พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาและสั่งอนุญาตได้ตามหลักการอนุโลมมาตรา 246 และ 175 ป.วิ.พ.
ป.วิ.พ. มิได้บัญญัติในเรื่องถอนอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ แต่ตามมาตรา 246 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์โดยอนุโลม เมื่อคำฟ้องอุทธรณ์เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามมาตรา 1(3) ดังนั้น ในการถอนคำฟ้องอุทธรณ์จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการถอนฟ้องตามมาตรา 175 มาบังคับใช้โดยอนุโลมโดยศาลอุทธรณ์จะต้องฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอดถ้าหากมีก่อน แม้จำเลยจะคัดค้านก็อยู่ในดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งอนุญาตได้ และการขอถอนคำฟ้องอุทธรณ์เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 และผลของการไม่ยื่นคำร้องคัดค้านภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในวันนัดขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งจัดลำดับทรัพย์สินที่จะขายจำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี คัดค้านการจัดลำดับในการขายทอดตลาดทรัพย์สินเจ้าพนักงานบังคับคดี เพียงแต่จดคำคัดค้านของจำเลยไว้แล้วก็ขายทอดตลาดทรัพย์สิน ไปในวันนั้นโดยไม่เลื่อนการขายไปให้พ้นระยะเวลาซึ่งให้นำเรื่อง ขึ้นสู่ศาลได้ก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 วรรคสอง การขายทอดตลาด จึงไม่ชอบจำเลยขอให้เพิกถอนการขายและประกาศขายทอดตลาดใหม่ได้ โดยยื่นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีได้เสร็จสิ้นลง แต่ต้องไม่ช้า กว่า8 วันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ ป.วิ.พ. โดยอนุโลมในศาลภาษีอากร: ต้องไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.ภาษีอากรครอบคลุม และเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถอ้างได้
การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมในศาลภาษีอากรนั้นพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 17 บัญญัติให้ทำได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จะนำมาใช้บังคับเท่านั้น การย่นหรือขยายระยะเวลานั้นได้มีบทบัญญัติ มาตรา 19 บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงจะนำบทบัญญัติ มาตรา 23 แห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไปประกอบธุรกิจอยู่ต่างจังหวัด แล้วเกิดเจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวอยู่ที่ต่างจังหวัด ไม่ทราบเรื่องที่ทนายโจทก์แจ้งไปยังญาติโจทก์ว่าต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางศาลเพิ่มเติมตามกำหนดที่ศาลสั่งนั้น มิใช่เหตุสุดวิสัย เพราะทนายโจทก์หรือญาติของโจทก์อาจขวนขวายติดต่อให้โจทก์ทราบเพื่อนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางเพิ่มเติมตามกำหนดเวลาที่ศาลสั่งได้
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไปประกอบธุรกิจอยู่ต่างจังหวัด แล้วเกิดเจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวอยู่ที่ต่างจังหวัด ไม่ทราบเรื่องที่ทนายโจทก์แจ้งไปยังญาติโจทก์ว่าต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางศาลเพิ่มเติมตามกำหนดที่ศาลสั่งนั้น มิใช่เหตุสุดวิสัย เพราะทนายโจทก์หรือญาติของโจทก์อาจขวนขวายติดต่อให้โจทก์ทราบเพื่อนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางเพิ่มเติมตามกำหนดเวลาที่ศาลสั่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำ ป.วิ.พ. มาใช้โดยอนุโลมในศาลภาษีอากร ต้องพิจารณาบทบัญญัติ พ.ร.บ.ภาษีอากรเป็นหลัก
การที่จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมในศาลภาษีอากรนั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรมาตรา 17 บัญญัติให้ทำได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าวที่จะนำมาใช้บังคับเท่านั้น การย่นหรือขยายระยะเวลานั้นได้มีบทบัญญัติ มาตรา 19 บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงจะนำบทบัญญัติ มาตรา 23 แห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไปประกอบธุรกิจอยู่ต่างจังหวัดแล้วเกิดเจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวอยู่ที่ต่างจังหวัด ไม่ทราบเรื่องที่ทนายโจทก์แจ้งไปยังญาติโจทก์ว่าต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางศาลเพิ่มเติมตามกำหนดที่ศาลสั่งนั้น มิใช่เหตุสุดวิสัย เพราะทนายโจทก์หรือญาติของโจทก์อาจขวนขวายติดต่อให้โจทก์ทราบเพื่อนำเงินค่าธรรมเนียมศาลไปวางเพิ่มเติมตามกำหนดเวลาที่ศาลสั่งได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การลอย ๆ ไม่ชัดเจน ศาลไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่ชัดเจนตาม ป.วิ.พ.
คำให้การของจำเลยที่ 4 ในข้อ 2 จำเลยที่ 4 ให้การลอย ๆ ไว้แต่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 เนื่องจากทำขึ้นโดยขัดต่อระเบียบข้อบังคับของโจทก์เท่านั้น จึงเป็นคำให้การที่ไม่แสดงให้แจ้งชัดถึงเหตุแห่งการปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยว่า ที่ ห. ทำสัญญาแลกเช็คเป็นเงินสดตามเอกสารหมาย จ.4 ให้โจทก์ในฐานะเป็นตัวแทนหรือกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5990/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินประจำตำแหน่ง ส.ส. ไม่อยู่ในข่ายเงินเดือนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286(2) บังคับคดีได้
เงินประจำตำแหน่ง เงินค่ารับรองและเงินช่วยเหลือค่าที่พักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิใช่เงินเดือน ทั้งตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิใช่ข้าราชการเงินทั้ง 3 ประเภทจึงไม่อยู่ในความหมายของเงินเดือนของข้าราชการหรือลูกจ้างของ รัฐบาล ตามป.วิ.พ. มาตรา 286(2) โจทก์ย่อมขอบังคับคดีได้ กรณีนี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลกำหนดเงินจำนวนตามที่เห็นสมควร เพื่อมิให้ต้องรับผิดในการบังคับคดีดังเช่นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (1) (3) (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5892/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องสมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง การโอนสิทธิเรียกร้องโดยการให้สัตยาบัน และอำนาจศาลแก้ไขค่าทนายความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญารับจ้างรักษาความปลอดภัยโดยได้แนบสำเนาสัญญาจ้างมาท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องและระบุข้อความในสัญญาแต่ละข้อแสดงความรับผิดของจำเลยกรณีทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างหายไปโดยการโจรกรรม อันเป็นมูลแห่งคำฟ้องไว้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แม้โจทก์จะมิได้มอบอำนาจเป็นหนังสือให้ ส. บอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลย แต่เมื่อ ส. บอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวแล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยแล้ว การที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์มิได้ยกสัญญาเอกสารหมาย จ.4ข้อ 11,13 ขึ้นวินิจฉัยตามที่จำเลยอุทธรณ์ว่าผู้ว่าจ้างไม่ได้แจ้งเหตุให้จำเลยผู้รับจ้างทราบในทันทีและแจ้งจำนวนค่าเสียหายภายในเวลาที่กำหนด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้จำเลยใช้แทนโจทก์เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5040/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ: ความประมาทเลินเล่อของทนาย และผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183
ในวันนัดชี้สองสถานทนายจำเลยมาศาลเมื่อศาลนัดสืบพยานโจทก์ไปแล้ว จำเลยเพียงแต่สอบถามวันนัดจากเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ ไม่ได้ตรวจดู สำนวนว่าศาลนัดสืบพยานโจทก์วันเวลาใดให้แน่ชัด จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลย และตามป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสอง บัญญัติให้คู่ความมาศาลในวันชี้สองสถานถ้า คู่ความฝ่ายใดไม่มาศาลให้ถือว่าทราบกระบวนพิจารณาของศาลในวันนั้นแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ จำเลยจะอ้างว่าฟังเวลาจากเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ ผิดไปหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5040/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลยทำให้จำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสอง
ทนายจำเลยมาศาลภายหลังที่ศาลได้ทำการชี้สองสถานและกำหนดวันเวลานัดสืบพยานโจทก์โดยทนายจำเลยมิได้ตรวจดูรายงานกระบวนพิจารณาเพียงแต่สอบถามวันเวลานัดสืบพยานโจทก์จากเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลย ต้องถือว่าจำเลยทราบกระบวนพิจารณาและวันนัดสืบพยานโจทก์ของศาลแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยจึงขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายในการขอพิจารณาคดีใหม่ต้องระบุชัดเจนในใบแต่งทนายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62
คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ลงชื่อโดยทนายจำเลยซึ่งมิได้ระบุให้มีอำนาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้ในใบแต่งทนายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลจะพึงรับไว้พิจารณา