คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นำสืบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 271 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบข้อตกลงนอกสัญญาซื้อขายที่ดิน: การขายเหมาทั้งแปลงไม่เป็นการแก้ไขสัญญา
สัญญาซื้อขายมีข้อความว่า "ผู้ขายยอมขายที่ดินแปลงที่กล่าวข้างบนนี้ทั้งแปลงแก่ผู้ซื้อ ฯลฯ" ผู้ซื้อย่อมนำพยานมาสืบได้ว่า ผู้ขายตกลงด้วยวาจาขายที่นอกโฉนดด้วย โดยขายเหมาทั้งแปลง ตามแนวเขตที่ผู้ขายนำชี้ การนำสืบเช่นนี้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบข้อตกลงนอกสัญญาซื้อขายที่ดิน: การขายเหมาทั้งแปลงไม่เป็นการแก้ไขสัญญา
สัญญาซื้อขายมีข้อความว่า 'ผู้ขายยอมขายที่ดินแปลงที่กล่าวข้างบนนี้ทั้งแปลงแก่ผู้ซื้อ ฯลฯ' ผู้ซื้อย่อมนำพยานมาสืบได้ว่า ผู้ขายตกลงด้วยวาจาขายที่นอกโฉนดด้วย โดยขายเหมาทั้งแปลงตามแนวเขตที่ผู้ขายนำชี้ การนำสืบเช่นนี้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือและการนำสืบข้อเท็จจริงตามมาตรา 653
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรค 2 เป็นบทบังคับเด็ดขาด ฉะนั้น จำเลยจึงนำสืบว่าจำเลยได้ใช้เงินให้โจทก์แล้วโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือได้เวนคืนเอกสารหรือแทงเพิกถอนเอกสารนั้นแล้วมิได้
เพียงเอาโฉนดที่ดินมาให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้ตามสัญญากู้ มิใช่หนี้ที่มีประกันตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อเมื่อจำเลยปฏิเสธข้อกล่าวหาเดิม และโจทก์มิได้นำสืบยืนยันความจริง
เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลว่าจำเลยเป็นคนๆ เดียวกับจำเลยในคดีอีกคดีหนึ่ง และขอให้นับโทษจำเลยต่อ ศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำเนาให้จำเลยไม่ปรากฏว่ามีการสอบถามจำเลยว่าจะเป็นความจริงตามคำร้องของโจทก์หรือไม่ ที่จำเลยให้การเป็นพยานไว้ จำเลยก็ให้การว่าในคดีที่โจทก์ฟ้องเพิ่มเติมนี้ จำเลยไม่ทราบเรื่องแสดงว่าจำเลยปฏิเสธคำร้องของโจทก์ โจทก์มิได้สืบให้ปรากฏตามคำร้องขอของโจทก์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษา และโจทก์ยื่นฟ้องอุทธรณ์แล้ว โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์อีกว่าศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยในคดีนั้นแล้ว ถ้าหากศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยคดีนี้ขอให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีนั้นด้วย จำเลยรับสำเนาคำร้องของโจทก์แล้ว ก็มิได้แถลงในเรื่องนี้ว่าอย่างไร คดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้รับตามคำร้องของโจทก์ในข้อนี้ จึงนับโทษจำเลยต่อจากคดีที่โจทก์ขอไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาขัดกฎหมาย
สัญญาเช่าซื้อกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ ผู้เช่าซื้อซึ่งทำสัญญาในนามตนเองจะนำสืบพยานบุคคลว่า ทำสัญญาในฐานะผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัทจำกัดมิได้ เพราะเป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ซึ่งกฎหมายห้ามมิให้ศาลยอมรับฟัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1529/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นคำท้าการพิสูจน์พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การนำสืบพยานหลักฐานต้องอยู่ในประเด็นคำท้า
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม เจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินใดๆ ไว้. หากจำเลยจะมีพินัยกรรมของเจ้ามรดก พินัยกรรมก็ปลอม. เมื่อจำเลยยื่นคำให้การ ได้เสนอสำเนาพินัยกรรมมาท้ายคำให้การ. โจทก์ยื่นคำร้องขอให้จำเลยส่งต้นฉบับต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานเพื่อโจทก์จะได้ตรวจดู. โจทก์แถลงว่า ต้องสอบลายมือในพินัยกรรมจากผู้รู้ลายมือของผู้ทำพินัยกรรม. แล้วคู่ความเลื่อนวันชี้สองสถานไป. พอถึงวันชี้สองสถานครั้งที่ 2คู่ความแถลงต่อศาลว่า คู่ความตกลงกันสืบประเด็นเดียวว่า. พินัยกรรมตามที่จำเลยอ้างเป็นพินัยกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่. ดังนี้ ที่ว่า 'พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่' ตามที่คู่ความตกลงกันหรือท้ากันสืบนี้. หมายความถึงประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกันก่อนว่าเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมหรือไม่นั่นเอง. ถ้านายอ่อนได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้จริงโจทก์ก็แพ้คดีตามคำท้า. แต่ถ้านายอ่อนไม่ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ จำเลยก็แพ้คดีตามคำท้า. ดังนั้นที่คู่ความนำสืบพยานหลักฐานในประเด็นที่ว่า นายอ่อนเจ้ามรดกทำพินัยกรรมหมายล.1หรือไม่. จึงอยู่ในประเด็นคำท้าที่คู่ความพิพาทโต้เถียงกัน. หาใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็นคำท้าไม่. และที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยพยานหลักฐานของคู่ความในประเด็นข้อนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นคำท้า. มิใช่นอกประเด็นคำท้าเช่นเดียวกัน.การที่คู่ความแถลงท้ากันศาลจดประเด็นคำท้า ใช้คำว่า'พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่' นั้น. ไม่ทำให้ประเด็นคำท้าที่คู่ความพิพาทโต้เถียงกันมาก่อนเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น. เพราะคำว่า 'ชอบด้วยกฎหมาย'นี้ มีความหมายกว้างมาก. การใดที่กฎหมายห้ามมิให้กระทำ.แต่ผู้ใดฝ่าฝืนไปกระทำการนั้นเข้า. ต้องถือว่าการกระทำนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1656 ได้บัญญัติถึงแบบของพินัยกรรมธรรมดาไว้ว่า.ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม. ถ้าผู้อื่นปลอมลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมลงในพินัยกรรม ย่อมเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย. พินัยกรรมถือว่าทำขึ้นผิดแบบ. จึงเป็นพินัยกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย. การที่พิเคราะห์ดูแต่ตัวพินัยกรรมอย่างเดียว โดยไม่ฟังคำพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบ. จะไม่มีทางทราบได้เลยว่าลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมในพินัยกรรมนั้นปลอมหรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกได้เสมอ การนำสืบเพิ่มเติมข้อความในสัญญาเป็นไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้ย่อมมีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ และการที่ผู้กู้นำพยานบุคคลมาสืบว่า การกู้รายนี้มีข้อตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้คืน 3 เดือน ตามเช็คล่วงหน้าที่ผู้กู้ได้ออกให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้นั้น เป็นการนำสืบเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญากู้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
เอกสารหมาย ล.6 ที่โจทก์ผู้ให้กู้มีถึงจำเลยแจ้งกำหนดเวลาชำระหนี้ให้จำเลยทราบถือได้แต่เพียงเป็นหลักฐานที่โจทก์เรียกให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดไว้เท่านั้นจะถือเป็นหลักฐานว่าโจทก์จำเลยตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนแล้วหาได้ไม่
เมื่อหนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ การค้ำประกันก็มิใช่การค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลามีกำหนดแน่นอน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 แม้ผู้ให้กู้จะผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นความรับผิดไม่
โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเอาดอกเบี้ย แต่เมื่อฟังได้ว่าการกู้มีดอกเบี้ย ผู้กู้จึงต้องชำระดอกเบี้ยอยู่ และก่อนฟ้องโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยด้วยสิ่งของเป็นเงิน 8,725 บาท โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเฉพาะต้นเงินกู้ ดังนี้ การที่ศาลจัดใช้เงิน 8,725 บาท ที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ก่อนฟ้องเป็นใช้ดอกเบี้ยเสียก่อน ส่วนเหลือใช้เป็นการชำระต้นเงินกู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 329 แล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระต้นเงินกู้ที่ยังค้างให้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ขอนั้น ดังนี้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
สัญญากู้มีข้อความว่า จำเลยยอมให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ แต่อัตราดอกเบี้ยมิได้กำหนดลงไว้จึงต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ตัวแทน, สัญญาเช่า, การนำสืบพยาน, ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำให้การของจำเลยกล่าวว่า โจทก์เป็นเพียงตัวแทนของนางอึ้งโจทก์ร่วมในการทำสัญญาเช่าต่อการรถไฟ และเป็นตัวแทนในการปลูกสร้างตึกพิพาท และตอนท้ายกล่าวว่าเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าโจทก์เป็นผู้อาศัยหรือลูกจ้างของนางอึ้ง คำให้การทั้งสองตอนนี้ไม่ขัดกันเพราะเป็นเพียงแต่แสดงว่านอกจากที่โจทก์เป็นตัวแทนแล้ว ยังเป็นที่รู้กันว่าโจทก์ยังเป็นคนที่อาศัยหรือลูกจ้างของโจทก์ร่วมด้วย คำให้การของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)เมื่อศาลเห็นสมควรศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้
เมื่อได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ในข้ออื่นของโจทก์อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ ผู้ใช้คำพิพากษายันได้ โจทก์อ้างเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงต้องนำสืบก่อน
ผลแห่งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งพิพากษาว่าทรัพย์รายพิพาทเป็นของผู้ร้องและคดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมผูกพันคู่ความ ผู้ร้องใช้คำพิพากษานั้นยันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นได้ เมื่อโจทก์ให้การในคดีร้องขัดทรัพย์ใหม่อีกเรื่องหนี่งว่า ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป โดยจำเลยซื้อทรัพย์รายพิพาทจากผู้ร้องภายหลังจากศาลพิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีภาระในการนำสืบก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ การนำสืบเมื่อข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลง
ผลแห่งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งพิพากษาว่าทรัพย์รายพิพาทเป็นของผู้ร้องและคดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมผูกพันคู่ความผู้ร้องใช้คำพิพากษานั้นยันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นได้เมื่อโจทก์ให้การในคดีร้องขัดทรัพย์ใหม่อีกเรื่องหนึ่งว่า ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป โดยจำเลยซื้อทรัพย์รายพิพาทจาก ผู้ร้องภายหลังจากศาลพิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีภาระในการนำสืบก่อน
of 28