พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้จากการจ่ายค่าสิทธิและดอกเบี้ย: การชำระภาษีแทนบริษัทต่างประเทศไม่ใช่เงินได้พึงประเมิน
เงินค่าสิทธิในกรรมวิธีผลิตตามมาตรา 40(3) และดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตาม (4)(ก) กฎหมายบัญญัติว่าเป็นเงินได้พึงประเมินไม่ได้บัญญัติรวมถึงภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยที่ผู้จ่ายเงินออกชำระแทนให้ผู้มีเงินได้อันจะถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน เช่นที่บัญญัติไว้ชัดแจ้งในมาตรา 40(1) และ (2) ฉะนั้นเงินที่โจทก์ชำระแทนบริษัทต่างประเทศเป็นค่าภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยดังกล่าว จึงไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) และ (4)(ก)
โจทก์ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน74,747,567.84 บาท แทนบริษัทต่างประเทศ เป็นเงิน 18,096,689.72 บาท เต็มจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องชำระแล้วกรมสรรพากรจำเลยอ้างว่าหากโจทก์หักภาษีเงินได้จำนวนดังกล่าวออกบริษัทในต่างประเทศจะได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยไปเพียง 56,650,878.12 บาท แต่โจทก์ชำระภาษีเงินได้แทนเป็นเหตุให้บริษัทในต่างประเทศได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยเกินไปเท่ากับจำนวนภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระแทน เงินจำนวนนี้จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสิทธิและดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ผู้จ่ายเงินจะต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้ดังนี้ รับฟังไม่ได้ เพราะโจทก์ได้ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,767.84 บาท หาใช่ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 56,650,878.12 บาท หากโจทก์จะต้องรับผิดชำระภาษีเงินได้อีกก็เป็นการชำระภาษีซ้ำซ้อน แม้ในกรณีนี้ถ้าโจทก์มิได้ชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ก็คงต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้เท่าจำนวนที่มิได้หักและนำส่งตามมาตรา 54วรรคแรก เท่านั้น
โจทก์ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน74,747,567.84 บาท แทนบริษัทต่างประเทศ เป็นเงิน 18,096,689.72 บาท เต็มจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องชำระแล้วกรมสรรพากรจำเลยอ้างว่าหากโจทก์หักภาษีเงินได้จำนวนดังกล่าวออกบริษัทในต่างประเทศจะได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยไปเพียง 56,650,878.12 บาท แต่โจทก์ชำระภาษีเงินได้แทนเป็นเหตุให้บริษัทในต่างประเทศได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยเกินไปเท่ากับจำนวนภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระแทน เงินจำนวนนี้จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสิทธิและดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ผู้จ่ายเงินจะต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้ดังนี้ รับฟังไม่ได้ เพราะโจทก์ได้ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,767.84 บาท หาใช่ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 56,650,878.12 บาท หากโจทก์จะต้องรับผิดชำระภาษีเงินได้อีกก็เป็นการชำระภาษีซ้ำซ้อน แม้ในกรณีนี้ถ้าโจทก์มิได้ชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ก็คงต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้เท่าจำนวนที่มิได้หักและนำส่งตามมาตรา 54วรรคแรก เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีเงินได้บริษัท, การประเมินภาษี, และการคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน พร้อมดอกเบี้ย
ภาษีเงินได้บริษัทจำกัดถึงกำหนดชำระ 150 วัน จากครบรอบระยะบัญชีแต่ละปี อายุความ 10 ปี ตาม มาตรา 167 นับตั้งแต่วันนั้น ครบ 150 วัน จากรอบปีบัญชี 30 พ.ค.2496 กรมสรรพากรแจ้งการประเมินภาษีเพิ่ม 26 ธ.ค.2505 ไม่เกิน 10 ปี ถือเสมือนฟ้องคดีตาม มาตรา 173 แล้ว โดยเป็นการใช้สิทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 โดยไม่ต้องฟ้อง การแจ้งผลวินิจฉัยอุทธรณ์หลังจากนั้นไม่ขาดอายุความ
เงินเดือนพนักงานของโจทก์ที่สำนักงานภาคส่งเข้ามาสอนพนักงานสาขาในประเทศ เป็นรายจ่ายที่หักได้ จึงต้องคืนเงินนี้แก่บริษัทโจทก์รวมกับดอกเบี้ย ตาม มาตรา 224 ไม่มีกฎหมายให้กรมสรรพากรเอาเป็นเครดิตสำหรับภาษีปีต่อไปเหมือนชำระภาษีล่วงหน้าตาม มาตรา 18ทวิ 20ทวิ และหักกลบลบหนี้ไม่ได้เพราะยังมีข้อต่อสู้ อายุความเรียกเงินคืนมิใช่ลาภมิควรได้ จึงไม่ใช่ 1 ปี ตาม มาตรา 419
เงินเดือนพนักงานของโจทก์ที่สำนักงานภาคส่งเข้ามาสอนพนักงานสาขาในประเทศ เป็นรายจ่ายที่หักได้ จึงต้องคืนเงินนี้แก่บริษัทโจทก์รวมกับดอกเบี้ย ตาม มาตรา 224 ไม่มีกฎหมายให้กรมสรรพากรเอาเป็นเครดิตสำหรับภาษีปีต่อไปเหมือนชำระภาษีล่วงหน้าตาม มาตรา 18ทวิ 20ทวิ และหักกลบลบหนี้ไม่ได้เพราะยังมีข้อต่อสู้ อายุความเรียกเงินคืนมิใช่ลาภมิควรได้ จึงไม่ใช่ 1 ปี ตาม มาตรา 419
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีเงินได้ที่นายจ้างจ่ายแทนลูกจ้าง ต้องคำนวณตามเงินได้ที่ลูกจ้างต้องเสียจริง ไม่ใช่คำนวณซ้ำจนกว่ายอดคงที่
จำเลยประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้เพิ่ม 5,680.68 บาทโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
เงินที่นายจ้างออกชำระภาษีแทนลูกจ้างต้องนำมารวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) ครั้งเดียว แต่จะคำนวณซ้ำแล้วซ้ำอีกถึง 17 ครั้งไม่ได้นายจ้างอุทธรณ์การประเมินได้เช่นเดียวกับลูกจ้าง
เงินที่นายจ้างออกชำระภาษีแทนลูกจ้างต้องนำมารวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) ครั้งเดียว แต่จะคำนวณซ้ำแล้วซ้ำอีกถึง 17 ครั้งไม่ได้นายจ้างอุทธรณ์การประเมินได้เช่นเดียวกับลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากการจำหน่ายกำไรออกนอกประเทศ ต้องเป็นผู้จำหน่ายกำไรจริง และเป็นกำไรสุทธิที่หักต้นทุนแล้ว
กรมสรรพากรมีคำสั่งให้โจทก์เสียภาษี โจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งยกอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้ นับว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2683/2517)
ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ นั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร และเงินที่จำหน่ายนั้นต้องเป็นกำไรโดยแท้จริงซึ่งหักต้นทุนออกแล้ว โจทก์เป็นผู้ติดต่อกับลูกค้าในประเทศไทยของบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นให้ได้รับความสะดวกในการสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท ม. ลูกค้าเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าและชำระเงินค่าสินค้าต่อบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นโดยตรง โจทก์ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ของบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นเฉพาะกำไรสุทธิที่ทำการค้าในประเทศไทย ดังนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร เงินที่ลูกค้าส่งไปให้แก่บริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นเป็นเงินค่าซื้อสินค้า ไม่ใช่กำไร โจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยด้วย
ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ นั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร และเงินที่จำหน่ายนั้นต้องเป็นกำไรโดยแท้จริงซึ่งหักต้นทุนออกแล้ว โจทก์เป็นผู้ติดต่อกับลูกค้าในประเทศไทยของบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นให้ได้รับความสะดวกในการสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท ม. ลูกค้าเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าและชำระเงินค่าสินค้าต่อบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นโดยตรง โจทก์ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ของบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นเฉพาะกำไรสุทธิที่ทำการค้าในประเทศไทย ดังนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร เงินที่ลูกค้าส่งไปให้แก่บริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นเป็นเงินค่าซื้อสินค้า ไม่ใช่กำไร โจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีเงินได้และภาษีการค้า: การประเมินและแจ้งการประเมินภายใน 10 ปี
โจทก์มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษี พ.ศ.2500 ถึง 2506 แต่โจทก์ยื่นรายการเงินได้ไม่ถูกต้องต่ำกว่าความจริงและลงรายการไม่ครบถ้วนทำให้จำนวนเงินภาษีเงินได้ขาดไป เจ้าพนักงานประเมินได้ไต่สวนแล้วมีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้รวมทั้งเงินเพิ่มของปีดังกล่าวให้โจทก์ชำระ ดังนี้ หนี้ค่าภาษีเงินได้ที่ขาดไปนั้นได้ถึงกำหนดชำระแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 56,57 จัตวา คือภายในเดือนกุมภาพันธ์ทุก ๆ ปี ที่มีเงินได้พึงประเมินในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมา และเจ้าพนักงานประเมินมี สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีเงินได้ถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไปคือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2501
สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ.2500 และวันที่ 1 มีนาคม ในปีถัดไป สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ.2501 ถึง 2506 ของแต่ละปีตามลำดับเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีเงินได้ปี พ.ศ.2500,2501 ให้โจทก์ชำระเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2510 และภาษีเงินได้ปี พ.ศ.2502 ถึง2506 เมื่อวันที่ 19กุมภาพันธ์ 2511 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่ เจ้าพนักงานประเมินอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีเงินได้จึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167
สำหรับภาษีการค้านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับรายรับเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2502 เดือนธันวาคม 2502 และกันยายน 2503 ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84,85 ดังนี้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระภาษีเดือนนั้น ๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ชำระในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2511 อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เช่นกัน
สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ.2500 และวันที่ 1 มีนาคม ในปีถัดไป สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ.2501 ถึง 2506 ของแต่ละปีตามลำดับเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีเงินได้ปี พ.ศ.2500,2501 ให้โจทก์ชำระเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2510 และภาษีเงินได้ปี พ.ศ.2502 ถึง2506 เมื่อวันที่ 19กุมภาพันธ์ 2511 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่ เจ้าพนักงานประเมินอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีเงินได้จึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167
สำหรับภาษีการค้านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับรายรับเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2502 เดือนธันวาคม 2502 และกันยายน 2503 ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84,85 ดังนี้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระภาษีเดือนนั้น ๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ชำระในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2511 อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากการจำหน่ายกำไรออกนอกประเทศ ต้องเป็นผู้จำหน่ายกำไรจริง และเป็นกำไรสุทธิหลังหักต้นทุน
กรมสรรพากรมีคำสั่งให้โจทก์เสียภาษี โจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งยกอุทธรณ์ของโจทก์ดังนี้ นับว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2683/2517)
ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70ทวิ นั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร และเงินที่จำหน่ายนั้นต้องเป็นกำไรโดยแท้จริงซึ่งหักต้นทุนออกแล้ว โจทก์เป็นผู้ติดต่อกับลูกค้าในประเทศไทยของบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นให้ได้รับความสะดวกในการสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท ม. ลูกค้าเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าและชำระเงินค่าสินค้าต่อบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นโดยตรง โจทก์ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ของบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นเฉพาะกำไรสุทธิที่ทำการค้าในประเทศไทยดังนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร เงินที่ลูกค้าส่งไปให้แก่บริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นเป็นเงินค่าซื้อสินค้า ไม่ใช่กำไร โจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยด้วย
ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70ทวิ นั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร และเงินที่จำหน่ายนั้นต้องเป็นกำไรโดยแท้จริงซึ่งหักต้นทุนออกแล้ว โจทก์เป็นผู้ติดต่อกับลูกค้าในประเทศไทยของบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นให้ได้รับความสะดวกในการสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท ม. ลูกค้าเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าและชำระเงินค่าสินค้าต่อบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นโดยตรง โจทก์ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ของบริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นเฉพาะกำไรสุทธิที่ทำการค้าในประเทศไทยดังนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร เงินที่ลูกค้าส่งไปให้แก่บริษัท ม. ในประเทศญี่ปุ่นเป็นเงินค่าซื้อสินค้า ไม่ใช่กำไร โจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2637-2639/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนจำหน่ายต่างประเทศ: หน้าที่เสียภาษีการค้าและเงินได้ กรณีมีตัวแทน/สาขาในไทย
โจทก์ยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขออนุมัติขยายกำหนดเวลาการยื่นอุทธรณ์ตามนัยมาตาม 3 อัฎฐแห่งประมวลรัษฎากร เมื่ออธิบดีกรมสรรพากรไม่ยินยอมโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อหัวหน้าคณะปฏิวัติซึ่งมีอำนาจปกครองอยู่ในขณะนั้น และในที่สุดอธิบดีกรมสรรพากรได้มีหนังสือถึงโจทก์อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ ดังนี้ เป็นการขยายกำหนดเวลาออกไปตามอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรที่มีอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วัน ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรขยายเวลาออกไปย่อมถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์โดยชอบแล้วและเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์ย่อมใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์
บริษัท อ.และ พ.ทำสัญญาซื้อขายอุปการณ์โทรศัพท์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยบริษัท อ.แต่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้ติดต่อเจรจาตกลงกับกระทรวงคมนาคมและเจ้าหน้าที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยโดยโจทก์ได้รับค่านายหน้า 2 % ของราคาเอฟโอบี ที่ได้รับคำสั่งซื้อ และในการติดต่อขายอุปกรณ์ดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ยื่นเสนอราคาหรือลดราคา และได้ขอยืดเวลาการเซ็นสัญญาแทนบริษัท อ. เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯ ตกลงซื้อแล้วก็ได้แจ้งให้โจทก์ติดต่อบริษัท อ.ให้เข้ามาทำสัญญา การชำระราคาองค์การโทรศัพท์ฯ เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไปยังบริษัท พ. โดยโจทก์อ้างว่าได้รับมอบให้เป็นนายหน้าตัวแทน ในหนังสือขององค์การโทรศัพท์ที่ขออนุมัติสั่งซื้อต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็อ้างว่า การเสนอราคาของบริษัท พ.มีโจทก์เป็นตัวแทนในประเทศไทย ใลสั่งซื้อก็ต้องผ่านโจทก์ สัญญาซื้อขายก็มีผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงชื่อเป็นพยาน ประกอบกับโจทก์ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้จัดการติดต่อให้บริษัท อ. และ พ. เข้าทำสัญญาซื้อขายกับองค์การโทรศัพท์ฯ ในฐานะนายหน้า แสดงว่าโจทก์ได้แสดงออกโดยแจ้งชัดแล้วว่า โจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทยของบริษัท อ.และพ. แล้ว ถือได้ว่าโจทก์เป็นตัวแทนของบริษัททั้งสองดังกล่าวอันเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศในการขายอุปกรณ์โทรศัพท์ให้แก่องค์การโทรศัพท์ฯ โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ตามความในประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2494 มาตรา 33
บทบัญญัติมาตรา 76 ทวิอยู่ในส่วนที่ 3 ของหมวดที่ 3 ว่าด้วยภาษีเงินได้ แต่เรื่องภาษีการค้าที่บัญญัติอยู่ในหมวดที่ 4 ต่างส่วนต่างหมวดกัน ดังนั้น การวินิจฉัยถึงความรับผิดในเรื่องภาษีการค้า จึงต้องอาศัยบทบัญญัติในหมวด 4 ว่าด้วยภาษีการค้า จะนำบทบัญญัติในมาตรา 76 ทวิ อันเป็นบทบัญญัติที่ให้สันนิษฐานเด็ดขาดในเรื่องภาษีเงินได้มาใช้กับเรื่องภาษีการค้าไม่ได้
โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัท อ. เพื่อจุดประสงค์ในการเจรจากับกระทรวงคมนาคมและเจ้าหน้าที่องค์การโทรศัพท์ฯ โดยโจทก์ได้รับค่านายหน้า 2 เปอร์เซนต์ ของราคาเอฟโอบีที่ได้รับคำสั่งซื้อ ต่อมามีบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท อ.มีหนังสือถึงโจทก์ระบุว่าโจทก์เป็นตัวแทนในประเทศไทยและยืนยันข้อตกลงที่แต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าโดยให้โจทก์กระทำการเป็นตัวแทนนายหน้าต่อหน่วยราชการหรือองค์การในประเทศไทยและในการเซ็นสัญญาซื้อขายโจทก์เป็นผู้ขอยืดเวลาเซ็นสัญญาแทนบริษัท อ. เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯ จ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายในบริษัท อ.ก็ต้องแจ้งผ่านโจทก์ ดังนี้ บริษัทโจทก์มิได้กระทำการเป็นเพียงนายหน้าของบริษัท อ.เท่านั้น แต่ถือได้ว่าเป็นผู้ทำการแทนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2502 มาตรา 37 และเป็นสาขาของบริษัท อ.ผู้นำเข้าตามมาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504 มาตรา 9 โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1 (ก) จากรายรับของบริษัท อ.ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2504 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2507
สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับบริษัท พ.ขายสินค้าให้องค์การโทรศัพท์ฯ ก็ปรากฏว่า โจทก์มีหนังสือเสนอขายสินค้าแทนบริษัท พ. โดยอ้างว่าโจทก์ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนนายหน้า ใบสั่งซื้อสินค้าที่องค์การโทรศัพท์กับบริษัท พ.ก็มีผู้จัดการส่งถึงบริษัท พ. ก็ต้องผ่านโจทก์ สัญญาซื้อขายระหว่างองค์การโทรศัพท์ฯ กับบริษัท พ.ก็มีผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงนามเป็นพยานด้วย ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ได้เข้าเกี่ยวข้องติดต่อทุกขั้นตอนในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท พ. โจทก์จึงเป็นสาขาของบริษัท พ.ผู้นำเข้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504 มาตรา 9 โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของบริษัท พ.ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2506 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2507 และมกราคม ถึงสิงหาคม 2508
บริษัท อ.และ พ.ทำสัญญาซื้อขายอุปการณ์โทรศัพท์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยบริษัท อ.แต่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้ติดต่อเจรจาตกลงกับกระทรวงคมนาคมและเจ้าหน้าที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยโดยโจทก์ได้รับค่านายหน้า 2 % ของราคาเอฟโอบี ที่ได้รับคำสั่งซื้อ และในการติดต่อขายอุปกรณ์ดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ยื่นเสนอราคาหรือลดราคา และได้ขอยืดเวลาการเซ็นสัญญาแทนบริษัท อ. เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯ ตกลงซื้อแล้วก็ได้แจ้งให้โจทก์ติดต่อบริษัท อ.ให้เข้ามาทำสัญญา การชำระราคาองค์การโทรศัพท์ฯ เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไปยังบริษัท พ. โดยโจทก์อ้างว่าได้รับมอบให้เป็นนายหน้าตัวแทน ในหนังสือขององค์การโทรศัพท์ที่ขออนุมัติสั่งซื้อต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็อ้างว่า การเสนอราคาของบริษัท พ.มีโจทก์เป็นตัวแทนในประเทศไทย ใลสั่งซื้อก็ต้องผ่านโจทก์ สัญญาซื้อขายก็มีผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงชื่อเป็นพยาน ประกอบกับโจทก์ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้จัดการติดต่อให้บริษัท อ. และ พ. เข้าทำสัญญาซื้อขายกับองค์การโทรศัพท์ฯ ในฐานะนายหน้า แสดงว่าโจทก์ได้แสดงออกโดยแจ้งชัดแล้วว่า โจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทยของบริษัท อ.และพ. แล้ว ถือได้ว่าโจทก์เป็นตัวแทนของบริษัททั้งสองดังกล่าวอันเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศในการขายอุปกรณ์โทรศัพท์ให้แก่องค์การโทรศัพท์ฯ โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ตามความในประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2494 มาตรา 33
บทบัญญัติมาตรา 76 ทวิอยู่ในส่วนที่ 3 ของหมวดที่ 3 ว่าด้วยภาษีเงินได้ แต่เรื่องภาษีการค้าที่บัญญัติอยู่ในหมวดที่ 4 ต่างส่วนต่างหมวดกัน ดังนั้น การวินิจฉัยถึงความรับผิดในเรื่องภาษีการค้า จึงต้องอาศัยบทบัญญัติในหมวด 4 ว่าด้วยภาษีการค้า จะนำบทบัญญัติในมาตรา 76 ทวิ อันเป็นบทบัญญัติที่ให้สันนิษฐานเด็ดขาดในเรื่องภาษีเงินได้มาใช้กับเรื่องภาษีการค้าไม่ได้
โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัท อ. เพื่อจุดประสงค์ในการเจรจากับกระทรวงคมนาคมและเจ้าหน้าที่องค์การโทรศัพท์ฯ โดยโจทก์ได้รับค่านายหน้า 2 เปอร์เซนต์ ของราคาเอฟโอบีที่ได้รับคำสั่งซื้อ ต่อมามีบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท อ.มีหนังสือถึงโจทก์ระบุว่าโจทก์เป็นตัวแทนในประเทศไทยและยืนยันข้อตกลงที่แต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าโดยให้โจทก์กระทำการเป็นตัวแทนนายหน้าต่อหน่วยราชการหรือองค์การในประเทศไทยและในการเซ็นสัญญาซื้อขายโจทก์เป็นผู้ขอยืดเวลาเซ็นสัญญาแทนบริษัท อ. เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯ จ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายในบริษัท อ.ก็ต้องแจ้งผ่านโจทก์ ดังนี้ บริษัทโจทก์มิได้กระทำการเป็นเพียงนายหน้าของบริษัท อ.เท่านั้น แต่ถือได้ว่าเป็นผู้ทำการแทนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2502 มาตรา 37 และเป็นสาขาของบริษัท อ.ผู้นำเข้าตามมาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504 มาตรา 9 โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1 (ก) จากรายรับของบริษัท อ.ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2504 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2507
สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับบริษัท พ.ขายสินค้าให้องค์การโทรศัพท์ฯ ก็ปรากฏว่า โจทก์มีหนังสือเสนอขายสินค้าแทนบริษัท พ. โดยอ้างว่าโจทก์ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนนายหน้า ใบสั่งซื้อสินค้าที่องค์การโทรศัพท์กับบริษัท พ.ก็มีผู้จัดการส่งถึงบริษัท พ. ก็ต้องผ่านโจทก์ สัญญาซื้อขายระหว่างองค์การโทรศัพท์ฯ กับบริษัท พ.ก็มีผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงนามเป็นพยานด้วย ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ได้เข้าเกี่ยวข้องติดต่อทุกขั้นตอนในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท พ. โจทก์จึงเป็นสาขาของบริษัท พ.ผู้นำเข้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504 มาตรา 9 โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของบริษัท พ.ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2506 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2507 และมกราคม ถึงสิงหาคม 2508
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายสำนักงานใหญ่ของบริษัทต่างประเทศที่ตั้งสาขาในไทยเพื่อคำนวณภาษีเงินได้
บริษัทต่างประเทศมีสาขาในประเทศไทย สำนักงานใหญ่ในต่างประเทศเช่าที่ทำการ โจทก์จ่ายค่าแรงเป็นค่าธรรมเนียมเลขานุการจะจ้างคนงานเองหรือจ้างบริษัทอื่นก็เป็นการเปิดดำเนินกิจการค้าค่าเช่าสำนักงาน ค่าเครื่องเขียนค่าโทรศัพท์ ฯลฯ เป็นค่าใช้จ่ายปกติหักออกจากรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้เมื่อส่งกำไรออกนอกประเทศไม่ได้
ภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาบัญชี 1 เมษายน 2500 ถึง 31 มีนาคม 2501 โจทก์ยื่นรายการเมื่อ 22 กันยายน 2501ตามที่ได้รับอนุญาตให้ขยายเวลาเจ้าพนักงานประเมินมีคำสั่งเมื่อ 13 กันยายน 2511 ยังไม่ขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา167
ภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาบัญชี 1 เมษายน 2500 ถึง 31 มีนาคม 2501 โจทก์ยื่นรายการเมื่อ 22 กันยายน 2501ตามที่ได้รับอนุญาตให้ขยายเวลาเจ้าพนักงานประเมินมีคำสั่งเมื่อ 13 กันยายน 2511 ยังไม่ขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา167
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 708/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากธุรกรรมซื้อขายที่ดินแทนบริษัทต่างด้าว โดยผู้ซื้อไม่ชำระเงิน และผู้ขายไม่ได้แจ้งข้อมูลในภ.ง.ด.
ฟ้องว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ การประเมินภาษีการค้าและภาษีเงินได้ไม่ถูก โจทก์ฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลย ไม่ฟ้องคณะกรรมการประเมินก็ได้
ค่าฤชาธรรมเนียมควรให้คู่ความฝ่ายใดรับผิด เป็นดุลพินิจที่ศาลพิจารณาตามเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีไม่จำเป็นต้องให้ฝ่ายแพ้คดีส่วนใหญ่เป็นฝ่ายรับผิด ศาลให้เป็นพับก็ได้
โจทก์ซื้อที่ดินแทนบริษัทซึ่งเป็นคนต่างด้าว แล้วโอนให้บริษัทนั้นภายหลัง โจทก์ไม่ได้รับเงินค่าที่ดิน การที่โจทก์มีชื่อในโฉนดไม่เป็นเหตุที่จะประเมินภาษีเงินได้จากโจทก์
โจทก์ไม่ได้แจ้งการขายที่ดินใน ภ.ง.ด.9 โจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ แต่ไม่ถือว่าโจทก์ประกอบการค้าที่จะต้องเสียภาษีการค้าด้วย
ค่าฤชาธรรมเนียมควรให้คู่ความฝ่ายใดรับผิด เป็นดุลพินิจที่ศาลพิจารณาตามเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีไม่จำเป็นต้องให้ฝ่ายแพ้คดีส่วนใหญ่เป็นฝ่ายรับผิด ศาลให้เป็นพับก็ได้
โจทก์ซื้อที่ดินแทนบริษัทซึ่งเป็นคนต่างด้าว แล้วโอนให้บริษัทนั้นภายหลัง โจทก์ไม่ได้รับเงินค่าที่ดิน การที่โจทก์มีชื่อในโฉนดไม่เป็นเหตุที่จะประเมินภาษีเงินได้จากโจทก์
โจทก์ไม่ได้แจ้งการขายที่ดินใน ภ.ง.ด.9 โจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ แต่ไม่ถือว่าโจทก์ประกอบการค้าที่จะต้องเสียภาษีการค้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540-1541/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้: การหักค่าใช้จ่ายต้นทุนที่ดิน, อำนาจเจ้าพนักงานประเมิน, และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
ห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ตั้งขึ้นเพื่อการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก และได้ขายที่ดินสวนหมากของห้างฯ ไปเพื่อการค้าหากำไร รายได้จากการขายที่ดินดังกล่าวต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 40(8) และภาษีการค้าตาม มาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากรลงวันที่ 25 ตุลาคม 2513 ข้อ 2(3) ที่บัญญัติให้สรรพากรจังหวัดและผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดสำหรับท้องที่จังหวัดเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร
หลังจากทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนสามัญ บ.ดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเมื่อหุ้นส่วนคนหนึ่งถึงแก่กรรม หุ้นส่วนผู้จัดการก็ได้แก้บัญชีให้ทายาทของผู้ถึงแก่กรรมเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นแทนโดยหุ้นส่วนคนอื่นมิได้ทักท้วง และหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งที่ถึงแก่กรรมโดยไม่มีทายาทเข้าถือหุ้นแทนก็มีการคืนเงินค่าหุ้นให้ทายาทไปตามส่วนที่ทายาทได้รับมรดก และต่อมาห้างหุ้นส่วนก็ยังได้ไปจดทะเบียนการค้า ดังนี้ถือไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ บ.เลิกกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5)
ข. กับ ป. เอาที่ดินสวนหมากมาเป็นทุนของห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อ ข. กับ ป.ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ข. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ ป. จึงมีสิทธิเพียงรับมรดกในหุ้นที่ ข. และ ป. มีอยู่ในห้างหุ้นส่วนเท่านั้นไม่มีสิทธิรับมรดกที่ดินของห้างหุ้นส่วน การที่ ข. และ ป. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินของห้างหุ้นส่วน ก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนห้างหุ้นส่วนฯ เท่านั้น โจทก์จะอ้างว่าเป็นการขายทรัพย์สินมรดกไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ และภาษีการค้าตามประมวลรัชฎากรหาได้ไม่
ข. กับ ป. รวมทั้งโจทก์ทั้งสองและพวกเข้าหุ้นส่วนกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ขึ้นเพื่อทำการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก จึงต้องถือว่าที่ดินสวนหมากที่ห้างหุ้นสวนได้มาเป็นสินค้าของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนเอาที่ดินสวนหมากมาดำเนินการค้าหากำไร วันที่ 30 กันยายน 2497 อันเป็นวันทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน ดังนั้นการคิดราคาทุนของที่ดินสวนหมากจึงต้องถือตามราคาที่แท้จริงของที่ดินสวนหมากขึ้นในวันดังกล่าว จะคิดเอาราคาตลาดของสำนักงานที่ดินจังหวัด หรือตามราคาปานกลางตามประกาศของเทศบาลเมือง ซึ่งประกาศในภายหลังหาได้ไม่ และเมื่อฟังได้ว่าที่ห้างหุ้นส่วนตีราคาที่ดินสวนหมากของห้างขณะทำหนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนเป็นเงิน 2,200,000 บาท เป็นราคาที่สมควร และมีการซื้อขายกันในระยะนั้น การประเมินราคาทุนที่ดินสวนหมากที่ขายไป เพื่อถือเป็นค่าใช้จ่ายที่จะนำไปหักจากเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ จึงต้องคิดเฉลี่ยจากจำนวนที่ดินทั้งหมดในราคาทุน 2,200,000 บาท
ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีการค้า หรือภาษีเงินได้หรือไม่ และเมื่อเห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีเงินได้ ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22
ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเรื่องประกาศยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัชฎากร มาตรา 16 นั้น ไม่ได้คำนึงถึงชั้นของข้าราชการ แต่มุ่งถึงตำแหน่งข้าราชการ คือ อาจเป็นสรรพากรจังหวัดโท หรือผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดตรี คนใดคนหนึ่งก็เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศดังกล่าว ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นสรรพากรจังหวัดเอกจังหวัดสงขลาแต่ผู้เดียว จึงมีอำนาจลงนามประเมินได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
หลังจากทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนสามัญ บ.ดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเมื่อหุ้นส่วนคนหนึ่งถึงแก่กรรม หุ้นส่วนผู้จัดการก็ได้แก้บัญชีให้ทายาทของผู้ถึงแก่กรรมเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นแทนโดยหุ้นส่วนคนอื่นมิได้ทักท้วง และหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งที่ถึงแก่กรรมโดยไม่มีทายาทเข้าถือหุ้นแทนก็มีการคืนเงินค่าหุ้นให้ทายาทไปตามส่วนที่ทายาทได้รับมรดก และต่อมาห้างหุ้นส่วนก็ยังได้ไปจดทะเบียนการค้า ดังนี้ถือไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ บ.เลิกกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5)
ข. กับ ป. เอาที่ดินสวนหมากมาเป็นทุนของห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อ ข. กับ ป.ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ข. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ ป. จึงมีสิทธิเพียงรับมรดกในหุ้นที่ ข. และ ป. มีอยู่ในห้างหุ้นส่วนเท่านั้นไม่มีสิทธิรับมรดกที่ดินของห้างหุ้นส่วน การที่ ข. และ ป. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินของห้างหุ้นส่วน ก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนห้างหุ้นส่วนฯ เท่านั้น โจทก์จะอ้างว่าเป็นการขายทรัพย์สินมรดกไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ และภาษีการค้าตามประมวลรัชฎากรหาได้ไม่
ข. กับ ป. รวมทั้งโจทก์ทั้งสองและพวกเข้าหุ้นส่วนกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ขึ้นเพื่อทำการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก จึงต้องถือว่าที่ดินสวนหมากที่ห้างหุ้นสวนได้มาเป็นสินค้าของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนเอาที่ดินสวนหมากมาดำเนินการค้าหากำไร วันที่ 30 กันยายน 2497 อันเป็นวันทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน ดังนั้นการคิดราคาทุนของที่ดินสวนหมากจึงต้องถือตามราคาที่แท้จริงของที่ดินสวนหมากขึ้นในวันดังกล่าว จะคิดเอาราคาตลาดของสำนักงานที่ดินจังหวัด หรือตามราคาปานกลางตามประกาศของเทศบาลเมือง ซึ่งประกาศในภายหลังหาได้ไม่ และเมื่อฟังได้ว่าที่ห้างหุ้นส่วนตีราคาที่ดินสวนหมากของห้างขณะทำหนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนเป็นเงิน 2,200,000 บาท เป็นราคาที่สมควร และมีการซื้อขายกันในระยะนั้น การประเมินราคาทุนที่ดินสวนหมากที่ขายไป เพื่อถือเป็นค่าใช้จ่ายที่จะนำไปหักจากเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ จึงต้องคิดเฉลี่ยจากจำนวนที่ดินทั้งหมดในราคาทุน 2,200,000 บาท
ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีการค้า หรือภาษีเงินได้หรือไม่ และเมื่อเห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีเงินได้ ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22
ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเรื่องประกาศยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัชฎากร มาตรา 16 นั้น ไม่ได้คำนึงถึงชั้นของข้าราชการ แต่มุ่งถึงตำแหน่งข้าราชการ คือ อาจเป็นสรรพากรจังหวัดโท หรือผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดตรี คนใดคนหนึ่งก็เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศดังกล่าว ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นสรรพากรจังหวัดเอกจังหวัดสงขลาแต่ผู้เดียว จึงมีอำนาจลงนามประเมินได้โดยชอบด้วยกฎหมาย