คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟื้นฟูกิจการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 199 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อหนี้สถาบันการเงินและการเรียกร้องดอกเบี้ย ผู้ค้ำประกัน และผลของการฟื้นฟูกิจการ
ส. มิได้เป็นพนักงานของโจทก์แต่เป็นลูกจ้างของบริษัท บ. ซึ่งโจทก์แต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารและบริการทรัพย์สินสินเชื่อที่โจทก์ซื้อมาจากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และ ส. มีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวกับมูลหนี้ รวมทั้งมูลหนี้ของจำเลยในคดีนี้การที่ ส. ตรวจสอบมูลหนี้ของจำเลยจากเอกสารต่างๆ ถือว่า ส. เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับพยานเอกสาร จึงสามารถรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารได้ การที่ ส. เบิกความว่า โจทก์มอบอำนาจและมอบอำนาจช่วง จึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 95 (2)
องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ได้ปิดประกาศขายสินทรัพย์ที่หน้าที่ทำการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และประกาศหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ฉบับไม่น้อยกว่า 3 วัน รวมทั้งได้ประกาศขายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงชอบด้วยพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 30 ทวิ วรรคหนึ่ง และถือเป็นการบอกกล่าวการโอนทรัพย์สินแก่ลูกหนี้แล้ว โจทก์จึงไม่ต้องบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306
คำสั่งศาลที่เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท อ. ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง การที่จำเลยยอมผูกพันตนต่อบริษัทเงินทุน ธ. เจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้ในเมื่อบริษัท อ. ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ความรับผิดของจำเลยย่อมเกิดมีขึ้นเมื่อบริษัท อ. ผิดนัดไม่ชำระหนี้ บริษัทเงินทุน ธ. ชอบที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้แต่เวลานั้น จำเลยจะหลุดพ้นจากความรับผิดก็ต่อเมื่อหนี้ของบริษัท อ. ระงับสิ้นไป ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680, 686 และ 698 การที่บริษัท อ. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนในระหว่างดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ ไม่ทำให้บริษัทดังกล่าวหลุดพ้นจากความรับผิด คงมีผลทำให้ความรับผิดของบริษัทดังกล่าวลดลงตามจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้ว ซึ่งมีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยลดลงตามจำนวนที่บริษัทดังกล่าวชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น
บริษัทเงินทุน ธ. เป็นสถาบันการเงินจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 30 (2) ไม่ตกอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 654 บริษัทเงินทุน ธ. จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อโจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัทเงินทุน ธ. มาตามสัญญาขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ซึ่งรวมทั้งสิทธิเรียกร้องที่บริษัทดังกล่าวมีต่อบริษัท อ. และจำเลย แล้วโจทก์ใช้สิทธิของบริษัทเงินทุน ธ. ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แม้โจทก์มิได้เป็นสถาบันการเงินก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่เหลือหลังการแปลงหนี้เป็นหุ้นตามแผนฟื้นฟูกิจการ
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 และมาตรา 90/60 วรรคสอง การที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการเท่านั้นที่หลุดพ้นจากหนี้ซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน แล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนจำเลยในคดีนี้ซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันนั้น จะต้องรับผิดอีกหรือไม่ อย่างไรเป็นไปตามกฎหมายต่างๆ ที่ว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง
ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ในแผนฟื้นฟูกิจการได้กำหนดให้มีการชำระหนี้แก่โจทก์โดยการออกหุ้นเพื่อชำระหนี้เช่นนี้ ในส่วนของผู้ค้ำประกันนั้นจะหลุดพ้นความรับผิดก็แต่เฉพาะเท่ากับมูลค่าตลาดที่แท้จริงของหุ้นที่โจทก์ได้รับชำระหนี้มาส่วนที่เหลือจากราคาดังกล่าวโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แผนฟื้นฟูกิจการขัดต่อกฎหมายล้มละลาย: ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่เหลือ
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง มีความหมายว่าผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการเท่านั้นที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน แล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนบุคคลอื่นซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้จะต้องรับผิดเช่นไร ต้องเป็นไปตามกฎหมายต่างๆ ซึ่งว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ดังนี้ ในส่วนตัวลูกหนี้ย่อมได้รับการปลดเปลื้องความรับผิดในส่วนที่ขาดโดยผลของกฎหมายฟื้นฟูกิจการ แต่ในส่วนผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดก็เมื่อหนี้นั้นได้ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 การที่แผนฟื้นฟูกิจการในคดีนี้กำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดไปเสียทีเดียวย่อมเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้อกำหนดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ส่วนที่ยังขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1854/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีฟื้นฟูกิจการล้มละลายเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟู
ศาลฎีกาอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่มีคำสั่งให้ผู้ร้องพ้นจากตำแหน่งผู้บริหารแผนของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/67 ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ซึ่งมีผลทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการฟื้นฟูกิจการภายใต้การกำกับของศาลเข้าสู่สภาวะการดำเนินธุรกิจตามปกติ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ร้องดังกล่าวอีกต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีฟื้นฟูกิจการล้มละลายเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟู ทำให้ไม่มีประโยชน์ในการพิจารณาอุทธรณ์อีกต่อไป
ศาลฎีกาอนุญาตให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้บริหารของลูกหนี้อุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่มีคำสั่งว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการจัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อเลือกผู้บริหารแผนคนใหม่ของลูกหนี้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และมีคำสั่งตั้งบริษัท พ. เป็นผู้บริหารแผนคนใหม่ของลูกหนี้ ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ซึ่งมีผลทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการฟื้นฟูกิจการภายใต้การกำกับของศาลเข้าสู่สภาวะการดำเนินธุรกิจตามปกติ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ร้องดังกล่าวอีกต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10208/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้เป็นทุนในแผนฟื้นฟูและการรับผิดของผู้ค้ำประกัน โดยคำนึงถึงราคาตลาดที่แท้จริงของหุ้น
การที่ผู้ทำแผนฟื้นฟูกำหนดวิธีการชำระหนี้โดยการแปลงหนี้เป็นทุน แม้เป็นการหักหนี้กับค่าหุ้นของบริษัทต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1119 วรรคสอง แต่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/42 วรรคท้าย บัญญัติว่า มิให้นำมาตรา 1119 แห่ง ป.พ.พ. มาใช้บังคับแก่แผนตามมาตรานี้เมื่อในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการมีบทบัญญัติยกเว้นบทบัญญัติของ ป.พ.พ. ส่วนนี้ ผู้ทำแผนจึงสามารถทำแผนเพิ่มทุนโดยการแปลงหนี้มาเป็นทุนได้
กรณีมีการชำระหนี้ด้วยหุ้น เนื่องจากราคาที่จดทะเบียนไว้อาจมิได้เป็นราคาที่แท้จริงของหุ้นดังกล่าวในวันที่มีการชำระแก่เจ้าหนี้ จำนวนหนี้ที่เจ้าหนี้ได้รับชำระอันจะมีผลให้หนี้ระงับย่อมมีจำนวนเท่ากับราคาตลาดที่แท้จริงอันเจ้าหนี้ได้รับโอนได้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ
ความรับผิดของจำเลยทั้งสามตามฟ้องเป็นเพียงผู้ค้ำประกันซึ่งผูกพันตนเพื่อชำระหนี้เมื่อ ศ. ลูกหนี้ชั้นต้นไม่ชำระหนี้ ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ โดยมิได้นำเงินที่ ศ. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์มาหักออกจึงไม่ถูกต้อง เห็นสมควรระบุฐานะของจำเลยทั้งสามให้ชัดเจน และแก้ไขความรับผิดของจำเลยทั้งสามให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลหลังยกเลิกฟื้นฟูกิจการ: การพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ยังคงมีผลผูกพัน
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 และมาตรา 90/75 แม้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการทำให้ผู้บริหารของลูกหนี้กลับมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว แต่ลูกหนี้ก็ยังคงต้องผูกพันรับผิดชำระหนี้ตามคำสั่งคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการและตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการดังนั้น อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวน และมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงยังมิได้สิ้นสุดลงไป ทั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งเป็นประการใดแล้วเจ้าหนี้ผู้มีส่วนได้เสียก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้ตามมาตรา 90/32 วรรคสาม เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้วศาลล้มละลายกลางก็ยังต้องพิจารณาคำร้องคัดค้านของเจ้าหนี้เกี่ยวกับสำนวนคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันหนี้หลังยกเลิกฟื้นฟูกิจการ: ศาลต้องพิจารณาคำร้องคัดค้านคำขอรับชำระหนี้
แม้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการทำให้ผู้บริหารของลูกหนี้กลับมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว แต่ลูกหนี้ก็ยังคงต้องผูกพันรับผิดชำระหนี้ตามคำสั่งคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการและตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ดังนั้น อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนและมีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงยังมิได้สิ้นสุดลงไป และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งเป็นประการใดแล้วเจ้าหนี้ผู้มีส่วนได้เสียก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/32 วรรคสาม เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว ศาลล้มละลายกลางจึงยังต้องพิจารณาคำร้องคัดค้านของเจ้าหนี้เกี่ยวกับสำนวนคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการและการรับคำขอรับชำระหนี้ แม้พ้นกำหนด หากลูกหนี้จงใจปกปิดข้อมูลเจ้าหนี้
การที่ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการโดยมิได้แสดงรายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้มาพร้อมกับคำร้องขอ ทั้งๆ ที่ได้ปรากฏชื่อเจ้าหนี้ตามเอกสารต่างๆ ของลูกหนี้ที่ทำไว้เป็นหลักฐานสำคัญในการประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดินของลูกหนี้ พฤติการณ์แห่งคดีส่อเจตนาของลูกหนี้ว่าจงใจไม่แสดงรายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้มาพร้อมคำร้องขอตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/6 วรรคสี่ อันเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้เพราะทำให้ศาลล้มละลายกลางไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการแก่เจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้แจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้เสนอขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อเจ้าหนี้ไม่ทราบคำสั่งแต่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้มาก่อนหน้านี้ กรณีนับว่ามีเหตุตามกฎหมายให้รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้พิจาณาแม้จะได้ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/26 แล้วก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ: สิทธิของเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันเมื่อเจ้าหนี้รายอื่นได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน
เจ้าหนี้รายที่ 24 ตกลงทำสัญญาค้ำประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้รายที่ 12 และ 13 และเจ้าหนี้รายที่ 24 ชำระหนี้บางส่วนให้แก่เจ้าหนี้รายที่ 12 และ 13 แทนลูกหนี้ ต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้รายที่ 24 เด็ดขาด และมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในคดีนี้นั้น เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 12 และ 13 ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในมูลหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระไว้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้รายที่ 24 จึงไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนเงินที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/27 วรรคสอง ประกอบมาตรา 101 ซึ่งหากต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้รายที่ 24 นำเงินจากกองทรัพย์สินของเจ้าหนี้ดังกล่าวชำระหนี้ส่วนที่เหลือให้แก่เจ้าหนี้รายที่ 12 และ 13 แล้วก็ย่อมมีผลให้เจ้าหนี้รายที่ 24 เข้ารับช่วงสิทธิตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 12 และ 13 ในคดีนี้ต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 229
of 20