คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4197/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกระทรวงเจ้าสังกัดต่อความเสียหายจากลูกจ้างของหน่วยงานในสังกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
แม้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่เป็นส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อการบังคับบัญชาของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดังนั้นเมื่อลูกจ้างของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งเป็นกระทรวงเจ้าสังกัดจึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4036-4037/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุด และการยกฟ้องคดีที่ไม่มีมูลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ในชั้นไต่สวนคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถา โจทก์และจำเลยต่างระบุสำนวนคดีที่เคยฟ้องร้องกันมาก่อนเป็นพยาน โดยจำเลยขอให้ศาลนำคดีดังกล่าวมารวมกับคดีนี้เพื่อประกอบการซักค้านด้วย ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว และได้นำข้อเท็จจริงตามสำนวนคดีดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยและยกคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ดังนี้ เห็นได้ว่าสำนวนคดีก่อนนั้นได้เข้าสู่สำนวนคดีนี้ตั้งแต่ชั้นไต่สวนคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัย ศาลจึงงดชี้สองสถานและงดสืบพยาน แล้วหยิบยกเอาข้อเท็จจริงในสำนวนคดีก่อนมาประกอบการวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ในชั้นพิจารณาได้ไม่เป็นการฟังข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานนอกสำนวน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์พิพาทคืนจากจำเลยโดยอ้างเหตุว่า ฝากไว้กับจำเลยเป็นการชั่วคราว คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาฟังว่าโจทก์โอนทรัพย์พิพาทให้จำเลยเนื่องในการสมรสคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวนี้ ย่อมผูกพันโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อนนั้นแม้คดีนี้ โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์พิพาทคืนจากจำเลยโดยอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่า ยกให้โดยเสน่หา และขอถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณคดีก็ต้องฟังตามคำพิพากษาคดีก่อนว่า โจทก์ยกทรัพย์พิพาทให้จำเลยเนื่องในการสมรส เพิกถอนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535 (4) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องศาลจึงชอบที่จะวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายได้ โดยไม่จำต้องชี้สองสถานและสืบพยานต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4036-4037/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุด และการยกฟ้องคดีไม่มีมูลตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 535(4)
ในชั้นไต่สวนคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถา โจทก์และจำเลยต่างระบุสำนวนคดีที่เคยฟ้องร้องกันมาก่อนเป็นพยาน โดยจำเลยขอให้ศาลนำคดีดังกล่าวมารวมกับคดีนี้เพื่อประกอบการซักค้านด้วย ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว และได้นำข้อเท็จจริงตามสำนวนคดีดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยและยกคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ดังนี้ เห็นได้ว่าสำนวนคดีก่อนนั้นได้เข้าสู่สำนวนคดีนี้ตั้งแต่ชั้นไต่สวนคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัย ศาลจึงงดชี้สองสถานและงดสืบพยาน แล้วหยิบยกเอาข้อเท็จจริงในสำนวนคดีก่อนมาประกอบการวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ในชั้นพิจารณาได้ไม่เป็นการฟังข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานนอกสำนวน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์พิพาทคืนจากจำเลยโดยอ้างเหตุว่า ฝากไว้กับจำเลยเป็นการชั่วคราว คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาฟังว่าโจทก์โอนทรัพย์พิพาทให้จำเลยเนื่องในการสมรสคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวนี้ ย่อมผูกพันโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อนนั้นแม้คดีนี้ โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์พิพาทคืนจากจำเลยโดยอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่า ยกให้โดยเสน่หา และขอถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณคดีก็ต้องฟังตามคำพิพากษาคดีก่อนว่า โจทก์ยกทรัพย์พิพาทให้จำเลยเนื่องในการสมรส เพิกถอนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(4)โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องศาลจึงชอบที่จะวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายได้ โดยไม่จำต้องชี้สองสถานและสืบพยานต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์ในตลาด การคุ้มครองผู้ซื้อโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1332 และการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 3 อ้างเหตุว่าจำเลยที่ 3 รับซื้อรถคันพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหลักฐานทางทะเบียนถูกต้องและเป็นผู้ครอบครองรถในขณะที่นำมาขายในตลาดนัดซื้อขายแลกเปลี่ยนและมีการซื้อขายมาหลายทอด จำเลยที่ 3 รับซื้อมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต เป็นการซื้อในท้องตลาดจากพ่อค้าผู้ขายของชนิดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1332 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้น ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสองแล้ว
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยคำร้องของจำเลยที่ 3 ในเรื่องเหตุที่ได้ขาดนัดโดยมิได้ทำการไต่สวนว่าจำเลยที่ 3 ลงวันนัดสืบพยานโจทก์ผิดพลาดไปตามคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 3หรือไม่ ย่อมเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เงินกู้และการนำสืบการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินที่กู้ยืมไปพร้อมดอกเบี้ยการที่จำเลยให้การและนำสืบอ้างว่า จำเลยได้ชำระเงินที่กู้ยืมให้โจทก์แล้วโดยมอบให้แก่ ล. ซึ่งขอกู้เงินจำนวนนี้จากโจทก์ตามคำสั่งของโจทก์ ดังนี้ มิใช่กรณีแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653วรรค 2 เมื่อจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่ไม่มีหลักฐานตามที่มาตรา653 วรรค 2 กำหนดไว้ จำเลยจะนำสืบการใช้เงินหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญา การใช้ชื่อเล่นแทนชื่อจริง และการกู้ยืมเงิน
จำเลยทั้งสองเป็นสามีภริยากัน เขียนจดหมายถึงโจทก์ข้อความในจดหมายดังกล่าวฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกู้ยืมเงินโจทก์ โดยจำเลยทั้งสองเขียนชื่อเล่น ของจำเลยทั้งสองไว้ในตอนท้ายจดหมาย ด้วยตัวอักษรหวัดแกมบรรจงถือว่า เป็นการลงลายมือชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงทบดอกเบี้ยเข้าต้นเงิน: ความถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 655
โจทก์ จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมโดยยอมตกลงไว้ในสัญญากู้ด้วยว่ายอมให้ทบจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระครบหนึ่งปีเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากัน ข้อตกลงดังกล่าวสมบูรณ์หาเป็นโมฆะไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2262/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสินจ้างพิเศษจากกำไร: สัญญาจ้างงานประเภทนี้มีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 165(8)
โจทก์เป็นลูกจ้างในบริษัทจำเลย เรียกร้องเอาเงินตอบแทนพิเศษจากกำไรสุทธิทางบัญชีตามสัญญาจากจำเลยเป็นเงินเปอร์เซ็นต์จึงเป็นการเรียกร้องเอาสินจ้างชนิดอื่นเพื่อการงานที่ผู้รับจ้างได้กระทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(8)แล้ว มีอายุความ 2 ปี หาใช่อายุความ 10 ปีไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนสภาพหนี้และการกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
จำเลยที่ 1 เบียดบังยักยอกเงินโจทก์ไปแล้วจำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญารับสภาพความรับผิดยอมผูกพันตนร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้เงินแก่โจทก์ เป็นการเปลี่ยนสภาพแห่งหนี้ซึ่งเป็นสาระสำคัญของหนี้เดิมการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ชดใช้เงินตามหนังสือสัญญาดังกล่าว ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนสภาพหนี้และอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 กรณีสัญญารับสภาพความรับผิด
จำเลยที่ 1 เบียดบังยักยอกเงินโจทก์ไปแล้วจำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญารับสภาพความรับผิดยอมผูกพันตนร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้เงินแก่โจทก์ เป็นการเปลี่ยนสภาพแห่งหนี้ซึ่งเป็นสาระสำคัญของหนี้เดิมการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ชดใช้เงินตามหนังสือสัญญาดังกล่าว ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164.
of 42