พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน - ความผิดสัญญาข้าราชการ - เหตุสุดวิสัย - การไล่ออกก่อนทำสัญญา
ปัญหาว่าการที่ พ. ไม่สามารถกลับเข้ารับราชการได้เพราะโจทก์มีคำสั่งให้ออกจากราชการ เนื่องจากการกระทำผิดวินัยก่อนจำเลยทำสัญญาค้ำประกันนั้นเมื่อปรากฏตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศในสัญญาข้อ 5 มีข้อความว่า "เมื่อข้าพเจ้าสำเร็จการศึกษาแล้วก็ดีหรือการศึกษาของข้าพเจ้าต้องยุติลงด้วยประการใด ๆก็ดี ข้าพเจ้าสัญญาว่า จะกลับมาปฏิบัติราชการตามคำสั่งของทางราชการทันที ฯลฯ" และ ข้อ 7 มีข้อความว่า "ถ้าข้าพเจ้าผิดสัญญาข้อ 5ข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินแก่กรมการศึกษานอกโรงเรียน ดังต่อไปนี้ก.ถ้าข้าพเจ้าไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการเลย ข้าพเจ้ายอมชดใช้เงินทุน หรือเงินเดือนทั้งหมด ฯลฯ" เห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ของสัญญาข้อ 5 และ 7 มีความมุ่งหมายว่าหาก พ.สำเร็จการศึกษาหรือการศึกษายุติลงด้วยประการใด ๆ แล้ว พ. ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่งจึงจะถือว่าผิดสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้สั่งให้ พ.ออกจากราชการจึงไม่ใช่กรณีที่พ.ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่ง ตามสัญญาในข้อ 9 ที่มีข้อความว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ หรือในระหว่างที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ข้าพเจ้าประพฤติผิดวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออก หรือออกจากราชการข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับ" นั้น มุ่งหมายถึง ความประพฤติของ พ. นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป มิได้มุ่งหมายถึงความประพฤติในอดีตแต่อย่างใดการที่โจทก์สั่งให้ พ. ออกจากราชการ ก็เนื่องเพราะความประพฤติผิดวินัยของ พ. ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญา ดังนั้นจึงไม่อาจถือได้ว่า พ.ผิดสัญญาดังกล่าวเมื่อพ. ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน พ. จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4831/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางประกันค่าภาษีอากรเพื่อนำของเข้าโดยรีบด่วน การชำระภาษีโดยธนาคารตามสัญญาค้ำประกัน และการไม่มีหนี้ภาษีคงเหลือ
จำเลยผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักร ยื่นคำร้องขออ้างว่ามีความจำเป็นต้องรับของโดยรีบด่วนโดยให้ธนาคารค้ำประกันอากรและรับรองว่าจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนในภายหลัง และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดวงเงินประกันไว้ในคำร้องขอของจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยร้องขอว่ามีความจำเป็นที่จะต้องนำของไปจากอารักขาของศุลกากรโดยรีบด่วน และจำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกัน กับได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมีวงเงินเท่ากับจำนวนเงินประกันภาษีอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์กำหนดไว้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์อนุมัติสัญญาค้ำประกันของจำเลยและรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารไว้เป็นหลักประกันจึงเป็นกรณีที่จำเลยวางหนังสือประกันของธนาคารเพื่อเป็นประกันค่าภาษีอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 40 วรรคสอง สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าจำเลยจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน 30 วัน อันเป็นเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดให้จำเลยผู้นำของเข้าปฏิบัติตามมาตรา 40 วรรคสอง เพื่อให้ได้ค่าภาษีอากร สัญญาค้ำประกันและหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่จำเลยได้วางต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นการประกันค่าภาษีอากรที่ต้องชำระ มิใช่สัญญาค้ำประกันการปฏิบัติพิธีการศุลกากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4761/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการแจ้งหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดหากผู้รับประโยชน์ไม่ปฏิบัติตาม
จำเลยที่ 3 ทำหนังสือค้ำประกันการชำระหนี้เงินค่าจ้างเหมาตามสัญญาของจำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าการเรียกร้องค่าเสียหายจะต้องยื่นเป็นลายลักษณะอักษร ณ ที่สำนักงานของจำเลยที่ 3 ก่อนปิดทำการของวันที่ 20 ตุลาคม 2530อันเป็นวันหมดอายุหนังสือค้ำประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต่อโจทก์หนี้เกิดจากการผิดสัญญาที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 20ตุลาคม 2530 จึงอยู่ในอายุหนังสือค้ำประกัน แต่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวเสียก่อน เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 โดยมิได้ยื่นคำเรียกร้องเป็นลายลักษณ์อักษรให้จำเลยที่ 3 ทราบตามเงื่อนไขภายในกำหนดเวลาในหนังสือค้ำประกัน จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสัญญาค้ำประกันและขอบเขตความรับผิดชอบ ศาลฎีกาพิพากษายืนตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยลงนาม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันให้ไว้แก่โจทก์ สัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม และไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร หากจำเลยที่ 2จะต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วก็จะต้องรับผิดไม่เกิน 150,000 บาท ดังนี้คำให้การจำเลยที่ 2 จึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องหรือไม่ และจำเลยที่ 2จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาเพียงใด คำให้การจำเลยที่ 2หาได้ขัดกัน หรือไม่อาจเป็นไปได้ทั้งสองประการในคราวเดียวกันแต่อย่างใด เพราะข้อต่อสู้ตอนต้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงส่วนข้อต่อสู้ตอนหลังเป็นเรื่องปัญหาข้อกฎหมายในการแปลข้อสัญญาว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด ฉะนั้น การที่ศาลไม่วินิจฉัยให้นั้นจึงไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 2ไม่ได้ให้การในรายละเอียดเจาะจงว่าลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในเอกสารดังกล่าว ไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธินำสืบว่าลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันนั้นไม่ใช่ของจำเลยที่ 2ข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นเรื่องนอกคำให้การจึงรับฟังไม่ได้ การที่จำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกเอกสารหนังสือเดินทางของจำเลยที่ 3 จากกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อพิสูจน์ว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 3 ไม่ชอบเพราะจำเลยที่ 3 ไม่ได้อยู่ในราชอาณาจักรขณะที่มีการนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งแก่จำเลยที่ 3 นั้น เห็นได้ว่า เอกสารดังกล่าวมิใช่เอกสารเกี่ยวกับประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่ 2จึงเป็นเอกสารที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจงดสืบพยานหลักฐานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 86 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยปฏิเสธสัญญาค้ำประกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการรับรองลายมือชื่อและขอบเขตความรับผิดตามสัญญา
จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ สัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม และไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร หากจำเลยที่ 2จะต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วก็จะต้องรับผิดไม่เกิน 150,000 บาท ดังนี้คำให้การจำเลยที่ 2 ตอนต้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงส่วนตอนหลังเป็นเรื่องปัญหาข้อกฎหมายว่าจะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด หาได้ขัดกันไม่จึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหรือไม่ และจะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด คำให้การของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว ไม่ได้ให้การในรายละเอียดว่าลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธินำสืบว่าลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ของจำเลยที่ 2 ข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นเรื่องนอกคำให้การ จึงรับฟังไม่ได้ จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ให้ถือเอาคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2เป็นคำฟ้องฎีกาของจำเลยที่ 2 ด้วยนั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งเป็นฎีกาที่ไม่ชอบจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่เคลือบคลุม: จำเลยต้องเข้าใจสภาพแห่งข้อหาและต่อสู้คดีได้
คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันโจทก์ได้บรรยายฟ้องมาชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยที่ 1ได้เช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ได้แนบสำเนาสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นเอกสารที่กฎหมายต้องการมาพร้อมกับคำฟ้องแล้ว ส่วนข้อที่ว่าโจทก์มีวัตถุที่ประสงค์ในการให้เช่าซื้อรถยนต์หรือไม่เป็นรายละเอียดมิใช่สภาพแห่งข้อหาอันต้องบรรยายมาในฟ้อง โจทก์บรรยายฟ้องอ้างถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาเช่าซื้ออันเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์กล่าวคือ จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อถือว่าสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดทันที จำเลยที่ 1 ต้องคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 10 แต่ปรากฎว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อถูกโจรภัยจำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ราคารถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 6 โจทก์ได้รับชดใช้จากบริษัทที่รับประกันภัยแล้ว 200,000 บาท โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในราคารถยนต์ที่ยังขาดอยู่ คำฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จำเลยทั้งสองจะเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2274/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับผลตรวจลายมือชื่อเป็นข้อตกลง และการใช้พยานหลักฐานอื่นเมื่อผลตรวจไม่ชัดเจน
ตามรายงานกระบวนพิจารณาปรากฏว่าจำเลยที่ 2 แต่ฝ่ายเดียวเป็นผู้แถลงรับและต่อสู้ตลอดจนยอมรับข้อเท็จจริงที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ได้ว่าผลเป็นอย่างไร ตนยอมรับตามนั้น โจทก์เพียงแต่แถลงไม่ค้าน ซึ่งหมายความเพียงว่าไม่ค้านการที่ศาลจะส่งเอกสารต่าง ๆไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์เท่านั้น โจทก์หาได้ยอมรับผลการตรวจพิสูจน์เป็นข้อแพ้ชนะตามที่จำเลยที่ 2 แถลงด้วยแต่อย่างใดไม่ รายงานการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญที่ระบุว่า ไม่อาจจะลงความเห็นให้เป็นหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดได้นั้น แสดงให้เห็นว่าผลการตรวจพิสูจน์ดังกล่าวศาลไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ จึงต้องรับฟังพยานหลักฐานอื่นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันทุนการศึกษา: อำนาจผู้ลงนาม, การปฏิบัติตามสัญญา, และขอบเขตการรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ได้รับทุนการศึกษาภายใต้แผนโคลัมโบ ซึ่งเป็นทุนที่รัฐบาลออสเตรเลียมอบให้แก่รัฐบาลไทยเพื่อคัดเลือกบุคคลไปศึกษา รัฐบาลไทยจึงมีส่วนได้เสียในทุนดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยมีอำนาจหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ เมื่อจำเลยที่ 1เป็นผู้สอบคัดเลือกได้และได้ทำสัญญาการรับทุนกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อสัญญา จำเลยที่ 2 ผู้ทำสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จึงต้องรับผิดตามข้อความในสัญญาที่ทำไว้ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและไม่ยอมชดใช้เงินตามข้อตกลงในสัญญา จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ขณะทำสัญญา ผ. เป็นอธิบดีกรมโจทก์ ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ช. รองอธิบดีรักษาราชการแทน ซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 เรื่อง ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 44 วรรคแรกบัญญัติให้ผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจเช่นเดียวกับผู้ที่ตนแทน ช.จึงมีอำนาจมอบให้ ช. ซึ่งเป็นวิทยากรพิเศษลงลายมือชื่อในสัญญาการรับทุนและสัญญาค้ำประกันแทน ช. จึงลงลายมือชื่อในสัญญาการรับทุนและสัญญาค้ำประกันแทนโจทก์ได้ สัญญาค้ำประกันจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคแรก จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาต่อแม้จะยังคงมีสถานะเป็นข้าราชการและรับเงินเดือนอยู่ก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นการเข้ารับราชการหรือปฏิบัติราชการตามความหมายในสัญญาการรับทุน จึงไม่อาจนำเวลาที่ลาไปศึกษาต่อมารวมกับเวลาที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติราชการจริงได้ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาการรับทุนจะต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามสัญญาการรับทุนทั้งหมด เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยต่อโจทก์นับแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2530 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: ความรับผิดเริ่มเมื่อศาลตัดสินถึงที่สุด
ข้อความในสัญญาค้ำประกันระบุว่า ผู้ร้องจะยอมรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ และคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้นเมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์อาจยืน ยก แก้ หรือกลับเสียซึ่งคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ได้ จึงยังฟังเป็นที่แน่นอนและถึงที่สุดแล้วไม่ได้ ผู้ร้องจึงยังไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันมีเงื่อนไขคดีถึงที่สุด ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดหากคำสั่งศาลชั้นต้นยังไม่ถึงที่สุด
ข้อความในสัญญาค้ำประกันระบุว่า ผู้ร้องจะยอมรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ และคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้น เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์อาจยืน ยก แก้ หรือกลับเสียซึ่งคำสั่งศาลชั้นต้นก็ได้จึงยังฟังเป็นที่แน่นอนและถึงที่สุดแล้วไม่ได้ ผู้ร้องจึงยังไม่ต้องรับผิด