พบผลลัพธ์ทั้งหมด 804 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเรื่องการอ้างโมฆะนิติกรรม, ดอกเบี้ยในสัญญา, และผลผูกพันสัญญาแม้ปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง
ปัญหาที่ว่า นิติกรรมเป็นโมฆะหรือไม่ จำเลยที่ 4 ได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยที่ 4 ก็ยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 4 ระบุว่า "จำเลยที่ 4 ยินยอมคืนเงินดาวน์ จำนวน 3,500,000 บาท ให้แก่โจทก์พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2533 เป็นต้นไป ข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ถือได้ว่าเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเห็นการกำหนดเบี้ยปรับ เมื่อโจทก์เรียกมาสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจกำหนดให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
เมื่อจำเลยที่ 4 ให้การรับว่า จำเลยที่ 5 ตกลงทำบันทึกกับโจทก์จริง โจทก์จึงไม่ต้องอ้างบันทึกข้อตกลงเป็นพยานหลักฐานอีก เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 4 ยอมรับแล้ว ดังนั้น แม้บันทึกข้อตกลงจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง ก็รับฟังได้ว่าบันทึกข้อตกลงผูกพันจำเลยที่ 4
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 4 ระบุว่า "จำเลยที่ 4 ยินยอมคืนเงินดาวน์ จำนวน 3,500,000 บาท ให้แก่โจทก์พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2533 เป็นต้นไป ข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ถือได้ว่าเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเห็นการกำหนดเบี้ยปรับ เมื่อโจทก์เรียกมาสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจกำหนดให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
เมื่อจำเลยที่ 4 ให้การรับว่า จำเลยที่ 5 ตกลงทำบันทึกกับโจทก์จริง โจทก์จึงไม่ต้องอ้างบันทึกข้อตกลงเป็นพยานหลักฐานอีก เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 4 ยอมรับแล้ว ดังนั้น แม้บันทึกข้อตกลงจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง ก็รับฟังได้ว่าบันทึกข้อตกลงผูกพันจำเลยที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันของคำพิพากษาและการบังคับคดี: โจทก์ไม่อาจฟ้องคดีใหม่เพื่อขัดขวางการบังคับคดีได้
ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก บัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง จนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสีย ถ้าหากมี เมื่อโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ถูกต้อง ก็ชอบที่จะอุทธรณ์ฎีกาเพื่อให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำพิพากษาหรือคำสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขต่อไป สำหรับการบังคับคดีนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายชนะชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษานั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 หากโจทก์ประสงค์จะขอให้งดการบังคับคดีไว้ก็ต้องยื่นคำร้องขอในคดีเดิม โจทก์ไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาหรือขอให้งดการบังคับคดีเป็นคดีใหม่ได้ เมื่อโจทก์ฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้ ก็ไม่อาจนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254มาใช้บังคับแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักหนี้จากบัญชีธนาคาร และผลผูกพันหนี้ร่วม การบังคับคดีตามคำพิพากษา
โจทก์และจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงกันว่า เมื่อโจทก์ชำระเงินไปตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาทรัสต์ชีทแล้วให้นำไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ได้ ซึ่งตามรายการและจำนวนเงินที่หักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ได้ระบุเลขที่ของเล็ตเตอร์ออฟเครดิต จำนวนเงินตรงกับที่โจทก์นำมาฟ้องทั้ง 6 ฉบับทั้งเอกสารที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าได้หักบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้น จึงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีชีทไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อหนี้ระงับไปแล้วแม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 7 ถึงที่ 10จะมีหนังสือขอผ่อนผันชำระหนี้ ก็หาทำให้ต้องรับผิดอีกไม่ แม้จำเลยที่ 1, ที่ 2, ที่ 4, ที่ 7, ที่ 8, ที่ 9 และที่ 10จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1,ที่ 2, ที่ 4, ที่ 7, ที่ 8, ที่ 9 และที่ 10 ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักหนี้จากบัญชีกระแสรายวัน และผลผูกพันจำเลยร่วมที่ไม่ได้ฎีกา
โจทก์และจำเลยที่1มีข้อตกลงกันว่าเมื่อโจทก์ชำระเงินไปตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาทรัสต์ซีทแล้วให้นำไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ได้ซึ่งตามรายการและจำนวนเงินที่หักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ได้ระบุเลขที่ของเล็ตเตอร์ออฟเครดิตจำนวนเงินตรงกับที่โจทก์นำมาฟ้องทั้ง6ฉบับทั้งเอกสารที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่1ทราบว่าได้หักบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ไปแล้วก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นจึงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซิทไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1แล้ว เมื่อหนี้ระงับไปแล้วแม้จำเลยที่3ที่4และที่7ถึงที่10จะมีหนังสือขอผ่อนผันชำระหนี้ก็หาทำให้ต้องรับผิดอีกไม่ แม้จำเลยที่1,ที่2,ที่4,ที่7,ที่8,ที่9และที่10จะมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่1,ที่2,ที่4,ที่7,ที่8,ที่9และที่10ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9217/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง & ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง
เมื่อศาลจังหวัดระยองได้มีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าจัดการส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ศาลชั้นต้นให้หมายแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่าโจทก์ทั้งสองจะดำเนินการอย่างไรให้แถลงภายใน15 วัน โจทก์ทั้งสองทราบคำสั่งแล้วไม่มาแถลงภายในเวลาที่กำหนด ถือว่าโจทก์ทั้งสองทิ้งฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การที่ศาลพิพากษาคดีอาญาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้จึงพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นกรณีที่คำพิพากษาคดีอาญาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นแห่งคดีแล้วว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยประมาทหรือไม่ไว้แน่นอนแล้ว เมื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาจึงผูกพันโจทก์ที่ 1 ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46
โจทก์ที่ 2 ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 เป็นจำนวนเงิน 174,338 บาท ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 2 จ - 3838 กรุงเทพมหานคร และมีอำนาจฟ้องหรือไม่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือไม่ เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 หรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใดนั้นล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เมื่อการพิพากษาคดีนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งได้ชดใช้ค่าสินไหมแทนแก่โจทก์ที่ 1 ตามสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 จึงได้รับผลของบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกับโจทก์ที่ 1 ด้วย
คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การที่ศาลพิพากษาคดีอาญาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้จึงพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นกรณีที่คำพิพากษาคดีอาญาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นแห่งคดีแล้วว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยประมาทหรือไม่ไว้แน่นอนแล้ว เมื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาจึงผูกพันโจทก์ที่ 1 ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46
โจทก์ที่ 2 ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 เป็นจำนวนเงิน 174,338 บาท ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 2 จ - 3838 กรุงเทพมหานคร และมีอำนาจฟ้องหรือไม่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือไม่ เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 หรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใดนั้นล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เมื่อการพิพากษาคดีนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งได้ชดใช้ค่าสินไหมแทนแก่โจทก์ที่ 1 ตามสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 จึงได้รับผลของบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกับโจทก์ที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9035/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาเดิมต่อคู่ความเดิม และขอบเขตความรับผิดตามสัญญาเช่ารถร่วม
โจทก์และจำเลยในคดีนี้กับ ป. เคยถูก ช.ฟ้องให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากรถยนต์แท็กซี่ของจำเลยซึ่งขับโดย ป. ชนรถยนต์ของ ช. เสียหายคดีถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ ป. และโจทก์ร่วมกันชำระเงินแก่ ช. ส่วนจำเลยศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้นำรถยนต์แท็กซี่เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหกรณ์โจทก์เพื่อประโยชน์ร่วมกันแม้โจทก์กับจำเลยคดีนี้จะเป็นจำเลยด้วยกันก็ตามก็ต้องถือว่าโจทก์และจำเลยเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลในคดีก่อนด้วย คำพิพากษาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลย คดีนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการยินยอมของลูกหนี้: ผลผูกพันตามกฎหมาย
แม้ผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนสิทธิเรียกร้องและจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303วรรคสองแต่เมื่อผู้รับจ้างได้มีหนังสือขอให้จำเลยทำหนังสือถึงโจทก์โดยขอให้มีข้อความระบุว่า"จำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์"แสดงว่าจำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามมาตรา306วรรคหนึ่งการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินระหว่างผู้รับจ้างกับโจทก์จึงมีผลผูกพันจำเลยที่จะต้องชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้าง: ผลผูกพันต่อจำเลยเมื่อได้รับแจ้งและยินยอม
แม้สัญญาจ้างเหมาระหว่างจำเลยกับผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนจะระบุว่าผู้รับจ้างจะโอนสิทธิหน้าที่ตามสัญญาให้แก่ผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลยมิได้ซึ่งปรับได้ว่าผู้รับจ้างและจำเลยได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303วรรคสองกับเมื่อผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนและโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อตกลงการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าก่อสร้างจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าหากโจทก์จะเป็นผู้รับค่าจ้างในงวดต่อๆไปแทนผู้รับจ้างก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในหนังสือสัญญาจ้างเหมาและจะต้องออกใบเสร็จรับเงินค่าจ้างโดยผู้รับจ้างอันยังถือไม่ได้ถนัดว่าจำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามสัญญาจ้างเหมาข้อ15ก็ตามแต่หลังจากนั้นผู้รับจ้างได้มีหนังสือถึงจำเลยขอให้จำเลยทำหนังสือถึงโจทก์โดยขอให้มีข้อความระบุว่า"จำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์"สำหรับขั้นตอนการรับเงินคงเหมือนเดิมซึ่งต่อมาจำเลยก็ได้มีหนังสือแจ้งไปถึงโจทก์ว่าจำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306วรรคหนึ่งและตามสัญญาจ้างเหมาแล้วส่วนขั้นตอนการรับเงินที่จำเลยกำหนดไว้นั้นเป็นเพียงวิธีการคิดคำนวณค่าจ้างในแต่ละงวดว่าจะต้องจ่ายเท่าใดตามข้อตกลงในสัญญาจ้างเหมาเท่านั้นส่วนผู้มีสิทธิรับเงินค่าจ้างจะต้องเป็นโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินระหว่างผู้รับจ้างกับโจทก์จึงมีผลผูกพันจำเลยที่จะต้องชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ผู้รับโอนไม่ใช่ชำระให้แก่ผู้รับจ้าง ตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินหนังสือบอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องหนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์หนังสือของ ป. ที่มีถึงจำเลยและหนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์เอกสารดังกล่าวทั้งหมดไม่ได้ระบุถึงงานที่เพิ่มดังนั้นจะถือว่าได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องในส่วนนี้แล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8504/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนดจึงจะมีผลผูกพัน
สัญญาจะซื้อจะขายตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง การรับฟังพยานหลักฐานในกรณีเช่นนี้ต้องอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ.มาตรา 94 กล่าวคือจะนำพยานบุคคลมาสืบว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติมหรือนอกเหนือไปจากนี้ปรากฏในสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้
จำเลยสัญญาว่ายินยอมจะไปโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ เป็นสัญญาหรือคำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินซึ่งจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบังคับกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 526 แต่สัญญายินยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยสัญญาว่ายินยอมจะไปโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ เป็นสัญญาหรือคำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินซึ่งจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบังคับกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 526 แต่สัญญายินยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8091/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-สิทธิผู้สืบสิทธิ: คดีเดิมพิพากษาตามยอมแล้ว ฟ้องซ้ำมีผลผูกพันตามคำพิพากษานั้น
คดีก่อน ส. เป็นโจทก์ฟ้องอธิบดีกรมที่ดินเป็นจำเลยในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 อ้างว่า เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลพบุรีได้ออกโฉนดที่ดินพิพาทให้บุคคลอื่นทับที่ดินที่ ส. เป็นเจ้าของอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท ต่อมาคู่ความสัญญาประนีประนอมยอมความศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้รับพินัยกรรมของ ง.และง.เป็นผู้รับพินัยกรรมของส. โจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิของ ส. กับจำเลยคดีนี้ถูกฟ้องในฐานะที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 เป็นผู้สืบสิทธิของอธิบดีกรมที่ดินเช่นกัน ถือว่าเป็นคู่ความเดียวกัน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าโฉนดที่ดินพิพาทออกทับที่ดินของ ส. อีก อันเป็นเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่ ส. เป็นโจทก์ฟ้องขอเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมที่พิพากษาให้ยกฟ้องของ ส.โดยไม่ตัดสิทธิส. ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่นั้นไม่มีผลผูกพันจำเลยคดีนี้ เพราะจำเลยคดีนี้ไม่ได้เป็นจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย