พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,449 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในสัญญา การปล่อยเวลาให้หนี้ดอกเบี้ยทบเพิ่มโดยไม่บังคับชำระ
โจทก์อาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายเป็นช่องทางให้โจทก์ได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รับย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมศาลฎีกาเห็นควรสั่งค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมศาลฎีกาเห็นควรสั่งค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2589/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีหลักฐานบังคับคดี การออกเช็คไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2539จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ร่วมจำนวน 240,000 บาท กำหนดชำระคืนภายในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2540 ตามสัญญากู้เงิน เอกสารหมาย จ.5 เมื่อสัญญาครบกำหนด จำเลยขอผัดผ่อนการชำระหนี้ไปอีก 2 เดือน โดยทำสัญญากู้เงินฉบับใหม่ตามเอกสารหมาย จ.6 พร้อมออกเช็คพิพาทจำนวนเงิน240,000 บาท ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวแก่โจทก์ร่วมตามเอกสารหมายจ.3 เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนด โจทก์ร่วมได้นำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินด้วยเหตุผลว่า บัญชีปิดแล้ว สำหรับสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยนั้น ปรากฏว่ายังมิได้ปิดอากรแสตมป์
++ คดีคงมีปัญหาตามฎีกาของโจทก์ร่วมว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่
++ เห็นว่า เมื่อสัญญากู้อันเป็นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทมิได้ปิดอากรแสตมป์ ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 จึงรับฟังไม่ได้ว่ามีการทำสัญญากู้กันเป็นหนังสืออันถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ เมื่อการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยมีจำนวนกว่าห้าสิบบาทขึ้นไป หนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวจึงไม่อาจจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 แม้โจทก์ร่วมจะได้ยื่นสัญญากู้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อขอเสียอากร และได้รับอนุมัติให้เสียอากรพร้อมกับเรียกเก็บเงินเพิ่มอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 113ภายหลังเมื่อได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันมีผลให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ ดังที่โจทก์ร่วมอ้างก็ตาม แต่ก็เป็นการทำให้หนี้นั้นมีหลักฐานและสามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ในภายหลังจากวันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดให้ใช้เงินอันถือว่าเป็นวันที่ออกเช็คแล้ว
++ ดังนั้น เมื่อวันที่จำเลยออกเช็ค หนี้ตามสัญญากู้รายนี้ยังไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมายการกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย และขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2539จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ร่วมจำนวน 240,000 บาท กำหนดชำระคืนภายในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2540 ตามสัญญากู้เงิน เอกสารหมาย จ.5 เมื่อสัญญาครบกำหนด จำเลยขอผัดผ่อนการชำระหนี้ไปอีก 2 เดือน โดยทำสัญญากู้เงินฉบับใหม่ตามเอกสารหมาย จ.6 พร้อมออกเช็คพิพาทจำนวนเงิน240,000 บาท ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวแก่โจทก์ร่วมตามเอกสารหมายจ.3 เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนด โจทก์ร่วมได้นำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินด้วยเหตุผลว่า บัญชีปิดแล้ว สำหรับสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยนั้น ปรากฏว่ายังมิได้ปิดอากรแสตมป์
++ คดีคงมีปัญหาตามฎีกาของโจทก์ร่วมว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่
++ เห็นว่า เมื่อสัญญากู้อันเป็นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทมิได้ปิดอากรแสตมป์ ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 จึงรับฟังไม่ได้ว่ามีการทำสัญญากู้กันเป็นหนังสืออันถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ เมื่อการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยมีจำนวนกว่าห้าสิบบาทขึ้นไป หนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวจึงไม่อาจจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 แม้โจทก์ร่วมจะได้ยื่นสัญญากู้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อขอเสียอากร และได้รับอนุมัติให้เสียอากรพร้อมกับเรียกเก็บเงินเพิ่มอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 113ภายหลังเมื่อได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันมีผลให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ ดังที่โจทก์ร่วมอ้างก็ตาม แต่ก็เป็นการทำให้หนี้นั้นมีหลักฐานและสามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ในภายหลังจากวันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดให้ใช้เงินอันถือว่าเป็นวันที่ออกเช็คแล้ว
++ ดังนั้น เมื่อวันที่จำเลยออกเช็ค หนี้ตามสัญญากู้รายนี้ยังไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมายการกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย และขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีค้ำประกันและการสะดุดหยุดของอายุความในคดีล้มละลาย
++ เรื่อง ค้ำประกัน ++
++ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 (3) ที่ว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หมายถึง คดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ลูกหนี้มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องย่อมไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าดำเนินการ จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อโจทก์แม้ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เด็ดขาดและโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เพราะจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. แต่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
++ แม้จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่เมื่อขณะทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้อายุความยังไม่เริ่มนับ โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เป็นคดีล้มละลายเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(2) เป็นโทษแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. และย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วยตามมาตรา 692 และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในภายหลัง ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ +++
++ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 (3) ที่ว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หมายถึง คดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ลูกหนี้มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องย่อมไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าดำเนินการ จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อโจทก์แม้ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เด็ดขาดและโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เพราะจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. แต่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
++ แม้จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่เมื่อขณะทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้อายุความยังไม่เริ่มนับ โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เป็นคดีล้มละลายเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(2) เป็นโทษแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. และย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วยตามมาตรา 692 และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในภายหลัง ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ +++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อวัสดุก่อสร้างโดยมิได้ทำตามระเบียบพัสดุ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบหนี้
แม้พันตำรวจเอก ผ. นายกเทศมนตรีจะสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างโดยเขียนข้อความลงในนามบัตรของตนแล้วมอบให้ ว. ไปติดต่อสั่งซื้อจากโจทก์ก็ตามแต่การซื้อโดยวิธีพิเศษนี้ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 17,20 และ 22 กำหนดให้เจ้าหน้าที่พัสดุต้องจัดทำรายงานเสนอนายกเทศมนตรีผู้มีอำนาจสั่งซื้อถึงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อ รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อ ราคามาตรฐานหรือราคากลางของทางราชการ หรือราคาที่เคยซื้อหลังสุดภายในเวลา 2 ปีงบประมาณวงเงินที่จะซื้อ กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้น วิธีที่จะซื้อและเหตุผลที่ต้องซื้อโดยวิธีนั้น รวมทั้งการขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการซื้อเพื่อในนายกเทศมนตรีอนุมัติก่อน แต่ปรากฏว่าโจทก์ส่งวัสดุก่อสร้างให้จำเลยทันทีทั้งที่เจ้าหน้าที่พัสดุยังไม่ได้ทำรายงานเสนอนายกเทศมนตรี เมื่อนายกเทศมนตรียังมิได้ให้ความเห็นชอบในรายงานดังกล่าว แสดงว่าจำเลยยังไม่ได้ตกลงซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ด้วยวิธีพิเศษ การที่โจทก์ส่งวัสดุก่อสร้างให้แก่จำเลยจึงเป็นการกระทำโดยพลการของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยจำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอหักเงินบำเหน็จเพื่อชำระหนี้จากการประนีประนอมยอมความ: โจทก์ต้องใช้กระบวนการบังคับคดี
แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่า คดีอยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมและจำเลยที่ 1 ยังมิได้ผิดนัด การที่โจทก์มีหนังสือขอให้ศาลจังหวัดสุรินทร์หักเงินบำเหน็จที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเนื่องจากการลาออกจากราชการเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมเป็นการไม่ชอบนั้น ก็เป็นเรื่องที่โจทก์มิได้มีการบังคับคดีจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ.ภาค 4 แต่เป็นเรื่องที่โจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 นอกเหนือการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม จำเลยที่ 1 ชอบที่จะไปว่ากล่าวโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9636/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อชำระค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน: เช็คออกเพื่อหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ++
ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ การวินิจฉัยปัญหานี้จำต้องอาศัยข้อเท็จจริงซึ่งศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
การที่จำเลยผิดสัญญาไม่ไปจดทะเบียนรับโอนที่ดินในวันที่กำหนดตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ความเสียหายของโจทก์ผู้จะซื้อย่อมเกิดขึ้นแล้วนับแต่วันนั้นวันออกเช็คตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4คือวันที่ลงในเช็ค แม้จำเลยเขียนเช็คและมอบเช็คให้แก่โจทก์ในวันที่จำเลยได้ตกลงชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ วันออกเช็คคือวันอันเป็นวันที่ลงในเช็ค เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ การวินิจฉัยปัญหานี้จำต้องอาศัยข้อเท็จจริงซึ่งศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
การที่จำเลยผิดสัญญาไม่ไปจดทะเบียนรับโอนที่ดินในวันที่กำหนดตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ความเสียหายของโจทก์ผู้จะซื้อย่อมเกิดขึ้นแล้วนับแต่วันนั้นวันออกเช็คตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4คือวันที่ลงในเช็ค แม้จำเลยเขียนเช็คและมอบเช็คให้แก่โจทก์ในวันที่จำเลยได้ตกลงชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ วันออกเช็คคือวันอันเป็นวันที่ลงในเช็ค เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9636/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คชำระค่าเสียหายจากสัญญาซื้อขายที่ดิน: การออกเช็คเพื่อหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้
จำเลยไม่ไปจดทะเบียนรับโอนที่ดินในวันที่กำหนดตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินหรือสัญญาวางมัดจำ ความเสียหายของโจทก์ผู้จะขายย่อมเกิดขึ้นแล้วนับแต่วันนั้น การที่จำเลยเขียนเช็คและมอบเช็คให้แก่โจทก์ในวันที่จำเลยได้ตกลงชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แต่วันดังกล่าวก็มิใช่วันออกเช็ค วันออกเช็คคือวันอันเป็นวันที่ลงในเช็ค การออกเช็คพิพาทเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9593/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการชำระค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินเกินความจำเป็น ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ชำระเฉพาะส่วนของหนี้
แม้จำเลยที่ 1 จะได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 19767 โดยอ้างว่าโจทก์นำยึดเกินความจำเป็นแก่การบังคับคดี และโจทก์ยื่นคำคัดค้านไว้แต่ขณะคดีอยู่ระหว่างไต่สวน จำเลยที่ 1 ได้ถอนคำร้องฉบับดังกล่าว คดีจึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์นำยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เกินความจำเป็นแก่การบังคับคดีหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงและมีคำสั่งให้โจทก์ต้องชำระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินทั้งหมดที่ยึด ทั้งที่จำเลยที่ 1 ถอนคำร้องไปแล้วจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา โจทก์คงมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 3 ครึ่ง จากราคาทรัพย์สินที่ยึด แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9513/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกหนี้บัตรเครดิต: นับจากวันผิดนัดชำระหนี้ตามใบแจ้งยอด
จำเลยให้การว่า โจทก์ต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความ 2 ปี อันเป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าขาดอายุความแล้ว ส่วนเหตุที่ฟ้องภายในอายุความ 2 ปีนั้น จำเลยได้ระบุในคำให้การว่า โจทก์ประกอบธุรกิจให้บริการแก่ลูกค้าโดยออกบัตรเครดิตให้ลูกค้านำบัตรไปใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าและโจทก์เป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายแทนลูกค้า จึงเป็นผู้ประกอบกิจการค้าได้ออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยไป จึงต้องฟ้องเรียกเงินทดรองคืนภายในกำหนดสองปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 อันเป็นการบรรยายถึงเหตุแห่งการนั้นแล้ว คำให้การของจำเลยจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง และถือว่ามีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องอายุความแล้ว
โจทก์ประกอบธุรกิจมีวัตถุประสงค์ให้บริการแก่ลูกค้าของโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกในรูปของบัตรเครดิต โดยสมาชิกสามารถนำไปชำระสินค้าและค่าบริการต่าง ๆ แทนเงินสดให้แก่ร้านค้าหรือสถานที่ให้บริการที่เป็นสมาชิกของโจทก์หรือใช้บัตรเครดิตดังกล่าวเบิกเงินสดจากธนาคารโจทก์หรือธนาคารอื่นที่สมาชิกร่วมกับโจทก์ การที่โจทก์ชำระเงินให้จำเลยในกรณีที่จำเลยเบิกเงินสดโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติซึ่งสมาชิกจะต้องเสียค่าบริการให้แก่โจทก์ หรือมูลหนี้ตามบัตรเครดิตเป็นหนี้ที่จำเลยใช้ร่วมกับบัญชีเดินสะพัดก็ตาม ถือว่าเป็นการให้บริการความสะดวกแก่บัตรเครดิตของโจทก์ อันเป็นการจูงใจเพื่อให้บุคคลทั่วไปจะได้เข้ามาเป็นสมาชิกของโจทก์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองไปจากจำเลย ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความสองปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7)
ตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์จะแจ้งยอดหนี้ส่งให้จำเลยทราบในแต่ละงวดที่เรียกเก็บและให้ถือว่าหนี้ถึงกำหนดตามที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ กรณีเช่นนี้เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดงวดใด โจทก์ก็อาจบังคับสิทธิเรียกร้องสำหรับงวดนั้นได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัด จึงต้องเริ่มนับอายุความสำหรับหนี้แต่ละงวดตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัด
โจทก์ประกอบธุรกิจมีวัตถุประสงค์ให้บริการแก่ลูกค้าของโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกในรูปของบัตรเครดิต โดยสมาชิกสามารถนำไปชำระสินค้าและค่าบริการต่าง ๆ แทนเงินสดให้แก่ร้านค้าหรือสถานที่ให้บริการที่เป็นสมาชิกของโจทก์หรือใช้บัตรเครดิตดังกล่าวเบิกเงินสดจากธนาคารโจทก์หรือธนาคารอื่นที่สมาชิกร่วมกับโจทก์ การที่โจทก์ชำระเงินให้จำเลยในกรณีที่จำเลยเบิกเงินสดโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติซึ่งสมาชิกจะต้องเสียค่าบริการให้แก่โจทก์ หรือมูลหนี้ตามบัตรเครดิตเป็นหนี้ที่จำเลยใช้ร่วมกับบัญชีเดินสะพัดก็ตาม ถือว่าเป็นการให้บริการความสะดวกแก่บัตรเครดิตของโจทก์ อันเป็นการจูงใจเพื่อให้บุคคลทั่วไปจะได้เข้ามาเป็นสมาชิกของโจทก์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองไปจากจำเลย ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความสองปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7)
ตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์จะแจ้งยอดหนี้ส่งให้จำเลยทราบในแต่ละงวดที่เรียกเก็บและให้ถือว่าหนี้ถึงกำหนดตามที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ กรณีเช่นนี้เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดงวดใด โจทก์ก็อาจบังคับสิทธิเรียกร้องสำหรับงวดนั้นได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัด จึงต้องเริ่มนับอายุความสำหรับหนี้แต่ละงวดตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9513/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้บัตรเครดิต: นับจากวันผิดนัดชำระแต่ละงวด
จำเลยให้การว่า โจทก์ต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความ 2 ปีอันเป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าขาดอายุความ และจำเลยได้ระบุในคำให้การว่า โจทก์ประกอบธุรกิจให้บริการแก่ลูกค้าโดยออกบัตรเครดิตให้ลูกค้านำบัตรไปใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าและโจทก์เป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายแทนลูกค้าจึงเป็นผู้ประกอบกิจการค้าได้ออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยไป จึงต้องฟ้องเรียกเงินทดรองคืนภายในกำหนดสองปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 อันเป็นการบรรยายถึงเหตุแห่งการนั้นแล้ว คำให้การของจำเลยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ถือว่ามีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องอายุความแล้ว
โจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ ฟ้องเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความสองปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) ตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์จะแจ้งยอดหนี้ส่งให้จำเลยทราบในแต่ละงวดที่เรียกเก็บและให้ถือว่าหนี้ถึงกำหนดตามที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดงวดใด โจทก์ก็อาจบังคับสิทธิเรียกร้องสำหรับงวดนั้นได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัด จึงต้องเริ่มนับอายุความสำหรับหนี้แต่ละงวดตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัด
โจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ ฟ้องเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความสองปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) ตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์จะแจ้งยอดหนี้ส่งให้จำเลยทราบในแต่ละงวดที่เรียกเก็บและให้ถือว่าหนี้ถึงกำหนดตามที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดงวดใด โจทก์ก็อาจบังคับสิทธิเรียกร้องสำหรับงวดนั้นได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัด จึงต้องเริ่มนับอายุความสำหรับหนี้แต่ละงวดตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัด