พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งพัก/ออกจากราชการของข้าราชการระหว่างการพิจารณา/สอบสวน การสั่งพัก/ออกจากราชการตามมาตรา 63 ไม่ต้องรอผลสอบสวน
ตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2485 มาตรา 63นั้นผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนที่ถูกฟ้องคดีอาญาซึ่งไม่ใช่ความผิดลหุโทษหรือประมาท ให้ออกจากราชการได้ในขณะที่ข้าราชการผู้นั้นกำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีอาญา หรือระหว่างการสอบสวนเรื่องทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการได้โดยไม่ต้องตั้งกรรมการดำเนินการสอบสวนเสียก่อน
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา63(ก) นั้น ผู้บังคับบัญชาไม่ต้องสั่งใหม่ในเมื่อการพิจารณาคดีหรือการสอบสวนได้ความว่าข้าราชการผู้นั้นไม่มีความผิด แต่ถ้าศาลพิพากษาว่าข้าราชการผู้นั้นมีความผิดหรือการสอบสวนได้ความเป็นสัจที่จะต้องไล่ออกหรือปลดออก ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นไล่ออกหรือปลดออกให้ตรงตามบทบัญญัติแห่งวินัยข้าราชการพลเรือนอีกครั้งหนึ่ง การสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 63(ก)นั้น เป็นการสั่งให้พ้นจากราชการไปเลย และคำสั่งนี้คงมีผลตลอดไป เว้นแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ไล่ออกหรือปลดออกตามความในมาตรา 63(ก) ตอนท้ายเท่านั้น (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16-17/2507)
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา63(ก) นั้น ผู้บังคับบัญชาไม่ต้องสั่งใหม่ในเมื่อการพิจารณาคดีหรือการสอบสวนได้ความว่าข้าราชการผู้นั้นไม่มีความผิด แต่ถ้าศาลพิพากษาว่าข้าราชการผู้นั้นมีความผิดหรือการสอบสวนได้ความเป็นสัจที่จะต้องไล่ออกหรือปลดออก ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นไล่ออกหรือปลดออกให้ตรงตามบทบัญญัติแห่งวินัยข้าราชการพลเรือนอีกครั้งหนึ่ง การสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 63(ก)นั้น เป็นการสั่งให้พ้นจากราชการไปเลย และคำสั่งนี้คงมีผลตลอดไป เว้นแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ไล่ออกหรือปลดออกตามความในมาตรา 63(ก) ตอนท้ายเท่านั้น (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16-17/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในฐานะบุคคลอันธพาลต้องมีข้อหาละเมิดกฎหมายและต้องมีการสอบสวน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
(1)ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 นั้นมุ่งหมายให้อำนาจพนักงานสอบสวนที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลผู้กระทำละเมิดกฎหมายได้มากขึ้นโดยให้อำนาจควบคุมครั้งแรกถึง 30 วันกล่าวคือ เป็นการขยายอำนาจการควบคุมครั้งแรกในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 นั้นเองแต่หาได้มุ่งหมายให้อำนาจที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลไว้เฉยๆโดยไม่มีข้อหาว่าละเมิดกฎหมายและโดยไม่มีการสอบสวนไม่ เพราะฉะนั้นเจ้าพนักงานจึงไม่อาจที่จะควบคุมผู้ใดโดยอ้างว่าเป็นบุคคลอันธพาลแต่ปราศจากข้อกล่าวหาว่าผู้นั้นได้กระทำการละเมิดต่อกฎหมาย
(2)ด้วยเหตุผลในข้อ 1 ข้างบนนี้เมื่อได้ความชัดว่าจำเลยถูกควบคุมมา 30 วันฐานเป็นบุคคลอันธพาลนั้นก็เพราะเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดกฎหมายเช่น ลักทรัพย์หรือรับของโจรเป็นต้น ก็ชอบที่จะต้องหักวันที่ถูกควบคุมในฐานเป็นบุคคลอันธพาล 30 วันนั้นออกจากกำหนดโทษตามคำพิพากษาให้จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2508)
(2)ด้วยเหตุผลในข้อ 1 ข้างบนนี้เมื่อได้ความชัดว่าจำเลยถูกควบคุมมา 30 วันฐานเป็นบุคคลอันธพาลนั้นก็เพราะเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดกฎหมายเช่น ลักทรัพย์หรือรับของโจรเป็นต้น ก็ชอบที่จะต้องหักวันที่ถูกควบคุมในฐานเป็นบุคคลอันธพาล 30 วันนั้นออกจากกำหนดโทษตามคำพิพากษาให้จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานสอบสวนทำร้ายร่างกายผู้ต้องหาและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีอาญา ในระหว่างสอบสวนโจทก์ ได้ทำร้ายโจทก์เพราะโจทก์ไม่ยอมรับสารภาพ ไม่ยอมลงชื่อตามที่จำเลยต้องการจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหาย แก่โจทก์ เป็นความผิดตามมาตรา 157,391
ถูกชกตีไม่ปรากฏบาดแผล เป็นอันตรายแก่กาย แล้ว ถูกพันธนาพาตัวไปคุมขังไว้ใต้สถานีตำรวจแต่เดียวดาย ไกลหูไกลตาผู้ต้องหาด้วยกัน เช่นนี้ ไม่เป็นอันตรายแก่จิตใจตามมาตรา 295
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 ต้องการเพียงว่า ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน ก็เพียงพอที่จะเป็นองค์ประกอบองค์หนึ่งของการที่จะพิพากษารอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษได้แล้ว หาต้องนำสืบไม่แม้มิได้นำสืบ ศาลก็อาจคำนึงถึงอายุ และอื่นๆ เท่าที่พึงมีปรากฏในสำนวนนั้นได้
ถูกชกตีไม่ปรากฏบาดแผล เป็นอันตรายแก่กาย แล้ว ถูกพันธนาพาตัวไปคุมขังไว้ใต้สถานีตำรวจแต่เดียวดาย ไกลหูไกลตาผู้ต้องหาด้วยกัน เช่นนี้ ไม่เป็นอันตรายแก่จิตใจตามมาตรา 295
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 ต้องการเพียงว่า ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน ก็เพียงพอที่จะเป็นองค์ประกอบองค์หนึ่งของการที่จะพิพากษารอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษได้แล้ว หาต้องนำสืบไม่แม้มิได้นำสืบ ศาลก็อาจคำนึงถึงอายุ และอื่นๆ เท่าที่พึงมีปรากฏในสำนวนนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระเบียบภายในเทศบาลไม่อาจบังคับบุคคลให้รับผิดหากไม่ได้กระทำผิด อายุความฟ้องคดี
ระเบียบของกระทรวงมหาดไทยที่ให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล สมุห์บัญชี ต้องร่วมรับผิดชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลในกรณีมีการทุจริตอันเกี่ยวกับการรักษาเงินขึ้นนั้น ไม่ใช่กฎหมาย จะยกเอาระเบียบดังกล่าวนี้ขึ้นวินิจฉัยว่า บุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้รับผิดชดใช้เงินแทนในทันทีขณะทราบว่ามีการทุจริตขึ้น โดยมิต้องสอบสวนว่าบุคคลดังกล่าวจะต้องรับผิดจริงหรือไม่เสียก่อนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1560/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความในคดีหนี้จากการล้มละลาย: หนังสือยืนยันหนี้หลังการสอบสวนเป็นเหตุสะดุดอายุความ
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องเตือนให้ชำระหนี้เงินกู้ (ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 119 วรรค 1) เป็นแต่เพียงหนังสือพวงหนี้ หาใช่หนังสือยืนยันหนี้สินอันจะเป็นการแสดงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 119 วรรค 4 ซึ่งจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงไม่
แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือยืนยันหนี้สินไปยังผู้ร้อง (ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 119 วรรค 2 ) ถือได้ว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กระทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อายุความย่อมสะดุดหยุดลง
ผู้ร้องกู้เงินผู้ล้มละลายเมื่อ 11 เมษายน 2495 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องเตือนให้ชำระหนี้ เมื่อ 19 กันยายน 2504 ผู้ร้องได้รับเมื่อ 20 ตุลาคม 2504 และปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2504 เจ้าพนักงานพิทักษ์สอบสวนแล้ว แจ้งความเป็นหนังสือยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้องเมื่อ 21 มิถุนายน 2504 ผู้ร้องได้รับเมื่อ 12 กรกฎาคม 2505 เป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว นับตั้งแต่วันกู้ คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือยืนยันหนี้สินไปยังผู้ร้อง (ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 119 วรรค 2 ) ถือได้ว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กระทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อายุความย่อมสะดุดหยุดลง
ผู้ร้องกู้เงินผู้ล้มละลายเมื่อ 11 เมษายน 2495 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องเตือนให้ชำระหนี้ เมื่อ 19 กันยายน 2504 ผู้ร้องได้รับเมื่อ 20 ตุลาคม 2504 และปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2504 เจ้าพนักงานพิทักษ์สอบสวนแล้ว แจ้งความเป็นหนังสือยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้องเมื่อ 21 มิถุนายน 2504 ผู้ร้องได้รับเมื่อ 12 กรกฎาคม 2505 เป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว นับตั้งแต่วันกู้ คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องเรียนเจ้าหน้าที่โดยสุจริต ไม่ถือเป็นการละเมิด แม้การสอบสวนพบเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามหน้าที่
จำเลยยื่นคำร้องทุกข์ไปยังผู้บังคับบัญชาของโจทก์กล่าวหาว่าโจทก์กลั่นแกล้งให้จำเลยได้รับความเดือดร้อน โดยบรรยายรายละเอียดด้วยว่าโจทก์กระทำอย่างใดต่อจำเลยบ้าง แล้วขอให้สั่งสอบสวนพฤติการณ์ที่โจทก์กระทำต่อจำเลยนั้น ดังนี้ เมื่อได้ความว่าพฤติการณ์ตามที่จำเลยร้องเรียนไปนั้นเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นแก่จำเลยจริงจำเลยกล่าวไปโดยไม่มีข้อความที่ผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนความจริง แม้ผลของการสอบสวนโจทก์จะปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำการไปตามหน้าที่ราชการแล้ว โจทก์ก็จะอ้างว่าคำร้องของจำเลยที่ว่าโจทก์กลั่นแกล้งนั้นเป็นการฝ่าฝืนต่อความจริงหาได้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้คำให้การของผู้ต้องหาในฐานะพยานโจทก์เป็นหลักฐานลงโทษจำเลย: พยานหลักฐานต้องได้มาจากโจทก์เท่านั้น
ในคดีอาญานั้น พยานหลักฐานที่จะฟังลงโทษจำเลยได้ต้องเป็นพยานหลักฐานโจทก์ เมื่อจะเอาจำเลยเป็นผู้ต้องหาก็ต้องสอบสวนในฐานะผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 การที่พนักงานสอบสวนจำเลยเป็นพยานในชั้นแรก จึงเป็นพยานที่มิชอบ จะนำคำให้การของจำเลยที่ให้การเป็นพยานในชั้นสอบสวนนั้นมาอ้างพิสูจน์ว่าจำเลยมีความผิดไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้คำให้การของผู้ต้องหาในฐานะพยาน การสอบสวนต้องกำหนดสถานะชัดเจน
ในคดีอาญานั้น พยานหลักฐานที่จะฟังลงโทษจำเลยได้ต้องเป็นพยานหลักฐานโจทก์ เมื่อจะเอาจำเลยเป็นผู้ต้องหาก็ต้องสอบสวนในฐานะผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 การที่พนักงานสอบสวนสอบจำเลยเป็นพยานในชั้นแรก จึงเป็นพยานที่มิชอบ จะนำคำให้การของจำเลยที่ให้การเป็นพยานในชั้นสอบสวนนั้นมาอ้างพิสูจน์ว่าจำเลยมีความผิดไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จทำให้ถูกสอบสวน: คดีมีมูลควรพิจารณา แม้ไม่ประสงค์ดำเนินคดี
คดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจแจ้งความเท็จต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าโจทก์บุกรุกเข้าไปอยู่ในห้องของจำเลยนั้น แม้จำเลยผู้แจ้งจะไม่ประสงค์ให้ดำเนินคดีก็ตาม แต่จากคำแจ้งความนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เรียกโจทก์กับพวกไปสอบสวน เมื่อโจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องได้เช่นนี้ ซึ่งถ้าเป็นจริงโจทก์ก็น่าจะได้รับความเสียหาย นั้น นับว่าคดีของโจทก์มีมูล ควรได้รับการพิจารณาแล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2505)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จทำให้ผู้อื่นถูกสอบสวน – แม้ไม่ประสงค์ดำเนินคดี ก็อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายได้
คดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจแจ้งความเท็จต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าโจทก์บุกรุกเข้าไปอยู่ในห้องของจำเลย นั้น แม้จำเลยผู้แจ้งจะไม่ประสงค์ให้ดำเนินคดีก็ตาม แต่จากคำแจ้งความนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เรียกโจทก์กับพวกไปสอบสวน เมื่อโจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องได้เช่นนี้ ซึ่งถ้าเป็นจริงโจทก์ก็น่าจะได้รับความเสียหาย นั้น นับว่าคดีของโจทก์มีมูล ควรได้รับการพิจารณาแล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2505)