พบผลลัพธ์ทั้งหมด 203 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากร การอุทธรณ์ และอำนาจกำหนดราคาตลาดของกรมศุลกากร
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ตรวจสอบราคาสินค้าของโจทก์แล้วมีความเห็นให้เรียกอากรขาเข้ากรมศุลกากรและภาษีการค้าเพิ่มแล้วจำเลยก็ได้มีแบบแจ้งการประเมินอากรขาเข้าและภาษีการค้ารวม10ฉบับแต่ละฉบับได้แจ้งผลการประเมินตามรายการภาษีอากรที่สำแดงภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มแล้วมีรายการแยกรายละเอียดเป็นยอดเงินเพิ่มสำหรับอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไว้กรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา18ประกอบด้วยมาตรา87(2)แล้วหากโจทก์เห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา30เสียก่อนเมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาตามบทกฎหมายดังกล่าวโจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องคดีอันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ กรณีที่ราคาอันแท้จริงของสินค้าในการซื้อขายหลายรายหรือในท้องตลาดหลายแห่งอาจไม่ตรงกันกรณีเช่นนี้ตามมาตรา9แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2503อธิบดีกรมศุลกากรย่อมมีอำนาจกำหนดราคาสินค้าในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยและเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ให้ถือราคานั้นเป็นเกณฑ์ในการประเมินอากรส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่จำเลยกำหนดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเฉพาะเครื่องสำอางโคซี่ที่โจทก์นำเข้าและสำแดงราคาคลาดเคลื่อนเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงไม่ขัดต่อพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2503มาตรา9 (หมายเหตุวรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่7/2529)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นแทนเงิน ต้องมีข้อตกลงราคาตามท้องตลาด มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
หนี้ตามสัญญากู้ยืมที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า ยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งทำให้หนี้นั้นระงับต่อเมื่อตกลงกันให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและสถานที่ส่งมอบ เมื่อไม่ได้ตกลงกันในเรื่องผู้ให้กู้จะยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินกู้ โดยคิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินในเวลาและสถานที่ส่งมอบ แต่กลับมีข้อสัญญาให้ผู้กู้โอนสิทธิการเช่าให้แก่ผู้ให้กู้ตามที่ผู้ให้กู้ต้องการ โดยไม่ต้องคำนึงถึงสิทธิแห่งการเช่านั้นมีราคาเท่าใดข้อตกลงดังกล่าวขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสอง ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาทรัพย์สินที่ถูกลัก จำเป็นต้องมีข้อมูลราคาที่ชัดเจนและพิสูจน์ได้ในท้องตลาด
โจทก์ขอมาท้ายฟ้องว่า ราคาเนื้อกระบือที่จำเลยร่วมกันลักไปมีราคา 8,900 บาท แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าเนื้อกระบือที่ถูกลักไปนั้นมีจำนวน น้ำหนักและราคาในท้องตลาดขณะนั้นเท่าใด คำนวณได้ยอดดังกล่าวมาอย่างไร คงนำสืบเพียงว่าจำเลยคนใดลักเนื้อกระบือส่วนไหนไปเท่านั้น โจทก์จึงนำสืบเรื่องราคาทรัพย์ไว้ไม่สมฟ้องและไม่มีข้อมูลให้ศาลคำนวณเพื่อกำหนดตามราคาอันแท้จริงขึ้นได้ ดังนี้ศาลจึงไม่ต้องกำหนดราคาทรัพย์ซึ่งจำเลยจะต้องใช้ให้แก่เจ้าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 47 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1163/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์ชดเชยที่เป็นธรรม คำนวณจากราคาตลาดและปัจจัยปรับปรุง
ที่ดินโจทก์ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 แม้ในข้อ 25 ของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวจะบัญญัติให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของแต่ก็ให้นำข้อ 24 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น คำว่า "ชดใช้ค่าเสียหาย" ในข้อ 25 ก็คือ "ค่าทำขวัญ" ตามข้อ 24 นั่นเอง
การที่รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินของราษฎรมาให้จำเลยสร้างทางพิเศษนั้น เป็นการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ การที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องจ่ายค่าทำขวัญหรือชดใช้ค่าเสียหายให้กับราษฎร ไม่มีลักษณะเป็นการซื้อขายที่ผู้ถูกเวนคืนที่ดินจะเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายเสมือนหนึ่งว่าเสนอขายต่อเอกชนด้วยกัน เงินค่าทำขวัญหรือเงินชดใช้ค่าเสียหายมิใช่เงินทดแทนความเสียหายตามความจริงโดยสิ้นเชิงแต่เป็นเงินชดเชยที่กำหนดให้โดยคำนึงถึงความจำเป็นของรัฐ ในลักษณะที่เป็นธรรมและเหมาะสมด้วยกันทั้งสองฝ่าย
จำเลยกำหนดเงินชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์โดยอาศัยบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาด เพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในท้องที่เปรียบเทียบกับประกาศราคาปานกลางของที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ โดยถือเอาราคาที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์ในการชดใช้ค่าเสียหาย นับว่าจำเลยได้ใช้หลักเกณฑ์ในลักษณะที่เป็นธรรมและเหมาะสมด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว
การที่รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินของราษฎรมาให้จำเลยสร้างทางพิเศษนั้น เป็นการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ การที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องจ่ายค่าทำขวัญหรือชดใช้ค่าเสียหายให้กับราษฎร ไม่มีลักษณะเป็นการซื้อขายที่ผู้ถูกเวนคืนที่ดินจะเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายเสมือนหนึ่งว่าเสนอขายต่อเอกชนด้วยกัน เงินค่าทำขวัญหรือเงินชดใช้ค่าเสียหายมิใช่เงินทดแทนความเสียหายตามความจริงโดยสิ้นเชิงแต่เป็นเงินชดเชยที่กำหนดให้โดยคำนึงถึงความจำเป็นของรัฐ ในลักษณะที่เป็นธรรมและเหมาะสมด้วยกันทั้งสองฝ่าย
จำเลยกำหนดเงินชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์โดยอาศัยบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาด เพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในท้องที่เปรียบเทียบกับประกาศราคาปานกลางของที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ โดยถือเอาราคาที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์ในการชดใช้ค่าเสียหาย นับว่าจำเลยได้ใช้หลักเกณฑ์ในลักษณะที่เป็นธรรมและเหมาะสมด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์ราคาที่เป็นธรรมและเหมาะสมตามประกาศ คณะปฏิวัติและราคาตลาด
ที่ดินโจทก์ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 แม้ในข้อ 25 ของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวจะบัญญัติให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของแต่ก็ให้นำข้อ 24 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนั้น คำว่า 'ชดใช้ค่าเสียหาย' ในข้อ 25 ก็คือ'ค่าทำขวัญ' ตามข้อ 24 นั่นเอง
การที่รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินของราษฎรมาให้จำเลยสร้างทางพิเศษนั้น. เป็นการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ การที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องจ่ายค่าทำขวัญหรือชดใช้ค่าเสียหายให้กับราษฎร ไม่มีลักษณะเป็นการซื้อขายที่ผู้ถูกเวนคืนที่ดินจะเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายเสมือนหนึ่งว่าเสนอขายต่อเอกชนด้วยกัน เงินค่าทำขวัญหรือเงินชดใช้ค่าเสียหายมิใช่เงินทดแทนความเสียหายตามความจริงโดยสิ้นเชิง แต่เป็นเงินชดเชยที่กำหนดให้โดยคำนึงถึงความจำเป็นของรัฐ ในลักษณะที่เป็นธรรมและเหมาะสมด้วยกันทั้งสองฝ่าย
จำเลยกำหนดเงินชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์โดยอาศัยบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาด เพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในท้องที่เปรียบเทียบกับประกาศราคาปานกลางของที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ โดยถือเอาราคาที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์ในการชดใช้ค่าเสียหาย นับว่าจำเลยได้ใช้หลักเกณฑ์ในลักษณะที่เป็นธรรมและเหมาะสมด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว
การที่รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินของราษฎรมาให้จำเลยสร้างทางพิเศษนั้น. เป็นการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ การที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าหน้าที่ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องจ่ายค่าทำขวัญหรือชดใช้ค่าเสียหายให้กับราษฎร ไม่มีลักษณะเป็นการซื้อขายที่ผู้ถูกเวนคืนที่ดินจะเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายเสมือนหนึ่งว่าเสนอขายต่อเอกชนด้วยกัน เงินค่าทำขวัญหรือเงินชดใช้ค่าเสียหายมิใช่เงินทดแทนความเสียหายตามความจริงโดยสิ้นเชิง แต่เป็นเงินชดเชยที่กำหนดให้โดยคำนึงถึงความจำเป็นของรัฐ ในลักษณะที่เป็นธรรมและเหมาะสมด้วยกันทั้งสองฝ่าย
จำเลยกำหนดเงินชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์โดยอาศัยบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาด เพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในท้องที่เปรียบเทียบกับประกาศราคาปานกลางของที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ โดยถือเอาราคาที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์ในการชดใช้ค่าเสียหาย นับว่าจำเลยได้ใช้หลักเกณฑ์ในลักษณะที่เป็นธรรมและเหมาะสมด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3483/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคาตามราคาตลาด และอำนาจการจ่ายค่าทดแทน
ที่ดินของโจทก์อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินของโจทก์ตามราคาปานกลางที่กรมที่ดินประเมินเพื่อให้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นการไม่ชอบเพราะประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 23 ระบุให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลมคือ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 76 ซึ่งให้กำหนดราคาค่าทดแทนทรัพย์สินเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ
จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนราคาทรัพย์สินของโจทก์ไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง แต่ไม่ยอมให้โจทก์รับเงินทั้งหมดไปในคราวเดียว โดยกำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินไว้ อ้างว่ามีอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ไม่ได้ เพราะประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางพิเศษ ได้บัญญัติถึงอำนาจของเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้โดยตรงแล้ว ไม่จำต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลม
จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนราคาทรัพย์สินของโจทก์ไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง แต่ไม่ยอมให้โจทก์รับเงินทั้งหมดไปในคราวเดียว โดยกำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินไว้ อ้างว่ามีอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ไม่ได้ เพราะประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางพิเศษ ได้บัญญัติถึงอำนาจของเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้โดยตรงแล้ว ไม่จำต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3483/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาค่าทดแทนต้องเป็นราคาตลาดตามประกาศคณะปฏิวัติ ไม่ใช่ราคาประเมินกรมที่ดิน และเจ้าหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนทั้งหมด
ที่ดินของโจทก์อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินของโจทก์ตามราคาปานกลางที่กรมที่ดินประเมินเพื่อให้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นการไม่ชอบเพราะประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่27 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 23 ระบุให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลมคือ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 76 ซึ่งให้กำหนดราคาค่าทดแทนทรัพย์สินเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ
จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนราคาทรัพย์สินของโจทก์ไปวางณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง แต่ไม่ยอมให้โจทก์รับเงินทั้งหมดไปในคราวเดียว โดยกำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินไว้ อ้างว่ามีอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่28 พฤศจิกายน 2515 ไม่ได้ เพราะประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางพิเศษ ได้บัญญัติถึงอำนาจของเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้โดยตรงแล้ว ไม่จำต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลม
จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนราคาทรัพย์สินของโจทก์ไปวางณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง แต่ไม่ยอมให้โจทก์รับเงินทั้งหมดไปในคราวเดียว โดยกำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินไว้ อ้างว่ามีอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่28 พฤศจิกายน 2515 ไม่ได้ เพราะประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางพิเศษ ได้บัญญัติถึงอำนาจของเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้โดยตรงแล้ว ไม่จำต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าจากมูลค่าสินค้าที่นำเข้าและโอนขาย การกำหนดราคาตลาด และอำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับ
โจทก์โอนขายสินค้าที่โจทก์ได้รับยกเว้นภาษีการค้า ขณะที่นำเข้าตามมาตรา 79 ตรี (11) แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าตามมูลค่าของสินค้าดังกล่าวในวันโอนขาย ตามมาตรา 79 ทวิ (4) และมาตรา 84 แต่กฎหมายมิได้บัญญัติกฎเกณฑ์ในการคำนวณมูลค่าของสินค้าไว้ คงมีบัญญัติไว้ในมาตรา 78 ทวิ (6) เพียงว่าให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดราคาทรัพย์สินตามราคาตลาดในวันโอน เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 7)เรื่องให้ใช้เกณฑ์คำนวณเพื่อกำหนดมูลค่าของสินค้าที่นำเข้าในราชอาณาจักรเป็นรายรับ (ราคาซี.ไอ.เอฟ.บวกด้วยค่าอากรขาเข้าและกำไรมาตรฐาน) มาใช้เทียบเคียงในการคำนวณมูลค่าสินค้าของโจทก์โดยเอาราคาซี.ไอ.เอฟ.บวกด้วยค่าอากรขาเข้า แล้วหักค่าเสื่อมราคาให้ได้ผลลัพธ์เท่าใดถือเป็นมูลค่าของสินค้าหรือราคาตลาดของสินค้าในวันโอนแต่ไม่ได้เอากำไรมาตรฐานบวกเข้าไปด้วยการที่ไม่ได้เอากำไรมาตรฐานบวกเข้าด้วยนั้น ทำให้มูลค่าของสินค้าของโจทก์ถูกลง การคำนวณภาษีย่อมลดลงไปด้วยซึ่งเป็นผลดีแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่ได้ รับความเสียหายเพราะเหตุนี้ ดังนั้น โจทก์จะอ้างว่าการประเมินไม่ชอบเพราะเหตุดังกล่าวไม่ได้
ปัญหาว่าศาลควรงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์หรือไม่ เป็นคนละกรณีกับปัญหาตามที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่อ้างว่าประเมินโดยไม่ชอบดังนั้น ถ้าโจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มด้วยโจทก์ก็ชอบที่จะมีคำขอมาท้ายฟ้องเมื่อโจทก์ไม่ได้มีคำขอในข้อนี้มาด้วยศาลก็ไม่มีอำนาจพิพากษาให้เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำขอท้ายฟ้อง เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
ปัญหาว่าศาลควรงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์หรือไม่ เป็นคนละกรณีกับปัญหาตามที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่อ้างว่าประเมินโดยไม่ชอบดังนั้น ถ้าโจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มด้วยโจทก์ก็ชอบที่จะมีคำขอมาท้ายฟ้องเมื่อโจทก์ไม่ได้มีคำขอในข้อนี้มาด้วยศาลก็ไม่มีอำนาจพิพากษาให้เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำขอท้ายฟ้อง เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2559/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินที่ไม่คำนึงถึงราคาตลาดเป็นโมฆะ ผู้กู้ต้องใช้เงินตามสัญญา
การที่ผู้ให้กู้และผู้กู้ตกลงกันในสัญญากู้ยืมเงินว่าผู้ให้กู้ยินยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นชำระแทนจำนวนเงิน โดยไม่คำนึงถึงราคาท้องตลาดแห่งทรัพย์สินหรือสิ่งของในเวลาและสถานที่ที่ส่งมอบนั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการขัดต่อมาตรา 656 วรรคสอง จึงตกเป็นโมฆะ ผู้กู้ต้องใช้เงินตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณราคาตลาดขายส่งน้ำมันโดยวิธีส่วนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร และการชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่ม
การคำนวณราคาตลาดขายสิ่งที่มีการขายให้แก่ผู้ขายปลีกสำหรับสินค้าที่เป็นน้ำมัน น้ำมันเบนซิน ฯลฯ ให้คำนวณโดยวิธีส่วนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักจากราคาขายส่งที่มีการขายให้แก่ผู้ขายปลีก ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่ 8) เรื่องให้ใช้เกณฑ์คำนวณราคาตลาดเป็นมูลค่าของสินค้าข้อ1(ค) นั้น คำว่า "ราคาขายส่งที่มีการขายให้แก่ผู้ขายปลีก" หมายความว่า ราคาขายส่งในช่วงสุดท้ายให้แก่ผู้ขายปลีกซึ่งจะจำหน่ายปลีกแก่ผู้บริโภคโดยตรง เมื่อปรากฏว่าน้ำมันที่องค์การเชื้อเพลิงซื้อจากโจทก์องค์การเชื้อเพลิงได้ขายบางส่วนให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และขายปลีกให้ประชาชน กับขายส่งให้แก่ตัวแทนคือปั๊มน้ำมันสามทหารซึ่งเป็นของเอกชน ซึ่งขายปลีกให้แก่ประชาชนทั่วไปอีกทีหนึ่งราคาน้ำมันที่องค์การเชื้อเพลิงขายก็แตกต่างกัน แสดงว่าราคาตลาดขายส่งที่มีการขายให้แก่ผู้ขายปลีกเฉพาะที่โจทก์ขายให้แก่องค์การเชื้อเพลิงจึงมิใช่มีเพียงราคาเดียว แต่มี 2 ราคาคือ (1) ราคาขายส่งที่โจทก์ขายให้แก่องค์การเชื้อเพลิงแล้วองค์การเชื้อเพลิงขายปลีกให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและประชาชน (2) ราคาขายส่งที่องค์การเชื้อเพลิงในฐานะผู้ขายส่งตามสัญญาระหว่างโจทก์กับองค์การเชื้อเพลิงขายให้แก่ตัวแทน คือปั๊มน้ำมันสามทหารเพื่อขายปลีกให้แก่ประชาชน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของจำเลยคำนวณราคาตลาดขายส่งน้ำมันของโจทก์โดยนำจำนวนเงินที่โจทก์ขายส่งให้แก่องค์การเชื้อเพลิงทั้งสองราคาดังกล่าวมาบวกกันแล้วหารด้วยปริมาณน้ำมันที่ขายส่งดังกล่าว ผลลัพธ์ที่ได้เป็นราคาตลาดโดยวิธีส่วนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักต่อลิตร จึงเป็นการคำนวณราคาตลาดโดยวิธีส่วนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ชอบด้วยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 8) ดังกล่าว
โจทก์มีหน้าที่จะต้องชำระภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86ทวิ ถ้าโจทก์ไม่ชำระภายในเวลาดังกล่าว โจทก์ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 89 ทวิ ดังนั้น การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ จึงเป็นเพียงการแจ้งยืนยันตามแบบแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน หาใช่เป็นการประเมินภาษีในฐานะเจ้าพนักงานประเมินไม่
โจทก์มีหน้าที่จะต้องชำระภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86ทวิ ถ้าโจทก์ไม่ชำระภายในเวลาดังกล่าว โจทก์ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 89 ทวิ ดังนั้น การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ จึงเป็นเพียงการแจ้งยืนยันตามแบบแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน หาใช่เป็นการประเมินภาษีในฐานะเจ้าพนักงานประเมินไม่