พบผลลัพธ์ทั้งหมด 402 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6389/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค้ำประกันทรัสต์รีซีท - ดอกเบี้ย - ผิดนัด - สิทธิเรียกร้อง - ไม่ต้องบอกกล่าว
จำเลยที่ 3 แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะสืบ ต. ในประเด็นว่าโจทก์โดย ต. มิได้บอกกล่าวทวงถามชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ก่อนแต่จำเลยที่ 3 มิได้ให้การข้อที่จะขอนำสืบ ต. ดังกล่าวเป็นประเด็นไว้ ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าการสืบ ต. เป็นเรื่องฟุ่มเฟือยไร้สาระให้งดสืบนั้น จึงชอบแล้ว แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทภายใต้เล็ตเตอร์ออฟเครดิตเลขที่ 371391/355 และมีหนังสือทวงถามถึงจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทภายใต้เล็ตเตอร์ออฟเครดิต เลขที่ 271391/355 แต่ภายหลังจำเลยที่ 3ยื่นคำให้การแล้วโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้เป็นว่าทำสัญญาทรัสต์รีซีทภายใต้เล็ตเตอร์ออฟเครดิตเลขที่ 271391/355 จำเลยที่ 3 ไม่ได้คัดค้านและศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ สัญญาทรัสต์รีซีทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมผูกพันตามข้อสัญญาในการออกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตสำหรับการสั่งซื้อสินค้ารายนี้ ซึ่งก็คือสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง สัญญาทรัสต์รีซีทกับสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่ต่อเนื่องกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมจ่ายเงินที่โจทก์ได้จ่ายไปตามสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันที่ลงบนตั๋วแลกเงินถึงวันที่จ่ายจริง แม้การทำสัญญาทรัสต์รีซีทจะไม่มีการตกลงกันเกี่ยวกับดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราตามสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิต โจทก์บอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้แล้วหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำ, สัญญาจะซื้อจะขาย, อายุความ, การผิดนัดชำระหนี้, ดอกเบี้ย
เมื่อข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นอยู่ในเอกสารที่โจทก์และจำเลยอ้างเป็นพยาน และศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าพยานเอกสารดังกล่าวเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีได้แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยได้ เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่ยุติ เพราะยังจะต้องมีการดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินให้เสร็จก่อนแล้วจึงจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ฉะนั้นเมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์หรือจำเลยย่อมมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงเบื้องต้นที่ได้กระทำกันมาแล้วได้ และจะถือเอาข้อตกลงนั้นมีผลเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหาได้ไม่ แม้จะมีการชำระเงินมัดจำกันแล้วโจทก์ก็มีสิทธิให้จำเลยคืนเงินมัดจำได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378(1) การฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงฟ้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 การฟ้องเรียกเงินมัดจำคืน ซึ่งไม่ใช่เป็นกรณีเลิกสัญญา ตามป.พ.พ. มาตรา 391 การชำระดอกเบี้ยจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5388/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาชำระหนี้จากการประมูลซื้อทอดตลาด ศาลมีอำนาจขยายเวลาได้ แต่ต้องปฏิบัติตามสัญญาหากไม่ชำระตามกำหนด
ผู้ร้องเป็นผู้ประมูลสู้ราคาสูงสุดในการขายทอดตลาด และทำสัญญาซื้อขายไว้ จึงต้องปฏิบัติตามสัญญาคือชำระเงินส่วนที่เหลือใน15 วัน นับแต่วันทำสัญญาต่อมาผู้ร้องได้ยื่นคำแถลงขอเลื่อนการวางเงินที่เหลือออกไปอีก การที่ศาลอนุญาตให้เลื่อนการวางเงินไปได้เพียง 7 วัน เป็นการขยายเวลาชำระหนี้ตามสัญญาให้แก่ผู้ร้องซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะกระทำได้ เพราะการขายทอดตลาดกระทำไปโดยคำสั่งของศาล จึงมิใช่เป็นเรื่องที่ไม่ยึดถือระยะเวลาเป็นสำคัญซึ่งนอกจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายเวลาดังกล่าวแล้วยังมีคำสั่งต่อไปอีกว่าหากไม่ชำระให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับไปตามสัญญาซื้อขายที่ผู้ร้องได้ทำไว้ ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่ชำระเงินภายในกำหนดระยะเวลาที่ได้ขยายให้ไว้ผู้ร้องก็ได้ชื่อว่าผิดนัด หมดสิทธิที่จะซื้อทรัพย์พิพาท และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะต้องริบเงินที่ผู้ร้องได้วางไว้โดยศาลชั้นต้นหาต้องมีคำสั่งว่าผู้ร้องผิดสัญญา และมีคำสั่งให้ริบเงินที่ผู้ร้องได้ชำระไว้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5382/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการใช้ประโยชน์ที่ดิน-ดอกเบี้ย-การผิดนัดชำระ-การเข้าใช้ประโยชน์
ตาม พ.ร.บ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511มาตรา 28 บัญญัติไว้ว่า เมื่อตกลงเรื่องค่าทดแทนกันไม่ได้ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับ โดยอนุโลม แต่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497มิได้กำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่อนุญาโตตุลาการ ที่คู่กรณีตั้งขึ้นไม่สามารถชี้ขาดด้วยเสียงข้างมากได้ จึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 224 มาบังคับใช้ เมื่อจำเลยเข้าใช้ที่ดิน ของโจทก์ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์นับแต่วันนั้นเป็นต้นไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4004/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างผิดนัด: ค่าเสียหายคือส่วนต่างราคาจ้างใหม่, ไม่หักมูลค่างานค้าง
สัญญาจ้างมีข้อความว่า ถ้าโจทก์ผู้รับจ้างไม่มีทางจะทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้ และหากเกิดความเสียหายใด ๆ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชดใช้ได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ทำงานงวดที่ 1 และงวดที่ 2 ให้แล้วเสร็จ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องประมูลว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ทำงานต่อจากที่โจทก์ทำค้างไว้ในราคา1,800,000 บาท แพงกว่าราคาเดิมที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์ เงินจำนวน 375,000 บาทที่จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น จึงเป็นค่าเสียหายจำนวนน้อยที่สุดที่จำเลยที่ 1 ได้รับโดยตรงจากการปฏิบัติผิดสัญญาของโจทก์ โจทก์ต้องรับผิดชดใช้ให้แก่จำเลยที่ 1 ตามข้อสัญญาดังกล่าว และเงินจำนวน1,800,000 บาท ซึ่งเป็นค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปเพื่อทำงานต่อจากที่โจทก์ทำค้างไว้ให้เสร็จตามสัญญาเช่นนี้ ย่อมไม่อาจนำค่าของงานที่โจทก์ทำค้างไว้มาหักจากค่าเสียหายหรือค่าจ้างที่จำเลยที่ 1ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นได้
จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการที่โจทก์ผิดสัญญาไม่ทำงานให้แล้วเสร็จ อายุความใช้สิทธิเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับการชำรุดบกพร่องของการที่ทำ ตามมาตรา 601 มาปรับไม่ได้
จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการที่โจทก์ผิดสัญญาไม่ทำงานให้แล้วเสร็จ อายุความใช้สิทธิเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับการชำรุดบกพร่องของการที่ทำ ตามมาตรา 601 มาปรับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีค้ำประกัน เริ่มนับจากวันผิดนัดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 ไปเก็บจากลูกค้าเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2526 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2526 และวันที่ 6 กรกฎาคม 2526 รวมเป็นเงิน 28,989.20 บาท จำเลยที่ 1ได้ชื่อว่าผิดนัดตั้งแต่วันดังกล่าว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 โจทก์จึงอาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์รับผิดใช้เงินดังกล่าวนับแต่วันเกิดเหตุตามมาตรา 686อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันนั้นมิใช่เริ่มนับตั้งวันที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่า: เริ่มนับเมื่อผิดนัดชำระ และฟ้องภายใน 5 ปี
การนับอายุความนั้น ป.พ.พ. มาตรา 169 ให้นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป เมื่อสัญญาเช่าได้กำหนดให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน หากผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่าตามกำหนดเวลาดังกล่าวก็ถือว่าผู้เช่าตกเป็นฝ่ายผิดนัดผู้ให้เช่าย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ทันที โจทก์บังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2524 ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 166 โจทก์จะต้องฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าภายในกำหนดระยะเวลา 5 ปี ค่าเช่าที่โจทก์จะเรียกเก็บเป็นเดือนสุดท้ายคือวันที่ 5 สิงหาคม 2524 แต่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าในวันที่ 28 สิงหาคม 2529 คดีโจทก์สำหรับค่าเช่าจึงขาดอายุความเมื่อหนี้ค่าเช่าซึ่งเป็นหนี้ประธานขาดอายุความ หนี้ที่เป็นเบี้ยปรับซึ่งเป็นอุปกรณ์ก็ขาดอายุความด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 190.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายน้ำมันเบนซิน การชำระภาษีและเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ความผิดนัดและดอกเบี้ย
จำเลยทำสัญญาต่อการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยว่า จำเลยจะเป็นผู้ชำระเงินให้โจทก์เป็นค่าภาษีและส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันตามจำนวนน้ำมันเบนซินที่ผลิตได้ ต่อมาจำเลยได้ชำระภาษีและส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันให้โจทก์ การที่โจทก์รับชำระเงินดังกล่าวไว้ตลอดมาถือได้ว่าโจทก์แสดงเจตนาต่อจำเลยผู้เป็นลูกหนี้แล้วว่า โจทก์ถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นนับแต่จำเลยเริ่มปฏิบัติตามสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจเรียกจำเลยให้ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันได้ตามสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 5/2523 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2523 ข้อ 10 และคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 5/2524 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2524 ข้อ 7 ระบุให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันกรณีเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชอาณาจักร ส่งเงินแก่ผู้รับชำระภาษีน้ำมันพร้อมกับการชำระภาษีน้ำมันและกฎกระทรวง(พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งทำในราชอาณาจักร พ.ศ. 2507 ข้อ 2(ค) ระบุให้ชำระภาษีภายใน10 วัน นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระให้ทราบ ดังนั้น เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยให้ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ซึ่งจำเลยทราบถึงหนังสือดังกล่าวแล้ว แต่ไม่ส่งเงินพร้อมกับชำระภาษีภายในกำหนด จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 โดยโจทก์ไม่ต้องทวงถามก่อน โจทก์บรรยายฟ้องระบุว่า โจทก์มีอำนาจจัดเก็บภาษีสรรพสามิตภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน กับมีอำนาจเก็บเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธอำนาจหน้าที่ดังกล่าวจึงฟังได้ว่าโจทก์มีอำนาจรับชำระภาษีและเงินกองทุนน้ำมันดังกล่าวโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ & การซื้อขายผิดนัด: การรับฟังพยานหลักฐาน & การชำระหนี้
การระบุวันเดือนปีพร้อมกับขีดฆ่าอากรแสตมป์นั้น เพียงมุ่งหมายให้ทราบว่าได้มีการปิดและขีดฆ่าเมื่อใดเท่านั้น เมื่อเอกสารได้มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ก่อนมีคำพิพากษาแล้ว แม้จะไม่ได้ลงวันที่ที่ขีดฆ่าก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 การซื้อขายได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ 60 วัน นับแต่วันที่ส่งมอบสินค้า เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแล้ว ไม่จำต้องทวงถามก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่เป็นหนังสือ และดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้แชร์
การที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นนายวงแชร์ตกลงกับจำเลยที่ 1 และ น. ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกวงเปียแชร์นำเงินไปชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการที่โจทก์ที่ 2 ทำละเมิดต่อ น. โดยโจทก์ทั้งสองรับจะเป็นผู้ส่งเงินแชร์วงดังกล่าว และแชร์วงอื่นอีกแทนจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกวงด้วยนั้น ข้อตกลงเช่นนี้เป็นการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกันค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 2 ทำละเมิดต่อ น. เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมื่อชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด กรณีย่อมไม่อาจบังคับตามข้อตกลงดังกล่าวได้
หนี้เงินแชร์อันเกิดจากการที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นนายวงแชร์ได้ออกแทนจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกวงไปนั้นเป็นหนี้เงิน โจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด
หนี้เงินแชร์อันเกิดจากการที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นนายวงแชร์ได้ออกแทนจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกวงไปนั้นเป็นหนี้เงิน โจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด