พบผลลัพธ์ทั้งหมด 709 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ในการวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระเงินตามคำพิพากษา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ซึ่งใช้บังคับขณะจำเลยยื่นอุทธรณ์ บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ที่จะต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด10 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ มิได้บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องกำหนดเวลาให้ผู้อุทธรณ์ปฏิบัติไม่ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลก็ดี หรือการที่ศาลอุทธรณ์มิได้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นกำหนดเวลาดังกล่าวนั้น หรือศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลาดังกล่าวเสียเองก็ดี หาใช่คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่จำเลยฎีกาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์ที่ได้รับมอบหมาย แม้ไม่ใช่หน้าที่โดยตรง
จำเลยเป็นข้าราชการอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์และได้รับคำสั่งมอบหมายจากนายกเทศมนตรีให้ไปรับเงินจากศาลมามอบให้เทศบาล แม้จะไม่ใช่หน้าที่ตามตำแหน่งของจำเลยโดยตรง แต่เมื่อจำเลยได้รับมอบหมายให้จัดการแล้ว จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเงินที่ได้รับมอบหมายนั้น เมื่อจำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาเงินนั้นเป็นของตนจำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์ที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่จัดการเป็นของตนโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตหน้าที่ลูกจ้าง: การใช้วิธีการใดในการทำงานเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งนายจ้าง
การที่ ส. ลูกจ้างโจทก์ไปยืมมอเตอร์ สูบน้ำ เพื่อสูบน้ำขึ้นมาทำความสะอาดที่พัก และขณะเดียวกันพระภิกษุได้ขอให้ ส. สูบน้ำไปไว้บนกุฎิพระด้วย ส. ได้ถูกไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตายขณะที่อยู่ระหว่างระหว่างกำลังใช้มอเตอร์ สูบน้ำขึ้นจากสระน้ำ นั้น พึงเห็นได้ว่า ส.จะต้องทำความสะอาดที่พักตามคำสั่งของผู้ควบคุมงานของโจทก์ ส.จำเป็นต้องใช้น้ำเอามาทำความสะอาดที่พักดังกล่าว การที่จะนำเอาน้ำในสระขึ้นมาใช้เป็นหน้าที่ของ ส.ฉะนั้นส. จะใช้วิธีการอย่างใดเป็นเรื่องอยู่ในดุลพินิจของ ส. เพื่อให้ได้น้ำขึ้นมาใช้ เมื่อส. เลือกวิธีไปยืมมอเตอร์ สูบน้ำจากพระภิกษุมาใช้สูบ น้ำ เพื่อทำความสะอาดที่พัก ถือได้ว่าเป็นการกระทำตามคำสั่งของ ผู้ควบคุมงานของโจทก์และถือว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่ให้กับโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเอกสารรับเงินในหน้าที่ เจ้าพนักงาน ไม่ถือเป็นเอกสารปลอม แต่เป็นเอกสารเท็จ
จำเลยมีหน้าที่รับเงินและออกใบเสร็จรับเงิน การที่จำเลยรับเงินและออกใบเสร็จรับเงินให้ ส. แล้วต่อมาได้แก้ไขสำเนาเป็นออกให้ อ. เป็นการกระทำในอำนาจหน้าที่ของจำเลย และลงลายมือชื่อตนเองเป็นผู้ทำและผู้แก้ไขเอกสารนั้น จึงเป็นเอกสารที่แท้จริงที่จำเลยทำขึ้น แม้ข้อความในต้นฉบับและสำเนาจะไม่ตรงกัน ก็เป็นแต่เพียงเอกสารเท็จ ไม่ทำให้เอกสารนั้นเป็นเอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161,265
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3135/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่นอกขอบเขตอำนาจ ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 จะต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติซึ่งอยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นเองโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือโดยทุจริต ถ้าเป็นการกระทำนอกหน้าที่ไม่ผิดมาตรานี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นอันยุติได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจหรือหน้าที่ใด ๆ เกี่ยวกับคดีที่คนร้ายลักกระบือของผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 กับการปล่อยคืนรถยนต์ให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 เป็นตัวการในการเรียกและรับเงินจากผู้เสียหายที่ 1 จึงเป็นเรื่องปฏิบัตินอกหน้าที่ ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดแจ้งความเท็จ: เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ vs. ผู้ใช้กระทำผิด
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ไปแจ้งความต่อ ห.กำนันตำบลสระเยาว์ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ ให้จดข้อความอันเป็นเท็จลงในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 จำเลยฎีกาว่า ห.เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำความผิดเสียเอง มิใช่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ ทั้งยังใช้จำเลยเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ดังนี้ ฎีกาของจำเลยเท่ากับเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยเป็นยุติไว้แล้ว เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า ห.เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่หรือไม่จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218วรรคแรก
ห.เป็นนายทะเบียนมีหน้าที่รับแจ้งการย้าย และได้ลงชื่อเป็นผู้รับแจ้งข้อความตามที่ปรากฏในเอกสารใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 ซึ่งเป็นข้อความเท็จตามที่จำเลยมาแจ้งแล้วการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิด การที่ ห.จะใช้ให้บุคคลใดเป็นผู้เขียนหรือจดข้อความลงในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 แทน ห. หาใช่เป็นสาระสำคัญอันจะทำให้การกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 แต่อย่างใดไม่
ห.เป็นนายทะเบียนมีหน้าที่รับแจ้งการย้าย และได้ลงชื่อเป็นผู้รับแจ้งข้อความตามที่ปรากฏในเอกสารใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 ซึ่งเป็นข้อความเท็จตามที่จำเลยมาแจ้งแล้วการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิด การที่ ห.จะใช้ให้บุคคลใดเป็นผู้เขียนหรือจดข้อความลงในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 แทน ห. หาใช่เป็นสาระสำคัญอันจะทำให้การกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ชำระราคาทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามสัญญา แม้มีการอุทธรณ์
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 515 ผู้ซื้อทรัพย์ในการขายทอดตลาดมีหน้าที่ที่จะต้องใช้ราคาเมื่อมีการตกลงซื้อขาย หรือตามเวลาที่กำหนดไว้ในคำโฆษณาการบอกขายหรือตามสัญญาที่ตกลงกันไว้เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กำหนดเงื่อนไขในการขายไว้ด้านหลังประกาศขายทอดตลาดว่า เมื่อตกลงรับซื้อแล้วให้ผู้ซื้อวางเงินไว้ก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของราคาซื้อและทำสัญญาใช้เงินที่ค้างชำระภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน และตามหนังสือสัญญาซึ่งผู้ซื้อทรัพย์ได้ทำไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลังที่ซื้อทรัพย์ได้แล้วก็ระบุว่า เงินส่วนที่เหลือจะนำมาชำระต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ทำหนังสือสัญญานี้เป็นต้นไป ผู้ซื้อทรัพย์จึงต้องผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว แม้จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คัดค้านขอให้ทำการทอดตลาดใหม่ก็ตาม ผู้ซื้อทรัพย์ก็ต้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระตามกำหนด จะนำมาชำระภายหลังจากที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะ แม้ผู้รับมรดกมีฐานะดี ผู้ตายยังมีหน้าที่อุปการะตามควรแก่พฤติการณ์
โจทก์ที่ 1 มีความเป็นอยู่อย่างสุขสบายไม่เดือดร้อน ก็ยังมีสิทธิได้รับอุปการะจากภริยาและบุตรโจทก์ที่ 1 ตามควรแก่พฤติการณ์จึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยอันเนื่องมาจากการละเมิดที่ทำให้ภริยาและบุตรโจทก์ที่ 1 ถึงแก่ความตายตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินเช่า, สิทธิไม่ชำระค่าเช่าเมื่อเจ้าของไม่ปฏิบัติตามสัญญา, และผลของการรับเงินค่าเช่า
สัญญาเช่าโรงภาพยนตร์ข้อหนึ่งซึ่งมีข้อความว่า "ผู้เช่าสัญญาว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เสมอด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเอง หากมีการชำรุดบกพร่อง แตกหักเสียหายด้วยประการใด ๆ ผู้เช่าจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบทันที และดำเนินการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเองทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงการซ่อมแซมบำรุงรักษาตามปกติและเป็นการซ่อมแซมเล็กน้อยเท่านั้น ผู้เช่าจึงจะมีหน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่า แต่ปรากฏว่าอาคารโรงภาพยนตร์ทรุด และพื้นคอนกรีตแตกร้าวเสียหายมากหลายแห่ง เป็นความเสียหายร้ายแรงจนอาจเกิดการพังทลายเป็นอันตรายแก่ผู้เข้าชมภาพยนตร์ได้ จึงเป็นเรื่องมีความจำเป็นและสมควรที่จะต้องซ่อมแซมใหญ่อย่างรีบด่วนเพื่อรักษาโรงภาพยนตร์อันเป็นทรัพย์สินที่เช่าให้สามารถใช้การต่อไปไม่ให้พังทลายไปเสียก่อนมิใช่กรณีต้องซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย ผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 547 หาใช่หน้าที่ของผู้เช่าไม่
โจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 แต่โจทก์รับค่าเช่าจากจำเลยโดยไม่ได้ทวงถามค่าเช่าเดือนดังกล่าวจนล่วงเลยมาถึงเดือนกันยายน 2526 การรับเงินค่าเช่าโจทก์ได้ออกใบรับเงินให้จำเลยทุกครั้ง กรณีจึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา327 ที่ว่า ในกรณีชำระดอกเบี้ยหรือชำระหนี้อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็นระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จรับเงินให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดยมิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพื่อระยะก่อน ๆ นั้นด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมาหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายนี้ได้ จึงต้องฟังตามบทสันนิษฐานนี้ว่าจำเลยได้ชำระค่าเช่าเดือนกันยายน2525 ให้โจทก์แล้ว
โจทก์ปิดและบูรณะปรับปรุงโรงภาพยนตร์ที่ให้เช่า จำเลยผู้เช่าจึงไม่อาจใช้โรงภาพยนตร์ดังกล่าวฉายภาพยนตร์ได้ตามสิทธิการเช่าของตน สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำราะค่าเช่าในระหว่างที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369
เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ไม่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้จำเลยเช่า ทำให้จำเลยเสียหาย แต่ค่าเสียหายของจำเลย จำเลยไม่สามารถแสดงได้ ไม่พิพากษาให้จำเลยได้รับค่าเสียหายแล้ว กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายดังกล่าวของจำเลยขาดอายุความหรือไม่ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี
โจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 แต่โจทก์รับค่าเช่าจากจำเลยโดยไม่ได้ทวงถามค่าเช่าเดือนดังกล่าวจนล่วงเลยมาถึงเดือนกันยายน 2526 การรับเงินค่าเช่าโจทก์ได้ออกใบรับเงินให้จำเลยทุกครั้ง กรณีจึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา327 ที่ว่า ในกรณีชำระดอกเบี้ยหรือชำระหนี้อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็นระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จรับเงินให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดยมิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพื่อระยะก่อน ๆ นั้นด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมาหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายนี้ได้ จึงต้องฟังตามบทสันนิษฐานนี้ว่าจำเลยได้ชำระค่าเช่าเดือนกันยายน2525 ให้โจทก์แล้ว
โจทก์ปิดและบูรณะปรับปรุงโรงภาพยนตร์ที่ให้เช่า จำเลยผู้เช่าจึงไม่อาจใช้โรงภาพยนตร์ดังกล่าวฉายภาพยนตร์ได้ตามสิทธิการเช่าของตน สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำราะค่าเช่าในระหว่างที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369
เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ไม่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้จำเลยเช่า ทำให้จำเลยเสียหาย แต่ค่าเสียหายของจำเลย จำเลยไม่สามารถแสดงได้ ไม่พิพากษาให้จำเลยได้รับค่าเสียหายแล้ว กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายดังกล่าวของจำเลยขาดอายุความหรือไม่ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนทรัพย์สินให้ตนเองโดยทุจริต มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์และผิดหน้าที่
การเจรจาแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทยังตกลงกันไม่ได้ เมื่อจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล จำเลยมีหน้าที่จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทตามสิทธิของแต่ละคน จำเลยไม่มีสิทธิจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว การที่จำเลย รู้ ว่าทรัพย์มรดกส่วนที่เป็นที่ดินจำเลยต้องแบ่งให้แก่ทายาททุกคน เท่า ๆ กันแต่จำเลยจดทะเบียนโอนทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทเป็นของตน โดยไม่ยินยอมที่จะให้เอาชื่อทายาทอื่นเป็นผู้รับมรดกร่วมกับจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งได้รับมอบหมายให้จัดการ ทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาล กระทำผิดหน้าที่ด้วยการจดทะเบียน โอนทรัพย์สินนั้นเป็นของตนโดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น.