คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พฤติการณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 790 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4718/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการทำร้ายร่างกาย: การพิจารณาจากบาดแผล ความรุนแรง และพฤติการณ์ของผู้กระทำ
บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับ แพทย์ผู้ตรวจลงความเห็นว่าใช้เวลารักษาไม่เกิน 24 วัน แต่ผู้เสียหายก็เบิกความยอมรับว่ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 5 วัน กลับไปรักษาตัวต่อที่บ้านอีก7 วัน จึงไปทำงานได้ แม้ว่ามีดพร้าที่จำเลยใช้เป็นอาวุธฟันผู้เสียหายอาจทำให้ถึงตายได้ และผู้เสียหายมีบาดแผลที่หูและที่ศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญก็ตาม แต่แพทย์เย็บบาดแผลทั้งหมดให้เพียง 7 เข็ม ทั้ง ๆ ที่จำเลยฟันหลายครั้ง ชี้ให้เห็นว่าจำเลยฟันไม่แรง นอกจากนี้ผู้เสียหายยังเบิกความอีกว่าหากจำเลยจะฟันคอผู้เสียหายก็ฟันได้ แต่จำเลยไม่ทำ แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่า จึงลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายไม่ได้การกระทำของจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานทำร้ายร่างกายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่เชื่อมโยงถึงการทำให้เสียทรัพย์: เจตนาและพฤติการณ์
เช้าวันเกิดเหตุก่อนเป็ดของผู้เสียหายตาย จำเลยได้นำข้าวใส่กะละมังไปวางไว้ข้างสระน้ำที่เป็ดของผู้เสียหายมาเป็นประจำ และเป็ดของผู้เสียหายตายเพราะกินอาหารที่มีสารเคมีกำจัดแมลงผสมอยู่ แม้โจทก์จะไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยผสมสารเคมีกำจัดแมลงลงไปในข้าวและเป็ดของผู้เสียหายกินข้าวนั้น แต่การที่เป็ดของผู้เสียหายตายอยู่ในบริเวณบ้านของจำเลยหลังจากจำเลยนำข้าวไปวางไว้ข้างสระน้ำที่เป็ดของผู้เสียหายมาเป็นประจำ โดยตรวจพบข้าวและสารเคมีกำจัดแมลงในกระเพาะอาหารของเป็ดที่ตาย เป็นพฤติการณ์เชื่อมโยงให้รับฟังได้ว่า เป็ดตายเพราะกินข้าวผสมสารเคมีกำจัดแมลงที่จำเลยวางไว้ และการที่จำเลยนำข้าวผสมสารเคมีกำจัดแมลงไปวางไว้ข้างสระน้ำที่เป็ดของผู้เสียหายมาเป็นประจำ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าเป็ดของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 358

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4505/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร: พฤติการณ์บ่งชี้เจตนาที่ไม่ชอบธรรม แม้มีการอ้างสู่ขอ
การที่จำเลยพาผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์อายุ ๑๖ ปีเศษ ซึ่งอยู่ในความปกครองของบิดามารดาไปอาศัยคนอื่นอยู่ในที่ต่าง ๆ และจำเลยมีอาชีพไม่แน่นอนพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลย ไม่มีทางพาผู้เสียหายไปอยู่กินเป็นภริยาได้โดยปกติสุข แม้จำเลย จะอ้างว่าได้ติดต่อญาติฝ่ายตนให้สู่ขอผู้เสียหายก็ตาม ก็เป็นเพียง อ้างเพื่อกลบเกลื่อนความผิดของจำเลยเท่านั้น จำเลยจึงมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๑๙ วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4314/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันโดยสำคัญผิดเกินกว่ากรณีที่จำต้องกระทำเพื่อป้องกันตนเอง แม้มีเหตุให้ป้องกันได้แต่พฤติการณ์ไม่สมเหตุสมผล
ขณะที่จำเลยใช้มีดแทงผู้ตายนั้นเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องหลังจาก ที่ พ.ชกจำเลยล้มลงแล้ว ผู้ตายก้มตัวจะดึงจำเลยขึ้น แต่จำเลย สำคัญผิดว่าผู้ตายจะเข้ามาทำร้ายจำเลย ซึ่งหากมีเหตุการณ์เช่นนั้น เกิดขึ้นจริง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะกระทำการใด ๆ เพื่อป้องกันตนได้ แต่ก่อนเกิดเหตุจำเลยรู้อยู่แล้วว่า ผู้ตายกับพวกซึ่งเป็นเครือญาติ กับจำเลยเองไม่มีผู้ใดมีอาวุธและตามพฤติการณ์ไม่มีเหตุผลใด ที่ฝ่ายผู้ตายจะรุมทำร้ายจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกัน โดยสำคัญผิดและเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. เจตนาฆ่า: การพิจารณาจากพฤติการณ์การกระทำและบาดแผล
จำเลยใช้มีดปลายแหลมเฉพาะใบมีดยาวประมาณ 5 นิ้ว แทงผู้เสียหาย 1 ครั้ง ถูกบริเวณช่องท้องด้านซ้าย 1 แผล บาดแผลกว้างและลึกประมาณ 3 เซนติเมตร ถึงกล้ามเนื้อ แต่ไม่เข้าถึงช่องท้องแสดงว่าจำเลยแทงไม่แรง และจำเลยมีโอกาสที่จะเลือกแทงอวัยวะที่สำคัญกว่านี้ได้ แต่ก็หาได้ทำไม่ อีกทั้งหากจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายก็คงไม่ผลักผู้เสียหายลงไปในร่องสวน หรือแม้ผู้เสียหายตกลงไปในร่องสวนแล้วจำเลยก็อาจจะตามลงไปแทงผู้เสียหายอีกได้แต่จำเลยก็หาได้ติดตามลงไปแทงผู้เสียหายซ้ำอีกไม่ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า คงมีแต่เพียงเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการแทงด้วยมีด ศาลพิจารณาจากปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย, ลักษณะบาดแผล และพฤติการณ์
ก่อนเกิดเหตุจำเลยกับผู้ตายร่วมดื่มสุรากันในปริมาณที่ มาก พอจะทำให้เมาสุราได้ การที่จำเลยใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายด้านหลังเพียง 1 ที น่าจะเกิดเพราะความมึนเมาสุรา เพราะถ้าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย จำเลยน่าจะแทงผู้ตายซ้ำได้เพราะจำเลยมีโอกาสที่จะกระทำได้ ประกอบกับบาดแผลของผู้ตายกว้างเพียง1.5 เซนติเมตร แพทย์ผู้ชันสูตรบาดแผลไม่ได้วัดว่าแผลลึกถึงหัวใจ และตัดเส้นเลือดใหญ่ในปอดของผู้ตายหรือไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีดที่ใช้ประทุษร้ายผู้ตายมีขนาดเท่าใด จึงไม่พอฟังว่าจำเลยแทงผู้ตายโดยมีเจตนาฆ่า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4192/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางเรือ: ศาลยืนตามราคาเรือและค่าขาดประโยชน์ที่เหมาะสมตามพฤติการณ์
โจทก์ที่ 1 ขายเรือต่อให้โจทก์ที่ 2 โดยโจทก์ที่ 2ผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์ที่ 1 ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 2 ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ควบคุมเรือบรรทุกน้ำมันของจำเลยที่ 1 ควบคุมเรือบรรทุกน้ำมันของจำเลยที่ 1 โดยประมาทชนเรือของโจทก์ที่ 1 เสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ และถูกคนร้ายลากจูงไป การที่โจทก์ที่ 1 จะต้องไปหาซื้อเรือต่อลำอื่นที่มีสภาพใกล้เคียงกับเรือต่อลำเกิดเหตุมาจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ที่ 2 ในราคาที่สูงกว่าราคาค่าเสียหายที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้แก่โจทก์ที่ 1 นั้น เป็นเรื่องที่ไกลกว่าเหตุนอกเหนือความรับผิดของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายส่วนนั้น ค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์ที่ 2 ไม่ได้ใช้เรือต่อลำเกิดเหตุเป็นการเรียกค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 วรรคแรก อย่างหนึ่งดังนั้น ศาลชอบที่จะใช้ดุลพินิจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีปล้นทรัพย์เยาวชน: ลดโทษเนื่องจากอายุและพฤติการณ์
ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุ 17 ปี และเป็นนักเรียนและตามพฤติการณ์แห่งคดีจำเลยกระทำไปด้วยความคึกคะนองตามประสาวัยรุ่นกรณีจึงไม่สมควรพิพากษาลงโทษจำเลย จึงให้มารดาจำเลยรับตัวไปอบรมสั่งสอนมิให้ก่อเหตุร้ายขึ้นอีกภายในระยะเวลาที่กำหนด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 ประกอบด้วยมาตรา 74(2),(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาเช่าซื้อจากพฤติการณ์การชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนด และการยึดรถยนต์ ย่อมทำให้เกิดผลผูกพันตามสัญญา
การที่จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เกินกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อตลอดมาทุกงวด โจทก์ก็ยินยอมรับไว้โดยมิได้ทักท้วง ตามพฤติการณ์แสดงว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดในการชำระค่าเช่าซื้อแล้ว โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสำคัญอีกต่อไป จึงนำเอาข้อกำหนดในสัญญาเช่าซื้อมาใช้บังคับโดยถือว่าโจทก์ยอมผ่อนผันเวลาที่สัญญาจะเลิกกันออกไปอีก และถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันทีในวันที่ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อหาได้ไม่ ในกรณีดังกล่าวหากโจทก์ต้องการจะเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1ชำระค่าเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ก่อนโจทก์เพียงแต่มีหนังสือถึงจำเลยทั้งสามชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อเกี่ยวกับค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาล่าช้าเท่านั้น หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายโดยอ้างว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันก่อนแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าซื้อแต่การที่โจทก์ได้ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งการยึดแต่อย่างใดเลยเป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1ต่างประสงค์หรือสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันแล้วนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ถึงแม้ว่าโจทก์จะได้ติดตามยึดรถยนต์คืนจากจำเลยที่ 1 มาครั้งหนึ่งแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์อยู่แสดงว่าช่วงระยะเวลาดังกล่าวโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังคงผูกพันกันตามสัญญาเช่าซื้ออยู่ สัญญายังมิได้เลิกกันในช่วงนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน จึงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อจะต้องคืนรถยนต์เพื่อให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อกลับคืนสู่ฐานะเดิมและจะต้องใช้เงินเป็นค่าเสียหายแก่โจทก์ในการใช้รถยนต์ของโจทก์ในระหว่างที่ตนยังไม่ส่งมอบรถยนต์คืนตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลิกจ้างนายจ้าง ต้องเป็นธรรมหรือมีเหตุสมควร ศาลวินิจฉัยได้หากพิจารณาจากพฤติการณ์เพื่อความเป็นธรรม
สิทธิเลิกจ้างโดยทั่วไปย่อมเป็นสิทธิของนายจ้างและอยู่ในบังคับของมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ คือต้องเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือมีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างเหตุว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นความผิดร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47หากโจทก์กระทำผิดดังกล่าวจริง จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า โจทก์ทุจริตต่อหน้าทีจึงต้องพิจารณาต่อไปว่า มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือไม่ ที่ศาลแรงงานพิพากษาให้เลิกจ้างโจทก์ เพราะการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์มีพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยไม่ไว้วางใจ จึงเป็นการวินิจฉัยคดีโดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อความเป็นธรรมแก่ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างตามมาตรา 48 ซึ่งมีอำนาจวินิจฉัยได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคดี.
of 79