คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลวงขายเครื่องหมายการค้า แม้สินค้าต่างประเภทกัน หากสร้างความเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ก็เป็นการละเมิด
ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29วรรคสอง. การกระทำที่เป็นการลวงขายมีความหมายกว้างขวางมาก. ไม่จำเป็นว่าสินค้าที่ทำขึ้นจะต้องเป็นสินค้าชนิดเดียวกันหรือประเภทเดียวกันเท่านั้น.ซึ่งแปลความหมายได้ว่า ไม่ใช่แต่เป็นการลวงในวัตถุเท่านั้น. หากรวมถึงการลวงในความเป็นเจ้าของด้วย.
จำเลยใช้เครื่องหมายสินค้าหมากฝรั่งของจำเลยในหีบห่อเหมือนบุหรี่ของโจทก์ตลอดจนลักษณะและสี. คือ ใช้พื้นสีแดง อักษรสีขาว กลางซองบุหรี่ด้านหน้าทำเป็นรูปวงกลมรี เป็นรูปไข่ขนาดเท่ากัน. ผิดแต่แทนที่จะเป็นอักษรคราเว่นเอทำเป็นอักษรโปรเกรส เหนือวงกลมนี้ขึ้นไปเป็นรูปแมวสีดำ รูปร่างหน้าตาขนาดเดียวกัน. แต่ของจำเลยยึดลำตัวสูงกว่าเล็กน้อย อยู่ระหว่างตัวอักษร คำว่าคอร์คทิป เช่นเดียวกัน. ซองด้านหลังทำเป็นรูปกรอบสี่เหลี่ยมมุมกรอบทั้งสี่ข้างทำเป็นรูปและขนาดเดียวกัน. แต่ของโจทก์เป็นอักษรภาษาอังกฤษ ของจำเลยเป็นอักษรไทย. ใต้กรอบลงมามีอักษรฝรั่งสีดำขนาดตัวอักษรเดียวกัน. ด้านข้างของกล่องบุหรี่พิมพ์ด้วยอักษรสีขาวของโจทก์ว่า คราเว่นเอ10ของจำเลยก็เป็นโปรเกรส10. ด้านข้างอีกด้านหนึ่งเป็นอักษรภาษาอังกฤษ ตัวหนังสือสีขาวเช่นเดียวกัน ของโจทก์ว่า เมดอินอิงแลนด์ ของจำเลยเป็น โปรเกรส 10 เหมือนกัน. ทั้งสองข้าง ใต้รูปไข่ด้านหน้า มีอักษรตัวโตขนาดเดียวกันเด่นชัดว่าซิกาแรต เพียงแต่สลับที่กัน. ของโจทก์อยู่ชิดขอบซองแถวล่าง. ของจำเลยอยู่ถัดแถวล่างสูงขึ้นไปบรรทัดหนึ่ง.ผิดกันแต่คำว่า เวอร์ยินเนียกับชิวอิงกัม เท่านั้น. จริงอยู่แม้รูปจะผิดเพี้ยนกันบ้างเล็กน้อยแต่การวินิจฉัยเครื่องหมายการค้าจะต้องให้เหมือนกันทุกสิ่งอย่างหามิได้. เพียงแต่ให้เห็นว่าเครื่องหมายนั้นชวนให้เห็นว่าเป็นลักษณะทำนองเดียวกันหรือเกือบเหมือนสินค้าของโจทก์ก็พอแล้ว. ทั้งจำเลยก็รับว่าได้เคยเห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนแล้ว จึงเป็นการแสดงเจตนาว่าจำเลยแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยแอบอิงเอารูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้กับสินค้าของจำเลยโดยไม่สุจริต. ฉะนั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยนำเอาหีบห่อในลักษณะ ขนาด และสีเช่นเดียวกับของโจทก์ไปใช้กำกับสินค้าหมากฝรั่งของจำเลย. ย่อมเป็นการลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์แล้ว. เป็นการกระทำที่ไม่มีสิทธิจะทำได้. ซึ่งเข้าลักษณะเป็นการผิดกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าเหมือนกันหรือไม่ พิจารณาจากความสำคัญของคำ, สำเนียง, สินค้าประเภทเดียวกัน, และการใช้ก่อน
จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษร WINNER ประกอบกับภาพคนยืนยกมือ ภาพคนขี่ม้ากระโดดข้ามรั้วและอักษรว่าด้วยคุณภาพสินค้า ตามเอกสารหมาย จ.2. ต่อมาโจทก์ขอจดทะเบียนการค้าอักษร WINNERR ไม่มีภาพประกอบตามเอกสารหมายจ.1. ดังนี้เห็นได้ว่าความสำคัญเด่นชัดอยู่ที่คำว่า'WINNERR' กับ 'WINNER' ภาพและอักษรอื่นเป็นแต่ส่วนประกอบ และการที่จะวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าเหมือนกันหรือไม่. จะเพียงแต่เอามาเทียบกันแล้วชี้ขาดว่าไม่เหมือนกัน.เพราะมีความแตกต่างกันบางประการเท่านั้น หาได้ไม่.ยังจะต้องพิจารณาพฤติการณ์ต่างๆประกอบด้วยว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงเข้าใจผิดได้หรือไม่. เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวในลักษณะสำคัญได้ใช้ภาษาต่างประเทศ. มีสำเนียงเรียกขานเหมือนกันและใช้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกัน.ผู้ซื้อย่อมติดใจยึดถือคำเรียกขานและหลงผิดได้ง่ายว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายเป็นอย่างเดียวกัน. เครื่องหมายการค้าตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 จึงมีลักษณะเหมือนกัน. (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2510).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และการใช้สิทธิโดยสุจริต
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปหมีกำลังนั่งป้อนนมลูกด้วยขวดนม ส่วนของจำเลยเป็นรูปหมียืนเกาะถ้วย จึงไม่มีลักษณะในทางเหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่อขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกใด ถือเป็นการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งหมดทั้งจำพวกของสินค้าในจำพวกนั้น ๆ ผู้ขออาจนำเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้กับสินค้าชนิดอื่นในจำพวกนั้นก็ได้ เว้นแต่จะได้ขอจดทะเบียนจำกัดรายการสินค้าไว้แน่นอนว่าจะใช้กับสินค้าของผู้ขอชนิดนั้นอย่างเดียว
โจทก์เรียกขานเครื่องหมายการค้าของตนว่า "ตราหมี" จำเลยเรียกของตนว่า "ตราหมีทอง" ไม่แสดงว่าจำเลยใช้สิทธิในทางไม่สุจริต
การที่จำเลยใช้รูปหมียืนเกาะถ้วยหาเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่เป็นรูปหมีนั่งป้อนนมลูกด้วยขวดนมไม่ เพราะรูปหมีทั่ว ๆ ไปไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแต่อย่างใด โจทก์ไม่มีสิทธิจะสงวนรูปหมีทั่ว ๆ ไปไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของตนแต่ผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า: ความแตกต่างของรูปภาพและขอบเขตการใช้ในสินค้าจำพวกเดียวกัน ไม่ถือเป็นการละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปหมีกำลังนั่งป้อนนมลูกด้วยขวดนม ส่วนของจำเลยเป็นรูปหมียืนเกาะถ้วย จึงไม่มีลักษณะในทางเหมือนหรือคล้ายคลึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่อขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกใด ถือเป็น การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งจำพวกของสินค้าในจำพวกนั้น ๆ ผู้ขออาจนำเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้กับสินค้าชนิดอื่นในจำพวกนั้นก็ได้เว้นแต่จะได้ขอจดทะเบียนจำกัดรายการสินค้าไว้แน่นอนว่าจะใช้กับสินค้าของผู้ขอชนิดนั้นอย่างเดียว
โจทก์เรียกขานเครื่องหมายการค้าของตนว่า 'ตราหมี' จำเลยเรียกของตนว่า 'ตราหมีทอง' ไม่แสดงว่าจำเลยใช้สิทธิในทางไม่สุจริต
การที่จำเลยใช้รูปหมียืนเกาะถ้วยหาเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่เป็นรูปหมีนั่งป้อนนมลูกด้วยขวดนม ไม่ เพราะรูปหมีทั่ว ๆ ไปไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแต่อย่างใดโจทก์ไม่มีสิทธิจะสงวนรูปหมีทั่ว ๆ ไปไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของตนแต่ผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้าหูปลาฉลาม และอายุความหนี้ค่าสินค้า
โจทก์ทำหูปลาฉลามส่งขายตามภัตตาคารทั่วไปเป็นปกติธุระมิใช่ทำตามคำสั่งของผู้จ้างทำเป็นครั้งคราว จึงมิใช่เรื่องจ้างทำของถือได้ว่าเป็นการประกอบการค้า โจทก์ย่อมได้ชื่อว่าเป็นพ่อค้าแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าหูปลาฉลามโจทก์อยู่ แต่จำเลยได้รับหูปลาฉลามจากโจทก์ครั้งสุดท้ายจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 4 ปีเศษแล้วคดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โรงเรือนเก็บสินค้า ถือเป็นที่ไว้สินค้าตามกฎหมายภาษีโรงเรือนฯ แม้ไม่ได้ใช้ทำการค้าโดยตรง
เมื่อสิ่งของที่เก็บไว้ในโรงเรือนของจำเลยเป็นสินค้า ทั้งจำเลยทำการค้าเปิดร้านอีกแห่งหนึ่งและปรากฏว่าบางทีจำเลยเอาสินค้านี้ไปใส่ร้านค้าของจำเลยนั้นดังนี้ ถือได้ว่าโรงเรือนของจำเลยเป็นที่ไว้สินค้าตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 10 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2475 มาตรา 3 ไม่จำเป็นว่าจำเลยจะต้องเปิดทำการค้าที่โรงเรือนนี้หรือถึงกับจะต้องใช้โรงเรือนนี้เป็นที่รับทำการเก็บสินค้าเพื่อบำเหน็จจึงจะเป็นที่ไว้สินค้า และเมื่อจำเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการแห่งทรัพย์สินเพื่อเสียภาษีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยย่อมมีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า เพื่อตัดสินว่าเป็นการละเมิดหรือไม่
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะประกอบกัน 3 ประการคือ ลิงควายและกวางเฉพาะลิงนั้นถือธงด้วย ซึ่งมองไปก็เห็นลักษณะอันเด่นชัดของภาพทั้ง 3 ได้ทันทีตลอดถึงธงที่ถือก็เห็นได้ชัดเจนส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะคนขี่ควายอย่างเดียวไม่เหมือนกันรูปร่างและลักษณะท่าทางของลิงก็แตกต่างกับรูปร่างลักษณะท่าทางของคน เห็นได้ชัดดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะไม่เหมือนหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันจะทำให้สาธารณชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินค่าสินค้าซ้ำซ้อนและการแก้ไขคำพิพากษาผิดพลาด
โจทก์ฎีกาว่า ที่ศาลอุทธรณ์หักเงินจากที่ศาลชั้นต้นบังคับให้จำเลยชำระให้โจทก์ เป็นการหักซ้ำ เพราะศาลชั้นต้นได้เคยหักเงินจำนวนนี้ไว้แล้ว ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า เงินที่ศาลชั้นต้นหักเป็นคนละจำนวนกับที่ศาลอุทธรณ์หัก จึงไม่เป็นการหักซ้ำ แต่ศาลฎีกายังมีอำนาจวินิจฉัยต่อไปได้ว่า ศาลอุทธรณ์ไม่ควรหักเงินจำนวนนั้นเพราะพยานโจทก์มีน้ำหนักฟังได้ว่าจำเลยติดหนี้เงินจำนวนนั้น
คำพิพากษาของศาลชั้นต้นพิมพ์จำนวนเงิน 5,312 บาทผิดเป็น 5,213 บาท ศาลฎีกาแก้ให้ถูกต้องได้เองโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่น เป็นความผิดตาม พ.ร.ก.เครื่องหมายการค้า
ฟ้องบรรยายเล่าเรื่องว่า จำเลยได้ผลิตแป้งน้ำปิดรูปเครื่องหมายอักษรไทยว่า แพนเค้กน้ำ มีลักษณะรูปเครื่องหมายตัวอักษรสำเนียงเรียกเหมือนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์นำออกจำหน่าย ทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ เช่นนี้เห็นได้ว่าคำฟ้องได้รวมการกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรา 272(1) ไว้ด้วย และในคำขอท้ายฟ้องก็ระบุมาตรา 272 ไว้ แสดงให้เห็นเจตนาว่าประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 272(1) ด้วย
จำเลยที่ 2,3 รู้อยู่ดีแล้วว่าสินค้าเครื่องสำอางค์แป้งน้ำ PAN-CAKE ของโจทก์เป็นชื่อแพร่หลายคนรู้จักทั่วไป จำเลยจึงเอาคำว่า แพนเค้ก มาใช้กับสินค้าแป้งน้ำของจำเลยบ้าง เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้า PAN-CAKE ของโจทก์จึงเป็นความผิดตามมาตรา 272(1) ส่วนจำเลยที่ 4,5 เป็นเพียงผู้จำหน่าย ไม่ปรากฏว่าได้รู้ว่าสินค้านั้นเอาคำว่า PAN-CAKE ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้จึงไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักลอบนำเข้าสลากและสินค้า การริบรถยนต์ของผู้เช่า และบทบัญญัติที่ขัดรัฐธรรมนูญ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยได้ลักลอบนำสลากกินแบ่งของสหพันธรัฐมลายาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยวิธีซ่อนเร้น ด้วยการละเว้นไม่ผ่านศุลกากรให้ถูกต้อง นั้น ชัดเจนพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงรายละเอียดว่าการผ่านศุลกากรโดยถูกต้องจะต้องทำอย่างไร ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2467 มาตรา 27 เป็นบทบังคับให้ผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักร แม้จะเป็นของที่ไม่ต้องเสียอากรก็ต้องผ่านศุลกากรโดยถูกต้องก่อน
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2480 มาตรา 11 นั้น เป็นบทลงโทษผู้ทำการขนส่งฝ่าฝืนมาตรา 7 และ 8 จะนำมาปรับแก่กรณีผู้ลักลอบนำของเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ได้
เมื่อจำเลยใช้รถยนต์ของกลางลักลอบนำของซ่อนเร้นเข้ามาในราชอาณาจักร อันเป็นความผิดแล้ว แม้ของจะมากน้อยเท่าใด ก็ได้ชื่อว่าจำเลยใช้รถยนต์ของกลางกระทำผิดด้วยแล้ว
พระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 ที่บัญญัติให้ริมทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นของบุคคลใดและเจ้าของจะได้รู้เห็นในการกระทำผิดด้วยหรือไม่นั้น ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เป็นโมฆะ
of 25