พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,432 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3299/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษตามมาตรา 78 และการริบของกลาง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลล่างได้
ตามบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 78 เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้ ซึ่งเป็นบทบัญญัติในการใช้ดุลพินิจในการลงโทษให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์ของผู้กระทำความผิดเป็นรายบุคคลไป หาใช่บทบังคับที่จะต้องลดโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดเพราะมีเหตุบรรเทาโทษเสมอไปไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ริบของกลางทั้งหมด แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่าจะริบของกลางดังกล่าวหรือไม่ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองยังไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และการริบทรัพย์สินของกลางนี้ไม่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 เมื่อปรากฏว่าทรัพย์สินของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดและมีไว้เป็นความผิด จึงให้ริบ
โจทก์ฟ้องขอให้ริบของกลางทั้งหมด แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่าจะริบของกลางดังกล่าวหรือไม่ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองยังไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และการริบทรัพย์สินของกลางนี้ไม่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 เมื่อปรากฏว่าทรัพย์สินของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดและมีไว้เป็นความผิด จึงให้ริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันคดีน้ำมันปลอมปน: ศาลฎีกายืนตามศาลชั้นต้น แต่ลดโทษปรับและรอการลงโทษ
การกระทำความผิดของจำเลยฐานเป็นผู้ค้าน้ำมันปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อจำหน่าย และฐานเป็นผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำกว่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดนั้น ความผิดแต่ละฐานแยกออกต่างหากจากกันได้ชัดเจน ทั้งในแง่เจตนาในการกระทำ สภาพและลักษณะของการกระทำ เวลาที่การกระทำเป็นความผิดสำเร็จลงตลอดจนบทกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ต่างบทมาตรากัน ดังนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานขับรถประมาทและขับรถเข้าวงเวียนโดยไม่ลดความเร็วเป็นกรรมเดียวผิดหลายบท ศาลฎีกาแก้ไขโทษ
การที่จำเลยกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายและรับอันตรายสาหัส ตลอดจนเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายนั้น เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ขับรถเข้าใกล้วงเวียนโดยไม่ลดความเร็ว จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษเรียงกระทงโดยแยกฐานขับรถเข้าใกล้วงเวียนโดยไม่ลดความเร็ว ออกต่างหากจากฐานขับรถโดยประมาทนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่
จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยไม่ไต่สวน และศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงเป็นที่สุด ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขความบกพร่องในการแต่งตั้งทนายความหลังศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลฎีกาอนุญาตได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา?" นั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปที่ใช้ได้ในทุกชั้นศาลมิได้หมายความถึงก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา แต่อย่างใด
เมื่อความสามารถในการฟ้องของโจทก์ในการแต่งตั้งทนายความบกพร่องและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่เข้ามาพร้อมกับคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งรับขึ้นมาแล้วเช่นนี้ ศาลฎีกา จึงเห็นสมควรอนุญาต อำนาจฟ้องจึงสมบูรณ์มาแต่แรก
เมื่อความสามารถในการฟ้องของโจทก์ในการแต่งตั้งทนายความบกพร่องและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่เข้ามาพร้อมกับคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งรับขึ้นมาแล้วเช่นนี้ ศาลฎีกา จึงเห็นสมควรอนุญาต อำนาจฟ้องจึงสมบูรณ์มาแต่แรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2353/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นอุทธรณ์ไม่กระทบสิทธิบังคับคดี หากศาลฎีกายังไม่อนุญาตทุเลาการบังคับคดี
การยื่นอุทธรณ์ย่อมไม่เป็นการทุเลาการบังคับคดี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 231 วรรคหนึ่ง แม้ผู้คัดค้านจะได้ยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีไว้แล้ว แต่เมื่อศาลฎีกายังไม่มีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดี ผู้ร้องซึ่งชนะคดีตามคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ย่อมมีสิทธิบังคับคดีได้ และไม่มีเหตุให้เพิกถอนหรืองดการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาแก้เรื่องการลงโทษคดีฉ้อโกงโดยใช้หนังสือเดินทางปลอม ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียว
จำเลยปลอมหนังสือเดินทางของประเทศอังกฤษและใช้หนังสือเดินทางปลอมอ้างแสดงเป็นหลักฐานต่อธนาคาร ก. ในการเปิดบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ชื่อเจ้าของบัญชี นายแนท เวสต์แบงค์ (NAT WESTBANK) เพื่อหลอกลวงให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าหากโอนเงินเข้าฝากในบัญชีที่เปิดไว้นี้ จะได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อปี เป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินเข้าบัญชีที่จำเลยเปิดไว้ดังกล่าว การกระทำของจำเลยก็เพื่อเจตนาเพียงประการเดียวก็คือเพื่อฉ้อโกงเงินจากผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้อันเป็นการแก้ไขมาก แต่ยังลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 219 ที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้อันเป็นการแก้ไขมาก แต่ยังลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 219 ที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1657/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาต้องส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ บัญญัติหลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยให้ยื่นคำร้องขอนุญาตต่อศาลชั้นต้นพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์และส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และคำร้องแก่จำเลยอุทธรณ์แล้ว หากไม่มีคู่ความฝ่ายอื่นยื่นอุทธรณ์และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ ก็ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องนั้นว่าจะอนุญาตหรือไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นให้เป็นที่สุด ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์ จึงไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำฟ้องของโจทก์เพราะเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น หาเป็นข้อยกเว้นให้ไม่ต้องส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใด คำสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1657/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด คือต้องส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และคำร้องให้จำเลยทราบ
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องแก่จำเลยอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำฟ้องของโจทก์เพราะเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น ไม่เป็นข้อยกเว้นให้ไม่ต้องส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1549/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: ศาลฎีกายกเรื่องนี้เป็นข้อเท็จจริง ไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นฟังว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 มีผลใช้บังคับกับสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลย การที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีได้ ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 1 มิถุนายน 2535 นั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟังพยานหลักฐาน อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้โดยยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป