คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษ และการยอมรับเงื่อนไขของศาลทำให้เสียสิทธิ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในวันยื่นคำร้อง จำเลยที่ 1 ย่อมไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ทันในวันนั้นเพราะวันดังกล่าวเป็นวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์และจำเลยที่ 1 ก็ยังไม่ทราบเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลเนื่องจากยังไม่ได้ขอคัดคำพิพากษาเลย แต่ทนายจำเลยที่ 1 ก็ได้ลงชื่อรับทราบในคำร้องว่าให้มาฟังคำสั่งในวันที่ล่วงเลยกำหนดยื่นอุทธรณ์ แสดงว่าทนายจำเลยที่ 1 ยอมรับผลการสั่งของศาลแล้วว่าหากศาลไม่อนุญาตจำเลยที่ 1 ย่อมเสียสิทธิในการยื่นอุทธรณ์ กรณีจึงถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค้างชำระที่ศาล: การเรียกร้องสิทธิภายใน 5 ปี และข้อยกเว้นจากพฤติการณ์พิเศษ
เงินค้างจ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 323 หมายถึงบรรดาเงินทั้งหมดที่ค้างจ่ายอยู่ที่ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาภายใน 5 ปี จึงจะตกเป็นของแผ่นดิน ปรากฏว่าวันที่ 2 ธันวาคม 2534 จำเลยนำเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาพร้อมดอกเบี้ยมาวางศาลเพื่อชำระแก่โจทก์ วันที่ 3 พฤษภาคม 2539 โจทก์ยื่นคำแถลงให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับ แต่เจ้าหน้าที่ศาลหาสำนวนไม่พบ จนกระทั่งวันที่ 19 มิถุนายน 2540 จึงแจ้งโจทก์ว่าพบสำนวนแล้ว ดังนั้น ระยะเวลา 1 ปีเศษ ที่เจ้าหน้าที่ศาลหาสำนวนไม่พบจึงเป็นพฤติการณ์พิเศษอันมิใช่ความผิดของโจทก์ที่เพิกเฉยไม่เรียกเอาภายใน 5 ปี แต่อย่างใดเพราะเมื่อโจทก์ทราบว่าพบสำนวนแล้วก็ยื่นคำแถลงขอรับเงินที่จำเลยวางศาลเพื่อชำระหนี้ในวันรุ่งขึ้นทันที ต้องถือว่าโจทก์ผู้มีสิทธิได้เรียกเอาคืนภายใน 5 ปีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างอุทธรณ์: การพิจารณาความหมายของคำร้องและเหตุผลในการมีคำสั่งห้ามทำนิติกรรม
โจทก์ใช้ถ้อยคำว่าขอทุเลาการบังคับมาในคำร้องที่โจทก์ยื่นพร้อมกับอุทธรณ์ที่คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้อง แต่ก็มีใจความว่าหากศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการติดตามเอาทรัพย์พิพาทของโจทก์คืนมาจากจำเลยจึงพอแปลได้ว่าคำร้องของโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ขอคุ้มครองประโยชน์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ไม่ใช่เรื่องขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาซ้ำ ศาลพิจารณาแล้วเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าจำเลยไม่ได้เป็นคนยากจนจึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ ซึ่งจำเลยก็ได้ยื่นคำร้องดังกล่าวตามคำร้องฉบับลงวันที่ 22 มกราคม 2545 และศาลชั้นต้นได้ไต่สวนและมีคำสั่งให้ยกคำร้อง อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นในเรื่องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่แล้ว การที่จำเลยกลับมายื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 14 มิถุนายน 2545 ขอให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนอีก ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาสองครั้งในประเด็นเดียวกัน ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องอันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นในเรื่องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่แล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่อีกในประเด็นเดียวกัน ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจรับเงินค่าปรับแทนศาลแล้วไม่นำชำระ เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อย ละเมิดอำนาจศาล
ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาและจำเลยไม่มีหน้าที่รับเงินค่าปรับจากจำเลยมาชำระต่อศาล การที่ผู้ถูกกล่าวหารับเงินค่าปรับจากจำเลยแทนศาล เป็นการไม่ถูกต้องตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เมื่อผู้ถูกกล่าวหาไม่นำเงินไปชำระต่อศาลไม่ว่าจะทุจริตหรือไม่ เมื่อเป็นเหตุให้ศาลไม่ได้รับค่าปรับ ไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและไม่มีการส่งตัว ส. จำเลยไปกักขังแทนค่าปรับที่สถานีตำรวจ จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1)
ส่วนกรณีที่ไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและตัว ป. จำเลยไปกักขังที่สถานีตำรวจ เพราะมีการปล่อยตัว ป. ไปก่อนแล้ว และมีผู้เอาหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาไปด้วย ผู้ถูกกล่าวหาเป็นแต่เพียงผู้รับหมายกักขังมาจากเจ้าหน้าที่ศาลเท่านั้นแต่มิได้เอาหมายกักขังไป และมิได้เป็นคนรับเงินค่าปรับและปล่อยตัว ป. ไป ยังไม่ถึงขนาดเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลจึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2740/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำวินิจฉัยศาลในคดีจำนอง และการบังคับชำระหนี้ตามสัญญา
ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคดีนี้ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นในคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่ง ขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินมีโฉนดทั้งสองแปลงของจำเลยที่ถูกโจทก์ในคดีดังกล่าวยึดไว้มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้ เพราะที่ดินทั้งสองแปลงจำเลยจดทะเบียนจำนองไว้เป็นหลักประกันหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีคดีนี้ในวงเงิน 7,000,000 บาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 คดีดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้ว โดยศาลฎีกาพิพากษาว่า หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเลิกเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2529 เมื่อโจทก์และจำเลยต่างเป็นคู่ความในคดีแพ่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์จำเลยในคดีนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 นั้น เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ในการได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญอื่น หากมีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เท่านั้น ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินจากการขายทอดตลาดจะนำวงเงินดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนหนี้ทั้งหมด แล้วพิพากษาให้ในส่วนที่คงเหลือ จึงไม่ถูกต้อง เพราะในที่สุดอาจไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์หรือโจทก์อาจบังคับยึดทรัพย์อื่นของจำเลยอย่างเจ้าหนี้สามัญ หรือให้ชำระหนี้ในส่วนที่ยังขาดอยู่จากการบังคับจำนองก็ได้ และการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ก็มิได้หมายความว่าโจทก์จะบังคับชำระหนี้ได้ซ้ำซ้อนเกินกว่าจำนวนหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริง เพราะโดยอำนาจแห่งมูลหนี้โจทก์จะบังคับชำระหนี้ได้แต่เฉพาะหนี้ที่มีอยู่โดยสิ้นเชิงเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิพากษาตามพยานเอกสาร แม้ไม่เต็มตามคำขอ หากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
โจทก์มีคำขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอน จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ เมื่อศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ศาลย่อมมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารที่ศาลเห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) แล้วพิพากษากำหนดจำนวนเงินไปตามที่ได้ความจากพยานเอกสารนั้นได้ แม้ไม่เต็มจำนวนตามคำขอของโจทก์ โดยถือว่าคดีในส่วนที่ศาลไม่พิพากษาให้เป็นเพราะโจทก์ไม่มีพยานเอกสารแสดงให้ศาลเห็นว่าคดีส่วนนั้นมีมูล ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวก็มิได้บังคับศาลว่าต้องพิพากษากำหนดจำนวนเงินเต็มตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการงดสืบพยานและพิพากษาไม่เต็มตามฟ้องเมื่อพยานเอกสารไม่เพียงพอ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ที่กำหนดให้ศาลมีอำนาจงดสืบพยานและให้ส่งพยานเอกสารแทนนั้นเป็นเพียงเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิจารณาคดีเท่านั้น เพราะแม้ว่าศาลจะสั่งให้สืบพยานต่อไปฝ่ายเดียวศาลก็อาจพิพากษาให้ไม่เต็มจำนวนเงินตามคำขอก็ได้ หากพยานเอกสารไม่เพียงพอซึ่งถือได้ว่าคดีไม่มีมูลในส่วนที่ไม่มีพยานหลักฐานมาแสดง ดังนั้น เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่มีพยานเอกสารมาแสดงประกอบให้ศาลเห็นว่าคดีมีมูลจริง ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่พิพากษาให้จำนวนเงินในส่วนที่ไม่มีพยานเอกสารมาแสดง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาเพื่อความถูกต้องของต้นเงินคำนวณดอกเบี้ย เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่ศาลทำได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแก้ไขคำพิพากษาในส่วนของจำนวนเงินที่เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามคำร้องของจำเลย เป็นการแก้ไขให้ถูกต้องตรงกับเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาจึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย มิใช่เป็นการทำคำสั่งซึ่งเป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง
of 364