คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผูกพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5671/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันบุคคลภายนอกคดี แม้ผู้ทำสัญญาเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ
คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้โจทก์จำเลยหย่ากันและแบ่งทรัพย์สินซึ่งระบุให้จำเลยโอนที่ดินจำนวน 14 ไร่ ที่บริษัทม. จำกัด เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการเพียงผู้เดียวพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนบริษัทได้ให้โจทก์ สัญญานี้ระบุด้วยว่า คำพิพากษาตามยอมไม่บังคับถึงทรัพย์สินของบุคคลภายนอกคดี การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์เป็นการกระทำในฐานะส่วนตัว มิได้ทำในฐานะเป็นผู้แทนบริษัทดังกล่าวข้อตกลงตามสัญญานี้จึงไม่ผูกพันบริษัท ม. จำกัด คำพิพากษาตามยอมไม่อาจบังคับเกี่ยวกับที่ดินจำนวน 14 ไร่ ของบริษัท ม. จำกัดซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี การบังคับให้จำเลยชำระหนี้ในส่วนนี้จึงกลายเป็นพ้นวิสัย ดังนี้ ศาลจะบังคับให้จำเลยโอนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจ ตัวแทนสั่งซื้อวัสดุ ก่อสร้างผูกพันตัวการ
จำเลยที่ 2 ได้ขออนุญาตจำเลยที่ 1 ซ่อมแซมกุฏิที่จำเลยที่ 2 ปกครองอยู่จำเลยที่ 1 ตั้งกรรมการให้ไปช่วยดูแล เมื่อไม่มีเงินเพียงพอจะชำระค่าวัสดุก่อสร้างจำเลยที่ 1ก็แจ้งให้เจ้าอาวาสและไวยาวัจกรทราบ จำเลยที่ 1เพิ่งออกคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ระงับการก่อสร้าง โดยระบุว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำการก่อสร้างมาเป็นเวลานานและทำผิดไปจาก รูปแบบเดิมจนก่อให้เกิดปัญหาในปัจจุบัน พฤติการณ์ดังกล่าว เช่นนี้แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 อนุญาตให้จำเลยที่ 2ทำการซ่อมแซมก่อสร้างได้โดยจำเลยที่ 1 ติดตามผลการก่อสร้างตลอดมา ทั้งกุฏิเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในการซื้อสินค้าจำเลยที่ 2 ก็ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ไปบางส่วนแล้ว จึงเป็นมูลเหตุที่เชื่อได้ว่า จำเลยที่ 2 มีอำนาจสั่งซื้อสินค้าตามฟ้องแทนจำเลยที่ 1 ดังนั้น กิจการที่จำเลยที่ 2กระทำไปย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเวนคืน: กทม.ผูกพันตามอำนาจหน้าที่ผู้ว่าฯ ในการเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืน
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกพ.ศ.2526 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งการเวนคืนที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในการดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับการทำให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ ตามมาตรา 66 (2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2518 จึงเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร การกระทำของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในฐานะผู้แทนและตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจึงผูกพันกรุงเทพมหานคร โจทก์มีอำนาจฟ้องกรุงเทพมหานครเป็นจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันตามกฎหมาย การผิดสัญญาทำให้เกิดความเสียหายและต้องรับผิดชดใช้
ข้อตกลงตามรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาที่ทนายโจทก์กับจำเลยได้ลงชื่อไว้มีใจความว่า โจทก์ยอมรับว่า จำเลยเป็นเจ้าหนี้ จ.เป็นจำนวน 100,000 บาท และโจทก์ยอมถอนฟ้องคดีอาญาแลกกับการที่จำเลย งดเว้นการใช้สิทธิอุทธรณ์คดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยต่างเกี่ยวข้องอยู่ในคดีต่าง ๆ นั้น ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งมีวัตถุประสงค์จะระงับข้อพิพาทที่มีอยู่แล้วให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ย่อมก่อให้เกิดความผูกพันใช้ บังคับได้ และหาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อสิทธิในการยื่นอุทธรณ์ฎีกาในทางแพ่งของจำเลยไม่ เพราะเป็นความสมัครใจเองที่ยอมสละสิทธิอุทธรณ์ในคดีแพ่งนั้น การที่โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าทนายความไป ในการต่อสู้คดีกับจำเลย เพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยผิดสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมชำระภาษีเพิ่มเติมโดยผู้รับมอบอำนาจมีผลผูกพันโจทก์ แม้คัดค้านภายหลัง
ป.ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ไปชี้แจงให้ถ้อยคำและตอบข้อซักถามของเจ้าพนักงานตรวจภาษีอากรเกี่ยวกับเรื่องภาษีอากร ตลอดจนให้ถ้อยคำยินยอมหรือปฏิเสธการรับผิดชอบที่จะเสียภาษีอากรใด ๆแทนบริษัทโจทก์จนเสร็จการที่ ป. ทราบคำชี้แจงของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีแล้วยอมรับว่าบริษัทโจทก์เสียภาษีการค้าไม่ถูกต้อง ยินยอมชำระภาษีการค้าส่วนที่ขาดเพิ่มเติมโดยไม่ขอโต้แย้งหรืออุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้นทั้งมีบันทึกข้อตกลงด้วย กรณีเป็นการที่ ป. ยอมรับว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้เรียกเก็บภาษีการค้าเพิ่มและเงินเพิ่มถูกต้องดังนี้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปแล้วเพราะการกระทำของ ป.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์มีผลผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: ศาลแพ่งต้องยึดตามคำพิพากษาศาลอาญาที่วินิจฉัยว่าไม่มีหลักฐานความผิด
โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการกระทำอันเดียวกันเป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงในข้อหาหมิ่นประมาท ศาลฎีกาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีอาญาแล้วว่า พยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าวซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่าจำเลยได้กล่าวข้อความใส่ความโจทก์ต่อผู้อื่นอันฝ่าฝืนความจริงหรือไม่ ดังนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามสัญญา แม้ผู้ลงนามไม่ใช่ผู้มีอำนาจ และการหักหนี้ค่าสินค้ากับราคาสินค้า
การที่ ศ. ซึ่งเคยเป็นกรรมการบริษัทโจทก์ลงชื่อในสัญญาซื้อขายโดยโจทก์ยอมรับเอาผลของนิติกรรมที่ ศ.ลงชื่อเป็นผู้ซื้อตลอดมามิได้ทักท้วงเท่ากับโจทก์ได้รับรู้ให้ ศ. เชิดตัวเองเพื่อให้จำเลยที่ 2 หลงเชื่อว่าเป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขายนั้นแม้การลงชื่อของ ศ. ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของพนักงานสอบสวน และผลของการไม่สมบูรณ์ของเอกสารมอบอำนาจต่อการผูกพันตามสัญญา
ขณะฟ้องพันตำรวจโทอ.เป็นสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของตนได้ ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18วรรคสอง บัญญัติไว้ พันตำรวจโทอ.จึงเป็นพนักงานสอบสวนตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(6) ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสี่ บัญญัติว่า"ในเขตท้องที่ใดมีพนักงานสอบสวนหลายคนการดำเนินการสอบสวนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่นั้น..."ดังนั้น พันตำรวจโทอ. ในฐานะสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งอันถือได้ว่าเป็นพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่นั้น ย่อมมีอำนาจในการสอบสวน ให้ประกัน และฟ้องคดีในนามโจทก์ซึ่งเป็นตำแหน่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเกี่ยวกับสัญญาประกันที่ผู้ประกันทำไว้ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งได้ ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับใดระบุอำนาจและหน้าที่ไว้ว่าพนักงานสอบสวนคดีเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องคดีได้ เอกสารมีใจความว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจนำโฉนดที่ดินรวม 3 ฉบับ ไปประกัน ม. ผู้ต้องหาในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไปจากความควบคุมของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งแทนจำเลยที่ 1 จนเสร็จการ ดังนี้ เอกสารดังกล่าวเป็นใบมอบอำนาจตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในลักษณะแห่งตราสาร ข้อ 7(ก)ต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท และขีดฆ่าแล้วจึงจะสมบูรณ์ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ แต่เอกสารดังกล่าวปิดอากรแสตมป์ไว้10 บาท โดยไม่ขีดฆ่า ย่อมถือว่ายังไม่ปิดอากรแสตมป์สมบูรณ์ดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 จะใช้เป็นพยานหลักฐานฟังว่าจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประกันม. ไปจากโจทก์ไม่ได้ สัญญาประกันต้องลงลายมือชื่อผู้ประกันหรือผู้เป็นหลักประกันในสัญญา กับต้องมีข้อความตาม (1)(2)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112 จึงเป็นกิจการอันกฎหมายบังคับไว้ว่าต้องทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 798 วรรคแรก ดังนั้น การนำสืบในประเด็นดังกล่าวถือได้ว่ากฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อใบมอบอำนาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ตั้งจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนทำสัญญาประกันม.ไปจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ผูกพันตามสัญญาประกันที่จำเลยที่ 2ทำไว้ต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การแก้ไขวันเช็คไม่ถือเป็นการขยายอายุความ ผู้สั่งจ่ายผูกพันตามวันที่แก้ไข
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ยังคงมีสภาพเป็นเช็คที่สามารถโอนเปลี่ยนมือต่อไปได้ ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007 วรรคแรก และวรรคสามบัญญัติให้ผู้สั่งจ่ายสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาใช้เงินในเช็คได้ เมื่อจำเลยเป็นผู้ขีดฆ่าแก้ไขวันที่ลงในเช็คพิพาทจึงต้องผูกพันรับผิดตามเช็คโดยถือว่าเช็คพิพาทมีกำหนดเวลาใช้เงินในวันที่แก้ไขนั้น และกรณีมิใช่การตกลงขยายอายุความฟ้องร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน สิทธิในการอยู่อาศัยตามสัญญาสามารถโอนได้แม้หลังคู่สัญญาสิ้นชีวิต
เดิม จำเลยฟ้องขับไล่บิดาโจทก์ ให้รื้อถอนโรงเรือนในที่ดินจำเลย บิดาโจทก์กับจำเลยตกลง กันได้ โดย ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้บิดาโจทก์และบุตรพร้อมด้วย บริวารของบิดาโจทก์และผู้เช่าโรงเรือนจากบิดาโจทก์อาศัยในที่ดินได้ 30 ปี และจำเลยได้ จดทะเบียนภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ว่า ที่ดินแปลงนี้อยู่บังคับภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ โดยบิดาโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์อาศัยปลูกโรงเรือนในที่ดินดังกล่าวมีกำหนด 30 ปี ดังนี้ ข้อตกลงตาม สัญญาประนีประนอมยอมความในศาลเป็นสัญญาอันหนึ่ง ซึ่ง มีเนื้อความชัดเจนว่า ให้บุตรจำเลยคือโจทก์ในคดีนี้อยู่ในที่พิพาทได้ เป็นเวลา 30 ปี ข้อตกลงเช่นนี้ ไม่ขัดต่อกฎหมายจึงใช้ บังคับได้ เมื่อโจทก์ได้ แสดงเจตนาถือ เอาประโยชน์แห่งสัญญาจำเลยก็ต้อง ปฏิบัติตาม สัญญานั้น การที่จำเลยไม่ ยินยอมให้โจทก์หรือบริวารโจทก์อยู่ในที่ดินโดย จำเลยได้ รื้อถอนโรงเรือนของโจทก์ออกไปเป็นการผิดสัญญา และละเมิดต่อ โจทก์.
of 52