คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิจารณา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 380 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าเลี้ยงชีพลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องพิจารณาฐานะความเป็นอยู่ปัจจุบันของลูกหนี้และครอบครัว
การจ่ายค่าเลี้ยงชีพลูกหนี้และครอบครัวตามสมควรแก่ฐานานุรูปตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 121 นั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ของลูกหนี้และครอบครัวในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร สมควรจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้มากน้อยแค่ไหนเพียงใด ซึ่งธรรมดาย่อมทราบได้จากการสอบสวนหรือไต่สวนลูกหนี้เจ้าหนี้โดยตรงดังนั้น การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพไป โดยสั่งในคำร้องของลูกหนี้ที่ขอให้จ่ายค่าเลี้ยงชีพนั้นเอง ไม่ได้พิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ของลูกหนี้และครอบครัวในปัจจุบันแต่อย่างใด จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบศาลย่อมให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาสั่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพลูกหนี้และครอบครัวเสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลือกดำเนินการระหว่างอุทธรณ์คำสั่ง หรือ ขอพิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ ศาลวินิจฉัยว่าใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาแล้วผู้ร้องขอไม่พอใจคำสั่งนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมแล้วได้ให้สิทธิแก่ผู้ร้องขอที่จะยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ หรือยื่นคำร้องขอศาลชั้นต้นนั้นพิจารณาคำฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ได้ แต่เป็นการให้สิทธิเลือกวิธีดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียวจำเลยแพ้คดีในศาลชั้นต้นได้ยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวน แล้วมีคำสั่งยกคำขอ จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเพราะยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลา ดังนี้จำเลยเลือกเอาการใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งเสียแล้ว จึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้พิจารณาคำขอฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งอนุญาตแก้ฟ้องระหว่างพิจารณา หากจำเลยไม่โต้แย้ง ถือเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
คำสั่งศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจำเลยไม่โต้แย้งไว้ อุทธรณ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องสอดคดีมรดก: ศาลต้องรับคำร้องก่อนพิพากษา แม้การพิจารณาจะสิ้นสุดแล้ว
ยื่นคำร้องสอดเข้ามาขอให้ศาลกันส่วนของผู้ร้องสอดให้แก่ผู้ร้องสอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1749 นั้นเป็นเรื่องที่ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นได้ก่อนพิพากษา เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้พิพากษา แม้การพิจารณาจะถือว่าสิ้นสุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 187 แล้วก็ตามสิทธิของผู้ร้องก็ยังมีอยู่ศาลชั้นต้นจะไม่รับคำร้องโดยอ้างว่าเป็นการประวิงคดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม: พิจารณาจากคำฟ้องเป็นหลัก แม้ข้อเท็จจริงในสัญญาต่างจากคำฟ้อง ก็ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องเคลือบคลุม
บรรยายฟ้องว่าประมาณปี พ.ศ. 2517 จำเลยซื้อเครื่องปรับอากาศไปจากโจทก์จำนวน 2 เครื่อง รวมราคาทั้งสิ้น 690,000 บาท จำเลยชำระค่าเครื่องปรับอากาศให้โจทก์แล้วเป็นเงิน 655,000 บาท คงเหลือที่จะต้องชำระจำนวนสุดท้าย 34,500 บาท โดยกำหนดชำระในวันที่ 1 มกราคม 2518 จำเลยประพฤติผิดสัญญาซื้อขาย ไม่ยอมชำระเงิน 34,500 บาท ให้แก่โจทก์ เช่นนี้เป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์แล้ว แม้ในคำฟ้องจะบรรยายว่าจำเลยซื้อเครื่องปรับอากาศ 2 เครื่อง แต่ตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์อ้างและส่งศาลในภายหลัง ปรากฏว่าจำเลยซื้อเครื่องปรับอากาศ 3 เครื่อง ไม่ตรงที่ปรากฏในคำฟ้องก็หาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีและการยื่นบัญชีพยาน: ศาลมีอำนาจพิจารณาการขอเลื่อนก่อน และโจทก์ยังคงสิทธิยื่นบัญชีพยานได้หลังการเลื่อน
ในวันนับสือพยานซึ่งโจทก์เป็นฝ่ายนำสืบก่อน ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนอ้างว่าป่วย ทนายจำเลยแถลงว่าไม่ค้าน แต่ค้านว่าโจทก์ไม่ยื่นบัญชีพยานก่อนสืบพยานโจทก์ 3 วัน ขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ ดังนี้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งคำร้องขอเลื่อนเสียก่อน ส่วนการยื่นบัญชีระบุพยานเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 อีกชั้นหนึ่ง หลังจากที่ศาลมีคำสั่งเรื่องการขอเลื่อนคดีแล้วจะถือว่าโจทก์หมดสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานเสียในชั้นนี้ยังไม่ได้
ศาลชั้นต้นสั่งว่าโจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนสืบพยาน 3 วัน ถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ และนัดสืบพยานจำเลยต่อไป ครั้นสืบพยานจำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ ดังนี้ การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ พิพากษารับบัญชีระบุพยานโจทก์และดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อไป ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าขอให้มีการสืบพยานโจทก์ด้วย และการที่จะมีการสืบพยานโจทก์ได้ก็จะต้องให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเสียก่อน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดี และให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงหาเกินคำขอของโจทก์ที่อุทธรณ์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 223/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงท้าพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือไม่สมบูรณ์ ศาลต้องพิจารณาตามรูปคดี
ในชั้นพิจารณาโจทก์จำเลยท้ากันให้ส่งเอกสารรวม 5 ฉบับไปพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือที่กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ถ้าผลการพิสูจน์น่าเชื่อว่าเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์แม้แต่ลายพิมพ์หนึ่งลายพิมพ์ใด โจทก์ยอมแพ้คดี แต่ถ้าผลปรากฏว่าไม่น่าเชื่อว่าเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์แล้ว จำเลยยอมแพ้คดี ครั้นกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจตรวจพิสูจน์แล้ว ลงความเห็นว่า เอกสาร 4 ฉบับ ไม่ใช่ลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ ส่วนอีกฉบับหนึ่งเลอะเลือน ไม่อาจตรวจลงความเห็นได้ ดังนี้ ย่อมไม่ครบถ้วนตรงตามคำท้าของฝ่ายจำเลยที่ว่า จะถือว่าจำเลยแพ้คดีก็ต่อเมื่อไม่น่าเชื่อว่าเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ทั้งหมดเท่านั้น แม้เอกสารฉบับที่ 5 ที่พิสูจน์ไม่ได้จะเป็นคู่ฉบับของเอกสารฉบับที่ 1 ก็ตาม ก็จะพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีไม่ได้ เพราะไม่ตรงตามคำท้าที่โจทก์จำเลยตกลงกัน กรณีเช่นนี้คำท้าของโจทก์จำเลยย่อมเป็นอันตกไป และศาลต้องดำเนินการพิจารณาต่อไปตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายทำให้เสียโฉม ไม่ถึงเจตนาฆ่า พิจารณาจากลักษณะบาดแผล
จำเลยที่ 2 ใช้มีด (มีดพร้า) ฟันโจทก์ร่วมที่แก้มซ้ายเพียงครั้งเดียว จนบาดแผลที่หายกลายเป็นแผลเป็นเริ่มที่ใต้ใบหูท่อนล่างยาวพาดตามข้างแก้มซ้ายลงไปถึงคอยาวประมาณ 16 เซนติเมตร ลักษณะบาดแผลเป็นสันนูนกว้างประมาณครึ่งเซนติเมตร สูงประมาณครึ่งเซนติเมตร มองเห็นได้ในระยะ 5 เมตร ฟังได้ว่าทำให้รูปหน้าเสียโฉมอย่างติดตัว จากลักษณะบาดแผลดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2 มิได้ฟันโจทก์ร่วมอย่างแรง จึงปรากฏปากแผลกว้างลึกถึงใต้ผิวหนังเท่านั้น กรณีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาฆ่า แต่เป็นการทำร้ายโจทก์ร่วมบาดเจ็บสาหัส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม หรืออาศัยมูลหนี้เดียวกัน ศาลพึงรับพิจารณาหากเชื่อมโยงกันได้
ฟ้องแย้งที่ศาลพึงรับไว้พิจารณาต้องเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ซึ่งหมายความว่าต้องเป็นฟ้องอาศัยฟ้องเดิมเป็นมูลแห่งหนี้ หรือต้องมีส่วนสัมพันธ์กับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 3 และมาตรา 179 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 เช่าตึกพิพาทจากโจทก์ที่ 1 แล้วให้จำเลยเข้าอยู่อาศัยโดยให้จำเลยชำระค่าเช่าแทน โจทก์ที่ 2 ต้องการตึกพิพากคืน จำเลยไม่คืนให้ขอให้ขับไล่ จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์ที่ 2 ให้จำเลยเช่าเพื่อทำกิจการค้าขายหนังสือแล้วแบ่งส่วนให้จำเลยเป็นเปอร์เซนต์ โดยที่โจทก์ที่ 2 ให้จำเลยเป็นผู้ออกเงินค่าตบแต่งตึกพิพาทเป็นการต่างตอบแทน เมื่อโจทก์จะให้จำเลยออกจากตึกพิพาทที่เช่าเพื่อโจทก์ที่ 2 จะทำการค้าเสียเอง โจทก์ที่ 2 จึงต้องชดใช้ค่าตบแต่งตึกพิพาทให้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าหรือนัยหนึ่งอาศัยฟ้องเดิมของโจทก์เป็นมูลหนี้นั่นเอง จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม พอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ (อ้างฎีกาที่ 442/2511) สมควรที่ศาลจะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องขอเลื่อนคดีข้ามเขตอำนาจศาลและการขาดนัดพิจารณา หากยื่นก่อนศาลสั่งขาดนัด ถือว่ามิได้ขาดนัด
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีโดยอ้างว่าการที่โจทก์ไม่ไปศาลในวันสืบพยานโจทก์นั้น ทนายโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแล้ว เพียงแต่มิได้ยื่นต่อศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดเลย)โดยตรง เพราะทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดหนองคาย จึงได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีต่อศาลจังหวัดหนองคายเพื่อให้ส่งคำร้องไปยังศาลชั้นต้นอีกต่อหนึ่ง ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มิได้ขาดนัดพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 197 วรรคสองโจทก์จึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและหากฟังได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มารศาลเสียก่อนลงมือสืบพยานดังโจทก์อ้าง ก็จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและจำหน่ายคดีของโจทก์ตามมาตรา 201 ไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้
วันนัดสืบพยานโจทก์ (นัดแรก) ทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดหนองคายเนื่องจากทอนซิลอักเสบและแพทย์ให้ความเห็นว่าสมควรหยุดพักรักษาตัว ซึ่งถ้าทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดเลยอันอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นแล้วทนายโจทก์ก็ต้องร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่ไปศาลให้ศาลชั้นต้นทราบเสียก่อนลงมือสืบพยาน คดีนี้นัดสืบพยานโจทก์ไว้เวลา 9 นาฬิกา ปรากฏว่าคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายโจทก์ซึ่งยื่นต่อศาลจังหวัดหนอกคาย โดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น พนักงานรับฟ้องขอศาลจังหวัดหนองคายลงรับไว้เวลา 10.00 นาฬิกา แต่ศาลชั้นต้นได้รออยู่จนเวลา 10.05 นาฬิกา จึงได้สั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ดังนั้น จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้ เพราะกรณีดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีก่อนลงมือสืบพยานแล้ว
(วรรค 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2519)
of 38