คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รื้อถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4672/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจศาลในการบังคับรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และความรับผิดของผู้ก่อสร้าง
บทบัญญัติตามมาตรา 42 วรรคสามแห่ง พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯมิได้บังคับเป็นการเด็ดขาดว่า ศาลจะต้องให้เจ้าของอาคารร่วมรับผิดในการรื้อถอนเสมอไปแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจตามควรแก่กรณีว่าสมควรจะให้ผู้ใดเป็นผู้รับผิดในการรื้อถอน เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารมิได้ยินยอมอนุญาตให้มีการปลูกสร้างอาคารโรงจอดรถที่ต้องถูกรื้อถอน ทั้งเป็นผู้มาแจ้งให้เจ้าพนักงานทราบถึงการปลูกสร้างที่ผิดแบบ จึงไม่สมควรให้จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในการรื้อถอนด้วย ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการปลูกสร้างอาคารดังกล่าวต้องรับผิดในการรื้อถอน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลต้องบังคับรื้อถอนตามกฎหมาย
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารฯข้อ 76(4) ระบุว่า การก่อสร้างอาคารตึกแถว ห้องแถวต้องมีที่ว่างด้านหลังอาคารไม่น้อยกว่า 2 เมตร เมื่อจำเลยต่อเติมดัดแปลงอาคารปกคลุมที่ว่างด้านหลังอาคารเดิมทำให้ไม่มีที่ว่างด้านหลังอาคารเดิมเหลืออยู่ อีกทั้งจำเลยต่อเติมดัดแปลงไปโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย และอาคารที่ดัดแปลงแล้วนั้นไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 42 วรรคแรก และวรรคสาม กรณีการต่อเติมดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับอนุญาตและเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้นั้นพระราชบัญญัติคุมคุมอาคารฯ มาตรา 42 มิได้ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งให้รื้อถอนเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือไม่ก็ได้เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนศาลจำต้องบังคับให้มีการรื้อถอนอาคารที่ผิดกฎหมายนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และอำนาจการสั่งรื้อถอนของเจ้าพนักงานท้องถิ่น แม้เกิน 30 วัน
จำเลยก่อสร้างต่อเติมอาคารพิพาทโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯและฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารฯและการกระทำของจำเลยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทได้ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯมาตรา 42 วรรคหนึ่ง มิใช่มีอำนาจเพียงสั่งให้จำเลยยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องตามมาตรา 43 เท่านั้น แม้ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 40 วรรคสอง จะได้กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารโดยมิชักช้าและต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารก็ตาม แต่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทที่ออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า 30 วัน ก็ไม่ทำให้อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการที่จะสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทที่ต่อเติมดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงให้ถูกต้องนั้นหมดไปโจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาทเมื่อโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ทำการรื้อถอนอาคารพิพาทแล้วย่อมถือได้ว่าได้มีคำสั่งแจ้งให้เจ้าของที่ดินและอาคารพิพาททราบโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้เจ้าของร่วมทุกคนทราบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร ศาลยืนคำพิพากษาให้รื้อถอน
จำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างต่อเติมอาคารจาก 3 ชั้นเป็น 5 ชั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีทางเดินหลังอาคารและแนวอาคารไม่ร่นหลบแนวเขตถนน จึงเป็นการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคหนึ่งพระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคสองกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารโดยมิชักช้าและต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างแต่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า 30 วัน ก็ไม่ทำให้อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงให้ถูกต้องหมดไป โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ทำการรื้อถอน ย่อมถือว่าได้มีคำสั่งแจ้งให้เจ้าของที่ดินและอาคารดังกล่าวทราบโดยไม่ต้องแจ้งเจ้าของร่วมทุกคนทราบ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดควบคุมอาคาร: การปรับรายวันและการเริ่มนับระยะเวลาปรับเมื่อฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอน
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกข้อความแห่งคำฟ้องด้วยวาจาไว้เป็นหลักฐาน หาจำต้องบันทึกไว้โดยละเอียดไม่ และก่อนบันทึกศาลอาจสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำความผิด แต่บันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วยวาจา ศาลบันทึกข้อความแห่งคำฟ้องได้ความว่า ระหว่างวันที่ 30เมษายน 2528 เวลากลางคืน ถึงวันที่ 3 เมษายน 2529 เวลากลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารได้ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต แม้ไม่ปรากฏว่ามีคำสั่งจากเจ้าพนักงานให้จำเลยทราบว่าก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนหรือให้จัดการแก้ไข จำเลยก็ยังคงฝ่าฝืนตลอดเวลา เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาตามฟ้องแล้ว หาทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งฉบับแรกให้จำเลยรื้อถอนการก่อสร้างที่ผิดจากแบบแปลนภายใน 30 วัน จำเลยทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2529 ครบกำหนด 30 วัน วันที่ 26 เมษายน 2529แต่จำเลยมิได้ดำเนินการ ถือว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารผิดแบบและขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร ศาลยืนรื้อถอน แม้โครงสร้างแข็งแรง
ตามแผนผังและแบบแปลนที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ซ่อมแซมและดัดแปลงอาคารพิพาทนั้นได้ระบุใช้โครงสร้างเดิมซึ่งเป็นไม้ แต่ในการดำเนินการ จำเลยกลับรื้ออาคารหลังเดิมทั้งหมด แล้วก่อสร้างใหม่ทั้งหลัง โดยใช้โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาบ้านก็ก่อสร้างขึ้นใหม่ทุกต้นพร้อมกับขยายความกว้างของตัวอาคารออกไปอีก จึงเป็นการก่อสร้างผิดไปจากแผนผังและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 และเป็นการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นตามแบบแปลนที่จำเลยให้วิศวกรเขียนขึ้นใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 21 อีกด้วย
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า แนวอาคารด้านทิศเหนือและทิศใต้ห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะไม่ถึงด้านละ 3 เมตร เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 32 วรรคแรก และหากจะให้แนวอาคารร่นระยะห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะด้านทิศเหนือกับด้าน ทิศใต้เข้ามาให้ได้ด้านละ 3 เมตร ที่ดินของจำเลยจะเหลือความยาวสำหรับก่อสร้างอาคารเพียง 6.80 เมตรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าที่ดินจำเลยมีเนื้อที่ไม่พอที่จะขออนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใหม่ได้ ทั้งอาคารที่จำเลยก่อสร้างใหม่นี้เป็นอาคารที่พักอาศัยไม่มีที่ว่างเหลือ 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวข้อ 76 อีก อาคารของจำเลยจึงไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารดังกล่าว แม้อาคารดังกล่าวจะมีความมั่งคงแข็งแรงก็ถือได้ว่ามีเหตุสมควรจะต้องรื้อถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร ทำให้ต้องรื้อถอน แม้จะมีความมั่นคงแข็งแรง
ตาม แผนผังและแบบแปลนที่จำเลยได้ รับอนุญาตให้ซ่อมแซมและ ดัดแปลงอาคารพิพาทได้ ระบุให้ใช้ โครงสร้างเดิม ซึ่ง เป็นไม้แต่ จำเลยกลับรื้ออาคารหลังเดิม ออกทั้งหมด แล้วก่อสร้างอาคารใหม่ ขึ้นทั้งหลังโดย ใช้ โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาบ้านก็ก่อสร้างขึ้นใหม่ทุกต้น พร้อมกับขยาย ความกว้างของตัว อาคารออกไปอีก เป็นการก่อสร้างผิดไปจากแผนผังและแบบแปลนที่ได้ รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 31และเป็นการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นตาม แบบแปลนที่จำเลยให้วิศวกรเขียนขึ้นใหม่และมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 21 ด้วย นอกจากนั้น แนวอาคารหลังใหม่ด้าน ทิศเหนือห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะเพียง 1.35 เมตรและห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะด้าน ทิศใต้เพียง 1.25 เมตรไม่ถึงด้าน ละ 3 เมตร เป็นการขัดต่อ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ข้อ 72 วรรคแรก ที่ดินของจำเลยมีเนื้อที่ไม่พอที่จะขออนุญาตก่อสร้างอาคารใหม่ได้ ทั้งอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นใหม่เป็นอาคารที่พักอาศัยไม่มีที่ว่างเหลือ 30 ใน100 ส่วนของพื้นที่ เป็นการขัดต่อ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวข้อ 76 อีก อาคารของจำเลยจึงไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้อง ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ ดังนี้ การที่ เจ้าพนักงาน ท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารดังกล่าว แม้ อาคารนั้นมีความมั่นคงแข็งแรงก็ถือ ได้ ว่ามีเหตุผลสมควรที่จะต้อง รื้อถอน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารผิดแบบและขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลยืนรื้อถอนได้ แม้มีความมั่นคง
ตามแผนผังและแบบแปลนที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ซ่อมแซมและดัดแปลงอาคารพิพาทได้ระบุให้ใช้โครงสร้างเดิมซึ่งเป็นไม้แต่จำเลยกลับรื้ออาคารหลังเดิมทั้งหมดแล้วก่อสร้างใหม่ทั้งหลังโดยใช้โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาบ้านก็ก่อสร้างขึ้นใหม่ทุกต้นพร้อมกับขยายความกว้างของตัวอาคารออกไปอีก จึงเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 และเป็นการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นตามแบบแปลนที่จำเลยให้วิศวกรเขียนขึ้นใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 21 อีกด้วยและแนวอาคารด้านทิศเหนือและทิศใต้ห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะไม่ถึงด้านละ 3 เมตร เป็นการขัด ต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 72วรรคแรก หากจะให้แนวอาคารร่นระยะห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะด้านทิศเหนือกับด้านทิศใต้เข้ามาให้ได้ด้านละ 3 เมตร ที่ดินของจำเลยจะเหลือความยาวสำหรับก่อสร้างอาคารเพียง 6.80 เมตรเท่านั้นเมื่อที่ดินจำเลยมีเนื้อที่ไม่พอที่จะขออนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใหม่ได้ ทั้งอาคารที่จำเลยก่อสร้างใหม่นี้เป็นอาคารที่พักอาศัยไม่มีที่ว่างเหลือ 30 ใน 100 ส่วน ของพื้นที่เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวข้อ 76 อาคารของจำเลยจึงไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารดังกล่าวแม้จะมีความมั่นคงแข็งแรงก็ถือได้ว่ามีเหตุผลสมควรจะต้องรื้อถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลพิพากษาสั่งรื้อถอนได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ต่อเติมดัดแปลงตึกแถวด้านหลังออกไปกว้าง 2.50 เมตร ยาว 6.50 เมตร อันเป็นการสร้างเชื่อมปิดคลุมทางเดินด้านหลังอาคารต่อจากอาคารด้านหลังไปถึงรั้วหลังอาคารทั้งสองด้าน และมุงหลังคากระเบื้อง โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯมาตรา 22 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการควบคุมการก่อสร้างอาคารข้อ 76 จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยได้ทำการต่อเติมดัดแปลงอาคารในส่วนด้านหลังของอาคารจริง แต่มิได้ทำเชื่อมปิดคลุมทางเดินด้านหลังอาคารตามฟ้อง คำให้การของจำเลยเท่ากับยอมรับว่าฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมฯ มาตรา 22 แต่จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ต่อเติมอาคารด้านหลังเป็นแนวไปถึงรั้วหลังอาคารทั้งสองด้านและมุงหลังคากระเบื้องตามฟ้องเท่ากับจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวตามฟ้อง มีผลเป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องการควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ข้อ 76(4) ซึ่งบัญญัติให้อาคารตึกแถวดังกล่าวต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดทรัพย์สิน: ค่าเสียหายจำกัดเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ไม่รวมค่ารื้อถอน
การกระทำละเมิดต่อทรัพย์สินของผู้อื่น ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 เมื่อจำเลยกระทำละเมิดทำให้ตอม่อสะพานของโจทก์เสียหาย จำเลยก็ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในการกระทำดังกล่าวเท่านั้น โจทก์จะให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการรื้อสะพานนั้นหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 40