พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิออกเสียงของเจ้าหนี้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ล้มละลาย: การไม่มีส่วนได้เสียโดยตรงหรือโดยอ้อม
จำเลยถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องรายที่ 2 เป็นเจ้าหนี้จำเลยซึ่งได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นลูกหนี้ของจำเลยโดยค้างชำระเงินค่าหุ้น ได้ยื่นคำขอลดหนี้ของตนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งได้มีการนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอนี้ หนี้รายนี้เป็นหนี้ซึ่งผู้ร้องรายที่ 1 ต้องรับผิดในฐานะส่วนตัว การที่ผู้ร้องรายที่ 1 ขอลดหนี้นั้น หากผลของการประชุมเจ้าหนี้เป็นผลดีแก่ผู้ร้องรายที่ 1 เช่น ได้รับลดจำนวนหนี้หรืองดดอกเบี้ยทรัพย์สินของจำเลยส่วนที่ลดไปก็เป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นส่วนตัวแต่ผู้เดียว เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องรายที่ 1 เป็นผู้มีหุ้นส่วนกับผู้ร้องรายที่ 2 และผู้ร้องรายที่ 2 จะได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยโดยประการใดแล้ว ผลของการประชุมเจ้าหนี้ไม่ว่าจะมีมติเป็นอย่างใด ย่อมไม่ทำให้ผู้ร้องรายที่ 2 หรือผู้มีหุ้นส่วนกับผู้ร้องรายที่ 2 ได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยโดยตรงหรือโดยอ้อมนอกจากที่ควรได้รับตามส่วนในฐานะเป็นเจ้าหนี้เช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ที่ผู้ร้องรายที่ 2 เคยเข้าควบคุมดำเนินกิจการของจำเลยและรับเงินแทนจำเลย ผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทจำเลยส่วนใหญ่เป็นพนักงานและกรรมการของผู้ร้องรายที่ 2 ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องรายที่ 2 กับจำเลย แม้ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลย กิจการนั้น ๆ ก็ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ร้องรายที่ 1 ในฐานะส่วนตัวแม้ผู้ร้องรายที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีจำนวนหนี้เกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหนี้ทั้งหมดและแสดงท่าทีจะลงคะแนนเสียงให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องรายที่ 1 ก็เป็นเรื่องของเจ้าหนี้จะใช้สิทธิของตนได้ตามความสมัครใจ จะถือเป็นเหตุว่า เจ้าหนี้ผู้นั้นได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยหาได้ไม่ ดังนี้ ผู้ร้องรายที่ 2 จึงไม่ต้องห้ามออกเสียงลงคะแนนในข้อปรึกษาของที่ประชุมเจ้าหนี้ในเรื่องนี้ตามมาตรา 34 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามติของที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ก็มีอำนาจที่จะยื่นคำขอต่อศาลห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นได้ตามมาตรา 36 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ผู้ร้องรายที่ 2 งดออกเสียง ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้ภายในกำหนดการที่ผู้ร้องทั้งสองมิได้โต้แย้งก็ดี ผู้ร้องรายที่1 ได้ยื่นคำขอใหม่ก็ดีมิได้มีบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามไม่ให้ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาล ศาลย่อมมีคำสั่งให้ยกเลิกมติและคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการพิจารณาคำขอลดหนี้ของผู้ร้องรายที่ 1 ที่ประชุมไปนั้นให้จัดประชุมใหม่ และให้ผู้ร้องรายที่ 2 มีสิทธิลงคะแนนได้พลางก่อนโดยมีเงื่อนไขตามมาตรา 35
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิออกเสียงเจ้าหนี้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ล้มละลาย: การมีส่วนได้เสียโดยตรงและโดยอ้อม
จำเลยถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องรายที่ 2 เป็นเจ้าหนี้จำเลยซึ่งได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นลูกหนี้ของจำเลยโดยค้างชำระเงินค่าหุ้น ได้ยื่นคำขอลดหนี้ของตนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งได้มีการนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอนี้ หนี้รายนี้เป็นหนี้ซึ่งผู้ร้องรายที่ 1 ต้องรับผิดในฐานะส่วนตัว การที่ผู้ร้องรายที่ 1 ขอลดหนี้นั้น หากผลของการประชุมเจ้าหนี้เป็นผลดีแก่ผู้ร้องรายที่ 1 เช่น ได้รับลดจำนวนหนี้หรืองดดอกเบี้ยทรัพย์สินของจำเลยส่วนที่ลดไปก็เป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นส่วนตัวแต่ผู้เดียว เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องรายที่ 1 เป็นผู้มีหุ้นส่วนกับผู้ร้องรายที่ 2 และผู้ร้องรายที่ 2 จะได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยโดยประการใดแล้ว ผลของการประชุมเจ้าหนี้ไม่ว่าจะมีมติเป็นอย่างใด ย่อมไม่ทำให้ผู้ร้องรายที่ 2 หรือผู้มีหุ้นส่วนกับผู้ร้องรายที่ 2 ได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยโดยตรงหรือโดยอ้อมนอกจากที่ควรได้รับตามส่วนในฐานะเป็นเจ้าหนี้เช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ที่ผู้ร้องรายที่ 2 เคยเข้าควบคุมดำเนินกิจการของจำเลยและรับเงินแทนจำเลย ผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทจำเลยส่วนใหญ่เป็นพนักงานและกรรมการของผู้ร้องรายที่ 2 ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องรายที่ 2 กับจำเลย แม้ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลย กิจการนั้น ๆ ก็ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ร้องรายที่ 1 ในฐานะส่วนตัวแม้ผู้ร้องรายที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีจำนวนหนี้เกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหนี้ทั้งหมดและแสดงท่าทีจะลงคะแนนเสียงให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องรายที่ 1 ก็เป็นเรื่องของเจ้าหนี้จะใช้สิทธิของตนได้ตามความสมัครใจ จะถือเป็นเหตุว่า เจ้าหนี้ผู้นั้นได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยหาได้ไม่ ดังนี้ ผู้ร้องรายที่ 2 จึงไม่ต้องห้ามออกเสียงลงคะแนนในข้อปรึกษาของที่ประชุมเจ้าหนี้ในเรื่องนี้ตามมาตรา 34 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามติของที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ก็มีอำนาจที่จะยื่นคำขอต่อศาลห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นได้ตามมาตรา 36 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ผู้ร้องรายที่ 2 งดออกเสียง ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องผู้มีส่วนได้เสียย่อมยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้ภายในกำหนด การที่ผู้ร้องทั้งสองมิได้โต้แย้งก็ดี ผู้ร้องรายที่1 ได้ยื่นคำขอใหม่ก็ดี มิได้มีบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามไม่ให้ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาล ศาลย่อมมีคำสั่งให้ยกเลิกมติและคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการพิจารณาคำขอลดหนี้ของผู้ร้องรายที่ 1 ที่ประชุมไปนั้นให้จัดประชุมใหม่ และให้ผู้ร้องรายที่ 2 มีสิทธิลงคะแนนได้พลางก่อนโดยมีเงื่อนไขตามมาตรา 35
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตนายจ้างต่อลูกจ้าง: ความมีส่วนได้เสีย, สัญญาประกันชีวิต vs. ประกันวินาศภัย, การจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวน
1. โจทก์เอาประกันชีวิตลูกจ้างซึ่งขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันของโจทก์นั้นเห็นได้ว่าจะต้องรับผิดต่อการกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของลูกจ้าง และยังต้องรับผิดจ่ายเงินให้แก่ทายาทผู้อยู่ใต้อุปการะของลูกจ้างผู้ตายตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ประกอบกับการขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันย่อมต้องอาศัยบุคคลที่มีความชำนาญและไว้วางใจ เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันชีวิตลูกจ้างดังกล่าวนี้ได้
2. สัญญาประกันอุบัติเหตุของบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตถือว่าเป็นสัญญาประกันชีวิต เพราะอาศัยความมรณะเป็นเงื่อนไขการใช้เงินตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889
3. สัญญาประกันชีวิตมิใช่สัญญาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังเช่นสัญญาประกันวินาศภัย แต่เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใจใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ โดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่งฉะนั้น เมื่อโจทก์นายจ้างเอาประกันชีวิตของลูกจ้างในกรณีอุบัติเหตุไว้กับจำเลยเป็นจำนวนเงินหนึ่งแสนบาท โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์และลูกจ้างที่ระบุในกรมธรรม์ได้ประสพอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตระหว่างอายุสัญญา จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้โจทก์ตามเงื่อนไขแห่งสัญญา
(ข้อ 1 และ 3 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 34/2515)
2. สัญญาประกันอุบัติเหตุของบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตถือว่าเป็นสัญญาประกันชีวิต เพราะอาศัยความมรณะเป็นเงื่อนไขการใช้เงินตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889
3. สัญญาประกันชีวิตมิใช่สัญญาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังเช่นสัญญาประกันวินาศภัย แต่เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใจใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ โดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่งฉะนั้น เมื่อโจทก์นายจ้างเอาประกันชีวิตของลูกจ้างในกรณีอุบัติเหตุไว้กับจำเลยเป็นจำนวนเงินหนึ่งแสนบาท โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์และลูกจ้างที่ระบุในกรมธรรม์ได้ประสพอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตระหว่างอายุสัญญา จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้โจทก์ตามเงื่อนไขแห่งสัญญา
(ข้อ 1 และ 3 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 34/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกของผู้มีส่วนได้เสียร่วมในทรัพย์สิน
ผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับเจ้ามรดก ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านในกรณีที่มีผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่มาจากการช่วยเหลือด้านกฎหมาย: การนำสืบสัญญาเดิมเพื่อพิสูจน์เจตนาและส่วนได้เสีย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายในการเป็นความให้จำเลยโดยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยจะขายที่ดินที่เป็นความให้โจทก์ในราคาที่โจทก์ต้องออกค่าใช้จ่ายไป ในที่สุดจำเลยได้ที่พิพาทกลับคืนมาโจทก์จำเลยจึงทำหนังสือสัญญาซื้อขายฉบับลงวันที่ 3 พฤศจิกายน2509 โดยจำเลยขายที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยบิดพลิ้วโจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงและสัญญาดังกล่าวศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การกระทำของโจทก์เป็นเรื่องแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน โดยที่โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในมูลคดีนั้นเลยข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะ โจทก์อุทธรณ์ว่าความจริงก่อนที่จำเลยจะเป็นความกับผู้มีชื่อ โจทก์ได้วางเงินมัดจำซื้อที่ดินแปลงพิพาทจากจำเลยตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายฉบับลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2509โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและเมื่อจำเลยได้ที่พิพาทกลับคืนมาโจทก์จำเลยจึงได้นำสัญญาฉบับลงวันที่ 5 พฤษภาคม มาเขียนใหม่เป็นสัญญาฉบับลงวันที่ 3 พฤศจิกายน และโจทก์ประสงค์จะนำสืบถึงสัญญาฉบับลงวันที่ 5 พฤษภาคม เช่นนี้ จึงเห็นได้ว่าเป็นการนำสืบเพื่อแสดงว่า ก่อนที่จะมีการทำสัญญาฉบับลงวันที่ 3 พฤศจิกายนโจทก์จำเลยได้เคยทำสัญญาฉบับลงวันที่ 5 พฤษภาคม กันไว้ ซึ่งสัญญาฉบับลงวันที่ 5 พฤษภาคมนี้ก็ถือได้ว่าเป็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบตามความในมาตรา 87(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โจทก์จึงนำสืบสัญญาฉบับนี้ได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้ในการร้องสอดคดีแบ่งมรดก: ผู้ร้องสอดต้องมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีจึงจะร้องสอดได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกจากจำเลย ผู้ร้องสอดอ้างว่าที่แปลงนี้เป็นของจำเลยแล้ว จำเลยกู้เงินผู้ร้องสอดไปแล้วตกลงยอมขายที่แปลงนี้ทั้งหมดแก่ผู้ร้องสอดเพื่อเป็นการชำระหนี้ ถ้าจำเลยแพ้คดีผู้ร้องสอดจะได้รับความเสียหายขอเข้ามาเป็นคู่ความร่วม ข้ออ้างดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องสอดมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้ในการร้องสอดคดีแบ่งมรดก แม้จำเลยตกลงจะขายที่ดินเพื่อชำระหนี้ ก็ไม่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกจากจำเลย ผู้ร้องสอดอ้างว่าที่แปลงนี้เป็นของจำเลยแล้ว จำเลยกู้เงินผู้ร้องสอดไปแล้วตกลงยอมขายที่แปลงนี้ทั้งหมดแก่ผู้ร้องสอดเพื่อเป็นการชำระหนี้ ถ้าจำเลยแพ้คดีผู้ร้องสอดจะได้รับความเสียหายขอเข้ามาเป็นคู่ความร่วม ข้ออ้างดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องสอดมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดก: ต้องระบุส่วนได้เสียของทายาททั้งหมดก่อน
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่านาพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่ามีสิทธิได้รับส่วนแบ่งนาพิพาทบางส่วนร่วมกับโจทก์ ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์จำเลยต่างทำนาพิพาทด้วยกัน ต่างเป็นเจ้าของรวมกันดังนี้ คดียังอาจมีทายาทอื่นครอบครองนาพิพาทร่วมอีกซึ่งมิได้เข้ามาในคดี จะกำหนดแบ่งส่วนเกี่ยวกับนาพิพาทให้แก่คู่ความยังไม่ได้ชอบที่จะว่ากล่าวกันเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก จึงต้องยกฟ้องคดีของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกมีสิทธิขอเป็นได้ แม้ไม่ใช่ทายาทโดยตรง
คำว่าผู้มีส่วนได้เสียในมาตรา 1713 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะทายาทโดยธรรมหรือในทางพินัยกรรมของผู้ตายโดยตรง พ. เป็นทายาทโดยธรรมของ ท. และ พ. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้โจทก์ เมื่อ พ. ตายไปแล้วโจทก์ก็มีสิทธิร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ได้ แต่การที่ศาลจะตั้งใครนั้นต้องคำนึงถึงวรรค 5 แห่งมาตรานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้จำกัดเฉพาะทายาท ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกย่อมมีสิทธิขอเป็นได้
คำว่าผู้มีส่วนได้เสียในมาตรา 1713 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในฐานะทายาทโดยธรรมหรือในทางพินัยกรรมของผู้ตายโดยตรง พ. เป็นทายาทโดยธรรมของ ท. และ พ. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้โจทก์ เมื่อ พ. ตายไปแล้วโจทก์ก็มีสิทธิร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ได้ แต่การที่ศาลจะตั้งใครนั้นต้องคำนึงถึงวรรคห้าแห่งมาตรานี้