พบผลลัพธ์ทั้งหมด 561 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีบุกรุกที่ดินร่วมกัน แม้ที่ดินต่างแปลง ก็มีสิทธิฟ้องร่วมได้ หากมีส่วนได้เสียร่วมกัน
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ทั้งสองบางส่วนทางด้านทิศเหนือเป็นผืนติดต่อกันในเวลาเดียวกัน เพื่อแย่งสิทธิครอบครองเป็นของตน ดังนี้ โจทก์ทั้งสองย่อมมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีนั้นแล้ว แม้ที่ดินที่ถูกบุกรุกจะมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์คนละฉบับและเป็นที่ดินต่างแปลงกัน ก็เป็นเรื่องหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้น กรณีดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์ทั้งสองมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลความแห่งคดีจึงชอบที่จะเป็นโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยรวมกันมาในคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1855/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินฟ้องเปิดทางจำเป็น แม้ไม่ครอบครอง และฟ้องซ้ำที่ไม่เป็นเหตุต้องห้าม
โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีอำนาจฟ้องให้จำเลยเปิดทางพิพาทที่โจทก์อ้างว่าตกเป็นทางจำเป็นได้โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ครอบครองทางพิพาทและการที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้วขอถอนฟ้องและนำมูลคดีนั้นมาฟ้องเป็นคดีนี้ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมาย มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อน ศาลชั้นต้นจึงยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่โจทก์นำมูลคดีเดียวกันมาฟ้องเป็นคดีนี้ จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ดังนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำอันต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 148 ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่โดยรอบ โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะมา 40 กว่าปี โดยไม่ได้ใช้ทางอื่น ทางพิพาทอยู่ริม สุดของเขตที่ดินของจำเลยทำให้ที่ดินของจำเลยที่ 2 เสียหายน้อยที่สุดและเป็นทางจำเป็นซึ่งพอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์ ดังนี้จำเลยไม่มีสิทธิก่อกำแพงปิดกั้นทางพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมิใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์ไม่จำเป็นต้องระบุเหตุมีสิทธิฟ้องเกิน 1 ปี หากนำสืบพิสูจน์ได้ว่ายังไม่ขาดอายุความ
เรื่องอายุความมิใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์ไม่จำเป็นต้องกล่าวมาในฟ้องว่า คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใดแม้โจทก์จะฟ้องคดีเมื่อเกิน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยทำละเมิดก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญา: ผลกระทบต่อสิทธิฟ้องของโจทก์
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้แทนบริษัทโจทก์ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ ป.ผู้ถือหุ้นของโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องคดีอาญาหรือแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ เมื่อป.ได้แจ้งความร้องทุกขฺ์แล้วต่อมาได้ถอนคำร้องทุกข์ไม่ว่า ป.จะดำเนินการในฐานะกระทำการแทนโจทก์หรือในฐานะผู้ถือหุ้นก็ตาม สิทธิที่โจทก์จะนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีอาญาของกรรมการ/ผู้ถือหุ้น เมื่อกรรมการกระทำผิดต่อบริษัท และการระงับสิทธิฟ้องเนื่องจากการถอนคำร้องทุกข์
ขณะที่ ป. ร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ยักยอกเงินของโจทก์ไปนั้น โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด มีป. ก. ส. และจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นกรรมการ โดยจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือ ป. คนใดคนหนึ่งรวมเป็น 2 คน และประทับตราสำคัญของโจทก์ทำการแทนโจทก์ได้ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยักยอกเงินของโจทก์บรรดาผู้ถือหุ้นซึ่งมีประโยชน์ได้เสียร่วมกับโจทก์นั้นย่อมได้รับความเสียหายโดยนิตินัย ย่อมถือว่า ป. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการคนหนึ่งของโจทก์เป็นผู้เสียหาย จึงมีสิทธิฟ้องคดีอาญาหรือแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1ที่ 2 ฐานยักยอกทรัพย์ของโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2),123ประกอบด้วยมาตรา 2(4) ต่อมา ป. ได้ถอนคำร้องทุกข์นั้นดังนั้นไม่ว่า ป. จะดำเนินการดังกล่าวทั้งหมดในฐานะกระทำการแทนโจทก์หรือในฐานะผู้ถือหุ้น สิทธิที่โจทก์จะนำคดีอาญามาฟ้องก็ย่อมระงับไปตามมาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับสิทธิฟ้องคดีอาญาจากการถอนคำร้องทุกข์ของผู้ถือหุ้น/กรรมการในฐานะผู้เสียหาย
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้แทนบริษัทโจทก์ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ป. ผู้ถือหุ้นของโจทก์ จึงเป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องคดีอาญาหรือแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้เมื่อ ป. ได้แจ้งความร้องทุกข์แล้วต่อมาได้ถอนคำร้องทุกข์ไม่ว่าป. จะดำเนินการในฐานะกระทำการแทนโจทก์หรือในฐานะผู้ถือหุ้นก็ตาม สิทธิที่โจทก์จะนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6002/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าต้องอาศัยเหตุตามกฎหมาย แม้มีการทะเลาะเบาะแว้งหรือทำร้ายร่างกาย แต่หากเหตุเกิดนานแล้วและมีการให้อภัย สิทธิฟ้องหย่าอาจหมดอายุ
โจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ โจทก์จะอ้างว่าจำเลยทิ้งร้างโจทก์ไม่ได้ จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ถึง 2 ครั้ง เป็นการกระทำก่อนฟ้องถึง 14 ปีและ 4 ปีตามลำดับ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย และคงอยู่ด้วยกันตลอดมา ถือว่าโจทก์ได้ให้อภัยจำเลยแล้วสิทธิฟ้องหย่าของโจทก์ย่อมหมดไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1518.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้หลังฟ้องคดีเช็ค: คดีเลิกกันตามกฎหมายเช็คและสิทธิฟ้องอาญาเป็นอันระงับ
คดีความผิดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เมื่อจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว หนี้ตามสัญญากู้ยืมเป็นอันระงับไป มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 7 และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์เป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3883/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยต้องมีผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่เอาประกัน หากไม่มีสิทธิในการฟ้อง
เมื่อไม่ปรากฏว่า บ. ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุจากเจ้าของเดิมก่อนนำมาทำสัญญาประกันภัยไว้กับโจทก์ จึงไม่อาจรับฟังว่า บ. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถคันดังกล่าวขณะที่โจทก์รับประกันภัยไว้ กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างโจทก์กับ บ. จึงไม่ผูกพันคู่สัญญา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 863 แม้โจทก์จะได้ชดใช้ค่าเสียหายแทน บ. ไปก็ไม่ได้รับช่วงสิทธิตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาฐานยักยอก ย่อมระงับสิทธิการฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่อง
ความผิดฐานยักยอก ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวเมื่อผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์และแถลงว่าไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ถือว่าเป็นการถอนคำร้องทุกข์และยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายสิทธินำคดีอาญามาฟ้องเกี่ยวกับความผิดดังกล่าวย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) และย่อมทำให้คำขอในคดีส่วนแพ่งของโจทก์ตกไปด้วย ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้