คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สละสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 386 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1439/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผูกพันตามคำแถลงต่อศาล: การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและค่าฤชาธรรมเนียม
จำเลยแพ้คดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่ต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลแล้วฎีกา ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอถอนฎีกาโดยโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลว่า โจทก์ยอมรับชำระเงินตามคำพิพากษาเพียง51,000 บาท นอกจากเงินดังกล่าวนี้แล้วโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องและบังคับคดีเอาจากเงินจำนวนอื่น ๆ ตามคำพิพากษาอีก ศาลฎีกาจึงอนุญาตให้ถอนฎีกาได้ ดังนี้ โจทก์ย่อมจะต้องถูกผูกพันตามคำแถลงของตน จึงไม่มีสิทธิที่จะรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่จำเลยวางศาลใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของพนักงานฝ่ายจัดการที่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามข้อบังคับสำหรับพนักงานทั่วไป และการสละสิทธิเรียกร้องเงินสมทบกองทุน
กฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ให้จำเลยจ่ายบำเหน็จและเป็นผู้ออกภาษีเงินได้ส่วนบุคคลให้นั้นระบุไว้ชัดเจนว่าสำหรับพนักงานประจำที่มิใช่ฝ่ายจัดการ โจทก์เป็นพนักงานฝ่ายจัดการจะนำข้อบังคับนี้มาใช้ไม่ได้จึงไม่อาจอ้างสิทธิว่าจำเลยจะต้องออกภาษีเงินได้ให้จากข้อบังคับนี้
เงินสมทบกองทุนเงินสะสมเป็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง กฎหมายแรงงานมิได้บังคับให้ปฏิบัติ โจทก์จำเลยมีสิทธิตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ หาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ เมื่อโจทก์ทำบันทึกขณะลาออกจากงานว่านอกจากเงินตอบแทนที่จำเลยให้โจทก์แล้วโจทก์จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดจากจำเลยอีก โจทก์จึงต้องผูกพันตามเอกสารนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สภาพการจ้างพนักงานฝ่ายจัดการ, การลาออกโดยสมัครใจ, และการสละสิทธิเรียกร้องผลประโยชน์จากนายจ้าง
กฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ให้จำเลยจ่ายบำเหน็จและเป็นผู้ออกภาษีเงินได้ส่วนบุคคลให้นั้นระบุไว้ชัดเจนว่าสำหรับพนักงานประจำที่มิใช่ฝ่ายจัดการโจทก์เป็นพนักงานฝ่ายจัดการจะนำข้อบังคับนี้มาใช้ไม่ได้จึงไม่อาจอ้างสิทธิว่าจำเลยจะต้องออกภาษีเงินได้ให้จากข้อบังคับนี้ เงินสมทบกองทุนเงินสะสมเป็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างกฎหมายแรงงานมิได้บังคับให้ปฏิบัติโจทก์จำเลยมีสิทธิตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้หาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่เมื่อโจทก์ทำบันทึกขณะลาออกจากงานว่านอกจากเงินตอบแทนที่จำเลยให้โจทก์แล้วโจทก์จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดจากจำเลยอีกโจทก์จึงต้องผูกพันตามเอกสารนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติ: สิทธิของผู้ครอบครองดีกว่าผู้สละสิทธิ และขอบเขตการห้ามเกี่ยวข้อง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) โจทก์เป็นผู้ครอบครองจึงมีสิทธิดีกว่าจำเลย ส่วนที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องนั้น ไม่อาจห้ามจำเลยเกี่ยวข้องเสียทั้งหมดได้เพราะจะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้จะห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิได้เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2264/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิในมรดกโดยการซื้อขายและครอบครองปรปักษ์ การเปลี่ยนแปลงเจตนาหลังพินัยกรรม
ทรัพย์มรดกเป็นที่ดินมือเปล่า เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้โจทก์โดยข้อกำหนดในพินัยกรรมระบุว่า ให้พินัยกรรมมีผลเมื่อภริยาของเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว ระหว่างที่โจทก์เป็นผู้เยาว์ให้จำเลยเก็บผลประโยชน์จากทรัพย์มรดกดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ โจทก์ทราบข้อความในพินัยกรรมตั้งแต่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ หลังจากเจ้ามรดกตายแล้วแต่ในระหว่างที่ภริยาของเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่นั้นโจทก์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วได้แสดงเจตนาสละสิทธิในทรัพย์มรดก เมื่อภริยาของเจ้ามรดกถึงแก่กรรม จำเลยก็ได้ครอบครองทรัพย์มรดกอย่างเป็นเจ้าของนับแต่นั้นเป็นต้นมา ดังนี้ทรัพย์มรดกจึงตกเป็นของจำเลยแล้ว โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกและเงินผลประโยชน์อันเกิดจากทรัพย์มรดกจากจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2264/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิในมรดกโดยการทำสัญญาและการครอบครองทรัพย์สินอย่างเปิดเผยของจำเลย
ทรัพย์มรดกเป็นที่ดินมือเปล่าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้โจทก์โดยข้อกำหนดในพินัยกรรมระบุว่าให้พินัยกรรมมีผลเมื่อภริยาของเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วระหว่างที่โจทก์เป็นผู้เยาว์ให้จำเลยเก็บผลประโยชน์จากทรัพย์มรดกดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายอุปการะเลี้ยงดูโจทก์โจทก์ทราบข้อความในพินัยกรรมตั้งแต่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่หลังจากเจ้ามรดกตายแล้วแต่ในระหว่างที่ภริยาของเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่นั้นโจทก์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วได้แสดงเจตนาสละสิทธิในทรัพย์มรดกเมื่อภริยาของเจ้ามรดกถึงแก่กรรมจำเลยก็ได้ครอบครองทรัพย์มรดกอย่างเป็นเจ้าของนับแต่นั้นเป็นต้นมาดังนี้ทรัพย์มรดกจึงตกเป็นของจำเลยแล้วโจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกและเงินผลประโยชน์อันเกิดจากทรัพย์มรดกจากจำเลยไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3678/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีเครื่องหมายการค้าก่อนจำเลยให้การ ไม่ถือเป็นการสละสิทธิฟ้องคดีใหม่ และการฟ้องโดยไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในไทย
ในคดีก่อนนั้นโจทก์ขอถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคแรกโจทก์เพียงแต่ ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนคำฟ้องต่อศาล และศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องได้ โดยมิต้องสอบถามคู่ความฝ่ายอื่นว่าจะยินยอมหรือไม่อย่างใดการที่ โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไปนั้น ก็มีความหมายแต่เพียงว่า ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยสำหรับ คดีนั้นเท่านั้นหาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่กับจำเลยอีก ตามสิทธิของโจทก์ซึ่งตามมาตรา 176 บัญญัติรับรองไว้แต่อย่างใดไม่ ทั้งมิใช่กรณีที่มีการถอนฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความกัน หรือเทียบได้กับกรณีประนีประนอมยอมความกันฟ้องของโจทก์ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยอ้างว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลย เพราะได้ใช้มาก่อนตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา41(1) โจทก์หาได้ ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นใน ประเทศไทยแล้วและขอให้ศาลห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวตามมาตรา27หรือฟ้องคดีเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหาย ในการล่วงสิทธิ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามมาตรา 29 ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ของตนในประเทศไทย
จำเลยฎีกาโดยถือตามอุทธรณ์ของจำเลย เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
จำเลยจะฎีกาโต้แย้งในประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความซึ่งเป็นข้อที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาครั้งก่อนแล้วอีกหาได้ไม่
ฎีกาของจำเลยซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาก่อน และไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989-2991/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จโดยเอกสารรับเงิน: การระงับสิทธิและขอบเขตการเรียกร้อง
เงินบำเหน็จเป็นเงินที่นายจ้างตอบแทนคุณความดีของลูกจ้างที่ได้ทำงานร่วมกับนายจ้างด้วยดีตลอดมาเงินประเภทนี้กฎหมายมิได้บังคับนายจ้างว่าจะต้องจ่ายแก่ลูกจ้างนายจ้างจะจ่ายให้หรือไม่ ด้วยหลักเกณฑ์อย่างไรแล้วแต่จะเห็นสมควรข้อพิพาทเกี่ยวด้วยเงินบำเหน็จจึงมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนายจ้างและลูกจ้างทำข้อตกลงให้ระงับสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จจากนายจ้างได้
แบบพิมพ์ดีดเอกสารซึ่งนายจ้างจัดทำขึ้นระบุรายการเกี่ยวกับเงินต่าง ๆ ตามสิทธิและตามกฎหมายที่ลูกจ้างจะได้รับจากนายจ้างและระบุว่าลูกจ้างได้รับเงินค่าชดเชยและเงินบำเหน็จตามจำนวนที่ระบุไว้ เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุไว้ด้วยว่าลูกจ้างไม่ติดใจเรียกร้องเงิน สิทธิ และประโยชน์อื่นใดจากนายจ้างอีกทั้งสิ้น ดังนี้ ลูกจ้างได้สละสิทธิเรียกร้องบำเหน็จนอกเหนือจากที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวแล้ว ลูกจ้างย่อมถูกผูกพันตามข้อความนั้นและไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเงินบำเหน็จส่วนที่ขาดอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989-2991/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จโดยเอกสารที่นายจ้างจัดทำขึ้น ย่อมผูกพันลูกจ้าง
เงินบำเหน็จเป็นเงินที่นายจ้างตอบแทนคุณความดีของลูกจ้างที่ได้ทำงานร่วมกับนายจ้างด้วยดีตลอดมาเงินประเภทนี้กฎหมายมิได้บังคับนายจ้างว่าจะต้องจ่ายแก่ลูกจ้าง นายจ้างจะจ่ายให้หรือไม่ ด้วยหลักเกณฑ์อย่างไรแล้วแต่จะเห็นสมควรข้อพิพาทเกี่ยวด้วยเงินบำเหน็จจึงมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน นายจ้างและลูกจ้างทำข้อตกลงให้ระงับสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จจากนายจ้างได้
แบบพิมพ์ดีดเอกสารซึ่งนายจ้างจัดทำขึ้นระบุรายการเกี่ยวกับเงินต่างๆ ตามสิทธิและตามกฎหมายที่ลูกจ้างจะได้รับจากนายจ้างและระบุว่าลูกจ้างได้รับเงินค่าชดเชยและเงินบำเหน็จตามจำนวนที่ระบุไว้ เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุไว้ด้วยว่าลูกจ้างไม่ติดใจเรียกร้องเงิน สิทธิ และประโยชน์อื่นใดจากนายจ้างอีกทั้งสิ้น ดังนี้ ลูกจ้างได้สละสิทธิเรียกร้องบำเหน็จนอกเหนือจากที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวแล้ว ลูกจ้างย่อมถูกผูกพันตามข้อความนั้น และไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเงินบำเหน็จส่วนที่ขาดอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ขัดประกาศคุ้มครองแรงงาน แม้โจทก์สละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งมีผลเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อโจทก์ทำ สัญญาประนีประนอมยอมความในศาลยอมรับเงินช่วยเหลือจากจำเลย ไปจำนวนหนึ่งแล้ว โดยไม่ติดใจเรียกร้องอะไรจากจำเลยอีก จึงมีผลเป็นว่า โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าชดเชย หรือโจทก์ยอมสละข้อหานี้ โดยโจทก์ ไม่ประสงค์จะขอให้ศาลบังคับเอากับจำเลยอีกต่อไป สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงหาขัดต่อ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน อันตกเป็นโมฆะแต่อย่างใดไม่
of 39