คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้นและผลของการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้รับโอนต้องผูกพันตามสัญญาเดิม
การที่จำเลยทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากเจ้าของเดิมเมื่อวันที่4 มีนาคม 2508 มีกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2525 เป็นต้นไป นั้นถือว่าเป็นสัญญาเช่าที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้นเมื่อได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ แม้โจทก์รับโอนที่พิพาทมาก่อนถึงกำหนดวันเริ่มต้นแห่งสัญญาเช่าก็ต้องรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้รับโอนเช็ค: แม้ผู้สลักหลังชำระหนี้แล้ว สิทธิฟ้องไม่ระงับ
โจทก์ร่วมได้รับโอนเช็คพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้ออกเช็คมาจาก ป. ผู้ทรงคนก่อน โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 การที่ ป. ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมในภายหลังนั้น เป็นกรณีที่ ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมตามความผูกพันตามกฎหมาย ซึ่งตนจะต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีนี้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องจำเลยระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้รับโอนเช็คพิพาท แม้ผู้สลักหลังจะชำระหนี้แล้ว
โจทก์ร่วมได้รับโอนเช็คพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้ออกเช็คมาจากป. ผู้ทรงคนก่อน โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 28 การที่ ป. ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมในภายหลังนั้นเป็นกรณีที่ ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมตามความผูกพันตามกฎหมาย ซึ่งตนจะต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีนี้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องจำเลยระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้รับโอนเช็ค: แม้ผู้สลักหลังชำระหนี้แล้ว ก็ไม่กระทบสิทธิของผู้รับโอนในการฟ้องผู้สั่งจ่าย
โจทก์ร่วมได้รับโอนเช็คพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้ออกเช็คมาจาก ป. ผู้ทรงคนก่อน โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28การที่ ป. ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมในภายหลังนั้น เป็นกรณีที่ ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมตามความผูกพันตามกฎหมาย ซึ่งตนจะต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีนี้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องจำเลยระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนของผู้ขายและผู้รับโอนกรรมสิทธิ์: ลูกหนี้ร่วมและผลของการซื้อขาย
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทเดิมค้างชำระค่าภาษีโรงเรือนต่อโจทก์ก่อนโอนขายให้ จำเลยที่ 3จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารพิพาทต้องร่วมรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างด้วยในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม โดยผลแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 มาตรา 45
การที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างชำระมาตั้งแต่จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของ ไม่ใช่เรื่องที่ทรัพย์สินที่ซื้อขายตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมประโยชน์อันจะพึงได้แต่ทรัพย์สินนั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479 ศาลจึงจะพิพากษาให้จำเลยที่ 4 รับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างชำระนั้นต่อจำเลยที่ 3 ให้เสร็จไปในคดีเดียวกันตามมาตรา 477 ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าและสิทธิการค้าในที่เช่า: การกระทำของผู้เช่าช่วงไม่เป็นละเมิดต่อผู้รับโอน
การที่ผู้เช่าอนุญาตให้จำเลยเข้าไปทำการค้าในตึกแถวพิพาทเป็นการอาศัยสิทธิของผู้เช่าซึ่งไม่ปรากฏว่าไม่สุจริตอย่างไร ดังนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อโจทก์ผู้รับโอนตึกแถวพิพาท จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อก่อนของผู้เช่ามีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเดิม ไม่ผูกพันผู้รับโอนที่ดิน
แม้สัญญาเช่าจะระบุว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าจะขายที่ดินที่เช่าจะต้องแจ้งให้โจทก์ผู้เช่าทราบล่วงหน้า เพื่อให้โอกาสโจทก์ซื้อก่อนก็ตามข้อตกลงนี้ก็เป็นเพียงก่อให้เกิดบุคคลสิทธิมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น ไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าของที่ดินนั้นในภายหลัง โจทก์จึงหามีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้ขาย กับจำเลยที่ 3 ผู้ซื้อและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองไม่
ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ชำระหนี้อันจะแบ่งแยกมิได้ แม้จำเลยที่ 3 มิได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิในทรัพย์สินร่วม และผลของการโอนกรรมสิทธิ์เมื่อโฉนดมีชื่อผู้รับโอนแต่เพียงผู้เดียว
เมื่อสามีทำหนังสือสละสิทธิในทรัพย์สินทั้งปวงให้แก่ภรรยาที่พิพาทซึ่งในโฉนดมีชื่อภรรยาถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของภรรยาโดยสมบูรณ์ หาจำต้องจดทะเบียนกันอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ย่อมไม่ผูกพันผู้รับโอนที่ได้กรรมสิทธิ์โดยสุจริตและจดทะเบียน
จำเลยที่1ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382เป็นการได้ทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมเมื่อจำเลยที่1ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาจำเลยที่1จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหาได้ไม่ตามมาตรา1299วรรคสองและตามมาตรา6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตเมื่อจำเลยที่1มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนที่ดินมาโดยไม่สุจริตจึงต้องฟังว่าโจทก์ได้รับโอนมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้วจำเลยที่1จึงอ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ยันโจทก์ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้โอนเช็คหลังสลักหลังไม่ใช่ผู้เสียหายในคดีเช็คพิพาท ผู้รับโอนเช็คเป็นผู้เสียหาย
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือโจทก์ร่วมสลักหลังมอบให้น. นำไปเข้าบัญชีของน. เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินต้องถือว่าน. เป็นผู้ทรงเช็คและเป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีกับจำเลยในข้อหาตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯโจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายฉะนั้นการที่โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้น.ไปร้องทุกข์แทนการร้องทุกข์ย่อมไม่ชอบ.
of 37