คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หย่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 284 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สินส่วนตัว แม้ต่ออายุสัญญาขณะสมรส เมื่อหย่า สิทธิยังคงเป็นของผู้เช่าเดิม
ห้องซึ่งโจทก์เช่ามาก่อนสมรสกับจำเลย แม้จะต่ออายุสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน ก็ยังมีชื่อโจทก์เป็นผู้เช่าฝ่ายเดียว. ไม่ทำให้จำเลยกลายเป็นผู้เช่าด้วย.
แม้สิทธิตามสัญญาเช่าอาจมีราคาและถือเอาได้ เป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาซึ่งเมื่อหย่ากันอาจมีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันได้. แต่ทรัพย์สินนี้เป็นสิทธิตามสัญญาซึ่งจำเลยไม่ใช่คู่สัญญา. จำเลยย่อมไม่อาจอ้างว่า. จำเลยมีสิทธิตามสัญญาที่จะได้รับการชำระหนี้ คือ การเข้าอยู่ในห้องเช่า. หากจำเลยจะมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์สินประการใด ก็เป็นปัญหาในการแบ่งทรัพย์สิน. ไม่เกี่ยวกับการที่จำเลยจะอยู่ในห้องพิพาท อันเป็นสิทธิตามสัญญาเช่าซึ่งโจทก์เป็นคู่สัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือเลิกสภาพสมรส, พฤติกรรมชู้สาว, ข่มขู่ทำร้าย และสิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูในคดีหย่า
สามีภริยาได้ทำหนังสือลงลายมือชื่อสามีภริยาและพยาน 2 คน มีข้อความว่าได้พร้อมใจกันเลิกสภาพการเป็นสามีภริยากันตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เช่นนี้ เป็นการเลิกสภาพการเป็นสามีภริยาโดยพฤตินัย แต่โดยทางนิตินัยยังมิได้หย่าขาดกันตามกฎหมาย หรือมีความประสงค์จะไปจดทะเบียนในภายหลัง และต่อมาอีก 5 วัน สามีโทรเลขให้ภริยากลับบ้านบอกว่าฉีกหนังสือนั้นแล้ว ต่อมาได้คืนดีกันและประพฤติต่อกันฉันสามีภริยาอีก ดังนี้ จะถือว่าหย่าขาดจากกันตามหนังสือดังกล่าวไม่ได้
ภริยาส่งจดหมายถึงสามีมีใจความว่า สามีเป็นสัตว์ป่าในร่างมนุษย์ เป็นการหมิ่นประมาทสามีอย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500 (2)
ภริยาส่งจดหมายถึงสามีข้อความว่า ภริยาจะจ้างด้วยเงิน ด้วยตัวกับผู้ที่หลงรักภริยา ให้เอาน้ำกรดสาดหน้าสามี ย่อมถือได้ว่าภริยาทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง จนสามีไม่อาจจะอยู่กินกันได้ เพราะอาจได้รับอันตรายจากภริยาเมื่อใดก็ได้ อันเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500 (3)
ภริยามีที่ดินและอาคารราคาสองแสนบาทเศษ ใช้อาคารนั้นเป็นหอพักเก็บผลประโยชน์ได้เดือนละ 1,000 บาทเศษ และทำงานได้เงินเดือน ๆ ละ 1,975 บาท ถือว่าภริยามีรายได้พอจากทรัพย์สินและการงานที่ทำ เมื่อหย่ากันโดยสามีภริยาเป็นผู้ต้องรับผิดทั้งสองฝ่าย สามีไม่ต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1506
แม้โจทก์ฟ้องขอหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ราคา 1500 (2) (3) เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือนนับแต่วันรู้เหตุหย่าก็ตาม แต่จำเลยไม่ได้ยกเอาเหตุแห่งการระงับของสิทธิฟ้องร้องตามมาตรา 1509 ขึ้นต่อสู้ไว้ ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าขาดจากกัน, เหตุหย่าตามกฎหมาย, การระงับสิทธิฟ้องร้อง, และค่าอุปการะเลี้ยงดู
สามีภริยาได้ทำหนังสือลงลายมือชื่อสามีภริยาและพยาน 2คน มีข้อความว่าได้พร้อมใจกันเลิกสภาพการเป็นสามีภริยากันตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เช่นนี้ เป็นการเลิกสภาพการเป็นสามีภริยาโดยพฤตินัย แต่โดยทางนิตินัยยังมิได้หย่าขาดกันตามกฎหมาย หรือมีความประสงค์จะไปจดทะเบียนในภายหลังและต่อมาอีก 5 วัน สามีโทรเลขให้ภริยากลับบ้านบอกว่าฉีกหนังสือนั้นแล้ว ต่อมาได้คืนดีกันและประพฤติต่อกันฉันสามีภริยาอีกดังนี้ จะถือว่าหย่าขาดจากกันตามหนังสือดังกล่าวไม่ได้
ภริยาส่งจดหมายถึงสามีมีใจความว่า สามีเป็นสัตว์ป่าในร่างมนุษย์เป็นการหมิ่นประมาทสามีอย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1500(2)
ภริยาส่งจดหมายถึงสามีมีข้อความว่า ภริยาจะจ้างด้วยเงิน ด้วยตัวกับผู้ที่หลงรักภริยา ให้เอาน้ำกรดสาดหน้าสามี ย่อมถือได้ว่าภริยาทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงจนสามีไม่อาจจะอยู่กินกันได้เพราะอาจได้รับอันตรายจากภริยาเมื่อใดก็ได้อันเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1500(3)
ภริยามีที่ดินและอาคารราคาสองแสนบาทเศษ ใช้อาคารนั้นเป็นหอพักเก็บผลประโยชน์ได้เดือนละ 1,000 บาทเศษ และทำงานได้เงินเดือนเดือนละ 1,975 บาทถือว่าภริยามีรายได้พอจากทรัพย์สินและการงานที่ทำเมื่อหย่ากันโดยสามีภริยาเป็นผู้ต้องรับผิดทั้งสองฝ่าย สามีไม่ต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1506
แม้โจทก์ฟ้องขอหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1500(2)(3) เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือนนับแต่วันรู้เหตุหย่าก็ตามแต่จำเลยไม่ได้ยกเอาเหตุแห่งการระงับของสิทธิฟ้องร้องตามมาตรา 1509 ขึ้นต่อสู้ไว้ ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบประเด็นหย่าและสินบริคณห์ในคดีมรดก: ศาลกะประเด็นถูกต้อง, การขอรับมรดกไม่ใช่กรมธรรม์ปิดปาก
เมื่อคู่ความรับข้อเท็จจริงกันแล้ว ศาลกะประเด็นไว้ว่า ประเด็นสำคัญมีอยู่ว่า ผู้ตายกับจำเลยได้หย่าขาดจากกันหรือไม่ และทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นสินบริคณห์หรือไม่ ซึ่งประเด็นข้อแรกเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างขึ้นมา จึงเป็นหน้าที่โจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามนั้น ส่วนประเด็นว่าทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นสินบริคณห์หรือไม่ เป็นประเด็นขั้นที่สอง เมื่อโจทก์ต้องสืบประเด็นแรกซึ่งสำคัญก่อนแล้ว ศาลย่อมให้โจทก์สืบประเด็นข้อหลังด้วยในคราวเดียวกันได้
จำเลยไปแจ้งขอรับมรดกต่อเจ้าหน้าที่อำเภอว่าที่นาพิพาทเป็นมรดกของผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยว่า ที่นาพิพาทเป็นมรดกของผู้ตาย ไม่ได้แจ้งว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย และเจ้าหน้าที่ได้โอนให้จำเลยในทางมรดก จำเลยย่อมนำสืบได้ว่า จำเลยขอรับมรดกส่วนของผู้ตายตามสิทธิจำเลย หาใช่เป็นเรื่องกรมธรรม์ปิดปากไม่
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่พิพาทเป็นสินบริคณห์ ผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยไม่มีสิทธิเอาสินบริคณห์ส่วนของจำเลยไปทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ เมื่อผู้ตายตาย จำเลยจึงขอโอนรับมรดก จำเลยย่อมนำสืบเพื่อแสดงว่าทรัพย์นั้นเป็นสินบริคณห์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบประเด็นหย่าและสินบริคณห์ในคดีมรดก การรับมรดกย่อมสืบได้เมื่ออ้างว่าเป็นสินบริคณห์
เมื่อคู่ความรับข้อเท็จจริงกันแล้ว ศาลกะประเด็นไว้ว่า ประเด็นสำคัญมีอยู่ว่า ผู้ตายกับจำเลยได้หย่าขาดจากกันหรือไม่ และทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นสินบริคณห์หรือไม่ ซึ่งประเด็นข้อแรกเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างขึ้นมาจึงเป็นหน้าที่โจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามนั้น ส่วนประเด็นว่าทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นสินบริคณห์หรือไม่เป็นประเด็นขั้นที่สองเมื่อโจทก์ต้องสืบประเด็นแรกซึ่งสำคัญก่อนแล้ว ศาลย่อมให้โจทก์สืบประเด็นข้อหลังด้วยในคราวเดียวกันได้
จำเลยไปแจ้งขอรับมรดกต่อเจ้าหน้าที่อำเภอว่าที่นาพิพาทเป็นมรดกของผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยว่า ที่นาพิพาทเป็นมรดกของผู้ตายไม่ได้แจ้งว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย และเจ้าหน้าที่ได้โอนให้จำเลยในทางมรดก จำเลยย่อมนำสืบได้ว่าจำเลยขอรับมรดกส่วนของผู้ตายตามสิทธิจำเลยหาใช่เป็นเรื่องกรมธรรม์ปิดปากไม่
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่พิพาทเป็นสินบริคณห์ ผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยไม่มีสิทธิเอาสินบริคณห์ส่วนของจำเลยไปทำพินัยกรรมยกให้โจทก์เมื่อผู้ตายตาย จำเลยจึงขอโอนรับมรดกจำเลยย่อมนำสืบเพื่อแสดงว่าทรัพย์นั้นเป็นสินบริคณห์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบประเด็นหย่าและสินบริคณห์ ศาลชอบธรรมในการกำหนดลำดับสืบพยาน และจำเลยมีสิทธิสืบหักล้างข้อกล่าวอ้างเรื่องกรมธรรม์ปิดปาก
เมื่อคู่ความรับข้อเท็จจริงกันแล้ว ศาลกะประเด็นไว้ว่า. ประเด็นสำคัญมีอยู่ว่า. ผู้ตายกับจำเลยได้หย่าขาดจากกันหรือไม่. และทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นสินบริคณห์หรือไม่. ซึ่งประเด็นข้อแรกเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างขึ้นมาจึงเป็นหน้าที่โจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามนั้น. ส่วนประเด็นว่าทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นสินบริคณห์หรือไม่.เป็นประเด็นขั้นที่สอง เมื่อโจทก์ต้องสืบประเด็นแรกซึ่งสำคัญก่อนแล้ว ศาลย่อมให้โจทก์สืบประเด็นข้อหลังด้วยในคราวเดียวกันได้.
จำเลยไปแจ้งขอรับมรดกต่อเจ้าหน้าที่อำเภอว่าที่นาพิพาทเป็นมรดกของผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยว่า. ที่นาพิพาทเป็นมรดกของผู้ตาย. ไม่ได้แจ้งว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย. และเจ้าหน้าที่ได้โอนให้จำเลยในทางมรดก. จำเลยย่อมนำสืบได้ว่าจำเลยขอรับมรดกส่วนของผู้ตายตามสิทธิจำเลย. หาใช่เป็นเรื่องกรมธรรม์ปิดปากไม่.
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่พิพาทเป็นสินบริคณห์. ผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยไม่มีสิทธิเอาสินบริคณห์ส่วนของจำเลยไปทำพินัยกรรมยกให้โจทก์. เมื่อผู้ตายตาย. จำเลยจึงขอโอนรับมรดก. จำเลยย่อมนำสืบเพื่อแสดงว่าทรัพย์นั้นเป็นสินบริคณห์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะผู้เช่า-บริวารหลังหย่า: สิทธิในสัญญาเช่าเดิมเป็นของผู้เช่าเดิม แม้มีการตกลงระหว่างคู่หย่า
ภริยาอยู่ในห้องพิพาทกับสามีซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาเช่าจากผู้ให้เช่า ต่อมาได้หย่าขาดกัน สามีแยกไปอยู่ที่อื่น โดยยอมยกห้องพิพาทให้เป็นสิทธิแก่ภริยา แต่ผู้ให้เช่าไม่ได้รู้เห็นตกลงด้วย การที่ภริยาคงอยู่ในห้องเช่าต่อมาจนครบสัญญาเช่า ถือว่าเป็นการอยู่ในฐานะบริวารของผู้เช่า
อยู่ในห้องเช่าในฐานะเป็นบริวารของผู้เช่า ไม่ใช่ในฐานะผู้เช่า ผู้ให้เช่าไม่จำต้องบอกกล่าวเลิกการเช่าก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าห้องหลังหย่า: การอยู่ในฐานะบริวารของผู้เช่าเดิม ผู้ให้เช่าไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญา
ภริยาอยู่ในห้องพิพาทกับสามีซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาเช่าจากผู้ให้เช่าต่อมาได้หย่าขาดกัน สามีแยกไปอยู่ที่อื่น โดยยอมยกห้องพิพาทให้เป็นสิทธิแก่ภริยา แต่ผู้ให้เช่าไม่ได้รู้เห็นตกลงด้วย การที่ภริยาคงอยู่ในห้องเช่าต่อมาจนครบสัญญาเช่า ถือว่าเป็นการอยู่ในฐานะบริวารของผู้เช่า
อยู่ในห้องเช่าในฐานะเป็นบริวารของผู้เช่า ไม่ใช่ในฐานะผู้เช่าผู้ให้เช่าไม่จำต้องบอกกล่าวเลิกการเช่าก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914-915/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์สินหลังหย่า และสิทธิในการยึดทรัพย์ของเจ้าหนี้
โจทก์จำเลยหย่าขาดจากสามีภริยากัน แต่มิได้แบ่งทรัพย์สินกัน เมื่อหย่ากันแล้วโจทก์กับสามียังคงอยู่ด้วยกันและมีบุตรอีก 2 คน โจกท์ได้เอาเงินที่มิได้แบ่งเมื่อตอนหย่าและเป็นเงินที่โจทก์กับสามีทำมาหาได้ด้วยกันมาซื้อที่ดินและปลูกเรือนพิพาทอยู่ด้วยกันกับสามี เป็นการแสดงว่าโจทก์กับสามีแสดงเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและเรือนพิพาท เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของสามีมีสิทธินำเจ้าพนักงานยึดทรัพย์พิพาทส่วนของสามีได้ โจทก์มีสิทธิเพียงแต่ร้องขอกันส่วนของโจทก์เท่านั้น ไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภริยาหลังหย่า: การบังคับคดียึดทรัพย์สินที่แบ่งแล้วเป็นโมฆะ
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาได้มีบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าต้องเป็นหนี้ที่ก่อขึ้นต้องตามที่บัญญัติไว้ 4 ประการ จึงให้ถือว่าเป็นหนี้ร่วมกัน ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในระหว่างที่จำเลยกับผู้ร้องขัดทรัพย์เป็นสามีภริยากันต้องสันนิษฐานว่าจำเลยกู้เงินโจทก์มาเพื่อใช้จ่ายในครอบครัวและเป็นหนี้ร่วมกันอันผู้ร้องขัดทรัพย์จะต้องชำระหนี้ด้วยเลย ดังนั้น เมื่อจำเลยกับผู้ร้องขัดทรัพย์ได้หย่าขาดจากสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย และแบ่งทรัพย์สินกันเสร็จเรียบร้อย โจทก์ก็ไม่มีอำนาจจะยึดห้องแถวอันตกเป็นของผู้ร้องขัดทรัพย์ได้
จำเลยกับผู้ร้องขัดทรัพย์ได้หย่าขาดจากสามีภริยากันโดยจดทะเบียนการหย่าโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมมีผลใช้ยันบุคคลภายนอกได้ด้วย.
of 29