คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกหนี้ร่วม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 224 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 554/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เบิกเงินเกินบัญชี, ดอกเบี้ยทบต้น, อายุความฟ้องเรียกต้นเงิน, ลูกหนี้ร่วม, การเลิกสัญญา
ในกรณีที่ธนาคารโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ให้ร่วมกันใช้หนี้เบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การขาดนัดพิจารณาและมิได้อุทธรณ์ฎีกานั้น เมื่อมูลกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้ของลูกหนี้ร่วมอันไม่อาจแบ่งแยกได้ และศาลฎีกาเห็นว่าศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสามร่วมกันเสียดอกเบี้ยทบต้นไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาก็ย่อมให้คำพิพากษาที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยทบต้นมีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) และมาตรา 247
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารโจทก์โดยมีข้อตกลงว่าหากจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงิน และเงินมีไม่พอจ่ายก็ให้ธนาคารโจทก์ถือจ่ายไปตามคำสั่ง เป็นเงินเท่าใดให้ถือว่ายอดเงินที่จ่ายเกินนั้นเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชี โดยจำเลยยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน ดังนั้น ระหว่างระยะเวลาที่จำเลยเบิกเงินเกินบัญชี จนถึงวันที่ธนาคารโจทก์ทวงถามและถือว่าจำเลยผิดนัดนั้น ดอกเบี้ยทบต้นที่ธนาคารโจทก์คิดเอากับจำเลยตามข้อตกลงจึงกลายเป็นต้นเงิน ฉะนั้น ในกรณีที่ธนาคารโจทก์ฟ้องเรียกเงินดอกเบี้ยจากจำเลยก่อนผิดนัดจึงเป็นเรื่องฟ้องเรียกต้นเงิน ไม่ใช่เรียกดอกเบี้ยค้างส่ง (ต้องใช้อายุความตาม มาตรา 164แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาใช่ตามมาตรา 166 ไม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11161/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์: ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหมายถึงผู้ถูกยึดทรัพย์ในคดีนั้น ไม่รวมถึงลูกหนี้ร่วมในคดีอื่น
ความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคสองที่ว่า ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำขอเฉลี่ยทรัพย์ เว้นแต่ศาลเห็นว่าผู้ยื่นคำขอไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่นๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา นั้น คำว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาในที่นี้หมายความถึงลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ถูกยึดทรัพย์สินอยู่ในคดีนี้ ถ้าไม่มีทรัพย์สินอื่นอีก ผู้ขอก็ขอเฉลี่ยจากเงินที่ขายทรัพย์ได้ หาได้หมายความถึงลูกหนี้ตามคำพิพากษาคนอื่นในคดีที่ผู้ขอเฉลี่ยชนะคดีไม่ (อ้างฎีกาที่ 176/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การยึดทรัพย์จำนองโดยไม่ต้องบังคับคดีกับลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 ผู้กู้ และจำเลยที่ 2 ผู้จำนองค้ำประกันเงินกู้นั้น ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลให้ไว้ต่อโจทก์ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินโจทก์ ถ้าผิดสัญญาประนีประนอมนั้น ยอมให้โจทก์ยึดที่ดินที่จำนองค้ำประกันขายทอดตลาดได้ เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัด โจทก์ย่อมยึดที่ดินนั้นขายทอดตลาดได้โดยไม่ต้องบังคับคดีเอากับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สลักหลังเช็คมีฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้สั่งจ่ายเมื่อเช็คไม่สามารถเรียกเก็บได้
จำเลยที่ 1 ออกเช็คให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ จำเลยที่ 3 เป็นผู้สลักหลัง เมื่อเช็คถึงกำหนดและโจทก์นำไปเข้าบัญชี แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 967 จำเลยที่ 3 จึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 มิได้มีฐานะเป็นผู้ค้ำประกัน จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 700 และ 948 มาบังคับไม่ได้(อ้างฎีกาที่ 1034/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1188/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการให้การเท็จต่อคณะกรรมการสอบสวน และการแบ่งแยกความรับผิดของลูกหนี้ร่วม
จำเลยกล่าวอ้างไว้แจ้งชัดในอุทธรณ์และในศาลชั้นต้นจำเลยก็ให้การ ว่าไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ พออนุโลมได้ว่าจำเลยได้ยกความข้อที่ว่าจำเลยไม่ควรร่วมกันแทนกันรับผิดต่อโจทก์ขึ้นอ้างอิงแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 ประกอบกับมาตรา 247
ในคดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ โดยจำเลยให้การหรือแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ทำให้โจทก์ต้องออกจากตำแหน่ง แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนโจทก์เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2504 ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ปีเดียวกัน จำเลยต่างคนต่างให้การอ้างว่ารู้เห็นในหน้าที่ของตน จึงไม่มีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ทั้งตามฟ้องของโจทก์ก็ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกัน จึงไม่ควรที่จะให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ร่วมกันหรือแทนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักล้างเอกสารสัญญากู้ด้วยพยานบุคคล และการไม่อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมจากความสัมพันธ์ที่ไม่จดทะเบียนสมรส
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ จำเลยสู้ว่าเพียงแต่ลงลายมือชื่อให้ไว้ในสัญญาเฉยๆ และกู้เงินเพียง 200บาท แต่โจทก์ไปกรอกจำนวนเงินเป็น 9,000 บาท ซึ่งเป็นความเท็จ สัญญากู้เป็นเอกสารปลอม ดังนี้ ย่อมรับฟังพยานบุคคลได้ เพราะเป็นการนำสืบหักล้างเอกสารที่ไม่ถูกต้อง และไม่จำต้องมีพยานเอกสารมาสืบหักล้าง
สามีภรรยามิได้จดทะเบียนตามกฎหมาย อยู่ร่วมเรือนเดียวกัน สามีไปกู้เงินมาแต่ไม่ได้ความชัดว่าเงินที่กู้ได้นำไปใช้ในกิจการอันใดแน่ ผู้ให้กู้ว่าให้กู้เพราะสามีนั้นเป็นลุง และเชื่อหลักฐานของสามีจึงเป็นเรื่องส่วนตัวของสามี ภรรยาไม่อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของทนายความ, อายุความ 2 ปี, ลูกหนี้ร่วม, การยกอายุความ, การชำระหนี้
การจ้างว่าความไม่ใช่เป็นสัญญาจ้างแรงงาน แต่เป็นสัญญาจ้างทำของ
สิทธิเรียกร้องที่หมอความหรือทนายความจะเรียกเอาค่าธรรมเนียมและค่าที่ได้ออกทดรองไป มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (15)
จำเลยให้การเพียงว่า "คดีของโจทก์ขาดอายุความ" ถือว่าจำเลยได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว ไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องกล่าวให้แจ้งชัดในคำให้การว่ากำหนดอายุความให้เริ่มต้นนับตั้งแต่เมื่อใด
การเป็นทนายความว่าความให้จำเลยตลอดทั้งสามศาล ตามธรรมดา ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้ให้ทนายความเป็นผู้ดำเนินการในการบังคับคดีด้วยแล้ว หน้าที่ของทนายความเป็นผู้ดำเนินการในการบังคับคดีด้วยแล้ว หน้าที่ของทนายก็จะต้องสิ้นสุดลงในเมื่อคำพิพากษาของศาลถึงที่สุด และต้องถือว่าตัวความได้รับมอบการที่ทำของทนายความในเมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น เมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดชั้นฎีกา กำหนดอายุความเรียกร้องสินจ้างของทนายความก็ย่อมเริ่มนับแต่วันศาลฎีกาพิพากษา
จำเลยหลายคนเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ แต่จำเลยคนหนึ่งแต่ผู้เดียวเป็นผู้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ศาลจะนำการยกอายุความขึ้นต่อสู้ของจำเลยผู้นั้นมาเป็นมูลฟ้องคดีสำหรับจำเลยอื่นที่ไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ vs. จ้างแรงงาน, อายุความทนาย, ลูกหนี้ร่วม, การยกอายุความ
การจ้างว่าความไม่ใช่เป็นสัญญาจ้างแรงงานแต่เป็นสัญญาจ้างทำของ
สิทธิเรียกร้องที่หมอความหรือทนายความจะเรียกเอาค่าธรรมเนียมและค่าที่ได้ออกทดรองไป มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(15)
จำเลยให้การเพียงว่า 'คดีของโจทก์ขาดอายุความ' ถือว่าจำเลยได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้วไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องกล่าวให้แจ้งชัดในคำให้การว่ากำหนดอายุความให้เริ่มต้นนับตั้งแต่เมื่อใด
การเป็นทนายความว่าความให้จำเลยตลอดทั้งสามศาลตามธรรมดา ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้ให้ทนายความเป็นผู้ดำเนินการในการบังคับคดีด้วยแล้วหน้าที่ของทนายก็จะต้องสิ้นสุดลงในเมื่อมีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดและต้องถือว่าตัวความได้รับมอบการที่ทำของทนายความในเมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น เมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดชั้นฎีกากำหนดอายุความเรียกร้องสินจ้างของทนายความก็ย่อมเริ่มนับแต่วันศาลฎีกาพิพากษา
จำเลยหลายคนเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ แต่จำเลยคนหนึ่งแต่ผู้เดียวเป็นผู้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ศาลจะนำการยกอายุความขึ้นต่อสู้ของจำเลยผู้นั้นมาเป็นมูลยกฟ้องคดีสำหรับจำเลยอื่นที่ไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้, สัญญาค้ำประกัน, การรับสภาพหนี้, ลูกหนี้ร่วม, อายุความมรดก, และการคิดดอกเบี้ย
กรณีลูกหนี้ของธนาคารทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีได้ใช้แก่ธนาคารในวงเงินที่กำหนดไว้และมีระยะเวลาที่ 2 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ส่วนจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไปนั้น กำหนดให้ถือตามบัญชีกระแสรายวันของธนาคาร แล้วมีผู้ค้ำประกันเข้าทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวนั้นจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ดังนี้ คำว่า "เบิกเงินเกินบัญชี" ย่อม+ความเป็นการเบิกเงินเกินจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นลูกหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด การเข้าค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของลูกหนี้ จึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่มีอยู่และหนี้ในอนาคตในวงเงินที่ค้ำประกันในระยะ 2 เดือนนั้นด้วย
แม้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความว่า ถ้าผู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ส่งดอกเบี้ย(ในอัตราร้อยละ 8 ต่อปี) ผู้เบิกเงินเกินบัญชียอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระ+เข้าเป็นจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็น+วาไปก็ดี แต่ข้อสัญญานี้เป็นข้อตกลงในการเบิกเงินเกินบัญชีจะนำไปใช้ในกรณีที่มีการผิดนัดไม่ชำระหนี้หาได้ไม่ การที่ธนาคารโจทก์เจ้าหนี้ขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของลูกหนี้รับผิดใช้ดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันฟ้องนั้น เป็นการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรค 2 ห้ามไว้
กรณีลูกหนี้ของธนาคารตายลง แล้วผู้เป็นทายาทได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ใช้ธนาคารเจ้าหนี้ไว้ อายุความเรียกร้องของธนาคารเจ้าหนี้อันมีต่อลูกหนี้เจ้ามรดกก็ได้เปลี่ยนมาเป็นอายุความเรียกร้องอันมีต่อทายาทผู้รับสารภาพหนี้นั้น อายุความตามมาตรา 1+54 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่มิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกจึงสะดุดหลุดลง อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของธนาคารเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นฉบับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้
การที่ลูกหนี้ของธนาคารนำเงินเข้าบัญชีและถอนออกไปในระยะเวลาที่ยังมีการเบิกเงินเกินบัญชีอยู่หาเป็นการชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีต่อธนาคารไม่
ข้อสัญญาค้ำประกันที่ว่า เมื่อลูกหนี้ตาย ผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วม และมีความหมายว่าผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของลูกหนี้ซึ่งจะตกทอดไปยังทายาทของลูกหนี้นั้นตามกฎหมายเมื่อปรากฎว่าทายาทของลูกหนี้ได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้เจ้าหนี้ไว้ก่อนที่อายุความ 1 ปี ได้สิ้นสุดลงผู้ค้ำประกันก็ย่อมเป็นลูกหนี้ร่วมกับทายาทนั้นต่อไปตามจำนวนหนี้ที่ค้ำประกันไว้และใช้อายุความตามมูลหนี้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมรับผิดหนี้ทั้งหมดได้ แม้มีผู้ก่อการหลายคน
ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งต้องรับผิดชำระหนี้ทั้งหมด
of 23