พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5886/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงโดยใช้คำรับรองเท็จ: การหลอกลวงให้ผู้เสียหายมอบข้าวเปลือกโดยอ้างจะขายนาชดใช้
จำเลยติดต่อขอซื้อข้าวเปลือกจากผู้เสียหาย โดยขอชำระราคาด้วยเช็คที่ ว. เป็นผู้ลงชื่อสั่งจ่ายให้ไว้ และจำเลยพูดรับรองว่าหากเช็คที่จำเลยมอบให้ขึ้นเงินไม่ได้ จำเลยจะเป็นผู้รับผิดชอบเองโดยจะขายนา 30 ไร่ ของจำเลยมาชำระราคาข้าวเปลือกให้แก่ผู้เสียหายจนครบ ดังนี้การที่ผู้เสียหายยินยอมขายข้าวเปลือกตามฟ้องให้แก่จำเลยกับพวกโดยยอมรับเช็คซึ่ง ว. สั่งจ่ายไว้เพื่อเป็นการชำระราคาข้าวเปลือก ก็เพราะจำเลยเป็นผู้ให้คำรับรอง เมื่อผู้เสียหายนำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้จำเลยกลับปฏิเสธความรับผิดไม่ยอมรับรู้ใด ๆ ทั้งสิ้น อ้างว่าตนเป็นเพียงนายหน้าให้ ว.เท่านั้น พฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงเพื่อเอาข้าวเปลือกของผู้เสียหายทั้งสาม มีแผนการร่วมกับ ว. เจ้าของเช็ค โดยการให้คำรับรองด้วยข้อความอันเป็นเท็จต่อสู้เสียหายมาแต่ต้น จนผู้เสียหายหลงเชื่อยอมมอบข้าวเปลือกให้แก่จำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกับพวกฉ้อโกงโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงขายข้อสอบและใช้ครุยวิทยฐานะโดยมิชอบ ศาลพิพากษาผิดฐานฉ้อโกงและละเมิดสิทธิการใช้ครุย
จำเลยโฆษณาหลอกลวงนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงเพื่อขายข้อสอบที่จำเลยเขียนขึ้นเองเพื่อให้นักศึกษาที่ซื้อข้อสอบจากจำเลยหลงเชื่อว่าเป็นข้อสอบจริงที่จะออกสอบ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการหลอกลวงประชาชนทั่วไป จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 คงมีความผิดตามมาตรา 341 เท่านั้น
จำเลยกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงคณะนิติศาสตร์ยังไม่สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรี จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะสวมครุยวิทยฐานะเพื่อแสดงให้ผู้พบเห็นเชื่อว่าจำเลยสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงแล้ว การที่จำเลยสวมเสื้อครุยปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงถ่ายภาพแล้วนำภาพถ่ายดังกล่าวมาตั้งไว้บนโต๊ะที่จำเลยขายข้อสอบ จึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 มาตรา 48
จำเลยกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงคณะนิติศาสตร์ยังไม่สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรี จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะสวมครุยวิทยฐานะเพื่อแสดงให้ผู้พบเห็นเชื่อว่าจำเลยสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงแล้ว การที่จำเลยสวมเสื้อครุยปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงถ่ายภาพแล้วนำภาพถ่ายดังกล่าวมาตั้งไว้บนโต๊ะที่จำเลยขายข้อสอบ จึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 มาตรา 48
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยหลอกขายข้อสอบที่ตนเองเขียนขึ้น และสวมครุยวิทยฐานะโดยไม่สำเร็จการศึกษา
จำเลยโฆษณาหลอกลวงนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงเพื่อขายข้อสอบที่จำเลยเขียนขึ้นเองเพื่อให้นักศึกษาที่ซื้อข้อสอบจากจำเลยหลงเชื่อว่าเป็นข้อสอบจริงที่จะออกสอบ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการหลอกลวงประชาชนทั่วไป จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 คงมีความผิดตามมาตรา 341เท่านั้น จำเลยกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงคณะนิติศาสตร์ยังไม่สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรี จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะสวมครุยวิทยฐานะเพื่อแสดงให้ผู้พบเห็นเชื่อว่าจำเลยสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงแล้ว การที่จำเลยสวมเสื้อครุยปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงถ่ายภาพแล้วนำภาพถ่ายดังกล่าวมาตั้งไว้บนโต๊ะที่จำเลยขายข้อสอบจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514มาตรา 48
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3688/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเงินเพื่อหลอกลวงซื้อขาย ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการฉ้อโกง หากการฉ้อโกงเกิดขึ้นได้โดยไม่แสดงเงิน
การที่จำเลยหลอกลวงขอซื้อสร้อยคอทองคำจากผู้เสียหายโดยนำเงินของกลางออกมาแสดงให้ผู้เสียหายดูแล้วนำไปซุกซ่อนไว้ที่อื่นและบอกผู้เสียหายว่าได้ชำระค่าสร้อยคอทองคำให้แล้วนั้นการแสดงเงินของกลางให้ผู้เสียหายดู ไม่เกี่ยวกับการกล่าวเท็จว่าได้ชำระเงินให้แล้ว ฉะนั้นเงินของกลางดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2245/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลอกลวงชักชวนทำงานต่างประเทศ เรียกเก็บเงินแต่ไม่ส่งไป ถือเป็นเจตนาทุจริต
จำเลยกับ ส. ร่วมกันพูดชักชวนให้ผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศแล้วเรียกเก็บเงินจากผู้เสียหายและไม่ส่งผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศตามที่พูดชักชวนโดยอ้างว่าตั๋วเครื่องบินหมดและรอใบรับรองการทำงาน ดังนี้พฤติการณ์ของจำเลยกับ ส.แสดงโดยแจ้งชัดว่าจำเลยกับ ส. มีเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายมาแต่ต้น จำเลยกับ ส. ยังได้ชักชวนคนทั่วไปให้ไปทำงานด้วยจึงเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงโดยหลอกลวงเรื่องไสยศาสตร์: การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงจากความเชื่อส่วนบุคคล
จำเลยไม่เชื่อเรื่องไสยศาสตร์ แต่ได้ขายน้ำมันพรายให้กับผู้เสียหายในราคา 300 บาท อ้างว่าจะช่วยให้ค้าขายดี นอกจากนี้จำเลยยังคอยบอกผู้เสียหายว่าทำผิดผี ต้องทำพิธีไหว้อาจารย์ จนผู้เสียหายยอมมอบเงินและทรัพย์สินอื่นรวมหลายหมื่นบาทให้จำเลยไปเพื่อทำพิธีดังกล่าว การกระทำของจำเลยเป็นการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นเท็จ จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงให้ลงลายมือชื่อในเอกสารจำนอง และปลอมแปลงเอกสารสิทธิเพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเงิน
จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อลงลายมือชื่อในแบบพิมพ์เอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับสัญญาจำนองที่ดินและหนังสือเรื่องราวจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แม้จะยังไม่ได้กรอกข้อความลงในเอกสารนั้น การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการหลอกลวงให้ผู้เสียหายทำเอกสารสิทธิแล้ว เพราะจำเลยอาจนำไปกรอกข้อความให้ครบถ้วนบริบูรณ์ว่าผู้เสียหายเจตนาทำสัญญาจำนองที่ดินได้จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341และเมื่อจำเลยนำเอกสารดังกล่าวไปกรอกข้อความให้ผิดจากความประสงค์ของผู้เสียหายโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้เสียหายและผู้เสียหายไม่ยินยอมแล้วจำเลยนำไปยื่นต่อธนาคารและสำนักงานที่ดินเพื่อเป็นการจำนองที่ดินของผู้เสียหายค้ำประกันเงินกู้ที่จำเลยเป็นหนี้ธนาคารอยู่การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และ 268 ด้วยแต่การกระทำของจำเลยมีเจตนาเดียวเพื่อให้ได้เงินจากธนาคารจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตามมาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 265 อันเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงให้ลงลายมือชื่อในเอกสารจำนอง และการปลอมแปลงเอกสารสิทธิเพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเงิน
จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อลงลายมือชื่อในแบบพิมพ์เอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับสัญญาจำนองที่ดินและหนังสือเรื่องราวจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แม้จะยังไม่ได้กรอกข้อความลงในเอกสารนั้น การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการหลอกลวงให้ผู้เสียหายทำเอกสารสิทธิแล้ว เพราะจำเลยอาจนำไปกรอกข้อความให้ครบถ้วนบริบูรณ์ว่าผู้เสียหายเจตนาทำสัญญาจำนองที่ดินได้จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และเมื่อจำเลยนำเอกสารดังกล่าวไปกรอกข้อความให้ผิดจากความประสงค์ของผู้เสียหายโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้เสียหายและผู้เสียหายไม่ยินยอม แล้วจำเลยนำไปยื่นต่อธนาคารและสำนักงานที่ดินเพื่อเป็นการจำนองที่ดินของผู้เสียหายค้ำประกันเงินกู้ที่จำเลยเป็นหนี้ธนาคารอยู่การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265 และ 268 ด้วย แต่การกระทำของจำเลยมีเจตนาเดียวเพื่อให้ได้เงินจากธนาคาร จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตามมาตรา 268ประกอบด้วยมาตรา 265 อันเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียว vs. กรรมต่าง: ฉ้อโกงประชาชนหลายรายพร้อมกัน
จำเลยหลอกลวงผู้เสียหาย 7 คนในคราวเดียวกัน แม้ผู้เสียหายแต่ละคนจะมอบเงินให้แก่จำเลยคนละคราวกันก็เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายบทเดียว ไม่ใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดตั้งสำนักงานจัดหางานหลอกลวงเพื่อเรียกเก็บเงิน ไม่ถือเป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจัดหางานโดยตั้งสำนักงานและโฆษณาชักชวนประชาชนให้มาสมัครงานโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนโจทก์บรรยายฟ้องว่าความจริงจำเลยไม่ประสงค์ที่จะจัดหางานดังกล่าวอย่างจริงจังและไม่มีงานที่จะให้คนมาสมัครงานทำดังที่ประกาศโฆษณาไว้แต่อย่างใด จำเลยเพียงแต่ตั้งสำนักงานจัดหางานดังกล่าวขึ้นมาเพื่อหลอกลวงให้ประชาชนหลงเชื่อมาติดต่อกับจำเลยแล้วจะได้หลอกเอาเงินค่าสมัครงานและค่าบริการต่าง ๆ จากประชาชน เช่นนี้ แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่พวกผู้เสียหายแต่อย่างใด จำเลยเพียงแต่อ้างการจัดตั้งสำนักงานจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้