คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำทรัพย์สินของผู้อื่นไปเพื่อเรียกหนี้ ไม่ถือเป็นการลักทรัพย์ หากมีเจตนาให้ชำระหนี้เท่านั้น
จำเลยเอาตู้เย็นของผู้เสียหายไปเพื่อให้ผู้เสียหายและภริยาผู้เสียหายไปติดต่อชำระหนี้ที่ค้างต่อกัน จึงไม่เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นกรณีไม่ต้องด้วย ป.อ. มาตรา 334จำเลยจึงไม่มีความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำทรัพย์สินของผู้อื่นไปเพื่อเรียกร้องหนี้ ไม่ถือเป็นการลักทรัพย์ หากมีเจตนาให้ชำระหนี้
ภริยาผู้เสียหายเป็นหนี้จำเลย จำเลยจึงตามไปที่บ้านผู้เสียหายและเอาตู้เย็นของผู้เสียหายไปเพื่อให้ผู้เสียหายและภริยาผู้เสียหายไปติดต่อชำระหนี้ที่ค้างต่อกัน การกระทำของจำเลยจึงมิได้เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริตหรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองตั๋วแลกเงินและการล้มละลาย: จำเลยรับสภาพหนี้และมีทรัพย์สินไม่พอชำระ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้รับรองตั๋วแลกเงินรวม 77 ฉบับเป็นเงิน 17,606,567.76 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายให้แก่บริษัท ป. จำกัด ตามคำขอของจำเลยที่ 1 และโจทก์ได้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นแล้ว จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยไม่เคย ทำหนังสือคำขอให้โจทก์รับรองตั๋วแลกเงินตามเอกสารท้ายฟ้อง โดยมิได้ให้การปฏิเสธข้อที่โจทก์ได้รับรองตั๋วแลกเงิน และ โจทก์ได้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินแล้ว ถือว่าจำเลยรับว่าจำเลย ได้ให้โจทก์รับรองตั๋วแลกเงิน 77 ฉบับ และโจทก์ได้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินดังกล่าวจริง ดังนี้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญาที่ขอให้โจทก์รับรองตั๋วแลกเงินโดยไม่ต้องนำตั๋วแลกเงิน77 ฉบับ ซึ่งโจทก์มิได้สำเนาให้จำเลยมาวินิจฉัย แม้หนังสือทวงถามและใบตอบรับโจทก์จะมิได้ส่งสำเนาให้จำเลย แต่หนังสือทวงถามดังกล่าวได้ส่งถึงจำเลยแล้ว และจำเลยมีโอกาสนำสืบถึงความไม่ถูกต้องของเอกสารนี้ได้ ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังเอกสารนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) จำเลยได้รับหนังสือทวงถามแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน จำเลยไม่ชำระหนี้ และที่จำเลยนำสืบก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินพอชำระหนี้ จึงไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายได้ ดังนี้ จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 8(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากการชำระบัญชีบริษัท: นับแต่วันจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ไม่ใช่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
อายุความฟ้องเรียกหนี้สินในกรณีที่มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1272 ได้บัญญัติจำกัดอายุความฟ้องร้องไว้เป็นกรณีพิเศษนอกเหนือจากบทบัญญัติในเรื่องอายุความทั่วไปที่ยาวกว่า และการเริ่มนับอายุความต้องถือตามที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในมาตราดังกล่าว จะนำเอาหลักในเรื่องการนับอายุความทั่วไปในมาตรา 169 มาใช้ไม่ได้ กล่าวคือ ต้องนับระยะเวลาสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี ซึ่งวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีหมายถึงวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีตามมาตรา 1270 หาใช่จะต้องนับระยะเวลานับแต่วันที่โจทก์ควรรู้ถึงการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีคือวันที่ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาไม่ เพราะการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 1021และมาตรา 1022 นั้น เป็นแต่เพียงให้ถือว่าบรรดาเอกสารและข้อความที่ลงทะเบียนและนายทะเบียนได้แต่งย่อไปพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น จะนำมาใช้กับการเริ่มนับอายุความที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษตามมาตรา 1272 ไม่ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่ขอกู้เบิกเงินเกินบัญชี คงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม เท่านั้นถึงแม้ในสัญญาค้ำประกันจะระบุถึงการสละสิทธิในข้อต่อสู้ต่าง ๆในฐานะของผู้ค้ำประกันที่จะพึงมีตามกฎหมายไว้ ก็ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือหมดสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ด้วย ในเมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นความรับผิดเนื่องจากหนี้ของโจทก์ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นความรับผิดด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5705/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ทำให้ อายุความสะดุดหยุดลง และฟ้องได้ภายใน 2 ปี
การที่จำเลยลูกหนี้ลงชื่อรับทราบยอดหนี้ค่าสินค้าที่ติดค้างทั้งหมดแก่โจทก์เจ้าหนี้โดยมิได้อิดเอื้อน ถือว่าจำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อเป็นการรับสภาพหนี้ในเวลาก่อนที่อายุความจะครบบริบูรณ์ จึงทำให้อายุความใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์สะดุดหยุดลง โจทก์ฟ้องคดียังไม่เกินกำหนด 2 ปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5072/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์เพื่อชำระหนี้ไม่เข้าข่ายโกงเจ้าหนี้ หากทรัพย์ที่ยึดมีมูลค่าสูงกว่าหนี้
โค 5 ตัวที่โจทก์นำยึดมาเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์นั้นมีราคามากกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 จะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อชำระหนี้จำนอง จึงไม่เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้ทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนแต่อย่างใด จำเลยที่ 1จึงไม่ได้กระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5072/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ชำระหนี้และการโกงเจ้าหนี้: โคมีมูลค่าเกินหนี้ ไม่ถือเป็นการโกง
เมื่อโคที่โจทก์นำยึดมีราคามากกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษา แม้น้องของจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลฟังว่าโคที่ถูกยึดเป็นของน้องของจำเลยที่ 1 โคจึงเป็นของจำเลยที่ 1 อยู่ และมีราคาพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ไม่ว่าจะเป็นราคาเท่าไรก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 ไม่ผิดฐานโกงเจ้าหนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้กู้ยืมเงินแก่ลูกหนี้ที่มีหนี้สินจากการซื้อกิจการ ไม่ถือว่าเจ้าหนี้จงใจให้ก่อหนี้เกินตัว
การที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินในวันเดียวกับที่ลูกหนี้ไปค้ำประกันเงินกู้ของบริษัท โดยการกู้ยืมเงินทั้งหมดมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกหนี้ได้กิจการของบริษัทนั้นมา เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกหนี้มีหนี้สินอื่นใดมาก่อน จึงมิใช่กรณีเจ้าหนี้ให้ลูกหนี้ก่อหนี้ขึ้นโดยรู้อยู่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: หลักเกณฑ์หนี้สิน, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, และการพิสูจน์สภาพหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อไม่มีข้อตกลงในสัญญากู้เงินว่า หากผู้กู้ผิดสัญญาผู้ให้กู้ต้อง ฟ้องร้องบังคับเป็นคดีแพ่งสามัญก่อนจึงจะฟ้องให้ล้มละลายได้ เมื่อต้นเงินที่กู้ระบุจำนวนได้ แน่นอนและมีจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท ผู้ให้กู้มีอำนาจฟ้องให้ผู้กู้ล้มละลายได้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมิใช่สัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เบิกเงินเกินบัญชีมาแสดงก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้ จำเลยเพียงแต่ อาศัยและช่วย ทำงานอยู่กับบุคคลอื่น โดย ไม่ได้รับเงินเดือนและไม่มีทรัพย์สินอื่นใด อีก ดังนั้น แม้โจทก์ทวงถามหนี้จำเลยเพียงครั้งเดียว และก่อนฟ้องเพียง 13 วัน ก็เพียงไม่เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่านั้น เมื่อมีข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ จำเลยก็เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2980/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าจากพฤติกรรมร้ายแรงของคู่สมรสและการแบ่งสินสมรส รวมถึงความรับผิดร่วมในหนี้สิน
การที่จำเลยเมาสุรากลับเข้าบ้านและด่า โจทก์ว่า "มึงเลว มึงมีชู้ ไม่สมควรอยู่กับกู แม่มึงไม่ดี ไม่เคยสั่งสอน" แล้วจำเลยยังได้ตบ ตีโจทก์ได้รับบาดเจ็บบริเวณขอบตาซ้าย จนโจทก์ต้องรับการรักษาจากแพทย์ในวันรุ่งขึ้น โจทก์ต้องออกจากบ้านไปอาศัยอยู่กับน้องสาวเพราะได้รับความคับแค้นใจจากการอยู่กินกับจำเลยนั้น การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรง พร้อมทั้งเป็นการทำร้ายร่างกายโจทก์ จึงมีเหตุให้โจทก์หย่าขาดจากจำเลยได้ จำเลยกู้เงินบุคคลภายนอกมาใช้จ่ายเกี่ยวกับที่ดินและบ้านซึ่งเป็นสินสมรสโดยโจทก์มีส่วนรู้เห็นในการกู้เงินดังกล่าวโจทก์จึงต้องร่วมกับจำเลยในการชำระหนี้รายนี้ ฉะนั้นศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกัน ศาลย่อมกำหนดให้โจทก์จำเลยร่วมกันรับผิดชำระหนี้รายนี้คนละครึ่งได้.
of 48