พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่หากยังไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทและโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะให้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เมื่อโจทก์ยังมิได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทและลูกหนี้ตามคำพิพากษายังมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ดินพิพาทจึงยังไม่เป็นของโจทก์การที่จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทและถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไว้จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, การละเมิด, และการส่งหมายที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 200,000 บาท จนกว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารจะออกไปจากที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายเดือนละ 300 บาท โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 มิได้อุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหาย ปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงเป็นอันยุติ ดังนั้น ค่าเสียหายที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียงจำนวนเดือนละ 300 บาท จึงอนุมานได้ว่า บ้านและที่ดินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่อาศัยดังกล่าวนี้มีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ดังนี้ คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์โดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ได้ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ที่จำเลยที่ 1ถึงที่ 8 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ไม่ได้อยู่อาศัยในบริเวณที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าไปเยี่ยมจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ในที่ดินพิพาทเป็นบางครั้ง และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ต่างอยู่อาศัยในบ้านที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยต่างครอบครองเป็นส่วนสัด ด้วยความสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บ้านเลขที่ 25 และเลขที่ 25/2 ต่างก็ปลูกอยู่ในที่พิพาท และตามทะเบียนบ้านทั้งสองหลังก็มีชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 เป็นผู้อาศัยอยู่ ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านเลขที่ 212/25 และไม่ได้อยู่ในที่ดินพิพาทก็ตามแต่จำเลยที่ 1 เคยได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นที่จอดรถยนต์ รถอื่น ๆ และเก็บสิ่งของ และยังมีซากรถและสิ่งของยังมีอยู่ในที่ดินพิพาท เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าสิ่งของดังกล่าวจะเป็นของผู้ใดไม่ทราบ ดังนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ให้ขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดรวมทั้งบ้านอีก 3 หลัง ออกไปจากที่ดินพิพาทเป็นคดีเดียวกันได้
เจ้าพนักงานเดินหมายระบุในรายงานการเดินหมายว่า พบภูมิลำเนาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ตามฟ้อง แต่ปรากฏว่าบ้านปิดใส่กุญแจและระบุว่าพบภูมิลำเนาจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ตามฟ้อง แต่บุคคลในนั้นเป็นชายอายุเกิน 20 ปี แจ้งว่าบุคคลดังกล่าวไปธุระนอกบ้าน เป็นการระบุรายละเอียดถึงพฤติการณ์การนำส่งหมายได้ชัดแจ้งเพียงพอแล้ว การที่พนักงานเดินหมายมิได้ระบุสภาพลักษณะบ้านที่ส่งหมายว่าเป็นอย่างไรนั้น เป็นเพียงส่วนปลีกย่อยในการเขียนรายงานของพนักงานเดินหมายเท่านั้น มิใช่สาระสำคัญอันจะเป็นผลให้การส่งหมายกลายเป็นไม่ชอบ
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์โดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ได้ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ที่จำเลยที่ 1ถึงที่ 8 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ไม่ได้อยู่อาศัยในบริเวณที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าไปเยี่ยมจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ในที่ดินพิพาทเป็นบางครั้ง และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ต่างอยู่อาศัยในบ้านที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยต่างครอบครองเป็นส่วนสัด ด้วยความสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บ้านเลขที่ 25 และเลขที่ 25/2 ต่างก็ปลูกอยู่ในที่พิพาท และตามทะเบียนบ้านทั้งสองหลังก็มีชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 เป็นผู้อาศัยอยู่ ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านเลขที่ 212/25 และไม่ได้อยู่ในที่ดินพิพาทก็ตามแต่จำเลยที่ 1 เคยได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นที่จอดรถยนต์ รถอื่น ๆ และเก็บสิ่งของ และยังมีซากรถและสิ่งของยังมีอยู่ในที่ดินพิพาท เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าสิ่งของดังกล่าวจะเป็นของผู้ใดไม่ทราบ ดังนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ให้ขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดรวมทั้งบ้านอีก 3 หลัง ออกไปจากที่ดินพิพาทเป็นคดีเดียวกันได้
เจ้าพนักงานเดินหมายระบุในรายงานการเดินหมายว่า พบภูมิลำเนาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ตามฟ้อง แต่ปรากฏว่าบ้านปิดใส่กุญแจและระบุว่าพบภูมิลำเนาจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ตามฟ้อง แต่บุคคลในนั้นเป็นชายอายุเกิน 20 ปี แจ้งว่าบุคคลดังกล่าวไปธุระนอกบ้าน เป็นการระบุรายละเอียดถึงพฤติการณ์การนำส่งหมายได้ชัดแจ้งเพียงพอแล้ว การที่พนักงานเดินหมายมิได้ระบุสภาพลักษณะบ้านที่ส่งหมายว่าเป็นอย่างไรนั้น เป็นเพียงส่วนปลีกย่อยในการเขียนรายงานของพนักงานเดินหมายเท่านั้น มิใช่สาระสำคัญอันจะเป็นผลให้การส่งหมายกลายเป็นไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทและขอบเขตอำนาจฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริงบางส่วน
โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 200,000 บาทจนกว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารจะออกไปจากที่ดินพิพาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 และบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทและให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายเดือนละ 300 บาท โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 มิได้อุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหายปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงเป็นอันยุติ ดังนั้น ค่าเสียหายที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียงจำนวนเดือนละ 300 บาทจึงอนุมานได้ว่า บ้านและที่ดินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่อาศัยดังกล่าวนี้มีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ดังนี้ คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8อยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์โดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่ได้ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ไม่ได้อยู่อาศัยในบริเวณที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าไปเยี่ยมจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8ในที่ดินพิพาทเป็นบางครั้ง และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8ต่างอยู่อาศัยในบ้านที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยต่างครอบครองเป็นส่วนสัด ด้วยความสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย บ้านเลขที่ 25 และเลขที่ 25/2 ต่างก็ปลูกอยู่ในที่พิพาทและตามทะเบียนบ้านทั้งสองหลังก็มีชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8เป็นผู้อาศัยอยู่ ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านเลขที่ 212/25 และไม่ได้อยู่ในที่ดินพิพาทก็ตามแต่จำเลยที่ 1 เคยได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นที่จอดรถยนต์ รถอื่น ๆและเก็บสิ่งของ และยังมีซากรถและสิ่งของยังมีอยู่ในที่ดินพิพาท เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าสิ่งของดังกล่าวจะเป็นของผู้ใดไม่ทราบ ดังนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้จำเลยที่ 1ถึงที่ 8 ให้ขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดรวมทั้งบ้านอีก 3 หลัง ออกไปจากที่ดินพิพาทเป็นคดีเดียวกันได้ เจ้าพนักงานเดินหมายระบุในรายงานการเดินหมายว่าพบภูมิลำเนาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ตามฟ้องแต่ปรากฏว่าบ้านปิดใส่กุญแจและระบุว่าพบภูมิลำเนาจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ตามฟ้อง แต่บุคคลในนั้นเป็นชายอายุเกิน 20 ปี แจ้งว่าบุคคลดังกล่าวไปธุระนอกบ้าน เป็นการระบุรายละเอียดถึงพฤติการณ์การนำส่งหมายได้ชัดแจ้งเพียงพอแล้ว การที่พนักงานเดินหมายมิได้ระบุสภาพลักษณะบ้านที่ส่งหมายว่าเป็นอย่างไรนั้นเป็นเพียงส่วนปลีกย่อยในการเขียนรายงานของพนักงานเดินหมายเท่านั้น มิใช่สาระสำคัญอันจะเป็นผลให้การส่งหมายกลายเป็นไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5926/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตกทอดแก่ทายาท ผู้ครอบครองแทนไม่มีสิทธิโต้แย้ง และฎีกาเรื่องสิทธิครอบครองซ้ำหากไม่เคยอุทธรณ์
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของอ.มิใช่สิทธิเฉพาะตัวจึงตกได้แก่ทายาทโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของอ. จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองที่เข้าโต้แย้งสิทธิได้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเป็นของอ.ผู้ตายและตกได้แก่ฤ.ทายาทตามพินัยกรรมจำเลยทั้งสองเป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของอ.เท่านั้นไม่มีสิทธิครอบครองแต่อย่างใดจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติแล้วว่าจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจำเลยที่2จึงหาอาจยกปัญหาเรื่องจำเลยทั้งสองมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ต่อไปไม่เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีต้องเป็นไปตามคำพิพากษาศาลฎีกา การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเกินขอบเขตคำพิพากษา
ศาลฎีกาพิพากษาว่า เนื้อที่ส่วนพิพาทตามหลักเขตภายในกรอบเส้นสีแดงในแผนที่วิวาทเป็นของโจทก์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ไม่ได้มีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยหรือให้ต้องออกไป หรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทการที่โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จัดการให้โจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทตามหมายบังคับคดีเพื่อให้รวมถึงการรื้อถอนสิ่งกีดขวางต่าง ๆ รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาทออกไปด้วย จึงเป็นการบังคับที่เกินไปจากคำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท: การรุกล้ำที่ดินและการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองปลูกสร้างและต่อเติมอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์โฉนดเลขที่ 145 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นความกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวตลอดแนวที่ดินโจทก์ประมาณ 16 เมตร ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมรุกล้ำออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า อาคารที่จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างนั้นมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์แต่อย่างใด หากที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 2 ก็ครอบครองโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ปี 2522 จนถึงปัจจุบันเกินกว่า10 ปี จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยการครอบครองแล้ว ขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้ง ขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 145 ด้านที่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50 เมตร ตลอดแนวที่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยการครอบครอง คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท หากคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง จำเลยที่ 2ก็ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2ได้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมโดยตรง หาใช่ฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์เป็นเหตุให้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ฟ้องแย้งแสดงกรรมสิทธิ์ไม่เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองปลูกสร้างและต่อเติมอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ โฉนดเลขที่ 145 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นความกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวตลอดแนวที่ดินโจทก์ประมาณ 16 เมตร ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมรุกล้ำออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า อาคารที่จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างนั้นมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์แต่ประการใด หากที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จำเลยที่ 2 ก็ครอบครองโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ปี 2522 จนถึงปัจจุบันเกินกว่า 10 ปี จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยการครอบครองแล้ว ขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้ง ขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 145ด้านที่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวประมาณ50 เมตร ตลอดแนวที่ติดกับที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยการครอบครอง คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท หากคดีฟังได้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองจำเลยที่ 2 ก็ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ได้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมโดยตรง หาใช่ฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท & การซื้อขายโดยสุจริต ผู้ซื้อย่อมได้สิทธิเหนือผู้ครอบครองเดิมที่ไม่จดทะเบียน
ที่ดินพิพาทเป็นที่ทำไร่ไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์มีเพียง น.ส.3 บุคคลจะพึงมีสิทธิเหนือที่ดินพิพาทอย่างมากก็เพียงแต่สิทธิครอบครอง แม้โจทก์จะได้สิทธิครอบครองโดยการแย่งการครอบครองแต่การได้มาของโจทก์มิได้ จดทะเบียน โจทก์ก็จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยผู้ได้สิทธิ มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริต ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท vs. สิทธิจากการจดทะเบียนซื้อขายโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3)แม้โจทก์จะได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทมาจริงดังโจทก์กล่าวอ้างการได้มาของโจทก์ก็เป็นการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้โจทก์ก็จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิในที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่1โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้วหาได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1299วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: การออกจากที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงภัยอันตรายไม่ถือเป็นการสละการครอบครอง
โจทก์ต้องออกจากที่ดินพิพาทเพราะเกรงกลัวอิทธิพลของบุตรจำเลยที่1เป็นการออกไปเพื่อหลีกเลี่ยงภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์และบุตรมิได้ออกไปโดยเจตนาสละการครอบครองโจทก์ยังแสดงเจตนายึดถือที่ดินพิพาทด้วยการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกในการจัดการที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของสามีโจทก์และด้วยการขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ในเวลาต่อมาทั้งนำสืบว่าขณะที่โจทก์ออกไปจำเลยที่1ไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทและการที่จำเลยที่1คัดค้านการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการเข้าไปแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทการที่โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกและห้ามจำเลยที่1เข้าเกี่ยวข้องจึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375