พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5358/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายต่อคดีอื่นที่เจ้าหนี้อื่นฟ้อง
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 15 มีความหมายถึง การที่ศาลสั่งในคดีหนึ่งคดีใดให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว ก็ให้จำหน่ายคดีซึ่งเจ้าหนี้อื่นฟ้องไว้เสีย โดยมิต้องคำนึงถึงว่า คดีอื่นนั้น ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในเวลาต่อมาหรือไม่ และ เจ้าหนี้ค่าภาษีอากรย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า "เจ้าหนี้อื่น" ใน มาตรานี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5358/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีล้มละลายเมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว แม้เป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากร
ก่อนโจทก์ยื่นฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย เจ้าหนี้อื่นได้ยื่นฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดในคดีดังกล่าวแล้ว ศาลต้องสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์โดยไม่ต้องคำนึงว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีของโจทก์หรือไม่ และแม้ว่าโจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากรก็ไม่มีกฎหมายยกเว้นว่าไม่ต้องจำหน่ายคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ - เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ชำระภาษีแทนลูกหนี้
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จำเลยที่ 2) แต่ผู้เดียว โจทก์ จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้อีก ปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง แม้จำเลยที่ 1 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว แต่เมื่อ จำเลยที่ 1 ยังเป็นเจ้าของโรงเรือนและที่ดิน ซึ่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 และ พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 บัญญัติให้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายดังกล่าวทุกปี จำเลย ที่ 2 ในฐานะ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ เอาเงินของจำเลย ที่ 1 ชำระค่าภาษีดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีจำเลยที่ 2 มีหนังสือตอบว่า โจทก์ ใน ฐานะเจ้าหนี้จะบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ก็แต่โดยการขอรับ ชำระหนี้จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสีย ภาษีแทนจำเลยที่ 1เช่นนี้ หนังสือตอบของจำเลยที่ 2 เป็นเพียง ความเห็นของจำเลยที่ 2ในปัญหาว่า โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ ค่าภาษีจะใช้สิทธิเรียก ค่าภาษี ได้โดยวิธีใด หาได้วินิจฉัยเกี่ยวกับ ค่าภาษีไม่ ทั้งคำวินิจฉัยดังกล่าวก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้อง คัดค้าน ต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาล ในคดีล้มละลายภายใน 14 วัน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 146.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต่อการฟ้องร้องเรียกค่าภาษี และหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการชำระหนี้แทนลูกหนี้
ปรากฏตามคำฟ้องว่า ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1เด็ดขาดก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมหมดอำนาจที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ อำนาจในการจัดการทรัพย์สินและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ตกเป็นของจำเลยที่ 2 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้ภาษีอากรได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 24 เมื่อที่ดินและโรงเรือนของจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 มีอำนาจจัดการนั้นมี พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 7,35บัญญัติให้ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินมีหน้าที่เสียภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปีหรือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินแล้วแต่กรณี กับมี พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา8,38,40 บัญญัติให้ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินชำระค่าภาษีปีละครั้งภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งความการประเมิน จำเลยที่ 2จึงมีหน้าที่ที่จะต้องเอาเงินของจำเลยที่ 1 ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่และค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง แม้เป็นหนี้ที่เกิดภายหลังจากศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วก็ตาม การที่เจ้าพนักงานของกรุงเทพมหานครโจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงเรือนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 มีหนังสือตอบว่า โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จะบังคับสิทธิเรียกร้องได้ก็แต่โดยการขอรับชำระหนี้ จำเลยที่ 2ไม่จำต้องยื่นแบบรายการเพื่อเสียภาษีแทนจำเลยที่ 1 นั้น หนังสือตอบของจำเลยที่ 2 เป็นเพียงความเห็นของจำเลยที่ 2 ในปัญหาว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจะใช้สิทธิเรียกค่าภาษีดังกล่าวได้โดยวิธีใด ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลภายใน 14 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัยเพื่อให้ศาลสั่งกลับหรือแก้ไขคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่แม้หลังถูกพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
ตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 ผู้เป็นเจ้าของที่ดินจะต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ทุกปี ส. ลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ด ขาดแล้วแต่ยังเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ย่อมต้องมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ หนี้ค่าภาษีที่พิพาทเป็นหนี้ค่าภาษีที่เกิดขึ้นภายหลังที่ ส. ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วส. จึงไม่สามารถจัดการโดยตนเองได้ จะต้องดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 เมื่อหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายหลังจากถูกพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โต้แย้งสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับภาษีรายนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้รับผิดได้ส่วนโจทก์จะได้รับชำระหนี้อย่างไร เป็นเรื่องชั้นบังคับคดีไม่ใช่เป็นกรณีที่จะนำมาอ้างว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่หลังพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจดำเนินการแทนลูกหนี้
การที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่ยังคงเป็นเจ้าของที่ดินอยู่นั้น ย่อมมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ แต่ไม่อาจจัดการทรัพย์สินโดยตนเองได้ จะต้องดำเนินการแทนโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 หนี้ค่าภาษีที่เกิดขึ้นภายหลังลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วการที่โจทก์จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในเวลาที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 กำหนดไว้ย่อมทำไม่ได้ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 มิได้บัญญัติห้ามฟ้องเกี่ยวกับหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่และเงินเพิ่มซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายหลังจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3219/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจากหนี้สินล้นพ้นตัว โดยมีหนี้ถึงที่สุดและข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย
โจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยที่ 2 ซึ่งต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันจำนวนเงินไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาท จำนวนสองครั้งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน จำเลยได้รับหนังสือทวงถามแล้วไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 8(9) และเมื่อฟังประกอบหลักฐานอื่นว่า จำเลยที่ 2 ยังเป็นหนี้โจทก์ในคดีอื่นซึ่งถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 2 มิได้โต้แย้งถึงความอยู่และแท้จริงของหนี้ดังกล่าว จึงนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาฟังประกอบดุลพินิจเพื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 เด็ดขาดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจากหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อจำเลยยอมรับหนี้และขอผ่อนผัน
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนเกินกว่าห้าหมื่นบาท โจทก์ทวงถามรวมสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน จำเลยเพิกเฉย ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ในวันนัดพิจารณาจำเลยแถลงยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้อง ขอเวลาสามเดือนเพื่อหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ หากไม่ชำระยอมรับว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ดังนี้ โจทก์ไม่จำต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 อีก เมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบว่าจำเลยอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด และไม่ปรากฏเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับหนี้สินและการพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ศาลไม่ต้องสืบพยานเพิ่มเติมหากจำเลยไม่พิสูจน์ความสามารถในการชำระหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนเกินกว่าห้าหมื่นบาท โจทก์ทวงถามรวมสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน จำเลยเพิกเฉย ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ในวันนัดพิจารณาจำเลยแถลงยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องขอเวลาสามเดือนเพื่อหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ หากไม่ชำระยอมรับว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ดังนี้ โจทก์ไม่จำต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 อีก เมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบว่าจำเลยอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด และไม่ปรากฏเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าว่าคดีแทนจำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีแพ่งหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และสิทธิในการยื่นคำขอรับชำระหนี้
ขณะคดีแพ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดอำนาจการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 25แต่ศาลจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามที่เห็นสมควรก็ได้ เมื่อปรากฏว่าศาลได้มีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แถลงไม่ขอเข้าว่าคดีแทนจำเลย และขอให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแต่ศาลมีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป อันมีผลเท่ากับศาลไม่อนุญาตให้จำหน่ายคดีตามคำแถลงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว แม้ในวันนัดต่อ ๆ มาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมิได้มาศาลก็ตาม แต่ศาลได้ประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาลทุกครั้ง กรณีดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าว่าคดีแทนจำเลยแล้วเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดีผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์ในคดีแพ่งย่อมมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันที่คดีแพ่งดังกล่าวถึงที่สุด ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 93.