พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันการกระทำของกรรมการชุดเก่าโดยกรรมการชุดใหม่ ย่อมทำให้มติเดิมมีผลใช้ได้ แม้จะผิดระเบียบ
ที่ประชุมใหญ่สามัญของบริษัทได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เป็นกรรมการและลงมติให้คณะกรรมการชุดใหม่ให้สัตยาบันการกระทำของคณะกรรมการชุดเก่าได้ ดังนี้แม้มติที่ประชุมใหญ่วิสามัญซึ่งเรียกประชุมโดยคณะกรรมการชุดเก่าจะผิดระเบียบก็ตาม มติดังกล่าวก็ไม่เสียไปเพราะคณะกรรมการชุดใหม่ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทย่อมมีอำนาจให้สัตยาบันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันกรรมการชุดใหม่ย่อมผูกพันบริษัท แม้มติเดิมจะผิดระเบียบ
ที่ประชุมใหญ่สามัญของบริษัทได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เป็นกรรมการและลงมติให้คณะกรรมการชุดใหม่ให้สัตยาบันการกระทำของคณะกรรมการชุดเก่าได้ ดังนี้ แม้มติที่ประชุมใหญ่วิสามัญซึ่งเรียกประชุมโดยคณะกรรมการชุดเก่าจะผิดระเบียบก็ตาม มติดังกล่าวก็ไม่เสียไปเพราะคณะกรรมการชุดใหม่ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทย่อมมีอำนาจให้สัตยาบันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าอาวาสในการบำรุงรักษาและสั่งการซ่อมแซมวัด ย่อมมีสิทธิยับยั้งการกระทำที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ
เจ้าอาวาสมีหน้าที่ตามกฎหมายในการบำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี ย่อมมีสิทธิที่จะพิเคราะห์สั่งการในการซ่อมวิหารซึ่งชำรุดว่าจะเป็นการสมควรประการใดเมื่อเจ้าอาวาสเห็นว่าการซ่อมแซมควรหันหน้าวิหารและพระประธานไปทางทิศตะวันออก เพื่อให้เป็นแนวเดียวกับโบสถ์ เป็นระเบียบแบบแผนตามแผนผังของคณะสงฆ์ ใครจะอ้างความศรัทธาฝ่าฝืนเข้าซ่อมวิหารโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าอาวาสนั้นมิได้หากยังขัดขืนเข้าซ่อมโดยพลการ เจ้าอาวาสย่อมมีสิทธิยับยั้งขัดขวางไว้โดยไม่เป็นการกระทำละเมิดด้วยการใช้สิทธิอันมีแต่จะเกิดการเสียหายแก่ผู้ใด
การซ่อมวิหารกับการปฏิบัติพิธีกรรมในศาสนาเป็นคนละเรื่องกันใครจะอ้างเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเข้าซ่อมวิหารโดยพลการหาได้ไม่
การซ่อมวิหารกับการปฏิบัติพิธีกรรมในศาสนาเป็นคนละเรื่องกันใครจะอ้างเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเข้าซ่อมวิหารโดยพลการหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยใช้เงินยืมรองจ่ายตามหน้าที่ครบถ้วนสมประโยชน์แล้ว ไม่ต้องคืน แม้ไม่ส่งใบสำคัญ
จำเลยรับราชการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนรัฐบาล ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินของโรงเรียน ได้รับอนุมัติจากทางราชการให้ยืมเงินรองจ่ายมาเพื่อใข้จ่ายดำเนินกิจการของโรงเรียนตามหน้าที่ เมื่อจำเลยได้ใช้จ่ายเงินรองจ่ายที่ได้รับอนุมัตินั้นเพื่อกิจการของโรงเรียนไปหมดสิ้นแล้ว โดยมิได้เบียดบังไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัว ทั้งทางราชการก็ได้ยอมรับเอาผลงานที่จำเลยได้กระทำไปเรียบร้อยสมประโยชน์แล้ว ไม่เกิดความเสียหายอย่างใด แม้จำเลยจะมิได้ส่งใบสำคัญการจ่ายเงินให้ตรวจสอบตามระเบียบของทางราชการก็เป็นเรื่องจะดำเนินการทางวินัย จำเลยไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องคืนหรือชดใข้เงินรองจ่ายที่ยืมมานั้น
เมื่อจำเลยไม่ต้องรับผิดใช้เงินรองจ่ายคืนปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าสิทธิเรียกร้องเงินรองจ่ายคืนขาดอายุความฟ้องร้องแล้วหรือไม่ ย่อมไม่เป็นสารแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
เมื่อจำเลยไม่ต้องรับผิดใช้เงินรองจ่ายคืนปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าสิทธิเรียกร้องเงินรองจ่ายคืนขาดอายุความฟ้องร้องแล้วหรือไม่ ย่อมไม่เป็นสารแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างในกรณีรถร่วม: แม้เจ้าของรถจ่ายเงินเดือน แต่หากอยู่ภายใต้การควบคุมและระเบียบของบริษัทเดินรถ ถือเป็นลูกจ้างของบริษัท
รถยนต์โดยสารเลขทะเบียน ร.บ.00844เป็นของซ. นำมาเดินร่วมกับบริษัทจำเลยในเส้นทางสัมปทาน. รถที่เข้ามาเดินร่วมเช่นนี้ต้องตีเบอร์ ใช้ตรา และทาสีของบริษัทจำเลย.ทั้งรถ คนขับ และคนเก็บตั๋ว ต้องอยู่ในระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลย. บริษัทจำเลยมีสิทธิไล่ออก. ส่วนการจ่ายเงินเดือนให้คนขับและคนเก็บตั๋วเป็นหน้าที่ของเจ้าของรถ. ดังนี้ แม้รถคันนี้จะเป็นของ ซ.แต่ซ. ยินยอมให้บริษัทจำเลยนำมาใช้เดินรับส่งคนโดยสารบนเส้นทางสัมปทานของบริษัทจำเลย ในกิจการของบริษัทจำเลย ในนามและในฐานะที่เป็นรถของบริษัทจำเลย. หาใช่ ซ. นำมาเดินรับส่งคนโดยสารเป็นส่วนตัวไม่. และการที่บริษัทจำเลยคิดค่าธรรมเนียมจาก ซ. ในการนำรถมาเดินร่วม ก็เป็นวิธีการแบ่งผลประโยชน์รายได้ระหว่างกันอย่างหนึ่ง. ได้ชื่อว่าบริษัทจำเลยมีและใช้รถคันนี้อย่างที่เป็นของบริษัทจำเลยในกิจการของบริษัทจำเลยแล้ว โดยบริษัทจำเลยและ ซ. มีผลประโยชน์ร่วมกันในการนี้. การที่ ส. ได้ยินยอมเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ขับรถยนต์รับส่งคนโดยสารในกิจการของบริษัทจำเลย โดยที่ ซ.นำเข้ามา.นับว่าส. มีฐานะเป็นลูกจ้างของบริษัทจำเลยปฏิบัติหน้าที่ขับรถยนต์รับส่งคนโดยสารในทางการที่จำเลยจ้างด้วย. ใครจะเป็นผู้จัดหา ส. มาขับรถไม่สำคัญ. และแม้ ซ.จะเป็นผู้จ่ายเงินเดือนให้ส.ก็เป็นเพียงข้อตกลงภายในระหว่างบริษัทจำเลยกับ ซ. ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกัน และเป็นการปฏิบัติตามระเบียบของบริษัทจำเลยเท่านั้น. ไม่ทำให้การเป็นนายจ้างและลูกจ้างระหว่างบริษัทจำเลยกับ ส.เปลี่ยนแปลงไป.เมื่อส.ปฏิบัติหน้าที่ขับรถในกิจการของบริษัทจำเลย. บริษัทจำเลยย่อมต้องร่วมรับผิดกับ ส.ในผลแห่งละเมิดซึ่งส. กระทำไปนั้นด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าอาวาสในการเพิกถอนตัวแทนจัดการศาสนสมบัติ และการตีความระเบียบการจัดการตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์
คำว่า"พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง" ในมาตรา 26 แห่งสังฆาณัติระเบียบพระคณาธิการ พ.ศ. 2486 ย่อมหมายความรวมถึงพระภิกษุในวัดอื่นด้วย
ระเบียบว่าด้วยการจัดการศาสนสมบัติของวัดตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 จะต้องเป็นระเบียบตามมาตรา 49 ระเบียบเกี่ยวกับการที่วัดต่าง ๆ จะถอนการจัดการดังกล่าวนอกจากไม่ใช่ระเบียบซึ่งมีมาแต่เดิม และยังไม่ใช่ระเบียบที่ได้ตราขึ้นตามมาตรา 49 ดังนี้ การที่วัดโจทก์ถอนกรมการศาสนาจากการเป็นตัวแทนโดยไม่ขออนุมัติคณะสังฆมนตรี ก็เป็นการเพิกถอนที่ใช้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827
ระเบียบว่าด้วยการจัดการศาสนสมบัติของวัดตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 จะต้องเป็นระเบียบตามมาตรา 49 ระเบียบเกี่ยวกับการที่วัดต่าง ๆ จะถอนการจัดการดังกล่าวนอกจากไม่ใช่ระเบียบซึ่งมีมาแต่เดิม และยังไม่ใช่ระเบียบที่ได้ตราขึ้นตามมาตรา 49 ดังนี้ การที่วัดโจทก์ถอนกรมการศาสนาจากการเป็นตัวแทนโดยไม่ขออนุมัติคณะสังฆมนตรี ก็เป็นการเพิกถอนที่ใช้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจควบคุมตัวบุคคลอันธพาลและการปฏิบัติตามระเบียบการสอบสวนของเจ้าพนักงาน
คำสั่งของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 นั้น ถือเป็นกฎหมายให้อำนาจจำเลย(พนักงานสอบสวน) จะควบคุมโจทก์ไว้ทำการสอบสวนได้ 30 วัน การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย(ให้พิจารณาร่วมกับนายอำเภอ) เสียก่อนควบคุมนั้นเป็นเรื่องภายในเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการเท่านั้น หาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่อย่างใดไม่ความประพฤติของโจทก์ที่จำเลยนำสืบก็เป็นพฤติการณ์ที่มีอยู่ก่อนโจทก์ถูกจับในข้อหาฐานพยายามฆ่าคนแล้ว ไม่ใช่จำเลยมาสร้างหลักฐานขึ้นภายหลังการกระทำของจำเลยที่ควบคุมโจทก์ในฐานเป็นบุคคลอันธพาลจึงไม่เป็นผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักลอบนำทรัพย์สินเข้าเรือนจำ: คำฟ้องไม่จำเป็นต้องระบุการฝ่าฝืนระเบียบเฉพาะเจาะจง หากกิริยา 'ลักลอบ' ครอบคลุมความผิดทั้งทางกฎหมายและระเบียบ
ผู้ว่าคดีฟ้องด้วยวาจาว่า " เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2506 เวลากลางวัน จำเลยได้ลักลอบนำธนบัตรเข้าไปในเรือนจำและมีไว้ในครอบครอง 580 บาท ฯลฯ ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 มาตรา 37, 39, 45 วรรค 3 และริบของกลาง ฯลฯ" โดยไม่ได้แจ้งข้อความต่อศาลว่า "เป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับของเรือนจำ" ด้วยนั้น ก็เป็นฟ้องที่ครบบริบูรร์แล้ว เพราะกิริยา "ลักลอบ" หมายถึงการนำธนบัตรเข้าไปในเรือนจำเป็นการกระทำผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับของเรือนจำ อันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดได้ทั้ง 2 กรณี
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 29/2507)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 29/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบ ไม่ถือเป็นความผิดอาญา แม้จะมีการละเว้นตามฟ้อง
ศาลพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ปรกอบกับเอกสารท้ายฟ้องแล้ว เห็นว่า แม้จะเป็นความจริงตามคำฟ้อง จำเลยก็ไม่มีความผิดตามกฎหมาย ศาลพิพากษายกฟ้องได้ โดยไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำมั่นจ่ายเงินรางวัลนำจับฝิ่นตามระเบียบกรมสรรพสามิตเข้าข่ายสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 362 และมีผลผูกพันตามกฎหมาย
ระเบียบการจ่ายเงินรางวัลฝิ่นของกรมสรรพสามิตที่มีข้อความระบุให้ข้าหลวงประจำจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจ ผู้กำกับการตำรวจ นายอำเภอหรือปลัดกิ่งอำเภอ มีอำนาจรับแจ้งความจากผู้ขอรับเงินรางลัลนำจับได้นั้น เมื่อได้ส่งไปยังกรมศุลการกรและกรมตำรวจ จนกระทั่งกรมตำรวจได้ออกแจ้งความต่อไปอีกนั้น ไม่เพียงแต่เป็นระเบียบภายในเท่านั้นแต่เป็นการออกโฆษณาภายนอกซึ่งคำมั่นที่จะจ่ายเงินรางวัลตอบแทนให้แก่ผู้ช่วยเหลือราชการในการจับฝิ่น เข้าลักษณะออกโฆษณาให้คำมั่นจะให้รางวัลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 362 แล้ว
คำมั่นจะให้รางวัลตามระเบียบนี้ ถ้าจะไม่จ่ายเงินรางวัลหรือจ่ายน้อยกว่าระเบียบแล้ว จะต้องมีเหตุผลที่ชอบที่ควร หาใช่ว่าสุดแล้วแต่ใจโดยไม่มีเหตุที่ชอบที่ควรไม่
คำมั่นจะให้รางวัลตามระเบียบนี้ ถ้าจะไม่จ่ายเงินรางวัลหรือจ่ายน้อยกว่าระเบียบแล้ว จะต้องมีเหตุผลที่ชอบที่ควร หาใช่ว่าสุดแล้วแต่ใจโดยไม่มีเหตุที่ชอบที่ควรไม่