็ต้องถืออัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทอันเป็นสัญญาหรือหนี้ประธานซึ่งห้างหุ้นส่วน ส. ทำไว้กับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2963/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายผิดนัด และการใช้ดุลพินิจศาลในการกำหนดดอกเบี้ย
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคาร จำเลยผู้จะขายจะต้องก่อสร้างอาคารที่ตกลงจะซื้อขายให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 24 เดือน นับแต่วันทำสัญญา แต่เมื่อครบกำหนดดังกล่าว จำเลยก่อสร้างอาคารตามสัญญาไม่แล้วเสร็จ โจทก์จึงมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวโจทก์ถือว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย ปรากฏว่าเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยก็ยังไม่อาจส่งมอบอาคารให้โจทก์ได้ ถือว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารระหว่างโจทก์จำเลยเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391
การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องหรือสูงกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายนั้น ต้องเป็นกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (6) การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ในส่วนดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยไม่ได้มีข้อวินิจฉัยว่าจำเลยไม่สุจริตในการสู้ความหรือในการดำเนินคดีนี้อย่างไร ทั้งตามสำนวนก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยสู้ความโดยไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่มีเหตุตามบทบัญญัติมาตรา 142 (6) ที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราที่สูงเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในส่วนดอกเบี้ยดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2963/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินค้างชำระ & ดอกเบี้ย - ศาลจำกัดการเพิ่มดอกเบี้ยเกินคำฟ้อง
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารจากจำเลย แต่จำเลยมิได้ก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จตามสัญญา โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาภายใน 30 วัน หากพ้นกำหนดถือเป็นการบอกเลิกสัญญา เมื่อจำเลยเห็นว่าระยะเวลาดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาได้ จำเลยชอบที่จะขอขยายระยะเวลาการก่อสร้างอาคารจากโจทก์ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำเช่นนั้น ดังนั้น เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยยังไม่สามารถส่งมอบอาคารให้โจทก์ได้ สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเลิกกันคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391
การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องหรือสูงกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายนั้น ต้องเป็นกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(6) เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินดาวน์และเงินค่างวดคืนโจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยไม่มีข้อวินิจฉัยว่าจำเลยไม่สุจริตในการสู้ความหรือในการดำเนินคดีอย่างไร จึงไม่มีเหตุที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องได้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2963/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลพิพากษาดอกเบี้ยเกินคำฟ้องต้องมีเหตุสมควรตามมาตรา 142(6) หากไม่มีเหตุผลรองรับ การพิพากษาแก้เป็นอื่นนอกเหนือคำฟ้องย่อมไม่ชอบ
การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องหรือสูงกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(6)
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินดาวน์และเงินค่างวดคืนโจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามคำฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ในส่วนดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ไม่ได้มีข้อวินิจฉัยว่า จำเลยไม่สุจริตในการสู้ความหรือในการดำเนินคดีนี้อย่างไร ทั้งตามสำนวนก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยสู้ความโดยไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่มีเหตุตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(6) ที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราที่สูงเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2942/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาฟ้องคดีแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ต้องใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการวางเงินค่าชดเชยต้องรวมดอกเบี้ย
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ การนับระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1ลักษณะ 5 เรื่องระยะเวลาอันเป็นบทบัญญัติทั่วไป
โจทก์ได้รับทราบคำสั่งของจำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานในวันที่ 8กุมภาพันธ์ 2544 โจทก์มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งโดยต้องเริ่มนับระยะเวลาดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง และจะครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 10 มีนาคม 2544 ซึ่งตรงกับวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลภายในวันที่ 12 มีนาคม 2544 อันเป็นวันเปิดราชการในวันแรกได้ตามมาตรา 193/8 การที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางในวันที่ 12มีนาคม 2544 ถือว่าโจทก์นำคดีไปสู่ศาลภายในระยะเวลาที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้แล้ว
จำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ให้แก่จำเลยร่วมซึ่งเป็นลูกจ้างภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่ง ถ้าโจทก์ประสงค์จะนำคดีไปสู่ศาลโจทก์จะต้องนำต้นเงินค่าชดเชยและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องไปวางต่อศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสาม การที่โจทก์นำคดีมาสู่ศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยย่อมหมายความรวมทั้งคำสั่งที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยในค่าชดเชยแก่จำเลยร่วม ทั้งการวินิจฉัยในส่วนเรื่องค่าชดเชยดังกล่าวก็มีผลกระทบโดยตรงถึงดอกเบี้ยของค่าชดเชยด้วย โจทก์จึงไม่อาจที่จะอ้างว่าโจทก์คงติดใจโต้แย้งคำสั่งของจำเลยเฉพาะเรื่องเงินค่าชดเชยเท่านั้น ไม่ติดใจโต้แย้งในเรื่องดอกเบี้ยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์นำแต่เงินค่าชดเชย 97,800 บาท มาวางโดยมิได้นำดอกเบี้ยในค่าชดเชยถึงวันฟ้องมาวางต่อศาลด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่เลิกแล้ว การเลิกสัญญาโดยปริยาย และผลของการหยุดคิดดอกเบี้ย
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์ โดยมีข้อตกลงว่า ถ้าเงินในบัญชีของผู้ฝากมีไม่พอจ่ายตามเช็คโดยปกติ ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินโดยสิ้นเชิง แต่เมื่อธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายให้ไป ผู้ฝากย่อมเป็นอันยอมรับผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่เกินคืนให้ธนาคาร เสมือนหนึ่งได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารและธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเงินที่เบิกเกินบัญชีเป็นรายวัน แล้วนำดอกเบี้ยนั้นไปหักบัญชีเป็นรายเดือนจึงมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย แต่เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดระยะเวลาคู่สัญญาจึงอาจบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859
การบอกเลิกสัญญาสามารถกระทำได้โดยแสดงเจตนาแจ้งชัดไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง หรือมีพฤติการณ์อันถือได้ว่าคู่สัญญามีเจตนาจะเลิกสัญญากันโดยปริยายก็ได้เมื่อปรากฏตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2526 ต่อจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่รายการที่แสดงถึงดอกเบี้ยเท่านั้นเอง ถือได้ว่า โจทก์เจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยโดยปริยายแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์หยุดคิดดอกเบี้ยทบต้นคือวันที่ 30 มิถุนายน 2530 แม้โจทก์จะมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2540 ก็ไม่ทำให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดที่เลิกกันไปแล้วกลับมีผลบังคับกันต่อไปได้อีก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 เกิน 10 ปี จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ดอกเบี้ยเกินอัตราและผลกระทบต่อการเรียกร้องหนี้และการหักชำระ
การที่จำเลยชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ ทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงไม่อาจเรียกร้องคืนหรือให้นำมาหักหนี้ที่จำเลยค้างชำระอยู่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407
เมื่อจำเลยชำระหนี้ครั้งที่ 6 จำนวน 250,000 บาท จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวไปหักชำระดอกเบี้ยและต้นเงินที่ค้างชำระในวันที่ 16 พฤษภาคม 2540 การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดให้นำเงินไปหักในวันดังกล่าว แต่กลับให้นำไปหักจากต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยที่คำนวณได้ในวันที่จำเลยชำระเสร็จ จึงขัดกับ ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง ทำให้จำเลยต้องชำระหนี้ดอกเบี้ยมากกว่าที่ควรเพราะความรับผิดของดอกเบี้ยจะมากหรือน้อย ย่อมแปรผันไปตามจำนวนต้นเงิน กล่าวคือ ถ้าต้นเงินมาก ดอกเบี้ยที่จะต้องชำระก็มาก หากต้นเงินน้อย ดอกเบี้ยก็จะน้อย
แม้เช็คพิพาท มีหนี้ในส่วนที่เป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ มิใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมดโจทก์จึงมีสิทธินำเช็คดังกล่าวฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ดอกเบี้ยเกินอัตรา และการหักชำระหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การที่จำเลยชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงไม่อาจเรียกร้องคืนหรือให้นำมาหักหนี้ที่จำเลยค้างชำระอยู่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407
เมื่อจำเลยชำระหนี้ครั้งที่ 6 จำนวน 250,000 บาท จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวไปหักชำระดอกเบี้ยและต้นเงินที่ค้างชำระในวันที่ 16 พฤษภาคม 2540 การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดให้นำเงินไปหักในวันดังกล่าว แต่กลับให้นำไปหักจากต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยที่คำนวณได้ในวันที่จำเลยชำระเสร็จ จึงขัดกับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 329 วรรคหนึ่ง ทำให้จำเลยต้องชำระหนี้ดอกเบี้ยมากกว่าที่ควรเพราะความรับผิดของดอกเบี้ยจะมากหรือน้อย ย่อมแปรผันไปตามจำนวนต้นเงิน กล่าวคือ ถ้าต้นเงินมากดอกเบี้ยที่จะต้องชำระก็มาก หากต้นเงินน้อย ดอกเบี้ยก็จะน้อย
แม้เช็คพิพาท มีหนี้ในส่วนที่เป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ มิใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมดโจทก์จึงมีสิทธินำเช็คดังกล่าวฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เช็ค การคิดดอกเบี้ยทบต้นที่เกินอัตราตามกฎหมาย และการหักชำระหนี้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คธนาคาร ก. ลงวันที่ 5 มิถุนายน2540 จำนวนเงิน 691,960 บาท เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ โดยระบุข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าเมื่อเช็คถึงกำหนดชำระ โจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน และมีคำขอบังคับให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่ลงในเช็ค เป็นการบรรยายฟ้องครบถ้วนแล้ว ส่วนการออกเช็คเป็นการชำระหนี้ค่าอะไร มูลหนี้เกิดจากอะไร และชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นรายละเอียดที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณาไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ก่อนที่จำเลยจะชำระหนี้ด้วยเช็คพิพาท จำเลยเคยชำระหนี้ให้โจทก์มาแล้วรวม6 ครั้ง เป็นการชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนจำนอง 5 ครั้ง ซึ่งการชำระหนี้แต่ละครั้งไม่พอที่จะเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด จึงต้องหักชำระดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดไปก่อนที่จะชำระต้นเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคหนึ่ง และถือว่าการที่จำเลยชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ ทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงไม่อาจเรียกร้องคืนหรือให้นำมาหักหนี้ที่จำเลยค้างชำระอยู่ได้ตามมาตรา 407
แม้เช็คพิพาทมีหนี้ในส่วนที่เป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ มิใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2400/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินของคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการ: ความรับผิดส่วนบุคคลและการคิดดอกเบี้ย
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการพ.ศ. 2530 ข้อ 13 และข้อ 21 เป็นเพียงกำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการเท่านั้น ไม่มีผลทำให้คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอมีสภาพเป็นนิติบุคคล ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจทำสัญญากู้ยืมเงินแทนกองทุนดังกล่าว จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญากู้เงินและได้รับต้นเงินกู้ไปจากโจทก์ จำเลยจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวแม้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2530ข้อ 13 จะกำหนดให้การปฏิบัติงานสวัสดิการภายในส่วนราชการตามระเบียบนี้ให้ถือเป็นการปฏิบัติราชการ แต่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดหนังสือสัญญากู้เงิน จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
จำเลยจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้โจทก์อัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่กฎหมายกำหนดทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ตกเป็นโมฆะ แต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี เนื่องจากจำเลยผิดนัดไม่ชำระต้นเงินคืนโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ดอกเบี้ยส่วนนี้ไม่ตกเป็นโมฆะ เมื่อสัญญากู้เงินมิได้กำหนดชำระต้นเงินคืนไว้ตามวันแห่งปฏิทิน ดังนั้นโจทก์จะมีสิทธิได้ดอกเบี้ยต่อเมื่อได้ทวงถามและกำหนดเวลาให้จำเลยชำระต้นเงินแล้วตาม 204 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าได้ทวงถามเมื่อใด จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันฟ้อง
of 166