พบผลลัพธ์ทั้งหมด 953 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขพินัยกรรมไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วน ไม่กระทบความสมบูรณ์ของพินัยกรรมทั้งฉบับ
การขูดลบตกเติมหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหากผู้ทำพินัยกรรมพยานและกรรมการอำเภอไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ส่วนที่ขูดลบตกเติมหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงย่อมไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1658วรรคสองแต่ไม่มีผลกระทบถึงพินัยกรรมทั้งฉบับข้อความเดิมย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วนแก้ไข ไม่กระทบพินัยกรรมทั้งฉบับ ข้อความเดิมยังใช้บังคับได้
พินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1658วรรคสองหมายความถึงเฉพาะส่วนการขูดลบตกเติมหรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นเท่านั้นไม่ได้หมายความรวมถึงพินัยกรรมทั้งฉบับเมื่อพินัยกรรมทำโดยชอบแล้วแม้การขูดลบตกเติมหรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจะไม่สมบูรณ์ก็ไม่มีผลกระทบถึงพินัยกรรมทั้งฉบับข้อความเดิมในพินัยกรรมย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายที่ดิน: โมฆะเนื่องจากเจตนาลวงและข้อห้ามโอน
พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทำขึ้นเพื่ออำพรางสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท พินัยกรรมซึ่งเป็นนิติกรรมอันแรกย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้นจึงย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาซื้อขายที่ถูกอำพรางไว้โดยพินัยกรรมซึ่งเป็นนิติกรรมอันแรก ต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพราง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155วรรคสอง เมื่อที่ดินพิพาทมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา58 ทวิ และการโอนได้กระทำภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ถือได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะตามป.พ.พ. มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายที่ดินมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะ
พินัยกรรมทำขึ้นเพื่ออำพรางสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทพินัยกรรมซึ่งเป็นนิติกรรมอันแรกย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้นจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา155วรรคแรกส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาซื้อขายที่ถูกอำพรางไว้โดยพินัยกรรมซึ่งเป็นนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา155วรรคสองที่ดินพิพาทมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน10ปีตามประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา58ทวิและการโอนขายได้กระทำภายในกำหนดเวลาดังกล่าวถือได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกและพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ การจดทะเบียนรับมรดกเป็นโมฆะ
การสละมรดก โดยแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 นั้น ตามกฎกระทรวงมหาดไทยที่ออกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1672 ข้อ 14, 15 ประกอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 40 กำหนดว่า "พนักงานเจ้าหน้าที่"ดังกล่าว หมายถึงนายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขต ดังนั้น การที่โจทก์กับ ศ.ทำหนังสือสละมรดกมอบไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดิน จึงไม่ใช่หนังสือสละมรดกตามกฎหมาย
ขณะ ล.เจ้ามรดกทำพินัยกรรทม ล.มีอาการป่วยหนักมีความคิดสับสน ไม่สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมได้ พินัยกรรมดังกล่าวจึงมิได้เกิดจากการแสดงเจตนาของ ล. และเป็นพินัยกรรมปลอม โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนในทรัพย์มรดกจึงฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนรับมรดกของจำเลยได้
คดีมีทุนทรัพย์ 2,700,000 บาท เมื่อพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดี ประกอบกับเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนี้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความจำนวน 15,000 บาท จึงชอบด้วยตาราง 6ท้าย ป.วิ.พ.
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์ซึ่งค่าขึ้นศาลที่โจทก์ผู้ฟ้องอย่างคนอนาถาได้รับยกเว้นนั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย
ขณะ ล.เจ้ามรดกทำพินัยกรรทม ล.มีอาการป่วยหนักมีความคิดสับสน ไม่สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมได้ พินัยกรรมดังกล่าวจึงมิได้เกิดจากการแสดงเจตนาของ ล. และเป็นพินัยกรรมปลอม โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนในทรัพย์มรดกจึงฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนรับมรดกของจำเลยได้
คดีมีทุนทรัพย์ 2,700,000 บาท เมื่อพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดี ประกอบกับเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนี้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความจำนวน 15,000 บาท จึงชอบด้วยตาราง 6ท้าย ป.วิ.พ.
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์ซึ่งค่าขึ้นศาลที่โจทก์ผู้ฟ้องอย่างคนอนาถาได้รับยกเว้นนั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายที่ดินมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะ
พินัยกรรมแบบ เอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทำขึ้นเพื่ออำพรางสัญญา ซื้อขาย ที่ดินพิพาท พินัยกรรมซึ่งเป็น นิติกรรมอันแรกย่อมเป็นการแสดง เจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้นจึงย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา155วรรคแรกส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญา ซื้อขายที่ถูกอำพรางไว้โดยพินัยกรรมซึ่งเป็นนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา155วรรคสองเมื่อที่ดินพิพาทมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน10ปีตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา58ทวิและการโอนได้กระทำภายในกำหนดเวลาดังกล่าวถือได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขพินัยกรรมไม่สมบูรณ์ไม่ทำให้พินัยกรรมเดิมเป็นโมฆะ, เจตนาของเจ้ามรดกในการยกทรัพย์สิน
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้และจำเลยฎีกาต่อมา ก็ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การขีดฆ่าชื่อผู้รับพินัยกรรมจากเดิมที่เขียนว่า "ลเมียด" แล้วตกเติมคำว่า "ละเมียด" ส่วนนามสกุลของผู้รับพินัยกรรมยังคงไว้เช่นเดิมนั้น มิใช่การขีดฆ่าอันเป็นการเพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรม แต่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อเขียนชื่อผู้รับพินัยกรรมให้ถูกต้อง เมื่อการขีดฆ่าตกเติมนั้นมิได้ลงวันเดือนปีที่แก้ไข ผู้ทำพินัยกรรมและพยานในพินัยกรรมทั้งสองคนมิได้ลงชื่อกำกับ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคสอง คำว่า "ละเมียด" ที่เขียนตกเติมจึงเสียไปและถือว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำว่า "ลเมียด" ในพินัยกรรม การแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ทำไม่ถูกต้องตามแบบดังกล่าวหามีผลทำให้พินัยกรรมที่สมบูรณ์อยู่แล้วต้องตกเป็นโมฆะไม่
พินัยกรรมมีข้อความว่า เมื่อถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินยอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้รับทรัพย์สินดังนี้(1) เรือน... และมีข้อความว่า ขอมอบพินัยกรรมให้กับนางลเมียด... แสดงว่าเจ้ามรดกมีเจตนาทำพินัยกรรมยกเรือนพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 หาใช่มีเจตนาเพียงแต่มอบพินัยกรรมให้เก็บรักษาไว้เฉย ๆ ไม่
การขีดฆ่าชื่อผู้รับพินัยกรรมจากเดิมที่เขียนว่า "ลเมียด" แล้วตกเติมคำว่า "ละเมียด" ส่วนนามสกุลของผู้รับพินัยกรรมยังคงไว้เช่นเดิมนั้น มิใช่การขีดฆ่าอันเป็นการเพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรม แต่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อเขียนชื่อผู้รับพินัยกรรมให้ถูกต้อง เมื่อการขีดฆ่าตกเติมนั้นมิได้ลงวันเดือนปีที่แก้ไข ผู้ทำพินัยกรรมและพยานในพินัยกรรมทั้งสองคนมิได้ลงชื่อกำกับ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคสอง คำว่า "ละเมียด" ที่เขียนตกเติมจึงเสียไปและถือว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำว่า "ลเมียด" ในพินัยกรรม การแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ทำไม่ถูกต้องตามแบบดังกล่าวหามีผลทำให้พินัยกรรมที่สมบูรณ์อยู่แล้วต้องตกเป็นโมฆะไม่
พินัยกรรมมีข้อความว่า เมื่อถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินยอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้รับทรัพย์สินดังนี้(1) เรือน... และมีข้อความว่า ขอมอบพินัยกรรมให้กับนางลเมียด... แสดงว่าเจ้ามรดกมีเจตนาทำพินัยกรรมยกเรือนพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 หาใช่มีเจตนาเพียงแต่มอบพินัยกรรมให้เก็บรักษาไว้เฉย ๆ ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ และเจตนาในการยกทรัพย์สินให้ผู้รับพินัยกรรม
การขีดฆ่าชื่อผู้รับพินัยกรรมจากเดิมที่เขียนว่า"ลเมียด"แล้วตกเติมว่า"ละเมียด"ส่วนนามสกุลคงไว้เช่นเดิมมิใช่การขีดฆ่าอันเป็นการเพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมแต่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อเขียนชื่อผู้รับพินัยกรรมให้ถูกต้องเมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้ลงวันเดือนปีที่แก้ไขผู้ทำพินัยกรรมและพยานในพินัยกรรมทั้งสองคนมิได้ลงชื่อกำกับจึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656วรรคสองและถือว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำว่า"ลเมียด"ในพินัยกรรมพินัยกรรมคงมีข้อความตามเดิมการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ทำไม่ถูกต้องตามแบบหามีผลทำให้ พินัยกรรมที่ สมบูรณ์อยู่แล้วต้องตกเป็น โมฆะไม่ พินัยกรรมมีข้อความว่า"ข้อ1ข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่มีอยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมนี้ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้(1)เรือนทรงมลิลามุงกระเบื้องวิบูลศรีพร้อมกระดานพื้น19แผ่นกระดานระเบียงด้านยาว7แผ่น1หลังข้อ2ข้าพเจ้าขอมอบพินัยกรรมให้กับนาง ลเมียดช้างแก้วมณี และขอตั้งให้นาย มานพสุขสวัสดิ์เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้าตามพินัยกรรมนี้"ถ้อยคำในพินัยกรรมดังกล่าวแสดงว่าเจ้ามรดกมีเจตนาทำพินัยกรรมยกเรือนพิพาทให้แก่นาง ละเมียดโจทก์ที่2และตั้งนาย มานพโจทก์ที่1เป็นผู้จัดการมรดกหาใช่มีเจตนาเพียงแต่มอบเอกสารพินัยกรรมให้โจทก์ที่2เก็บรักษาไว้เฉยๆเท่านั้นไม่โจทก์ที่2จึงเป็น ผู้รับพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ถูกห้าม และการแก้ไขพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ไม่ทำให้พินัยกรรมโมฆะ
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งแม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้และจำเลยฎีกาต่อมาก็ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การขีดฆ่าชื่อผู้รับพินัยกรรมจากเดิมที่ชื่อว่า"ลเมียด"แล้วตกเติมคำว่า"ละเมียด"ส่วนนามสกุลของผู้รับพินัยกรรมยังคงไว้เช่นเดิมนั้นมิใช่การขีดฆ่าอันเป็นการเพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมแต่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อเขียนชื่อผู้รับพินัยกรรมให้ถูกต้องเมื่อการขีดฆ่าตกเติมนั้นมิได้ลงวันเดือนปีที่แก้ไขผู้ทำพินัยกรรมและพยานในพินัยกรรมทั้งสองคนมิได้ลงชื่อกำกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656วรรคสองคำว่า"ละเมียด"ที่เขียนตกเติมจึงเสียไปและถือว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำว่า"ลเมียด"ในพินัยกรรมการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ทำไม่ถูกต้องตามแบบดังกล่าวหามีผลทำให้พินัยกรรมที่สมบูรณ์อยู่แล้วต้องตกเป็นโมฆะไม่ พินัยกรรมมีข้อความว่าเมื่อถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินยอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้รับทรัพย์สินดังนี้(1)เรือน...และมีข้อความว่าขอมอบพินัยกรรมให้กับนาง ลเมียด...แสดงว่าเจ้ามรดกมิได้มีเจตนาทำพินัยกรรมยกเรือนพิพาทให้แก่โจทก์ที่2หาใช่มีเจตนาเพียงแต่มอบพินัยกรรมให้เก็บรักษาไว้เฉยๆไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6993/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรม, การรับบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์, สิทธิในที่ดินเช่าและการครอบครอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาทตั้งอยู่ซอยขี้วัว ถนนเจริญกรุงแขวงบางคอแหลม เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 1 ไร่เศษ มีบ้านเลขที่34 ถึงเลขที่ 38 และเลขที่ 40 ตั้งอยู่ จำเลยทั้งสองสามารถเข้าใจดีแล้วว่าเป็นที่แปลงใด ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ว่า เป็นที่ดินโฉนดที่เท่าใด เป็นเพียงรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ แม้จะมิได้บรรยายฟ้องมา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ข้อความตอนต้นในพินัยกรรมระบุว่า ข้าพเจ้าทำหนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นก่อนหน้าที่จะออกเดินทางไปต่างประเทศมีกำหนด 45 วัน หนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ข้าพเจ้ามีความประสงค์ให้มีผลใช้บังคับได้ เมื่อข้าพเจ้าเสียชีวิตไปแล้วข้อความดังกล่าวเป็นแต่เพียงการระบุข้อเท็จจริงให้ทราบว่าได้ทำพินัยกรรมก่อนเดินทางไปต่างประเทศ มิได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากตนเดินทางกลับจากต่างประเทศแล้วให้พินัยกรรมสิ้นผลบังคับ พินัยกรรมฉบับนี้จึงไม่มีลักษณะเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง
โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ล.6ไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ คงอ้างว่าเอกสารหมาย ล.6 เป็นเพียงสำเนาเอกสารรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ต้นฉบับของพินัยกรรมสูญหาย ศาลย่อมรับฟังสำเนาพินัยกรรมตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
ตามทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเอกสารหมาย จ.4 ปรากฏว่าขณะเจ้ามรดกจดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม เจ้ามรดกมีอายุ 25 ปีจึงขัดต่อป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1582 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้นที่กำหนดว่าผู้รับเป็นบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี ส่วนการรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมตามเอกสารหมาย จ.3 เจ้ามรดกแจ้งว่าเป็นโสด แต่ความจริงเจ้ามรดกได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ โจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม จึงขัดต่อป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1584 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้น การจดทะเบียนรับจำเลยทั้งสองเป็นบุตรบุญธรรมย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมาย
มารดาเจ้ามรดกเช่าที่ดิน 3 แปลง จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีกำหนดเพียง 1 ปี เมื่อผู้เช่าตาย สัญญาเช่าซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวย่อมระงับไป จึงรับมรดกเป็นผู้เช่าต่อไปไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสองคงครอบครองที่ดินต่อมาแล้วให้ผู้อื่นเช่าก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยทั้งสองกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หาใช่ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแต่อย่างใด
ข้อความตอนต้นในพินัยกรรมระบุว่า ข้าพเจ้าทำหนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นก่อนหน้าที่จะออกเดินทางไปต่างประเทศมีกำหนด 45 วัน หนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ข้าพเจ้ามีความประสงค์ให้มีผลใช้บังคับได้ เมื่อข้าพเจ้าเสียชีวิตไปแล้วข้อความดังกล่าวเป็นแต่เพียงการระบุข้อเท็จจริงให้ทราบว่าได้ทำพินัยกรรมก่อนเดินทางไปต่างประเทศ มิได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากตนเดินทางกลับจากต่างประเทศแล้วให้พินัยกรรมสิ้นผลบังคับ พินัยกรรมฉบับนี้จึงไม่มีลักษณะเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง
โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ล.6ไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ คงอ้างว่าเอกสารหมาย ล.6 เป็นเพียงสำเนาเอกสารรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ต้นฉบับของพินัยกรรมสูญหาย ศาลย่อมรับฟังสำเนาพินัยกรรมตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
ตามทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเอกสารหมาย จ.4 ปรากฏว่าขณะเจ้ามรดกจดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม เจ้ามรดกมีอายุ 25 ปีจึงขัดต่อป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1582 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้นที่กำหนดว่าผู้รับเป็นบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี ส่วนการรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมตามเอกสารหมาย จ.3 เจ้ามรดกแจ้งว่าเป็นโสด แต่ความจริงเจ้ามรดกได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ โจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม จึงขัดต่อป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1584 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้น การจดทะเบียนรับจำเลยทั้งสองเป็นบุตรบุญธรรมย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมาย
มารดาเจ้ามรดกเช่าที่ดิน 3 แปลง จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีกำหนดเพียง 1 ปี เมื่อผู้เช่าตาย สัญญาเช่าซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวย่อมระงับไป จึงรับมรดกเป็นผู้เช่าต่อไปไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสองคงครอบครองที่ดินต่อมาแล้วให้ผู้อื่นเช่าก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยทั้งสองกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หาใช่ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแต่อย่างใด