คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อัตราดอกเบี้ย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 317 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเงินกู้: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนได้
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กู้เงินจากโจทก์ยอมเสียดอกเบี้ยร้อยละ 12.5 ต่อปี มีข้อสัญญาว่า หากว่าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนด ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือตามประกาศใด ๆที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยซึ่งบริษัทเงินทุนอาจเรียกได้ที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยเดิมนับแต่วันที่มีการผิดนัดเป็นเบี้ยปรับ โดยเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้
ข้อสัญญาระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้จะเรียกค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าว่า เบี้ยปรับ ค่าปรับ ดอกเบี้ย หรืออย่างไรก็ได้ แต่หากมีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้เจ้าหนี้ริบหรือเรียกเอาได้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรแล้วก็ย่อมเป็นเบี้ยปรับทั้งสิ้น ฉะนั้น หากศาลชั้นต้นเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6337/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่ารายปีทรัพย์สินเพื่อจัดเก็บภาษี โดยเทียบเคียงกับค่าเช่าและอัตราดอกเบี้ย
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์และจำเลยว่าในเขตของหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีจำเลยที่ 1 นั้น มีลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์คล้ายคลึงกันกับทรัพย์สินของโจทก์ มีการให้เช่ากันอันสามารถนำค่าเช่ามาเทียบเคียงในการประเมินค่ารายปีทรัพย์สินของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สิน ลงวันที่ 30มีนาคม 2535 ได้ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงต้องประเมินค่ารายปีแห่งทรัพย์สินขึ้นเองให้เห็นได้ว่าเป็นจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตามความหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475โดยหาฐานในการคำนวณจากมูลค่าของทรัพย์สินที่ให้เช่า ด้วยเหตุผลที่ว่าการให้เช่าเป็นการหาประโยชน์จากทรัพย์สิน ดังนั้น มูลค่าของทรัพย์สินที่ให้เช่าย่อมเป็นสิ่งที่ผู้ให้เช่าต้องคำนึงถึงและนำมาใช้เป็นฐานของการคำนวณหาจำนวนเงินค่าเช่าได้กล่าวคือ ทรัพย์สินมีมูลค่าน้อยก็สมควรได้ค่าเช่าน้อยกว่าทรัพย์สินที่มีมูลค่ามากและค่าเช่านั้นเกิดขึ้นตามระยะเวลาของการเช่าหรือระยะเวลาในการใช้ทรัพย์ที่เช่า ใกล้เคียงกับประโยชน์ที่ผู้ฝากเงินได้รับดอกเบี้ยจากธนาคารตามฐานของจำนวนเงินที่ฝากประกอบระยะเวลาที่ฝาก ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยจึงนำมาเทียบเคียงเพื่อใช้ในการคำนวณหาจำนวนค่าเช่าได้ด้วย โดยเหตุนี้การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีจำเลยที่ 2 อาศัยมูลค่าทรัพย์สินคูณด้วยอัตราผลประโยชน์ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีที่เทียบเคียงมาจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารโดยที่ได้ลดมูลค่าของทรัพย์สินในส่วนที่เป็นเครื่องจักรลงให้ประมาณกึ่งหนึ่งและลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้นรวมทั้งส่วนควบดังกล่าวแล้วนั้น ย่อมเป็นการประเมินค่ารายปีขึ้นโดยประกอบด้วยกฎเกณฑ์อันสมควรและมีเหตุผล โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าการชี้ขาดตามการประเมินดังกล่าวไม่ชอบหาได้นำสืบให้เห็นว่ามีกฎเกณฑ์ใดที่สมควรและมีเหตุผลสามารถนำมาเทียบเคียงในการคำนวณหาค่าเช่าอันสมควรสำหรับทรัพย์สินรายพิพาทของโจทก์ได้เหมาะสมไปกว่านี้ ศาลจึงต้องฟังว่าค่ารายปีตามคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 เป็นค่ารายปีที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6337/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่ารายปีทรัพย์สินเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน การเทียบเคียงค่าเช่าและอัตราดอกเบี้ย
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์และจำเลยว่าในเขตของหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีจำเลยที่1นั้นมีลักษณะของทรัพย์สินขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์คล้ายคลึงกันกับทรัพย์สินของโจทก์มีการให้เช่ากันอันสามารถนำค่าเช่ามาเทียบเคียงในการประเมินค่ารายปีทรัพย์สินของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สินลงวันที่30มีนาคม2535ได้พนักงานเจ้าหน้าที่จึงต้องประเมินค่ารายปีแห่งทรัพย์สินขึ้นเองให้เห็นได้ว่าเป็นจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆตามความหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา8วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475โดยหาฐานในการคำนวณจากมูลค่าของทรัพย์สินที่ให้เช่าด้วยเหตุผลที่ว่าการให้เช่าเป็นการหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังนั้นมูลค่าของทรัพย์สินที่ให้เช่าย่อมเป็นสิ่งที่ผู้ให้เช่าต้องคำนึงถึงและนำมาใช้เป็นฐานของการคำนวณหาจำนวนเงินค่าเช่าได้กล่าวคือทรัพย์สินมีมูลค่าน้อยก็สมควรได้ค่าเช่าน้อยกว่าทรัพย์สินที่มีมูลค่ามากและค่าเช่านั้นเกิดขึ้นตามระยะเวลาของการเช่าหรือระยะเวลาในการใช้ทรัพย์ที่เช่าใกล้เคียงกับประโยชน์ที่ผู้ฝากเงินได้รับดอกเบี้ยจากธนาคารตามฐานของจำนวนเงินที่ฝากประกอบระยะเวลาที่ฝากดังนั้นอัตราดอกเบี้ยจึงนำมาเทียบเคียงเพื่อใช้ในการคำนวณหาจำนวนค่าเช่าได้ด้วยโดยเหตุนี้การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีจำเลยที่2อาศัยมูลค่าทรัพย์สินคูณด้วยอัตราผลประโยชน์ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีที่เทียบเคียงมาจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารโดยที่ได้ลดมูลค่าของทรัพย์สินในส่วนที่เป็นเครื่องจักรลงให้ประมาณกึ่งหนึ่งและลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้นรวมทั้งส่วนควบดังกล่าวแล้วนั้นย่อมเป็นการประเมินค่ารายปีขึ้นโดยประมาณด้วยกฎเกณฑ์อันสมควรและมีเหตุผลโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าการชี้ขาดตามการประเมินดังกล่าวไม่ชอบหาได้นำสืบให้เห็นว่ามีกฎเกณฑ์ใดที่สมควรและมีเหตุผลสามารถนำมาเทียบเคียงในการคำนวณหาค่าเช่าอันสมควรสำหรับทรัพย์สินรายพิพาทของโจทก์ได้เหมาะสมไปกว่านี้ศาลจึงต้องฟังว่าค่ารายปีตามคำชี้ขาดของจำเลยที่2เป็นค่ารายปีที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค้ำประกันและค่าใช้จ่ายบังคับจำนอง: ศาลแก้ไขอัตราดอกเบี้ยและรับรองค่าประกาศ
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันหนี้ขายลดตั๋วเงินจำนวน 89,051.47 บาท นับแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2529จนกว่าจะชำระเสร็จ โดยไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยว่าจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ในเงินต้นดังกล่าวในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเท่าใด ในเมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีตามสัญญาค้ำประกันแล้ว แต่ไม่ได้กำหนดให้ว่าต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 2ตามภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลยที่ 2 สองครั้ง แต่ไม่สามารถส่งได้ โจทก์จึงบอกกล่าวการบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์ เพื่อให้มีผลตาม ป.พ.พ. มาตรา 728ฉะนั้น ค่าประกาศหนังสือพิมพ์จึงถือได้ว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองตามมาตรา 715 (3) โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 400 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนอง, ค่าฤชาธรรมเนียม, และอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่2ตามภูมิลำเนาสองครั้งแต่ไม่สามารถส่งได้โดยได้รับแจ้งว่าจำเลยที่2ไปทำงานต่างจังหวัดและย้ายไม่ทราบที่อยู่ใหม่โจทก์จึงบอกกล่าวบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์เพื่อให้มีผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา728ถือว่าคำประกาศหนังสือพิมพ์เป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4365/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้และสิทธิการขึ้นดอกเบี้ย: ต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ
ตามสัญญากู้ยืมเงินมีข้อความว่า ผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามแต่จะเห็นสมควร โดยเพียงแต่แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้น ข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าว แม้จะให้สิทธิโจทก์ขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ก็มีเงื่อนไขว่าต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบด้วย โจทก์จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยไม่แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบหาได้ไม่ แต่ตามคำฟ้องและการนำสืบของโจทก์ในชั้นพิจารณา ไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบว่า โจทก์ขอขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 18 และ 19 ต่อปี โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4365/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้: การปรับอัตราดอกเบี้ยต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ หากไม่แจ้งสิทธิในการเรียกเก็บดอกเบี้ยสูงขึ้นย่อมไม่มีผล
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความว่าหากผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้วผู้ขอกู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้น อัตราดอกเบี้ยได้ตามแต่จะเห็นสมควรโดยเพียงแต่แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้นข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวแม้จะให้สิทธิโจทก์ขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยแต่ก็มีเงื่อนไขว่าต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบด้วยโจทก์จะ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยไม่แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4287/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยสูงเกินสมควรในสัญญากู้ ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้
สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลย ข้อ 2.1 ก. กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 14.50 ต่อปี แต่สัญญาข้อ 2.4 มีข้อความระบุว่า "ในกรณีที่ผู้กู้ไม่ชำระต้นเงิน และ/หรือดอกเบี้ยตามจำนวน และ/หรือกำหนดเวลาที่ระบุตามข้อ 3ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ยังคงค้างชำระทั้งหมดในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเงินทุนสามารถเรียกเก็บได้จากลูกค้าเงินกู้แทนอัตราที่กำหนดไว้ในข้อ 2.1, 2,2 และ 2.3 ข้างต้น" โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกันไว้ได้ แต่ปรากฏว่าข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามเวลาที่กำหนดอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ถ้าเบี้ยปรับกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4287/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้สูงเกินส่วน ศาลลดลงให้เหมาะสมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลยข้อ2.1ก.กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ14350ต่อปีแต่สัญญาข้อ2.4มีข้อความระบุว่า"ในกรณีที่ผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและ/หรือกำหนดเวลาที่ระบุตามข้อ3ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ยังคงค้างชำระทั้งหมดในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเงินทุนสามารถเรียกเก็บได้จากลูกค้าเงินกู้แทนอัตราที่กำหนดไว้ในข้อ2.1,2.2และ2.3ข้างต้น"โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกันไว้ได้แต่ปรากฎว่าข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามเวลาที่กำหนดอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา379ถ้าเบี้ยปรับกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้เงินที่ไม่ใช่เบี้ยปรับ
ข้อตกลงในสัญญากู้เงินที่ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนด แม้ผู้กู้จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ ไม่ใช่ข้อตกลงที่เป็นเบี้ยปรับ
of 32