คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อนุญาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 931 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6339/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในความผิดประกอบกิจการเทปโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเทปไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนและจำหน่ายซึ่งเทปและวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนและไม่มีเหตุได้รับการยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมาย การกระทำผิดของจำเลยเกิดจากไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน เทปของกลางจึงมิใช่ทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด จึงไม่มีเหตุที่จะริบของกลาง ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 กับความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 6,34 มิใช่ความผิดที่เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: การพิจารณาเจตนาในการประกอบธุรกิจ
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ฐานฉ้อโกงประชาชน แม้จะมีข้อความว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่สามารถจัดให้คนหางานได้ทำงานในต่างประเทศโดยได้รับค่าจ้างตามที่จำเลยทั้งสองกับพวกกล่าวอ้าง แต่ก็ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่มีเจตนาประกอบธุรกิจจัดหางานตามที่บรรยายไว้ในข้อหาฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงเป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82 และยกฟ้องโจทก์ในข้อหาดังกล่าวนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาประกอบธุรกิจจัดหางาน แม้จัดส่งคนงานไม่ได้ ก็ยังมีความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ฐานฉ้อโกงประชาชน แม้จะมีข้อความ ว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่สามารถจัดให้คนหางานได้ทำงาน ในต่างประเทศโดยได้รับค่าจ้างตามที่จำเลยทั้งสองกับพวกกล่าวอ้าง แต่ก็ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่มีเจตนาประกอบธุรกิจจัดหางานตามที่บรรยายไว้ในข้อหาฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงเป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82และยกฟ้องโจทก์ในข้อหาดังกล่าวนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5840/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินในเขตจัดรูปที่ดินไม่เป็นโมฆะ หากมีการยื่นขออนุญาตตามขั้นตอนกฎหมาย
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 ซึ่งภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันมีประกาศของรัฐมนตรีห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายหรือก่อให้เกิดภาระติดพันซึ่งที่ดินในเขตดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดเสียก่อนจึงจะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทและในวันเดียวกันนั้นจำเลยก็ยื่นคำขออนุญาตทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ เช่นนี้มิใช่โจทก์จำเลยกระทำการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายเพราะขณะนั้นยังไม่มีผลที่จะก่อให้เกิดการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทไว้ แต่เป็นการกระทำตามขั้นตอนของกฎหมาย สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นโมฆะ มีผลบังคับได้ ต่อมาเมื่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัด มีมติอนุญาตให้จำเลยจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้ แม้ขณะมีมติอนุญาตจะเกินกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจะซื้อขายก็มิใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยจึงต้องขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยจะอ้างว่าเกินกำหนดระยะเวลา 2 เดือนตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจะซื้อขายแล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5808/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมโดยอายุความเกิดขึ้นได้แม้เจ้าของที่ดินอนุญาตโดยทั่วไป ไม่กระทบสิทธิแม้มีการโอนกรรมสิทธิ์
ธรรมเนียมปฏิบัติของชาวบ้านในท้องถิ่นที่เอื้อเฟื้อกันกรณีผู้ที่อยู่ในสวนที่ลึกจะต้องอาศัยเดินผ่านสวนของผู้อื่นออกไปสู่ภายนอกได้ การอนุญาตดังกล่าวเป็นการแสดงออกชัดโดยทางปฏิบัติของเจ้าของที่ดินเป็นการทั่วไปที่ไม่หวงห้ามหรือสงวนสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ของตน ยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนเป็นภารจำยอมที่เกิดขึ้นโดยสมัครใจ จึงมิใช่การอนุญาตด้วยความคุ้นเคยหรือวิสาสะเป็นการเฉพาะตัว ดังนั้นการใช้ทางพิพาทของโจทก์ในลักษณะดังกล่าวจึงได้สิทธิภารจำยอมโดยอายุความ สิทธิภารจำยอมของโจทก์ได้มีขึ้นโดยผลแห่งกฎหมายรับรองและจะสิ้นสุดไปก็โดยเหตุต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนด ส่วนของจำเลยทั้งหมดที่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินภารยทรัพย์นี้เป็นสิทธิคนละอันกับสิทธิภารจำยอมของโจทก์ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินภารยทรัพย์โดยทางทะเบียนไม่เป็นเหตุให้สิทธิภารจำยอมของโจทก์สิ้นสุดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรที่ดินโดยปริยาย & ภารจำยอมทางสาธารณูปโภค แม้ไม่ได้รับอนุญาตจัดสรร
แม้ไม่ปรากฏว่า พ. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินให้ทำการจัดสรรที่ดิน และที่ดินอันเป็นทางพิพาทเป็นที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ก็ตามก็ถือได้ว่าการกระทำของ พ.ที่แบ่งแยกที่ดินของตนออกเป็นแปลงย่อย 13 แปลง เพื่อขายนั้น เป็นการแสดงออกโดยปริยายแล้วว่า พ. จัดให้มีสาธารณูปโภคคือทางพิพาทอันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวส่วนการที่ พ. จะขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากซึ่งหากจะเป็นการดำเนินการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการของ พ. ไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ทางพิพาทที่จำเลยปลูกโรงเรือนรุกล้ำจึงเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินที่โจทก์เช่าซื้อจาก พ. จำเลยจึงต้องรื้อถอนบ้านที่จำเลยปลูกรุกล้ำเข้ามาในทางพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5487/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินที่ได้รับอนุญาตใช้ร่วมกับผู้อื่น และผลของการตกลงแบ่งสิทธิในที่ดินนั้นตามสัญญาหย่า
ถึงแม้ที่ดินที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ใช้ตามหนังสืออนุญาตจะมีข้อความระบุว่าผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 3(พ.ศ.2515) ข้อ 12 โดยเคร่งครัด คือ ฯลฯ ต้องใช้ประโยชน์ที่ดินนั้นตามประเภทของกิจการด้วยตนเอง ฯลฯ แต่ระเบียบข้อ 13 ก็ระบุว่า "ในกรณีที่ผู้ได้รับผ่อนผันให้เข้าอยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ปฏิบัติตามข้อ 12 ไม่ว่าจะเป็นกรณีหนึ่งกรณีใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรให้มีหนังสือแจ้งให้ปฏิบัติให้ถูกต้อง และถ้าเห็นว่าไม่สมควรจะให้อยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นต่อไปแล้วให้นำความในข้อ 5 ข้อ 2 ข้อ 7ข้อ 8 และ ข้อ 9 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" เมื่อปรากฏว่าที่ดินนี้มีผู้อื่นร่วมใช้ประโยชน์อยู่ด้วย และหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินนี้มีการอนุญาตต่อเนื่องกันมาหลายฉบับหลายปีต่อเนื่องกัน โดยไม่ปรากฏว่ามีปัญหาโต้แย้งในเรื่องที่มีผู้อื่นเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินแต่อย่างใดแสดงว่าการใช้ประโยชน์ในที่ดินนี้ไม่จำต้องใช้ด้วยตัวจำเลยเองก็ได้ กรณีจึงมิใช่เรื่องเฉพาะตัว ข้อตกลงตามสัญญาหย่าที่ตกลงแบ่งสิทธิตามหนังสืออนุญาตดังกล่าว ซึ่งจำเลยได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์ ย่อมเป็นสินสมรสที่โจทก์มีสิทธิอยู่ด้วย การตกลงจึงหาได้มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะทำให้ตกเป็นโมฆะแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีวัตถุระเบิดโดยไม่ได้รับอนุญาต โทษตามกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้บริษัท อ. ไปยื่นคำขออนุญาตแทนเพื่อขอมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครอง แต่ในขณะที่บริษัท อ.ส่งวัตถุระเบิดตามใบอนุญาตไปให้จำเลยที่ 1ปลัดกระทรวงกลาโหมยังไม่อนุญาตตามคำขอ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการร่วมกันมีวัตถุระเบิด เยลาทีนไดนาไมต์ซึ่งเป็นยุทธภัณฑ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามกระทำความผิดขณะใช้พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2476 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อใช้พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 ซึ่งกำหนดโทษสำหรับความผิดตามฟ้องให้สูงขึ้นกว่าเดิม จึงต้องลงโทษจำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2476 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า ทำให้จำเลยพ้นความผิดฐานตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งโรงงาน และประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต แต่ระหว่าง การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ยกเลิก พระราชบัญญัติโรงงานฉบับเดิมทั้งหมด โดยไม่มีบทบัญญัติใดระบุว่าการตั้งโรงงานเพื่อประกอบกิจการโรงงานเช่นจำเลยจะต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต และไม่มีบทกำหนดโทษเช่น พระราชบัญญัติโรงงานฉบับเดิม ถือได้ว่าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้น ไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกา ในข้อหาประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185,215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5123/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วงทำเหมือง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาเกิดขึ้นได้ หากยังไม่ได้รับคำสั่งไม่อนุญาตจากรัฐมนตรี
ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 76 และ 77 บัญญัติห้ามผู้ถือประทานบัตรยอมให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมือง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย และให้ผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และให้รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้มีการรับช่วงการทำเหมืองให้ตามที่จะพิจารณาเห็นสมควร บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงมิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาด หากรัฐมนตรีอนุญาตก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้ ดังนั้นสัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้วและมีผลใช้บังคับ ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีจะอนุญาตหรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ซึ่งหากรัฐมนตรีไม่อนุญาต การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวก็อาจเป็นพ้นวิสัยเท่านั้น แม้โจทก์จะมีบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือไม่ก็ตามก็เป็นเพียงเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตของรัฐมนตรี เมื่อรัฐมนตรียังไม่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการเช่าช่วงทำเหมืองพิพาทสัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยก็มีผลผูกพันให้คู่สัญญาไปดำเนินการยื่นคำขออนุญาตรับช่วงทำเหมืองพิพาทตามกฎหมายต่อไป การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญารับช่วงทำเหมืองหินและขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย โดยอ้างเหตุที่จำเลยเข้าทำเหมืองเสียเองเป็นการละเมิดก็ตามเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ตามสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30จำเลยบอกเลิกสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 6กรกฎาคม 2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 94