พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,786 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5720/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีจัดการมรดก, การแบ่งมรดกตามพินัยกรรม, ผลของการโอนมรดกก่อนเสียชีวิต
แม้คำฟ้องโจทก์ในช่องจำเลยจะมิได้ระบุว่า จำเลยมีฐานะเป็นผู้จัดการมรดกก็ตาม แต่ในคำฟ้องก็ได้บรรยายโดยรายละเอียดว่า เมื่อจำเลยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยกระทำผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกโดยมิได้จัดการโอนมรดกให้แก่โจทก์ทั้งสองตามพินัยกรรม แต่กลับโอนเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียวในชั้นสืบพยานโจทก์ทั้งสองก็นำสืบว่า ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งมีอายุความ 5 ปี นับแต่จัดการมรดกสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 1733 วรรคสองหาใช่คดีมรดกซึ่งมีอายุความ 1 ปีไม่ โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2536ยังไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยโอนที่ดินมรดกมาเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว แม้จะถือว่าวันดังกล่าวจัดการมรดกเสร็จสิ้นก็ตาม คดีก็ยังไม่ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3 แต่สิทธิในที่ดินโฉนดเลขที่4779 โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับลดลงกึ่งหนึ่งเท่านั้น จำเลยมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์เกี่ยวกับที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3ดังนั้น ที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3
ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 2252 เดิมมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน60 ตารางวา ป.เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง ขอยกให้จำเลย 5 ไร่3 งาน 60 ตารางวา ส่วนที่เหลือยกให้โจทก์ทั้งสองคนละเท่า ๆ กัน หมายความว่ายกให้โจทก์คนละ 2 ไร่ 2 งาน เมื่อคำนวณเป็นสัดส่วนแล้วจำเลยจะได้ที่ดิน 59 ส่วนโจทก์จะได้ที่ดินคนละ 25 ส่วน แต่ก่อน ป.ตาย ป.ได้โอนที่ดินแปลงนี้ให้แก่ ม.กึ่งหนึ่งกรณีต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1696 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินจำนวนกึ่งหนึ่งที่ยกให้ ม.เป็นอันเพอกถอนไป คงเหลือที่ดินจำนวนกึ่งหนึ่งตกเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมที่จะต้องแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสองและจำเลยตามเจตนารมณ์ของผู้ทำพินัยกรรมโดยการแบ่งตามสัดส่วนคือจำเลยได้ 59 ส่วน โจทก์ทั้งสองได้คนละ25 ส่วน ของที่เหลือ หรือได้รับที่ดินน้อยลงคนละกึ่งหนึ่งของจำนวนที่ระบุในพินัยกรรมคิดแล้วจำเลยได้ที่ดิน 2 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา โจทก์ได้ที่ดินคนละ 1 ไร่ 1 งานมิใช่แบ่งให้จำเลยได้ที่ดินครบ 5 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ก่อน เมื่อมีที่ดินเหลือจึงตกเป็นของโจทก์ทั้งสองไม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3 แต่สิทธิในที่ดินโฉนดเลขที่4779 โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับลดลงกึ่งหนึ่งเท่านั้น จำเลยมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์เกี่ยวกับที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3ดังนั้น ที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3
ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 2252 เดิมมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน60 ตารางวา ป.เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง ขอยกให้จำเลย 5 ไร่3 งาน 60 ตารางวา ส่วนที่เหลือยกให้โจทก์ทั้งสองคนละเท่า ๆ กัน หมายความว่ายกให้โจทก์คนละ 2 ไร่ 2 งาน เมื่อคำนวณเป็นสัดส่วนแล้วจำเลยจะได้ที่ดิน 59 ส่วนโจทก์จะได้ที่ดินคนละ 25 ส่วน แต่ก่อน ป.ตาย ป.ได้โอนที่ดินแปลงนี้ให้แก่ ม.กึ่งหนึ่งกรณีต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1696 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินจำนวนกึ่งหนึ่งที่ยกให้ ม.เป็นอันเพอกถอนไป คงเหลือที่ดินจำนวนกึ่งหนึ่งตกเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมที่จะต้องแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสองและจำเลยตามเจตนารมณ์ของผู้ทำพินัยกรรมโดยการแบ่งตามสัดส่วนคือจำเลยได้ 59 ส่วน โจทก์ทั้งสองได้คนละ25 ส่วน ของที่เหลือ หรือได้รับที่ดินน้อยลงคนละกึ่งหนึ่งของจำนวนที่ระบุในพินัยกรรมคิดแล้วจำเลยได้ที่ดิน 2 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา โจทก์ได้ที่ดินคนละ 1 ไร่ 1 งานมิใช่แบ่งให้จำเลยได้ที่ดินครบ 5 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ก่อน เมื่อมีที่ดินเหลือจึงตกเป็นของโจทก์ทั้งสองไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5424/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองแทนทายาทและสิทธิในการแบ่งมรดก: ศาลไม่อาจกันส่วนแบ่งมรดกให้ทายาทที่มิได้ร้องสอด
ห.และจำเลยครอบครองที่พิพาทแทนทายาทของเจ้ามรดก ไม่ใช่ครอบครองเพื่อตนเอง ดังนี้ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกว่าคดีขาดอายุความได้
คดีฟ้องเรียกมรดก ผู้ซึ่งอ้างว่าตนเป็นทายาทมีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้นจะร้องสอดเข้ามาในคดีก็ได้ แต่ศาลจะเรียกทายาทอื่น นอกจากคู่ความหรือผู้ร้องสอดให้เข้ามารับส่วนแบ่งหรือกันส่วนแบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่นนั้นไม่ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาแบ่งที่ดินให้แก่ ว.ทายาทคนหนึ่งของเจ้ามรดกโดยที่ ว.มิได้ร้องสอดเข้ามาในคดีหรือ ว.ได้มอบอำนาจให้โจทก์เรียกทรัพย์มรดกแทน จึงเป็นการกันส่วนแบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่น ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1749ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คดีฟ้องเรียกมรดก ผู้ซึ่งอ้างว่าตนเป็นทายาทมีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้นจะร้องสอดเข้ามาในคดีก็ได้ แต่ศาลจะเรียกทายาทอื่น นอกจากคู่ความหรือผู้ร้องสอดให้เข้ามารับส่วนแบ่งหรือกันส่วนแบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่นนั้นไม่ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาแบ่งที่ดินให้แก่ ว.ทายาทคนหนึ่งของเจ้ามรดกโดยที่ ว.มิได้ร้องสอดเข้ามาในคดีหรือ ว.ได้มอบอำนาจให้โจทก์เรียกทรัพย์มรดกแทน จึงเป็นการกันส่วนแบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่น ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1749ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5424/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองแทนทายาท vs. ครอบครองเพื่อตนเอง ผลต่ออายุความ และการแบ่งมรดก
ห. และจำเลยครอบครองที่พิพาทแทนทายาทของเจ้ามรดกไม่ใช่ครอบครองเพื่อตนเอง ดังนี้ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิ ยกอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกว่าคดีขาดอายุความได้ คดีฟ้องเรียกมรดก ผู้ซึ่งอ้างว่าตนเป็นทายาท มีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้นจะร้องสอดเข้ามาในคดีก็ได้ แต่ศาลจะเรียกทายาทอื่น นอกจากคู่ความหรือผู้ร้องสอดให้เข้ามารับ ส่วนแบ่งหรือกันส่วนแบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่นนั้นไม่ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาแบ่งที่ดินให้แก่ ว.ทายาทคนหนึ่งของเจ้ามรดกโดยที่ ว.มิได้ร้องสอดเข้ามาในคดีหรือ ว. ได้มอบอำนาจให้โจทก์เรียกทรัพย์มรดกแทน จึงเป็นการกันส่วน แบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่น ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1749ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5130/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: การพิสูจน์ทายาทและการเปิดเผยทรัพย์สินที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ที่ผู้ร้องยื่นคำแก้ฎีกาว่า หลังจากการพิจารณาคดีนี้ผู้ร้องพบว่า ส. น้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วมีบุตรซึ่งยังมีชีวิตอยู่อีก 3 คนบุคคลทั้งสามคนดังกล่าวเป็นทายาทมรดกแทนที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในลำดับก่อนผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายนั้น เมื่อมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย แม้ผู้ร้องจะมิได้ระบุในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทของผู้ตาย ก็ยังถือ ไม่ได้ว่าเป็นการปิดบังทายาทหรือปิดบังทรัพย์มรดก การที่ผู้ร้องมิได้ระบุว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในคำร้องดังกล่าวนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดที่บัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมดและตามคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายของผู้ร้องก็ระบุเพียงว่าผู้ร้องไปขอเบิกเงิน จากธนาคารออมสิน แต่ธนาคารแจ้งว่าจ่ายเงินให้ผู้ร้องไม่ได้และแนะนำให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน อันเป็นการที่ผู้ร้องอ้างเหตุที่ไม่สามารถถอนเงินที่ผู้ตายฝากไว้กับธนาคารออมสินเป็นข้ออ้างที่ผู้ร้องต้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ผู้ร้องหาได้ระบุว่านอกจากเงินฝากในธนาคารออมสินแล้ว ผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอื่นอีกแต่อย่างใดไม่ และหากศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ผู้ร้องก็ย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายใน 1 เดือน และแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันเริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดก ดังนั้น การที่ผู้ร้องมิได้อ้างถึงที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก ของผู้ตาย จึงมิใช่เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น อันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องถูกกำจัด มิให้ได้มรดกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605 กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้อง จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกและการโอนให้ผู้อื่น ผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกของทายาท
ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ค.เมื่อค. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก แล้วจำเลยที่ 1 ได้ใส่ชื่อ ของตนในฐานะผู้จัดการมรดกลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ที่ดินทรัพย์มรดก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองที่พิพาทแทน ทายาทอื่นทุกคน เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่พิพาท จากจำเลยที่ 1 ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครอง ที่พิพาทแทนทายาทอื่นเช่นเดียวกัน โจทก์ในฐานะทายาท ผู้มีสิทธิรับมรดกของ ค. จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่พิพาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง โดยไม่มีอายุความ โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนระหว่างจำเลยทั้งสาม และให้จำเลยทั้งสามแบ่งที่พิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสามให้การตอนแรกว่าที่พิพาทตกเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งได้รับยกให้จากค. ก่อนตาย แต่ให้การตอนหลังว่า หากที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้แย่งการครอบครองที่พิพาท เช่นนี้เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งและขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองแต่คำให้การดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง ทั้งการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ดังนี้ คดีจึงยังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ แต่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองและเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งชี้ขาดว่า ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองจำเลยทั้งสามก็ไม่โต้แย้งคัดค้าน จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าโจทก์สิ้นสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดก: เหตุผลการแบ่งทรัพย์สินไม่เป็นธรรม และการไม่ทำบัญชีมรดก
ที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ขณะที่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่เจ้ามรดกแบ่งที่ดินจำนวน 5 แปลง ให้แก่ทายาท 5 คนแต่ยังไม่ได้โอนเปลี่ยนชื่อ เมื่อเจ้ามรดกตายลงผู้จัดการมรดกกลับไม่โอนที่ดินตามที่ได้แบ่งไว้ดังกล่าวให้แก่ทายาทแต่ได้จัดการรวมและแบ่งที่ดินใหม่หลายครั้ง ครั้งสุดท้ายขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ผู้จัดการมรดกได้โอนขายที่ดินซึ่งผู้คัดค้านที่ 2 ได้ขออายัดไว้แล้วเป็นจำนวนเนื้อที่ประมาณครึ่งหนึ่งของที่ดินมรดก ทั้งไม่นำเงิน ที่ขายได้มาแบ่งปันให้แก่ทายาทฝ่ายผู้คัดค้าน ส่อเจตนาทุจริต ในการจัดการกองมรดก สมควรสั่งถอนผู้จัดการมรดกนั้น เป็นข้อที่มิได้ปรากฏในคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้าน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อปรากฏว่าผู้จัดการมรดกตกลงแบ่งปันที่ดินมรดกให้แก่ทายาทอื่น ๆ ได้หมดแล้ว คงเหลือแต่ส่วนแบ่งของผู้คัดค้าน ซึ่งไม่ตกลงกัน โดยผู้คัดค้านอ้างว่าส่วนแบ่งของตนไม่เป็นธรรม จึงเป็นกรณีที่ผู้จัดการมรดกมิได้เพิกเฉยต่อหน้าที่ส่วนการที่ผู้จัดการมรดกไม่ได้จัดทำบัญชี ทรัพย์มรดกในเวลาที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช่เหตุที่จะต้องถอน จากการเป็นผู้จัดการมรดกเสมอไป และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1731 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาว่ามีเหตุสมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกเพียงใดหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้จัดการมรดกโดยไม่สุจริตทั้งได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทส่วนมากไปแล้ว แสดงว่าได้ปฏิบัติหน้าที่มาโดยตลอดพฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่สมควรถอนผู้จัดการมรดกรายนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4980/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยการให้เป็นของขวัญก่อนเสียชีวิต ไม่ถือเป็นมรดก การเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของในทะเบียนหลังศาลตั้งผู้จัดการมรดก
จำเลยเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งมิใช่เป็นมรดกของ ด. แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อด. เป็นเจ้าของก็ตาม แต่ที่ดินพิพาทก็เป็นเพียงที่ดินมือเปล่าซึ่งโอนให้แก่กันได้ โดยเพียงแต่ผู้เป็นเจ้าของแสดงเจตนาสละการครอบครองเท่านั้นสำหรับกรณีที่ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกมรดกของ ด. และจำเลยได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทมาเป็นชื่อของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก คดีดังกล่าวจำเลยได้ระบุในคำร้องคัดค้านคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ด.ว่า ด. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยแล้ว หาได้ระบุว่าเป็นมรดกของ ด. ไม่ การที่จำเลยโต้แย้งยืนยันตลอดมา แสดงให้เห็นว่าการยื่นคำร้องคัดค้านนั้นเป็นการปกป้องสิทธิของตน และเพื่อจะดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลงหลักฐานทางทะเบียนให้ได้สิทธิโดยสมบูรณ์ในที่ดินพิพาทเท่านั้น การโอนที่ดินพิพาทหลังจากศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ด.จึงเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของในเอกสารสำคัญสำหรับที่ดินพิพาทให้ถูกต้องตามความจริง หาทำให้ความเป็นเจ้าของที่ดินของจำเลย เปลี่ยนแปลงไปไม่ เมื่อจำเลยได้รับที่ดินพิพาท มาจากการที่ น.และด. ยกให้และจำเลยได้ครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของตลอดมา ที่ดินพิพาทมิใช่เป็นมรดกของ ด. จำเลยจึงไม่มีหน้าที่จะต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็น ทายาทของ ด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4720/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทและการจัดการมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกเกิน 1 ปี ไม่ขาดอายุความ
จำเลยให้การว่า โจทก์มิได้เป็นทายาทของผู้ตายเพราะผู้ตายสมรสกับ บ.หลังใช้ ป.พ.พ. โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันแสดงว่า จำเลยยอมรับว่าบ.เป็นภริยาของผู้ตาย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และ ป.เป็นบุตรซึ่งเกิดจากผู้ตายและ บ.โจทก์ที่ 4 เป็นบุตรของ ป. ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และ ป.ไม่ใช่บุตรที่เกิดจากผู้ตายและ บ. ทั้งมิได้นำสืบหักล้างว่า โจทก์ที่ 4 มิใช่บุตรของ ป. จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และป.เป็นบุตรของผู้ตายที่เกิดจาก บ. เมื่อ ป.ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรของ ป.จึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่ ป.ได้ และเมื่อปรากฏว่าผู้ตายสมรสกับ บ.ก่อนปี2473 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ ป.พ.พ.บรรพ 5 ใช้บังคับ ผู้ตายกับ บ.จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสี่ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย
ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกอาจตกลงตั้งจำเลยซึ่งไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมายเป็นผู้จัดการมรดกได้ โดยไม่จำต้องไปร้องขอให้ศาลแต่งตั้ง การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะดังกล่าวจึงเป็นการครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายทุกคนรวมทั้งโจทก์ด้วย แม้เกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย โจทก์ก็ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ทั้งสี่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกอาจตกลงตั้งจำเลยซึ่งไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมายเป็นผู้จัดการมรดกได้ โดยไม่จำต้องไปร้องขอให้ศาลแต่งตั้ง การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะดังกล่าวจึงเป็นการครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายทุกคนรวมทั้งโจทก์ด้วย แม้เกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย โจทก์ก็ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ทั้งสี่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4720/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกของทายาทโดยธรรม การจัดการมรดกโดยผู้จัดการ และอายุความฟ้องแบ่งมรดก
จำเลยให้การว่า โจทก์มิได้เป็นทายาทของผู้ตายเพราะผู้ตายสมรสกับ บ. หลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันแสดงว่า จำเลยยอมรับว่า บ. เป็นภริยาของผู้ตาย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และ ป. เป็นบุตรซึ่งเกิดจากผู้ตายและ บ. โจทก์ที่ 4 เป็นบุตรของ ป. ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และ ป. ไม่ใช่บุตรที่เกิดจากผู้ตายและ บ. ทั้งมิได้นำสืบหักล้างว่า โจทก์ที่ 4 มิใช่บุตรของ ป. จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และป. เป็นบุตรของผู้ตายที่เกิดจาก บ. เมื่อ ป. ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรของ ป. จึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่ ป. ได้ และเมื่อปรากฏว่าผู้ตายสมรสกับ บ. ก่อนปี2473 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใช้บังคับ ผู้ตายกับบ. จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสี่ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย
ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกอาจตกลงตั้งจำเลยซึ่งไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมายเป็นผู้จัดการมรดกได้ โดยไม่จำต้องไปร้องขอให้ศาลแต่งตั้ง การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะดังกล่าวจึงเป็นการครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายทุกคนรวมทั้งโจทก์ด้วย แม้เกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย โจทก์ก็ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ทั้งสี่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกอาจตกลงตั้งจำเลยซึ่งไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมายเป็นผู้จัดการมรดกได้ โดยไม่จำต้องไปร้องขอให้ศาลแต่งตั้ง การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะดังกล่าวจึงเป็นการครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายทุกคนรวมทั้งโจทก์ด้วย แม้เกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย โจทก์ก็ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ทั้งสี่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกจากพินัยกรรม 2 ฉบับที่มิได้ขัดแย้งกัน ศาลอนุญาตให้ผู้รับตามพินัยกรรมแต่ละฉบับเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก แต่ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมทั้ง 2 ฉบับเป็นทรัพย์คนละส่วนกัน ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องเป็นบุตรคนหนึ่งของผู้ตายและมีสิทธิรับมรดกส่วนหนึ่งของผู้ตายตามสำเนาพินัยกรรมเอกสารท้ายคำร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะทายาทของผู้ตาย เมื่อปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกตามที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องขอ ผู้ร้องจึงใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอตั้งผู้จัดการมรดกได้
การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกส่วนหนึ่ง และฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่ง แต่ข้อกำหนดในพินัยกรรมทั้งสองฉบับมิได้ขัดกัน จึงไม่มีผลทำให้ผู้ร้องถูกเพิกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อผู้ร้องยังคงมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรก ดังนั้น พินัยกรรมของผู้ตายทั้งสองฉบับย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย และเมื่อผู้ตายมีความประสงค์ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้แยกจากกันเช่นนี้ จึงไม่สมควรที่ศาลจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านคนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว จึงให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อจัดการมรดกตามพินัยกรรมแต่ละฉบับตามความประสงค์ของผู้ตาย
การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกส่วนหนึ่ง และฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่ง แต่ข้อกำหนดในพินัยกรรมทั้งสองฉบับมิได้ขัดกัน จึงไม่มีผลทำให้ผู้ร้องถูกเพิกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อผู้ร้องยังคงมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรก ดังนั้น พินัยกรรมของผู้ตายทั้งสองฉบับย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย และเมื่อผู้ตายมีความประสงค์ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้แยกจากกันเช่นนี้ จึงไม่สมควรที่ศาลจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านคนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว จึงให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อจัดการมรดกตามพินัยกรรมแต่ละฉบับตามความประสงค์ของผู้ตาย