คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ล้มละลาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8895/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายต้องพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว และการทวงถามหนี้ตามกฎหมาย
ในการฟ้องคดีล้มละลายนั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว โดยในการสืบของโจทก์นั้น โจทก์อาจจะสืบข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขแห่งข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8 หรือนำสืบถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 9(1) คดีนี้โจทก์อ้างว่าได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน และจำเลยไม่ชำระหนี้ อันเป็นการกล่าวอ้างว่ามีข้อเท็จจริงตามข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8(9) ทั้งนี้ โจทก์ทวงถามจำเลยให้ชำระหนี้โดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ แต่ในทางนำสืบนั้นโจทก์มิได้แสดงพยานหลักฐานให้เห็นว่ามีเหตุขัดข้องอย่างไรจึงไม่สามารถส่งหนังสือทวงถามโดยวิธีธรรมดาได้ ทั้งที่ปรากฏในชั้นฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาเป็นหลักแหล่ง กรณีจึงยังรับฟังไม่ได้ว่ามีการส่งหนังสือทวงถามให้จำเลยทราบโดยชอบแล้วตามมาตรา 8(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8047/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของนิติบุคคลล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการ
อำนาจฟ้องในคดีอาญาเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
เมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ซึ่งมีคำพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงทำให้บริษัทโจทก์เป็นอันเลิกกันโดยบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 1236 (5) และโจทก์ย่อมหมดอำนาจที่จะทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ต่อไปอีก การจัดการรวมทั้งการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ย่อมตกอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะจัดการแต่ผู้เดียว ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 , 24 ทั้งมาตรา 1247 ก็บัญญัติไว้ว่า การชำระบัญชีบริษัทจำกัดซึ่งล้มละลายนั้น ให้จัดทำไปตามบทกฎหมายล้มละลายที่คงใช้อยู่ตามแต่จะทำได้ ดังนั้นกรรมการบริษัทโจทก์จึงไม่กลับมีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ได้อีกโดยอาศัยอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249 เพราะมาตรา 1251 ก็ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้แล้วว่าบริษัทในเมื่อเลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย กรรมการของบริษัทย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี คดีนี้บริษัทโจทก์เลิกกันเพราะเหตุล้มละลาย กรรมการบริษัทโจทก์จึงไม่ใช่ผู้ชำระบัญชีและไม่มีอำนาจมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 1252

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คสั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ การได้รับอนุมัติรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินผู้ล้มละลาย ไม่ถือเป็นการระงับหนี้ตามเช็ค
จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คของบริษัทจำเลยที่ 1ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดในเวลาต่อมา โจทก์ได้นำเช็คไปยื่นขอรับชำระหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งอนุญาตให้มีสิทธิได้รับชำระหนี้เต็มตามจำนวนเงินในเช็คมิได้หมายความว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้แล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าหนี้ตามเช็คได้ระงับและสิ้นผลผูกพัน คดีจึงยังไม่เลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7960/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาชี้ขาดการพิจารณาคดีล้มละลายต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทตามคำร้องและหลักฐานอย่างครบถ้วน
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาลตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/32 และผู้คัดค้านแถลงคัดค้านคำร้องดังกล่าวศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการไต่สวนหาความจริงในข้อเท็จจริงที่คู่ความยังโต้เถียงกันอยู่แล้ววินิจฉัยคดีตามประเด็นซึ่งเกิดจากคำร้องและคำคัดค้านนั้น ในคำสั่งศาลเรื่องดังกล่าวจะต้องแสดงถึงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงและคำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดี ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย ตลอดจนค่าฤชาธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯมาตรา 14 และข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 ข้อ 24 การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้และมีคำสั่งเพียงว่า เมื่อลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามประกาศและข้อปฏิบัติทางราชการ ผู้ร้องไม่อาจอ้างปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างทางปฏิบัติของลูกหนี้ กรณีจึงไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการกล่าวแบบรวม ๆ มิได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีและแสดงเหตุผลประกอบการวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯมาตรา 14 และข้อกำหนดคดีล้มละลายฯ ข้อ 24

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการบังคับคดีและเกณฑ์การฟ้องล้มละลาย: การพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะนั้น
สิทธิในการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เป็นสิทธิแก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีคือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้นที่จะร้องขอให้บังคับคดี จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้ออ้างว่าโจทก์ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเพราะสามารถเข้าสวมสิทธิแทนจำเลยในการบังคับคดีเอาจากลูกหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยในคดีอื่นไม่ได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยก่อนวันที่ พ.ร.บ. ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับและคดียังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาล จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่เป็นกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น ไม่อาจนำ หลักเกณฑ์จำนวนหนี้ขั้นต่ำที่อาจฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาเปรียบเทียบในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7587/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นอุทธรณ์ล้มละลายพ้นกำหนด ศาลฎีกายกคำสั่งรับอุทธรณ์และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 28 ตุลาคม 2541 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 28ตุลาคม 2541 ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วันนับแต่วันยื่นคำขอ ศาลชั้นต้นอนุญาตจึงครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2541 ดังนั้น การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ในวันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2541 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์เมื่อล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ยกคำสั่งรับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นเสีย อุทธรณ์ของจำเลยหลังจากนี้จึงต้องตกไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับอุทธรณ์ของจำเลยซึ่งตกไปดังกล่าวจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7356/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งดการพิจารณาคดีล้มละลายเนื่องจากคดีฟื้นฟูกิจการยังไม่สิ้นสุด
ระหว่างการพิจารณาคดีล้มละลายคดีนี้ของศาลฎีกา ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งในอีกคดีหนึ่งอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลย และคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ศาลฎีกาจึงต้องงดการพิจารณาคดีล้มละลายไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) จนกว่าเหตุที่ต้องงดการพิจารณาคดีดังกล่าวจะสิ้นสุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7308/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในคดีล้มละลาย: ผลของการยกคำขอรับชำระหนี้และการสะดุดหยุดของอายุความ
แม้การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายคดีก่อนจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(3) แต่ก็ปรากฏว่าศาลในคดีดังกล่าวเห็นชอบตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ค่าสินค้าที่ลูกหนี้ค้างชำระ ซึ่งเจ้าหนี้มิได้อุทธรณ์ คำสั่งศาลในคดีดังกล่าวจึงถึงที่สุด ต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/17และมาตรา 193/18 ดังนั้น เมื่อเจ้าหนี้นำหนี้ค่าสินค้าดังกล่าวมาฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปมูลหนี้ดังกล่าวจึงขาดอายุความตามมาตรา 193/34(1) จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7160/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลภายนอกตาม พรบ.ล้มละลาย: การโอนทรัพย์สินหลังฟ้องล้มละลาย ไม่ได้รับความคุ้มครอง
ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114(เดิม)ส่วนผู้คัดค้านที่ 7 ถึงที่ 9 รับโอนที่ดินมาจากผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4โดยมิได้รับโอนหรือกระทำการใด ๆ กับจำเลยเกี่ยวกับที่ดินพิพาทแต่ประการใดผู้คัดค้านที่ 7 ถึงที่ 9 จึงเป็นบุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 116(เดิม) ซึ่งจะยกประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าวขึ้นปฏิเสธว่าตนได้รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนได้ก็ต่อเมื่อเป็นการรับโอนที่ดินพิพาทก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย แต่คดีนี้ผู้คัดค้านที่ 7ถึงที่ 9 ได้รับโอนที่ดินพิพาทหลังจากจำเลยถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าผู้คัดค้านที่ 7 ถึงที่ 9 รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6983/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายต้องแสดงหลักฐานหนี้สินล้นพ้นตัว แม้ฟ้องก่อนบังคับคดี แต่ต้องพิสูจน์ฐานหนี้
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่งมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายก่อนสิ้นระยะเวลาบังคับคดี แม้การฟ้องคดีล้มละลายจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง แต่การที่โจทก์จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าก่อนฟ้องจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 9(1) เมื่อโจทก์นำสืบแต่เพียงหนังสือของสำนักงานที่ดินที่ว่าได้ตรวจสอบทรัพย์สินของจำเลยที่สำนักงานที่ดินแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองที่ดิน โดยพยานหลักฐานของโจทก์นอกจากนั้นไม่ได้แสดงว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้สันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาจึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
of 192