พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การยื่นฟ้องคดีเดิมและคดีใหม่ด้วยมูลคดีเดียวกัน
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์)เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2531 เรียกค่าเสียหายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ศาลนัดพิจารณาวันที่ 23 มิถุนายน 2531 ไว้แล้ว ต่อมาวันที่ 10 มิถุนายน 2531 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีนี้เรียกค่าเสียหายกับเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า บำเหน็จ ค่าเล่าเรียนบุตร จำเลยให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ค้างชำระเข้ามาด้วย ครั้นวันที่ 23 มิถุนายน 2531 ซึ่งเป็นวันนัดพิจารณาคดีเดิม โจทก์ไม่ไปศาลตามกำหนด ศาลแรงงานกลาง(ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดี เมื่อมูลคดีของคดีเดิมและคดีนี้เนื่องมาจากโจทก์ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าของจำเลยตกเขา อันเป็นมูลคดีเดียวกัน โจทก์มาฟ้องคดีนี้จึงเป็นการยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ตั้งแต่วันยื่นคำฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าคดีเดิมศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จะได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำพิพากษาคดีนี้ศาลแรงงานกลางจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ และเมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องฟ้องแย้งของจำเลยก็ย่อมตกไป เพราะไม่มีฟ้องเดิมและไม่มีตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยอยู่ต่อไป.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การยื่นฟ้องคดีเดิมและคดีใหม่โดยมีมูลเหตุเดียวกัน
โจทก์ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยบรรทุกสินค้าไปตกเขา จำเลยได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรงเนื่องจากโจทก์ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย โจทก์จึงยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางศาลจังหวัดนครสวรรค์เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2531 เรียกค่าเสียหายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ศาลนัดพิจารณาวันที่ 23 มิถุนายน 2531ไว้แล้ว ต่อมาวันที่ 10 มิถุนายน 2531 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีนี้ เรียกค่าเสียหายกับเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า บำเหน็จ ค่าเล่าเรียนบุตรที่ค้างชำระเข้ามาด้วย จำเลยให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ครั้นวันที่ 23 มิถุนายน 2531 ซึ่งเป็นวันนัดพิจารณาคดีเดิมโจทก์ไม่ไปศาลตามกำหนด ศาลแรงงานกลาง ศาลจังหวัดนครสวรรค์จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดี แต่เมื่อมูลคดีของคดีเดิมและคดีนี้เนื่องจากโจทก์ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าของจำเลยตกเขา อันเป็นมูลคดีเดียวกันโจทก์มาฟ้องคดีนี้จึงเป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ตั้งแต่วันยื่นคำฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าคดีเดิมศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จะได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำพิพากษาคดีนี้ ศาลแรงงานกลางจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ และเมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องฟ้องแย้งของจำเลยก็ย่อมตกไป เพราะไม่มีฟ้องเดิม และไม่มีตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยอยู่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: ศาลยกฟ้องเนื่องจากเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีเดิม
โจทก์ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยบรรทุกสินค้าไปตกเขา จำเลยได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรงเนื่องจากโจทก์ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย โจทก์จึงยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลาง(ศาลจังหวัดนครสวรรค์) เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2531 เรียกค่าเสียหายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ศาลนัดพิจารณาวันที่ 23มิถุนายน 2531 ไว้แล้ว ต่อมาวันที่ 10 มิถุนายน 2531 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีนี้ เรียกค่าเสียหายกับเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าบำเหน็จค่าเล่าเรียนบุตรที่ค้างชำระเข้ามาด้วย จำเลยให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ครั้นวันที่ 23 มิถุนายน 2531ซึ่งเป็นวันนัดพิจารณาคดีเดิมโจทก์ไม่ไปศาลตามกำหนดศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีแต่เมื่อมูลคดีของคดีเดิมและคดีนี้เนื่องมาจากโจทก์ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าของจำเลยตกเขา อันเป็นมูลคดีเดียวกัน โจทก์มาฟ้องคดีนี้จึงเป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ตั้งแต่วันยื่นคำฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าคดีเดิมศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จะได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำพิพากษาคดีนี้ศาลแรงงานกลางจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์และเมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยก็ย่อมตกไป เพราะไม่มีฟ้องเดิมและไม่มีตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยอยู่ต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนในคดีจัดการมรดก: ประเด็นข้อพิพาทคนละกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนจำเลยทั้งสามกล่าวหาโจทก์ว่าละเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกไม่รายงานแสดงบัญชีการจัดการและไม่แบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย ให้ถอนโจทก์ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย คดีถึงที่สุดแล้วคดีนี้โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้งสามว่า ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดก มิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ ไม่ทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยทั้งสามไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดก คดีก่อนกับคดีนี้จึงมีประเด็นข้อพิพาทคนละอย่างคนละเหตุกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ปัญหาที่ว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนหรือไม่ จำเลยเพิ่งหยิบยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกา ไม่เห็นสมควรยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ฟ้องซ้อน: ประเด็นข้อพิพาทต่างกันและข้ออ้างใหม่ในชั้นฎีกา
คดีก่อนจำเลยทั้งสามกล่าวหาโจทก์ว่าละเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกไม่รายงานแสดงบัญชีการจัดการและไม่แบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน1ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายให้ถอนโจทก์ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายคดีถึงที่สุดแล้วคดีนี้โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้งสามว่าละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกมิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ไม่ทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน1ปีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำเลยทั้งสามไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกคดีก่อนกับคดีนี้จึงมีประเด็นข้อพิพาทคนละอย่างคนละเหตุกันฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ปัญหาที่ว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนหรือไม่จำเลยเพิ่งหยิบยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนคดีหมิ่นประมาท: การฟ้องคดีซ้ำจากข้อความเดียวกันโดยพนักงานอัยการและโจทก์
แม้ข้อความที่ พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ ฟ้องว่าจำเลยลงพิมพ์ข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมจะเป็นคนละบทความกันและลงพิมพ์ต่างหน้ากันกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ แต่ ก็เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมในหนังสือพิมพ์ซึ่ง จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาฉบับเดียวกัน ทั้งเป็นข้อความที่กล่าวถึง โจทก์ร่วมในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวและ พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ กับโจทก์คดีนี้ต่าง ก็เป็นพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีต่อ ศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒(๕) ๒๘(๑) ด้วยกันการที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยอีกจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๓(๑) ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีหมิ่นประมาท: การฟ้องคดีเดียวกันซ้ำโดยพนักงานอัยการและโจทก์เอกชน
พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์กับพวกพนักงานอัยการโจทก์ในคดีนี้ต่างฟ้องกล่าวหาจำเลยลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับเดียวกัน แม้ข้อความทีฟ้องแต่ละคดีจะเป็นคนละบทความกันและลงพิมพ์ต่างหน้ากันก็ตาม แต่บทความที่โจทก์ในคดีนี้และพนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ฟ้อง ลงในหนังสือพิมพ์ซึ่งจำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาฉบับเดียวกัน ทั้งเป็นข้อความที่กล่าวถึงโจทก์ร่วมในเรื่องเดียวกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีจึงเป็นเรื่องเดียวกัน พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์โจทก์ในอีกคดีหนึ่งกับโจทก์ในคดีนี้ต่างเป็นพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(5),ฆ28(1) จึงเป็นพนักงานอัยการโจทก์ด้วยกัน การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยอีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีหมิ่นประมาท: การฟ้องคดีเดียวกันโดยโจทก์คนละคนแต่เป็นพนักงานอัยการด้วยกัน
แม้ข้อความที่พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ฟ้องว่าจำเลยลงพิมพ์ข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมจะเป็นคนละบทความกันและลงพิมพ์ต่างหน้ากันกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ แต่ก็เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมในหนังสือพิมพ์ ซึ่งจำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาฉบับเดียวกัน ทั้งเป็นข้อความที่กล่าวถึงโจทก์ร่วมในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวและพนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์กับโจทก์คดีนี้ต่างก็เป็นพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(5),28(1) ด้วยกันการที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยอีกจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนคดีหมิ่นประมาท: การฟ้องคดีซ้ำจากข้อความหมิ่นประมาทเดียวกัน
แม้ข้อความที่ พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ ฟ้องว่าจำเลยลงพิมพ์ข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมจะเป็นคนละบทความกันและลงพิมพ์ต่างหน้ากันกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ แต่ ก็เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมในหนังสือพิมพ์ซึ่ง จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาฉบับเดียวกัน ทั้งเป็นข้อความที่กล่าวถึง โจทก์ร่วมในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวและ พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ กับโจทก์คดีนี้ต่าง ก็เป็นพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีต่อ ศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(5)28(1) ด้วยกันการที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยอีกจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681-3682/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และการฟ้องซ้ำในประเด็นเดียวกัน
พนักงานอัยการเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยในคดีก่อนว่า ได้ร่วมกับจำเลยอื่นยักยอกเงินรายอื่น ซึ่งเป็นเงินรายเดียวกับรายที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้ หาใช่เป็นเงินจำนวนที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ไม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ คดีแพ่งอันเกี่ยวเนื่อง กับคดีอาญาที่จะต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 1ได้กระทำการทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ ศาลแรงงานกลางต้องรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ว่า โจทก์นำสืบได้สมกับที่มีภาระการพิสูจน์หรือไม่ จากการนำสืบของโจทก์ไม่มีข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานใดที่จะพิสูจน์ได้สมตามประเด็นที่กล่าวอ้าง โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี แสดงว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ให้ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีซึ่งมีผลเท่ากับขอให้ศาลฎีการับฟังว่า จำเลยที่ 1มิได้ปฏิบัติผิดต่อข้อบังคับ และมิได้กระทำการทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ดังที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางอันเป็นข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54
ในคดีอาญาเรื่องก่อนพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแขวงในความผิดฐานร่วมกันยักยอกและฉ้อโกง กับมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้เสียหายคือโจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์คดีนี้ด้วย เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวเป็นรายเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้อง และมีคำขอบังคับจำเลยที่ 3 ในคดีนี้โดยโจทก์ยื่นฟ้องในระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาข้างต้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)ซึ่งอนุโลมมาใช้บังคับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 1ได้กระทำการทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ ศาลแรงงานกลางต้องรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ว่า โจทก์นำสืบได้สมกับที่มีภาระการพิสูจน์หรือไม่ จากการนำสืบของโจทก์ไม่มีข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานใดที่จะพิสูจน์ได้สมตามประเด็นที่กล่าวอ้าง โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี แสดงว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ให้ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีซึ่งมีผลเท่ากับขอให้ศาลฎีการับฟังว่า จำเลยที่ 1มิได้ปฏิบัติผิดต่อข้อบังคับ และมิได้กระทำการทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ดังที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางอันเป็นข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54
ในคดีอาญาเรื่องก่อนพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแขวงในความผิดฐานร่วมกันยักยอกและฉ้อโกง กับมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้เสียหายคือโจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์คดีนี้ด้วย เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวเป็นรายเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้อง และมีคำขอบังคับจำเลยที่ 3 ในคดีนี้โดยโจทก์ยื่นฟ้องในระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาข้างต้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)ซึ่งอนุโลมมาใช้บังคับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31