พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4222/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สินที่บังคับคดีได้ หากผู้ให้เช่ายินยอม
สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สิน แม้สัญญาเช่าระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่าจะห้ามมิให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าไปยังบุคคลภายนอกโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าก็ไม่ใช่ทรัพย์สินที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมาย เพราะหากผู้ให้เช่ายินยอมโอนกันได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบัญญัติว่าเป็นทรัพย์ที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี สิทธิการเช่าจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยายจากการยินยอมให้ใช้ประโยชน์โดยไม่หวงห้าม
การที่บิดาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมและจำเลย ซึ่งเป็นเจ้าของสืบต่อมายินยอมให้บุคคลทั่วไปใช้ถนนพิพาทเป็นเวลาถึง 20 กว่าปี โดยได้สร้างรั้วคอนกรีตเป็นแนวเขตระหว่างบ้านกับถนนพิพาทมาเป็นเวลา กว่า 20 ปี ตลอดจนมีการเรี่ยไรเงินและการทางซ่อมถนนพิพาทหลายครั้ง ทั้งราชการก็ใช้งบประมาณซื้อลูกรังมาช่วยด้วย โดยที่เจ้าของที่ดินมิได้หวงห้ามหรือสงวนสิทธิ์ย่อมถึงได้ว่าเจ้าของที่ดินได้อุทิศถนนพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยายจากการยินยอมให้ใช้ประโยชน์และการสนับสนุนการซ่อมแซมโดยเจ้าของและหน่วยงาน
การที่บิดาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมและจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของสืบต่อมายินยอมให้บุคคลทั่วไปใช้ถนนพิพาทเป็นเวลาถึง20 กว่าปี โดยได้สร้างรั้วคอนกรีตเป็นแนวเขตระหว่างบ้านกับถนนพิพาทมาเป็นเวลากว่า 20 ปี ตลอดจนมีการเรี่ยไรเงินและการทางซ่อมถนนพิพาทหลายครั้ง ทั้งราชการก็ใช้งบประมาณซื้อลูกรังมาช่วยด้วยโดยที่เจ้าของที่ดินมิได้หวงห้ามหรือสงวนสิทธิ์ย่อมถึงได้ว่าเจ้าของที่ดินได้อุทิศถนนพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3234/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยินยอมการแลกเปลี่ยนที่ดินสินสมรส: ผลผูกพันต่อผู้จัดการมรดก
จำเลยร่วมซึ่งเป็นสามีของ ย. ได้ลงชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน กับทำบันทึกข้อตกลงสามฝ่ายยินยอมให้ ย.โอนกรรมสิทธิในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ ต้องถือว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ ย. แลกเปลี่ยนที่ดินที่เป็นสินสมรสกับโจทก์แล้ว
เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาจะแลกเปลี่ยนระหว่างโจทก์กับ ย.ด้วยการโอนที่ดินของตนให้แก่จำเลยตามข้อตกลงตรงตามความประสงค์ของ ย.แล้ว สัญญาจะแลกเปลี่ยนดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 519ประกอบด้วยมาตรา 456 วรรคสอง จำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย. จึงต้องโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของ ย. ให้แก่โจทก์ตามสัญญา
เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาจะแลกเปลี่ยนระหว่างโจทก์กับ ย.ด้วยการโอนที่ดินของตนให้แก่จำเลยตามข้อตกลงตรงตามความประสงค์ของ ย.แล้ว สัญญาจะแลกเปลี่ยนดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 519ประกอบด้วยมาตรา 456 วรรคสอง จำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย. จึงต้องโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของ ย. ให้แก่โจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3234/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยินยอมแลกเปลี่ยนที่ดินสินสมรส: สัญญาบังคับใช้ได้เมื่อมีการชำระหนี้ตามข้อตกลง
จำเลยร่วมซึ่งเป็นสามีของย. ได้ลงชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน กับทำบันทึกข้อตกลงสามฝ่ายยินยอมให้ ย. โอนกรรมสิทธิในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ ต้องถือว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ ย.แลกเปลี่ยนที่ดินที่เป็นสินสมรถกับโจทก์แล้ว เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติ การชำระหนี้ตามสัญญาจะแลกเปลี่ยนระหว่าง โจทก์กับย. ด้วยการโอนที่ดินของตนให้แก่จำเลยตามข้อตกลงตรงตามความประสงค์ของย. แล้ว สัญญาแลกเปลี่ยนดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 519 ประกอบด้วยมาตรา 456 วรรคสอง จำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของย.จึงต้องโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของย.ให้แก่โจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่าและการยินยอมรับบุตรบุญธรรม
เมื่อบิดามารดาหย่าขาดจากกันโดยตกลงให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของมารดา ดังนั้น บิดาย่อมไม่มีอำนาจปกครองบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520,1566(6) อำนาจปกครองจึงตกแก่มารดาแต่ผู้เดียว มารดาจึงมีอำนาจให้ความยินยอมในการที่บุคคลภายนอกจะรับบุตรผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมได้เพียงลำพังโดยไม่จำต้องใช้สิทธิทางศาลขอให้สั่งอนุญาตแทนบิดาอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สละเงื่อนเวลาชำระค่าเช่าซื้อ การยินยอมของจำเลย และการผิดสัญญาเช่าซื้อ
แม้สัญญาเช่าซื้อจะกำหนดให้โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อเป็นงวดรายเดือน แต่ก็มิได้หมายความว่าโจทก์จะชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดในงวดต่อไปให้แก่จำเลยไม่ได้ การที่โจทก์ขอชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดเป็นกรณีที่โจทก์ยอมสละประโยชน์จากเงื่อนเวลา ซึ่งไม่กระทบกระทั่งถึงประโยชน์ของจำเลยเพราะจำเลยได้รับค่าเช่าซื้อที่บวกดอกเบี้ยเข้าไปด้วยเต็มจำนวนก่อนกำหนดอันเป็นผลดีแก่จำเลยเองนอกจากนี้เมื่อจำเลยได้รับหนังสือขอชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดจากโจทก์ก็มิได้แจ้งสงวนสิทธิในอันที่จะได้รับประโยชน์จากเงื่อนเวลานั้นไว้กลับทำหนังสือบอกเลิกสัญญากับโจทก์โดยที่โจทก์มิได้ผิดข้อตกลงในสัญญาแต่อย่างใด จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นได้ การที่จำเลยไม่รับค่าเช่าซื้อทั้งหมดจากโจทก์และไม่โอนที่ดินให้โจทก์ ทั้งที่สามารถโอนที่ดินให้โจทก์ได้ จำเลยจะอ้างว่ายังไม่ครบกำหนดเวลาผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหาได้ไม่พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนได้พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วสัญญาใช้เงิน-เงื่อนเวลา-การชำระหนี้-การยินยอมชำระหนี้ด้วยตั๋วอื่น-ผลผูกพัน
จำเลยฎีกาว่า จำเลยเป็นตัวแทนรับเงินจากโจทก์จำนวน5 ล้านบาทเพื่อให้บริษัทกู้ เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถให้บริษัทดังกล่าวกู้โดยตรงได้เพราะอยู่ในเครือเดียวกับโจทก์ และกรรมการของโจทก์เป็นบุคคลคนเดียวกับกรรมการของบริษัทดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2510นั้น ในปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นตัวแทนโจทก์ในการให้กู้ยืมเงินดังกล่าว และในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ดังนั้น ข้ออ้างตามฎีกาของจำเลยจึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยออกให้โจทก์ถึงกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถาม ซึ่งมีความหมายว่าทวงถามเมื่อใดก็ต้องใช้เงินทันที แต่โจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันเกี่ยวกับหนี้ของบริษัท ง.ที่มีต่อจำเลยจำนวน 5 ล้านบาทว่า หากจำเลยยังไม่ได้รับชำระหนี้จากบริษัทดังกล่าวจนครบถ้วน โจทก์ก็จะไม่ถอนเงินฝากตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยออกให้โจทก์ หรือจะไม่โอนตั๋วสัญญาใช้เงินหรือสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้แก่บุคคลใด อันเป็นเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้เป็นประโยชน์แก่จำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 154 เดิมดังนั้นเมื่อพิจารณาวันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินประกอบข้อตกลงดังกล่าวข้างต้นแล้ว จึงพอเข้าใจได้ว่าโจทก์จะทวงถามให้จำเลยชำระเงินหรือถอนเงินฝากตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อเมื่อบริษัท ง.ได้ชำระหนี้ให้จำเลยจำนวน 5 ล้านบาทครบถ้วนแล้ว เมื่อปรากฏว่าต่อมาบริษัท ง.ถูกกระทรวงการคลังเพิกถอนใบอนุญาตและถูกฟ้องล้มละลาย ศาลชั้นต้นสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ดังนั้นในทางแพ่งบริษัทดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของตนอีกต่อไป ซึ่งรวมทั้งไม่มีอำนาจชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินแก่จำเลย และจำเลยได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ง.ไปยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับชำระหนี้จากบริษัทดังกล่าวครบถ้วนแล้วหรือไม่ แต่อย่างไรก็ดี ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์เคยมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ย จำเลยมีหนังสือตอบโจทก์ว่า บริษัท ง.ถูกถอนใบอนุญาตไม่สามารถใช้เงินแก่จำเลยได้ เพื่อให้การชำระหนี้เสร็จสิ้นไปด้วยดีจำเลยขอชำระหนี้โจทก์ด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ส. และหากโจทก์ประสงค์จะใช้เงิน จำเลยก็ยินดีรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวไว้ แสดงว่าจำเลยยินยอมชำระหนี้ให้โจทก์เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ส. โดยไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตามข้อตกลงดังกล่าวข้างต้นอีกต่อไปแล้ว ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ตามวันถึงกำหนดใช้เงินในตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ เมื่อโจทก์ทวงถาม
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยออกให้โจทก์ถึงกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถาม ซึ่งมีความหมายว่าทวงถามเมื่อใดก็ต้องใช้เงินทันที แต่โจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันเกี่ยวกับหนี้ของบริษัท ง.ที่มีต่อจำเลยจำนวน 5 ล้านบาทว่า หากจำเลยยังไม่ได้รับชำระหนี้จากบริษัทดังกล่าวจนครบถ้วน โจทก์ก็จะไม่ถอนเงินฝากตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยออกให้โจทก์ หรือจะไม่โอนตั๋วสัญญาใช้เงินหรือสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้แก่บุคคลใด อันเป็นเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้เป็นประโยชน์แก่จำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 154 เดิมดังนั้นเมื่อพิจารณาวันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินประกอบข้อตกลงดังกล่าวข้างต้นแล้ว จึงพอเข้าใจได้ว่าโจทก์จะทวงถามให้จำเลยชำระเงินหรือถอนเงินฝากตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อเมื่อบริษัท ง.ได้ชำระหนี้ให้จำเลยจำนวน 5 ล้านบาทครบถ้วนแล้ว เมื่อปรากฏว่าต่อมาบริษัท ง.ถูกกระทรวงการคลังเพิกถอนใบอนุญาตและถูกฟ้องล้มละลาย ศาลชั้นต้นสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ดังนั้นในทางแพ่งบริษัทดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของตนอีกต่อไป ซึ่งรวมทั้งไม่มีอำนาจชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินแก่จำเลย และจำเลยได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ง.ไปยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับชำระหนี้จากบริษัทดังกล่าวครบถ้วนแล้วหรือไม่ แต่อย่างไรก็ดี ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์เคยมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ย จำเลยมีหนังสือตอบโจทก์ว่า บริษัท ง.ถูกถอนใบอนุญาตไม่สามารถใช้เงินแก่จำเลยได้ เพื่อให้การชำระหนี้เสร็จสิ้นไปด้วยดีจำเลยขอชำระหนี้โจทก์ด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ส. และหากโจทก์ประสงค์จะใช้เงิน จำเลยก็ยินดีรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวไว้ แสดงว่าจำเลยยินยอมชำระหนี้ให้โจทก์เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ส. โดยไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตามข้อตกลงดังกล่าวข้างต้นอีกต่อไปแล้ว ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ตามวันถึงกำหนดใช้เงินในตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ เมื่อโจทก์ทวงถาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในชื่อห้างหุ้นส่วน - การใช้เพียงพยางค์ชื่อไม่ถือเป็นการยินยอมตามกฎหมาย
คำว่า ชื่อ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1081,1082หมายถึง ชื่อตัว ชื่อรอง หรือชื่อสกุล อันเป็นชื่อเต็มของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด มิใช่ส่วนหนึ่งส่วนใดของชื่อหรือเป็นเพียงพยางค์หนึ่งของชื่อ เว้นแต่เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าชื่อบางส่วนหรือพยางค์หนึ่งของชื่อนั้นเป็นคำที่เรียกขานเป็นชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าว จำเลยที่ 4 เพียงแต่ยอมให้ห้างจำเลยที่ 1 ใช้คำว่า "วิ"ซึ่งเป็นพยางค์แรกของชื่อจำเลยที่ 4 ที่ชื่อว่า "วิริยะ"มาระคนเป็นชื่อ ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งว่า คำว่า"วิ" นั้น เป็นที่รู้กันทั่วไปหมายถึงชื่อของจำเลยที่ 4 การกระทำของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวจึงยังไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1081 และมาตรา 1082 วรรคแรกจำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยอื่นรับผิดต่อโจทก์เพราะเหตุที่ได้ยอมให้ใช้คำว่า "วิ" มาระคนเป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การยินยอมรับชำระหนี้เกินกำหนด ทำให้คู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระเป็นข้อสำคัญ
แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดยอมให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลาที่ระบุไว้โจทก์ยินยอมรับไว้โดยไม่ทักท้วงแสดงว่าโจทก์ไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นข้อสำคัญหากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ก่อน หนังสือเตือนให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้และส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ไม่ถือเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 1, ที่ 2 ให้การว่าหลังจากผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อแล้วโจทก์ยังยอมรับชำระหนี้ค่าเช่าซื้ออีก แสดงว่าโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะเลิกสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นข้อสำคัญจึงเป็นการวินิจฉัยตามที่จำเลยที่ 1, ที่ 2ให้การหาเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่